เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)
เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจ้าพระรามราชหรือขุนราม พระอาชญาหลวงเจ้าพระรามราชปาฑีสีโสธัมมราชาสหัสสาคามเสลามหาพุทธปริสัทธปัวรปัฏิโพธิสัตวขัตติยวรราชวงสา พระหน่อรามาพุทธังกูรเจ้าโอกาสสาสนานครพระมหาธาตุเจ้าพระนมพิพักส์บุรมมหาเจติยวิสุทธิรัตนบุรมสถาน (ปรากฏในพื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอกและพื้นเมืองพนม) | |||||||||
รัชกาลก่อนหน้า | เจ้าพระยาหลวงบุตโคตตวงสา (กวานเวียงพระนมหรือเจ้าเวียงธาตุพนม) | ||||||||
รัชกาลถัดไป | เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนม (เจ้าโอกาส) | ||||||||
ประสูติ | นครหลวงเวียงจันทน์ | ||||||||
สวรรคต | เมืองธาตุพนม | ||||||||
พระชายา | เจ้านางยอดแก้วสีบุญมา (สิริบุญมา) | ||||||||
พระอาชญาหลวงเจ้าพระรามราชปาฑีสีโสธัมมราชาสหัสสาคามเสลามหาพุทธปริสัทธปัวรปัฏิโพธิสัตวขัตติยวรราชวงสา พระหน่อรามาพุทธังกูรเจ้าโอกาสสาสนานครพระมหาธาตุเจ้าพระนมพิพักส์บุรมมหาเจติยวิสุทธิรัตนบุรมสถาน (ปรากฏในพื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอกและพื้นเมืองพนม) | |||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ล้านช้างเวียงจันทน์ | ||||||||
พระราชบิดา | เจ้าพระยาหลวงบุตโคตตวงสาหรือเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่กุมมาร) | ||||||||
พระราชมารดา | นางเทพกินลีและนางโมกคัลลีสีราชเทวี (มารดาเลี้ยง) |
เจ้าพระรามราชรามางกูร (ลาว: ເຈົ້າພຣະຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ) หรือขุนราม[1] เป็นขุนโอกาส[2] หรือเจ้าโอกาส[3] หรือเจ้าเมืองธาตุพนม[4] ซึ่งเป็นเมืองกัลปนา (เวียงพระธาตุ[5] หรือพุทธศาสนานคร)[6] องค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ ปกครอง พ.ศ. ๒๓๒๕-๖๐ รวม ๓๕ ปี ในสมัยธาตุพนมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ ๓ หรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒)[7] กับเจ้านางจันทะมาสเทวีพระนัดดาเจ้าเมืองศรีโคตรบูร เป็นพระโอรสในเจ้าพระยาหลวงบุตโคตตวงสาเจ้าเวียงธาตุพนม เจ้าเวียงธาตุอิงฮัง และเจ้าเมืองดอนตาล กับเจ้านางเทพกินลี[8] ประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร ทรงทำหน้าที่ดูแลรักษาพระธาตุพนม ปกครองข้าโอกาสหรือข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนม และรักษากงดิน (เขตแดน) พระธาตุพนม[9] ถูกสถาปนาเป็นเจ้าเมืองในรัชกาลสมเด็จพระเจ้านันทเสน (พ.ศ. ๒๓๒๕-๓๗)[10] ถึงอนิจกรรมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๗๑) เมื่อเดือน ๕ พ.ศ. ๒๓๖๐ (จ.ศ. ๑๑๘๐) ในพื้นเวียงจันทน์อย่างน้อย ๓ ฉบับระบุว่าสมเด็จพระเจ้านันทเสนและสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๓๗-๔๘) เสด็จจากซะง้อหอคำลงมาตั้งเมืองที่พนมธาตุแล้วสถาปนากุมารอันเป็นเชื้อตระกูลแต่ก่อนซึ่งหมายถึงเจ้าพระรามราชให้รักษาพระธาตุพนมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ก่อนขึ้นไปตีเวียงสีเชียงใหม่[11] พื้นเวียงจันทน์บางฉบับระบุว่าทรงถูกสถาปนาโดยกษัตริย์เวียงจันทน์พระนามว่าพ่ออีหลิบซึ่งต่อมาถูกยึดราชสมบัติคืนจากสมเด็จพระเจ้านันทเสนและสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์[12] เจ้าพระรามราชเป็นต้นตระกูลรามางกูรในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ตระกูลรามางกูร (ຣາມາງກູຣ) หรือลามางกูน (ລາມາງກູນ) ในเมืองสีสัดตะนากและเมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์[13] และเป็นต้นตระกูลข้าโอกาสมากกว่า ๓๐ ตระกูลทั้งในธาตุพนม หว้านใหญ่ มุกดาหาร เรณูนคร นครพนม และฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เอกสารใบลานจำนวนมากระบุว่าทรงมีบทบาทในการสร้างเมืองธาตุพนมต่อจากบิดาและอาทั้ง ๖ ของตน เช่น ใบลานเรื่องจาเซื้อราชวังสาเจ้าพระอัคคปุตตะระบุถึงพระองค์ว่าเมื่อศักราช "...ฮ้อย ๔๔ เต่ายี่ เพียยัคฆสังวัจสระ จัตตุวาสักกะ[14] เสด็จล่วงตั้งเมืองแก้วหัวโอกใส่นามะนครเวียงสาสสนานัคราบุรมธาตุเจ้าพระนมประถมมหาเจติยะในทักขีณณทิสสะมหารัฏฐะอันนามะว่าโคตะปุระหลวง ยอเวียงสาสสนาลูกนี้แต่เมืองฮามขึ้นเป็นเมืองใหญ่เป็นมหานครอันหลวงแลเวียงอันใดแพะเพิงอยู่ดอมกงดินพระมหาซินธาตุเจ้าใส่ไว้เป็นลูกเวียงพระมหาซินธาตุเจ้าทั้งมวล..."[15] นอกจากนี้ยังทรงสร้างกำแพงเวียงธาตุพนม กำแพงวัดพระธาตุพนม กำแพงหอราชโฮงหลวง ปัคคัยหะสิมวัดพระธาตุพนม สร้างมหาอารามหลวง กุฎี วิหาร หอน้อย หอใหญ่ หอกลอง หอไหว้ และหอสรงในวัดพระธาตุพนม บูรณะตีนธรณีพระมหาชินธาตุเจ้าหัวอกจนถึงยอดฉัตร[16] บูรณะประตูขงและกำแพงแก้วทั้ง ๓ ชั้นล้อมพระธาตุพนม[17] ร่วมสร้างข่วงลานหน้าวัดพระธาตุพนม สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง สร้างและบูรณะวัดหัวเวียงร้าง[18] (วัดสวนสั่งหรือวัดสวนสวรรค์)[19] ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งโขงในทิศหัวเวียงธาตุพนม[20] เป็นต้น
พระนาม
[แก้]เจ้าพระรามราชมีนามเดิมว่าเจ้ารามราชซึ่งนามนี้ใช้เป็นชื่อตำแหน่งผู้ปกครองธาตุพนมต่อมาอีก ๑ คนคือ เจ้าพระรามราชปราณีสีมหาพุทธปริสัท (ศรี รามางกูร) หรือแสนกางน้อยสีมุงคุลผู้เป็นบุตรคนโต[21] เอกสารใบลานหลายฉบับระบุนามเจ้าพระรามราชต่างกันไป เช่น พระรามราชเจ้าขุนโอกาส ท้าวพระราม ท้าวราม ญาหลวงรามราช อาชญาหลวงราม เจ้ามรามมราช ท้าวพระรามโพธิสัตว์ พระรามราชโพธิสัตว์เจ้า พระยารามราชโพธิสัตว์เจ้า พระรามราช เจ้าพระมรามมราชฯ พระยาเจ้าโอกาสสาสสนานครฯ อาชญาเจ้าโอกาสหลวง สมเด็จพระราชนัตตาบุรมบุพพิตรเจ้าพระยาหลวงรามราชาฯ เป็นต้น ส่วนชาวธาตุพนมนิยมออกนามโดยย่อว่าขุนราม เจ้าพ่อขุนราม[22] เจ้าพ่อขุนโอกาส เป็นต้น ในเอกสารสำเนาจดหมายบันทึก สกุลนี้สืบมาแต่ขุนรามฯ และอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร พ.ศ. ๒๔๙๐ ของพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร) ผู้เป็นหลานปู่ของเจ้าพระรามราชออกนามย่อว่า "ขุนรามฯ"[23] ส่วนเอกสารสำเนาจดหมายบันทึก สกุลนี้สืบมาแต่ขุนรามรามางกูร และอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร พ.ศ. เดียวกัน ซึ่งพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร) ออกให้ท้าวสุวัณณคำมี บุคคละ ผู้เป็นเหลนทวดของเจ้าพระรามราชออกนามย่อว่า "ขุนรามรามางกูร"[24] ในพื้นเมืองพระนมและพื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอกออกนามเต็มหลังถูกสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าเมืองธาตุพนมว่า "พระอาชญาหลวงเจ้าพระรามราชปาฑีสีโสธัมมราชาสหัสสาคามเสลามหาพุทธปริสัทธปัวรปัฏิโพธิสัตวขัตติยวรราชวงสา พระหน่อรามาพุทธังกูรเจ้าโอกาสสาสนานครพระมหาธาตุเจ้าพระนมพิพักส์บุรมมหาเจติยวิสุทธิรัตนบุรมสถาน"[25] มีข้อสังเกตว่าสร้อยนามรามางกูรแปลว่าหน่อเนื้อเชื้อไขของรามหรือผู้เกิดแต่ราม[26] อาจเนื่องจากเจ้าพระรามราชเป็นบุตรของเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งสี (เมืองรามนามรุ่งศรี) หรือเจ้าพระยาหลวงบุตโคตตวงสากวานเวียงพระนม[27] นัยหนึ่งอาจหมายถึงพระองค์มีความสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องพระรามโพธิสัตว์เนื่องจากพื้นเมืองพระนมระบุว่าพระรามราชเป็นขวัญของพระรามโพธิสัตว์กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคในตำนานพระรามชาดกมาจุติตามความเชื่อเดิมของลาว[28] สอดคล้องกับหลักฐานพื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอกผูกเดียวฉบับวัดหัวเวียงรังษี (ธ.) ที่ระบุถึงการประสูติของพระองค์และน้องสาวทั้ง ๒ คือนางทิพย์ (ต้นสกุลพุทธศิริ) และนางจันทา (ต้นสกุลทศศะ) ว่า ...ส่วนนางเทพกินลีเมียเจ้าราซาบุตโคตได้ลูกดอมกัน แลในยามเจ้าราชกุมมารจักประสูตินางเทวีนิมิตหาพระรามราชโพธิสัตว์เจ้าว่าได้ยิงศรธนูคำต้องใส่คัพภาแห่งนางเทวีแล้ว จิงเป็นรัศมีรังสีฮุ่งเฮืองงามประดุจดั่งแสงพระสุริยาอาทิตย์อันสว่างไสวมากนักแล จิงหลิงเห็นเป็นหน่วยแก้วมณีโซติสถิตในคัพภาแห่งนางเทวีหั้นแล้วก็ให้เห็นเป็นอัศาจรรย์ยิ่งนักแล้ว คันว่าประสูติราชกุมมารแก้วตนนั้นแล้วลุนมาหมอหนทำนวายทวายว่า เจ้าราชกุมมารมีบุญด้วยขวัญพระรามราชโพธิสัตว์เจ้าเวียงจันทน์สีสัตตนาค(น)หุตราชธานีมาเอากำเนิดเกิดในคัพภาแห่งนางเทพกินลีเทวีแล เขาลวดอุ้มราชกุมมารขึ้นเมือหาพระเป็นเจ้าองค์บุญซ้องหน้าในที่เวียงจันทน์แล้ว พระองค์ลวดใส่ซื่อซามนามกรว่าเจ้ามะลามมะลาชหั้นแล คนว่าท้าวพระลามโพธิสัตว์ก็มีแท้ดีหลีแล ลุนมานางเทวีจิงประสูตินางทั้ง ๒ ก็มีด้วยนิมิตดั่งเดียวกันหั้นแล้ว ลวดใส่ซื่อซามนามกรแห่งนางแก้วพี่น้องประดุจดั่งน้องสาวพระยารามราชโพธิสัตว์เจ้าหั้นแล ตน ๑ ใส่ว่านางทิบแลตน ๑ ว่านางจันทาก็มีแท้ดีหลีแล พี่น้องท้องแม่เดียวขา ๓ ตนนี้แลเกิดแต่นางเทพกินลีเมียกกเจ้าราชบุตโคตแล คันอยู่ได้ปี ๑ แล้วนางมาดาสุรคุตราชบุตโคตลวดมาเอานางโมคคัลลีเทวีแล้วลวดใส่เป็นพระแม่มาดาเจ้าทั้ง ๓ อ้ายน้องก็มีแล ส่วนเมียเจ้าราซาบุตโคตได้ ๑๘ นางแล...[29]
หลักฐานในคัมภีร์ใบลาน
[แก้]ในพื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอก
[แก้]หลักฐานบางส่วนเกี่ยวกับการตั้งเวียงธาตุพนมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร (พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) จากคัมภีร์พื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอกผูกเดียวระบุว่า สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเมืองธาตุพนมจึงพระราชทานทองคำไว้เป็นส่วยพระมหาธาตุจำนวนมาก ทรงสละราชกุมาร ๓ องค์ซึ่งเป็นโอรสของพระองค์ที่ประสูติแต่เจ้านางจันทะมาสเทวีนัดดาเจ้าเมืองสีโคตตะบองขอนให้เป็นข้อยโอกาสพระธาตุพนม[30] ราชกุมารองค์โตนามว่าเจ้าพระยาหลวงราซาบุตรโคตหรือเจ้าคำอยู่กุมมาร เดิมนามยศเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งสีได้เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานาเหนือโอรสกษัตริย์นครจำปาสัก ต่อมาราซาบุตรโคตได้ขึ้นเป็นกวานเวียงพนมหรือเจ้าพนมจากนั้นได้ปลงเมืองพระมหาธาตุพนมให้บุตรคนโตคือพระรามราชกุมมารปกครองต่อ ส่วนตนและพี่น้องทั้ง ๖ ได้แยกย้ายไปตั้งเมืองใหม่รวม ๗ เมืองในสองฝั่งโขง เนื้อความระบุว่า "...แต่นั้นส่วนยาเจ้าลาชบุดโคดหนีแต่เมืองธาตุพระนมล่วงไปตั้งเมืองตาลักขันธทีปนครคนว่าเมืองดอนตานแลจิงปลงเมืองพระนมไว้ยาหลวงลามมลาสตนลูกกกแล ส่วนอันว่าเอกพนหานแลกินเจ้าพระยาหลวงเมืองพันล่วงไปตั้งเมืองลัตตนนครแล สุกขลนันทกุมมารลาชกินเจ้าพระยาหลวงเมืองแพนล่วงไปตั้งเมืองพาลหพิลังคนครแลคนว่าแก่นขามนครโมลิยะลาชหั้นแล พานลกุมมารกินเจ้าพระยาหลวงสุทโทธลาชล่วงไปตั้งเมืองในที่กัปปิลวัตถุนครแล ส่วนอันว่าสุวันนปุตตกุมมารลาชกินเจ้าพระยาหลวงสีวอลลาซาล่วงลงไปตั้งเมืองสุวัณณอลัญซลานครแล อนุสาลกุมมารกินเจ้าพระยาหลวงสุกโลลาชแลล่วงไปตั้งเมืองสาลรุกขนครปาวาหั้นแล ส่วนอันว่าเจ้าอนุสาลกุมมารลวดตั้งหมั้นอยู่ในที่นั้นสืบมาแล ส่วนว่ากนิฐกุมมารกินเจ้าพระยาหลวงจันทสูลิยวงสาล่วงไปตั้งเมืองสีมุตติกนครแล ขาฝูงนี้หากเป็นเค้าเป็นแก่บ้านเมืองสืบ ๆ มาแล หากเป็นพี่เป็นน้องท้องแม่เดียวแลเป็นเซื้อลูกเซื้อหลานวงสาเวียงจันทน์สีโคตตบองสืบลูกสืบหลานมาท่อวันแล..."[31] ส่วนคัมภีร์เดียวกันในหน้า ๒๗๖ ยังระบุถึงพระรามราชอีกว่า "...พระลามมลาสเสวยกองข้อยโอกาสมหาธาตุเจ้าหัวเอิกที่พูกำพ้าเป็นเค้าเป็นปัถถัมมะก่อนแล อุปปละสีสุวัณณสานกินกองข้อยพระมหาธาตุพระนมเจดีย์หลวงมีใน ๓ ปีหั้นแลปลงไว้แก่ลูกหลานในสังกาสได้ ๒ ฮ้อย ๓๐ ๓ ตัว สุวัณณสาละเจ้าคำหมั้นปลงกองข้อยโอกาสม(า)หาธาตุเจ้าไว้ผ้าขาวคำมุงเจ้าแทนปิตตาตนพ่อแลใส่ยศท้าวอุปปละดั่งเดียวพ่อเขาดั่งนั้น คำมุงมาได้เมียคนธาตุประนมซื่อนางลัตนหน่อแก้วลูกท้าวบุตตลาชแลนางกงมาหั้นแล อุปปละคำหมั้นมีลูก ๗ ตนแล้วดั่งนี้ พระอุปปละมุง ๑ นางคำทุง ๑ นางคำเผาะ ๑ นางหนู ๑ นางแสนคำติ้ว ๑ ท้าวคำปุ้ง (คำบุ่ง) ๑ คำผูย ๑ ลุนมายาพ่อออกอุปปละคำมุงกินกองข้อยพระธาตุเจ้าแลตนน้องคำผูยกินยศพระหานลือไซในที่ภูกำพ้าหั้นแล้วลุนมาใส่ยศพระยาหานหั้นแล ขาฝูงนี้เซื้อลูกเซื้อหลานพระรามมลาชโพธิสัตว์เจ้าตนเสวยเมืองพระนมธาตุองค์หลวงล้ำเฮาทั้งมวลก็มีแท้ดีหลีแล ฝูงนี้เสวยกองข้อยมหาธาตุเจ้าก้ำผ่ายบ้านธาตุพระนม..."[32]
ในธาตุภูกำพร้า
[แก้]คัมภีร์เรื่องธาตุภูกำพร้าฉบับวัดหัวเวียงรังษี (ธ.) ว่าด้วยตำนานการสร้างพระธาตุพนมจารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ กาบยี่ ปีขาล ฉศก วัสสันตฤดู เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ โดยเจ้าสาลีภิกขุวัดธาตุพนมบุรมมหาเจดีย์ ศรัทธาสร้างโดยอาชญาพ่อตาแสงหมื่นสีลลาสำมาทานวัตรกำนันพระธาตุพนมกับบุตรธิดาภริยา มีอาชญาท่านหลักคำทาอธิการเจ้าวัดมหาธาตุพนมบุรมเจดีย์ศรีมหาสถานเป็นเจ้าลาน (พ.ศ. ๒๔๓๘-๕๘) ปรากฏนามพระรามราชว่าเป็น ๑ ใน ๓๓ ท้าวพระยาลาวเวียงจันทน์ที่ปกครองเมืองธาตุพนมในยุคต้นความว่า "...สืบเส้นแต่เจ้าแผ่นดินเวียงจันทบุรีสีสัตตนาคนหุตคือว่าพระมหากษัตราธัมมเทวังสะองค์สีบุญสารลงมาปูกเจ้าราชกุมมารแก้วตนเป็นพระราชบุตรขึ้นเสวยเหนือหลังดินหลังน้ำเมืองภูกำพร้าธาตุพนมเฮานี้ คือว่าเจ้าตนประถมเป็นเค้าอุปัฏฐากมหาธาตุพนมคือว่ามีเจ้าราชบุตรโคตตวังสา นาเหนือ สืบเส้นเท่าฮอดเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งสี หาเจ้าเป็นน้องทั้ง ๕ กุมมาร หาเจ้าพระมรามมราชปราณีสีโสธัมราซาอันเขาว่าขุนราม หาเจ้าพระยาหลวงแสนกางน้อยสีวรมุงคุล หาเจ้าพระปราณีสีมหาประนมพรหมพุทธบริษัทเมฆทองทิพย์เฒ่า หาเจ้าสมเด็จอัคร์บุตรสุทธสุวัณณเจดีย์สีมหาคุณ หาเจ้าพระยาหลวงโคสาราชกัตติยวงสา หาเจ้าพระอุปราซากัตติยะวงสา คืนหาเส้นหาเจ้าพระอามาตย์ราชวงสา ๔ ตนลูกตนหลาน หาเจ้าพระสุริยะอ้วนเฒ่า หาเจ้าพระราชวัตรคูณคำเฒ่า หาเจ้าพระอุปละปาสักทั้ง ๒ หาเจ้าอุปละสุวัณณเสฏฐา หาเจ้าพระพิพักส์เจดีย์ธาตุคำถง หาเจ้าพระพิพักส์เจดีย์ธาตุคำแก่น หาเจ้าพระพิพักส์เจดีย์สีส่องฟ้า หาเจ้าปลัดพระโพธิสารพินิจราช หาเจ้าพระไซยะสุริยวังสา หาเจ้าพระพรหมวังสะ ๓ ตนอ้ายน้อง หาเจ้าพระบำรุงธาตุพระนมเจดีย์สีมหาพุทธบริษัท หาเจ้าอาชญาปลัดโพธิสาร หาเจ้าอาชญาพ่ออุปราซามหาสุวัณณคำเฮือง เท่าฮอดผู้ข้ากวานหมื่นสีลลาสัมมาทานวัตร แลยาน้องพระอนุรักส์ธาตุเจดีย์ ก็สืบเส้นขุนโอกาสอันเป็นท้าวพระยาลาวเวียงจันทน์มาเสวยบ้านเมืองกองโอกาสตาแสงฮักษาอยู่เทิงเหนือหลังดินหลังน้ำภูกำพร้ามหาธาตุพนมแห่งพระสัพพัญญูเจ้าเฮานี้ คือว่ามีถ้วน ๓๓ ท้าวพระยาตาแสงเมืองลาวหั้นแล ฝูงนี้หากเป็นเค้าเป็นเหง้าอุปัฏฐากฮักษามหาธาตุหัวอกพระเจ้าแลฝูงข้อยโอกาสหยาดน้ำทั้งมวลเทิงเหนือหลังน้ำหลังดินมหาธาตุเจ้าพนม..."[33]
ในพื้นพระบาทใช้ชาติ (พื้นพระยาธัมมิกราชหรือพื้นครุธราช)
[แก้]คัมภีร์พื้นพระบาทใช้ชาติฉบับคัดลอกจากใบลานของพระครูสิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ) อดีตเจ้าคณะอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ต้นฉบับจารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ศรัทธาสร้างโดยพ่อออกพระบริบูรณ์ประชา ขุนวิเศษนาถ่อน ขุนพินิจอักษรเสร็จ และญาติพี่น้อง ซึ่งว่าด้วยประวัติศาสตร์เมืองธาตุพนมช่วงเหตุการณ์ผีบุญองค์มั่น องค์พระบาท (ยาครูสีทัตต์ (สีทัด) ญาณสมฺปนฺโน, สุวรรณมาโจ, พ.ศ. ๒๔๐๘-๘๓) และองค์ขุดเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองท้องถิ่นธาตุพนม และว่าด้วยเหตุการณ์ความขัดแย้งภายในของกลุ่มชนชั้นปกครองธาตุพนม ในหน้า ๓ ระบุถึงเจ้าพระรามราชว่า "...คันพระสังกราชได้ ๒ ฮ้อย ๔๑ ตัว พระยาธรรมิกราชเจ้าตนมีบุญหนักจักเสกเอาราชกุมมารเจ้าพระอัคคบุตสุตตสุวัณณบุญมีแลว่าตนนี้อาชญ์กว่าท้าวพระยาทั้งหลายว่าดั่งนี้ ว่าตนนี้แม่นหลานแลลูกพระยาเจ้าโอกาสสาสสนานครพระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมสถานวิเศษแท้ดั่งนั้นแล จิงว่าเจ้าพระอุปละเกิดตามหลังบ่ให้เป็นใหญ่ในกองข้อยน้อยใหญ่ในเวียงพระมหาธาตุเจ้าแลว่าดั่งนั้นแล้วก็มีแท้ดีหลีแล..."[34] ส่วนหน้า ๕-๖ ระบุถึงถึงปีอนิจกรรมของเจ้าพระรามราชและทายาทได้ขึ้นปกครองธาตุพนมในฐานะขุนโอกาสหลังเมืองธาตุพนมถูกยุบสถานะลงเป็นกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมว่า "...สังกราชได้ฮ้อย ๗๔ เจ้าซีวิตเวียงจันทน์ลงมาสลองพระมหาธาตุเจ้า สังกราชได้ฮ้อย ๘๐ ตัว เดือน ๕ อาชญาเจ้าโอกาสหลวงสุรคุต สังกราชได้ฮ้อย ๘๘ ตัวเจ้าพระนมขึ้นไปเฝ้าเจ้าเวียงจันทน์ สังกราชได้ฮ้อย ๙๐ พระนมบังมุกแตกเจ้าซานน สังกราชได้ ๒ ฮ้อยสิบ ๘ ตัวอาชญาสุริยราชเจ้าโอกาสตนอ้ายจุตติก่อน สังกราชได้ ๒ ฮ้อยซาวพระสุริยราชตนน้องจุตติอยู่กองข้อยสะโนด เหื่อพระมหาธาตุเจ้าพระนมไหลออกก้ำทิสสะหนใต้แลเสี้ยงเซื้อนางบุสดี สังกาสได้ ๒ ฮ้อยซาว ๑ อาชญาหลวงโอกาสตนซื่อพระอำมาตย์ราชวงสาจุตติ เอาเจ้าสุวัณณเสฏฐาเซื้อพระลามมะลาสขึ้นเป็นขุนโอกาส..."[35]
ในหนังสือแปงโฮงอุปโปโบสัถถารามมาวิหาระ
[แก้]หนังสือแปงโฮงอุปโปโบสัถถารามมาวิหาระฉบับหัวครูพรหมาภิกขุเจ้าสังฆมหาเถระวัดพระมหาธาตุเจ้าพระนมหลวง คงหมายถึงพระครูพรหมาเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมในราว พ.ศ. ๒๓๙๐-๒๔๑๐ ท้ายใบลานระบุว่าเป็นฉบับคัดลอก สันนิษฐานว่าเนื้อความในเอกสารคงถูกขยายจากเนื้อหาในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์หรือแผนเมืองเวียงจันทน์ หรืออาจถูกคัดลอกมาตั้งแต่หลัง พ.ศ. ๒๓๙๐ เหตุการณ์ในเอกสารตรงกับ จ.ศ. ๑๑๖๘ (พ.ศ. ๒๓๔๙) ปีขาล ออกใหม่ แต่ไม่ระบุว่ากี่ค่ำ ซึ่งปีนั้นราชบุตร (มังหรือศรีสุมังค์) ขึ้นเสวยราชย์เป็นเจ้าเมืองนครพนม[36] และเสด็จลงมาธาตุพนมเพื่อร่วมสร้างมหาอุตตาลเสตุ (มหาอุตฺตารเสตุ) คือขัวตะพานหลวงหรือสะพานใหญ่จากลานหน้าวัดพระธาตุพนมลงสู่ท่าขลนัททีหลวงหรือแม่น้ำโขง ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าอนุวงส์แห่งเวียงจันทน์ เจ้าเมืองมุกดาหาร และขุนโอกาสธาตุพนมซึ่งหมายถึงเจ้าพระรามราชโดยระบุถึงพระนามเต็มว่า "...มื้อหั้นแลสมเด็จบุลัมมบุพพิตตพระมหาขระสัตตาธิราซาเจ้ากัตติยาธิเบสเซยยเสฏฐา พระตนเป็นเซื้อพันธุวังสาราชสุริยวังสเอกกอัคคธิบดินทลาบุลัมมหาธิปัตติราซาธิราซะ บุลัมมหาจักกวัตติภูมินทลาธิปัตตนสักกลเตยยภูวนาถอุพพโตสุซาตติสีสังสุทธมกุตตสาพาลาธิปุญญะ บุลัมมนาถบุลัมมบุพพิตตพระผู้เสวยเทิงเหลือสุวัณณลัสสตมณีลัตตนภุมมอุททกํหลังดินมหาพิภัพพเทพพนัคนา อันมีซื่อซามนามผรากฏว่ากรุงพระนัคลสีสุวัณณภุมมจันทนปุละบุลัมมลาซาธานีสีสัตตนาคนหุตอุตตัมมบุลีลัมมยอาคคมหาสถานปเทสสะ จิงพร้อมกับดอมฝูงเซื้อซาตติราชพันธุวังสาเมืองพระนครจันทนปุละลาสสธานีสีทั้ง ๓ ตนเป็นเค้าปธานะเป็นปฐมมูลสัทธา คือว่ามีสมเด็จบุลัมมบุพพิตตเจ้าพระยาหลวงลัคครวิสิตตบุลัมมลาซาธานีกิตติสัพพเทพพลือยัสสทัสสบุลีสีโคตตบูรหลวง เจ้าตนเสวยเมืองมลุกคลัคคบุลีลาสสธานีสีโคตตบองเจ้า แลสมเด็จบุลัมมบุพพิตตเจ้าพระยาหลวงจันทสูลิยวังสาสีโสลาซาทำโลงมหาราชกาลาธิกาละ เจ้าตนเสวยเมืองมุกดาหานราซาบุลีสีมุตติกลครบังมุกเจ้า แลสมเด็จพระลาสสนัตตาบุลัมมบุพพิตตเจ้าพระยาหลวงลามมลาซาปาณีสีโสธัมมราชสหัสสคามสิลา เจ้าตนโอกาสเสวยเมืองพระแก้วราชพระมหาธาตุพระนมบุลมมหัวเอิกสัพพัญญูเจ้า แลก็จิงจำเริญยังสัมพันธไมมิตตสีนิทธะเกลี้ยงกลมงามตามสันทสัมปทะอันผระกอบซอบด้วยปัสสาทสัทธาเป็นบุลมมหากุสสลาญาณสัมปยุตตะ จิงได้พร้อมกันมาปกะปุกแปงแต่งสร้างยังมหาอุตตาลเสตุคือว่าขัวตระพานหลวงเพื่อจักให้เป็นผระโยซนะแก่ฝูงนระหญิงซายทายยกทายยิกาทั้งมวล ฝูงมีสัทธพละสักสวนกันมานมัสสาการน้อมไหว้นบโครพยังพระมหาอุลังกาบุลัมมธาตุเจ้าพระนมหลวง...[37]
ในหนังสือแปงนามมะยัสสะเจ้าเมืองธาตุทั้ง ๗
[แก้]หนังสือแปงนามมะยัสสะเจ้าเมืองธาตุทั้ง ๗ สันนิษฐานว่าจารคัดลอกราวปลาย พ.ศ. ๒๔๐๐-ต้น ๒๕๐๐ เหตุการณ์จากเนื้อหาของเอกสารอยู่ในช่วงหลังการล่มสลายของราชวงศ์เวียงจันทน์หรือสมัยที่ธาตุพนมถูกยุบสถานะลงเป็นกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนม ราวหลัง พ.ศ. ๒๓๐๐-ต้น ๒๔๐๐ โดยระบุถึงเหล่าเจ้านายท้องถิ่นในกลุ่มเชื้อสายเจ้าพระรามราชจากสมัยล้านช้างเวียงจันทน์ซึ่งเป็นพระราชนัดดากษัตริย์เวียงจันทน์พระนามว่า "พระมหาบุรมขสัตตาธิราซาเจ้าตนวรนามมกรณะว่าสมเด็จบุรมบุพพิตตเจ้าเอกกมหาปุญญโพธิสาราซาพระมหาบุรีสีเซยยเสฏฐาธัมมิกราซาเซยยจักกวัตติภูมมินทราธิราชเจ้า" หรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร (พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) ได้พากันอพยพแยกย้ายออกไปตั้งเป็นใหญ่ (เป็นอิสสลิยะหรือเป็นอิสสลิยาธิปัตติ) อยู่ในสถานที่ทั้ง ๖ แห่งรวมกับพระธาตุพนมแล้วเป็น ๗ แห่งทั่วสองฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่ประดิษฐานพระธาตุสำคัญสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอังคารธาตุ รอยพระพุทธบาท และอรหันตธาตุ ครั้นเจ้านายเหล่านี้ได้ดำรงตำแหน่งนายกองข้าพระธาตุจึงถูกแต่งตั้งนามยศใหม่โดยสยามหรือบางแห่งอาจแต่งตั้งโดยเจ้าเมืองท้องถิ่นที่ศักดินาเหล่านี้เข้าไปอาศัยอยู่หรือเข้าไปอยู่ในเงื้อมอำนาจอาชญา โดยฝั่งซ้ายมี ๔ แห่งคือ ๑) พระธาตุอีงฮังบ้านธาตุอีงฮังเมืองสุวัลลภุมมเขตตนัคเรศ นายกองทำหน้าที่รักษาธาตุดูกสันหลัง ธาตุดูกต้นคอ ธาตุดูกก้น ธาตุดูกตะโพก และสถานที่ตั้งของต้นรังที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ๒) พระธาตุโพ่นบ้านธาตุโพ่นเมืองจำพอนดอนดง นายกองทำหน้าที่รักษามูลธาตุ สถานที่ตั้งของวัจจกุฏิหรือถาน หลุมส้วม และแท่นนั่งถ่ายของพระพุทธเจ้า ๓) พระธาตุสีโคดตะบองเวียงท่าแขกเมืองลัครบุรีสี นายกองทำหน้าที่รักษาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ๔) พระธาตุตู้มพะวังเวียงฟ้าฮว่านนางวัง นายกองทำหน้าที่รักษาธาตุฝุ่นและอรหันตธาตุ ส่วนฝั่งขวามี ๓ แห่งคือ ๕) พระธาตุพนมเมืองธาตุพนมบุรมเจดีย์ นายกองทำหน้าที่รักษาธาตุหัวอก ธาตุหัวใจ ธาตุนม และอรหันตธาตุ ๖) พระธาตุเซิงสุมเมืองสากลนัคระเซียงใหม่หนองหาน นายกองทำหน้าที่รักษาปาทลักขณะของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์และก้อนข้าวบิณฑิบาตหลวง ๗) พระธาตุขามแก่นบ้านขามหรือจิญจคามมะ นายกองทำหน้าที่รักษาอังคารธาตุและอรหันตธาตุทั้ง ๙ ตน ในเอกสารระบุถึงพระรามราชว่า "...ฝูงราชวังสาแลราชปุตตนัตตาเจ้าตนนั้นจิงมาฮับมาโจมเอาแล้วยังคำโอวาทโอกาสจุ้ม อันสมเด็จพระบุรมมขสัตตาธิราชเจ้าจิงมีคำอีดูขูณาโผรดโปรดเหลือเกล้าเหลือขม่อมปลงลงใส่แล้วเหลือแก้วเกสสามายังราชวังสาตนเป็นมหาสักขาใหญ่ตนนั้น คือว่าพระราชนัตตาแห่งสมเด็จพระเป็นเจ้ามหาขสัตตาธิราซะได้มาหลั่งทักขีโณทกํยังน้ำหยาดใส่ให้เป็นเจ้าพระยาธาตุพระนมบุรมมหาเจดีย์สีบุรมมหาสถานเจ้าตนหลาน คือว่าสมเด็จพระบุรมมบุพพิตตอันเป็นพระราชอาชญาหลวงเจ้าพระลามมลาสปาณีสีโสธัมมราซาสหัสสาคามมสิลาบุรมมหาพุทธปริสัททวรปัตติสิทธิวังโสโพธิสัตวกัตติยวรราชวังสา พระหน่อลามมาพุทธํกุละเจ้าโอกาสสาสสนานัคระพระมหาซินธาตุเจ้าพระนมพิพักสบุรมมาเจติยวิสุทธิรัตนบุรมมหาสถานวิเสส ตนเป็นปฐมาพิเสกะเสวยทิพพรัตนราชสัมปัตติเหลือหลังน้ำหลังดินรัตนเขตตขงกงแก้วพระโคตมสัพพัญญูเจ้าพระนมบุรมหัวอกอันเป็นมหาบุรมมปฐมเจติยะหลวงนั้นแล..."[38]
ในพื้นเวียงจัน พื้นเวียงจันทะบูลี และหนังสือพื้นเวียงจัน
[แก้]ใบลานพื้นเวียงจันทน์อย่างน้อย ๓ ฉบับกล่าวถึงกษัตริย์เวียงจันทน์คือเจ้าอินและเจ้านันซึ่งหมายถึงสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๓๗-๔๘) และสมเด็จพระเจ้านันทเสน (พ.ศ. ๒๓๒๕-๓๗) พี่น้องต่างพระราชมารดากับเจ้าพระยาหลวงบุตโคตตวงสากวานเวียงพระนมบิดาของเจ้าพระรามราช ทรงเสด็จลงมาตั้งเมืองธาตุพนมและสถาปนาราชกุมารหมายถึงเจ้าพระรามราชขึ้นปกครองธาตุพนมและรักษาพระธาตุพนม โดยข้อความใบลานทั้ง ๓ ฉบับระบุเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันคือ พื้นเวียงจัน (เวียงจัน (พื้น)) ฉบับวัดอารันยะรามระบุว่า "...แต่นั้นไปบ่มีใผจักมาเป็นเจ้าเมืองเวียงก็บ่มียังมีแต่นั้นยังมีแต่กุมมารหลานน้อยหนุ่มนั้นแล้วจีงเอาพ่ออีหลีบนั้นให้มาเป็นเจ้าเวียงก็ได้ ๓๐ ๔ ปีแล้วดั่งนั้น ก็ฆ่าราชวงศ์เสียแล้วกับเมืองขวากับเมืองซ้ายนั้นก็ฆ่าเสียพอพ่ออีหลีบนั้นเป็นเจ้าเวียงอยู่หั้นแล แต่นั้นยังมีพระกระสัตริย์ ๒ คนอ้ายน้องมาแต่ทิสสะใต้ของที่เกาะขดซื่อว่าเจ้าอินเจ้านันฮอดสี่พันดอนนั้นแลก็ถือเอากำลังโยธาขึ้นมาตั้งอยู่เมืองกุทธนาซายพองหั้นแล้ว ส่วนอันว่าพ่ออีหลีบอันเป็นเจ้าเวียงก็คึดว่าซิบ่แพ้แล้วก็มามอบเมืองเวียงจรรย์ให้แล้วจิงลงมาสร้างซะง้อหอคำนั้นได้ปี ๑ แล้ว ก็จิงล่วงลงไปตั้งเมืองที่พระนมธาตุนั้นจิงปูกกุมมารอันเป็นเซื้อกระกูลแก่ก่อนไว้ให้รักษาพระธาตุนั้นแล้ว ก็จีงขึ้นเมือเมืองแล้วอยู่ได้ ๕ ปีแล้วจิงซ้ำขึ้นไปตีเมืองเซียงใหม่ก็ได้มาแล้วดั่งนั้นอยู่มาได้ ๕ ปีเจ้าอินก็นิรัพพาน..."[39] พื้นเวียงจันทะบูลีฉบับวัดสวนตานระบุว่า "...แต่นั้นไปบ่มีใผจักมาเป็นเจ้าเวียงก็บ่มียังมีแต่นั้นยังแต่กุมมารหลานน้อยยังแต่กุมมัลกุมมลีหนุ่มน้อยแล แล้วจิงเอาพ่ออีหลีบนั้นมาเป็นเจ้าเวียงก็ได้ ๓ ๔ ปีแล้วดั่งนั้นก็ฆ่าราชวงศ์เสียกับเมืองขวาผู้เป็นทัพซ้ายนั้นซ้ำฆ่าเสียแล้วพอพ่ออีหลีบนั้นก็เป็นเจ้าเมืองเวียงอยู่หั้นแล แต่นั้นยังมีพระกระสัตริย์ ๒ คนอ้ายน้องมาแต่ทิสสะใต้ของที่เกาะคดซื่อว่าสี่พันดอนนั้นแลมันก็ถือเอากำลังโยธาขึ้นมาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองคุกท่านาซายพองกองหมากหั้นแล้ว ส่วนอันว่าพ่ออีหลีบอันเป็นเจ้าเวียงนั้นก็คึดว่าซีบ่แพ้ก็จิงได้มามอบเมืองเวียงนั้นให้กุมมารทั้ง ๒ นั้นเป็นเจ้าล้านซ้างเวียงจันทน์หั้นแล กระสัตริย์ ๒ ตนนั้นซื่อว่าเจ้าอินเจ้านันหั้นแลแต่เมื่อสังกราสได้ถ้วน ๒ พันพู้นแลกุมมารทั้ง ๒ ก็ได้เป็นเจ้าเวียงจันทน์แล้วจิงได้ลงมาส้างซง้อหอคำนั้นได้ปี ๑ แล้วก็จิงล่องลงไปตั้งเมืองในที่พระนมธาตุนั้นแล้วก็จิงปูกกุมมารอันเป็นเซื้อกระกูลมาแต่ก่อนพู้นไว้ให้รักษาพระธาตุนั้นแล ก็จิงขึ้นเมือเมืองแล้วก็อยู่ได้ ๕ ปีแล้วจิงขึ้นไปตีเมืองสีเซียงใหม่ก็ได้มาแล้วดั่งนั้นอยู่ได้ ๕ ปีเจ้าอินก็นิรัพพานไปแล้วดั่งนั้น..."[40] ส่วนหนังสือพื้นเวียงจัน (พื้นเวียงจัน) ฉบับวัดโพไซระบุว่า "...แต่นั้นไปจิงบ่มีใผจักมาเขาก็บ่มียังแต่กุมมารหลานน้อยยังแต่กุมมลีหนุ่มน้อยหั้นแล แล้วจิงเอาพ่ออีหลีบนั้นให้มาเป็นเจ้าเวียงก็ได้...กับเมืองขวาแลกับเมืองซ้ายนั้นก็ฆ่าเสีย พ่ออีหลีบนั้นก็เป็นเจ้าเวียงอยู่หั้นแลแต่นั้นยังมีพระกสัตริย์ ๒ คนอ้ายน้องมา...ตั้งอยู่ที่เมืองกุทธนาซายพองหั้นแล้ว ส่วนอันว่าพ่ออีหลีบอันเป็นเจ้าเมืองเวียงก็คึดว่าซิบ่แพ้แล้วก็มอบเมือง...เจ้า...แต่เมื่อสังกาสได้ถ้วน ๒ พันแท้แล กุมมารทั้ง ๒ ได้เป็นเจ้าเวียงจันทน์แล้วจิงลงมาสร้างซง้อหอคำนั้นได้ปี ๑ แล ก็จิงล่องลงมาไปตั้งเมืองในที่พระนมธาตุนั้นจิงปูกกุมมารอันเป็นเซื้อกระกูลมาไว้ให้ฮักษาพระธาตุนั้นแล้ว ก็จิงขึ้นเมือเมืองแล้วอยู่ได้ ๕ ปีแล้วก็จิงซ้ำขึ้นไปตีเมืองสีเซียงใ(ห)ม่ก็ได้มาดั่งนั้นอยู่ได้ ๕ ปีเจ้าอินก็นิรัพพานไปแลดั่งนั้น..."[41]
ในคำอุทิศทานหาพระเจ้าโอกาสเมืองธาตุประนม
[แก้]หนังสือผูกเรื่องคำอุทิศทานหาพระเจ้าโอกาสเมืองธาตุประนมเป็นใบลานที่พระอุปราชา (เฮือง รามางกูร) ใช้สำหรับอ่านอุทิศส่วนกุศลถึงบรรพบุรุษ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารก่อนอนิจกรรมไม่นาน เหตุการณ์ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ จ.ศ. ๑๒๙๗ (พ.ศ. ๒๔๗๙) ตรงกับสมัยพระครูศิลาภิรัต (หมี อินฺทวํโส, บุปผาชาติ) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม (พ.ศ. ๒๔๕๘-๗๙) ปรากฏนามบรรพบุรุษผู้ปกครองธาตุพนมและภริยาพร้อมกรมการธาตุพนมเดิมผู้ล่วงลับมากกว่า ๔๐ รายชื่อ ทั้งระบุรายนามญาติพี่น้องขุนนางกรมการผู้ร่วมทำบุญด้วยกัน อาทิ หลวงพิทักษ์พนมเขตต์ (สีห์ จันทรสาขา) อดีตนายอำเภอธาตุพนม และอดีตกำนันตำบลธาตุพนมหลายคน เช่น พระสีลาสัมมาทานวัตร (สุวันนสิลา บุคคละ) อดีตหมื่นศีลสมาทานกำนันธาตุพนมคนแรกและกำนันธาตุพนมใต้ พระอนุรักษ์ธาตุเจดีย์ (สาหรือหมูแสง บุปผาชาติ) กำนันธาตุพนมเหนือ ขุนเปรมปูชนียประชา (บุญ สุภารัตน์) พระสีอารักษพรหมา (พัน พรหมอารักษ์) กำนันธาตุพนมบรรดาศักดิ์คนสุดท้าย หลวงสีประสักสิทธิผน (กองไซ) กำนันตำบลน้ำก่ำ เป็นต้น เนื้อความระบุถึงพระรามราชว่า "...ประการ ๑ นั้นพวกข้าอุทิสสะไปให้ฮอดให้เถิงหัวเจ้าหม่อมปู่ย่าตานายผู้จุตติตายหล่วงลับนีรัพพานดับไปแล้วด้วยดี ตนมีนามกรซื่อว่าเจ้าพระยาหลวงลาสสบุตโคตตวงสา ยาแม่เจ้ากินนลี ยาแม่มุคัลลีสี ยาพ่อเจ้าพระลามมลาดตนเป็นอาชญ์เจ้าโอกาสา ยาแม่สีบุรมาเทวี ยาพ่อแสนหลวงสีกางน้อยมุงคุล ยาแม่ใหญ่บุสสาดี ยาพ่อเฒ่าเจ้าพระปาณี ยาแม่นางกองสี ยาพ่อสมเด็จพระอัคคบุตตนนามกรซื่อว่าสุทธสุวันนะบุนมี ยาแม่เฒ่าบัวสี หม่อมวัน แลหม่อมโผน..."[42]
ในวงศ์ข้อยโอกาสธาตุ
[แก้]ใบลานเรื่องวงศ์ข้อยโอกาสธาตุว่าด้วยประวัติกลุ่มตระกูลข้อยโอกาสหรือข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมโดยสังเขปซึ่งบางกลุ่มทำหน้าที่เป็นนางเทียม นางเทียมเหล่านี้สืบตระกูลทางฝ่ายหญิงลงมาเป็นชั้น ๆ จากบุตรีของเจ้าปู่หลวงกาง (แสนกางน้อยสีมุงคุล) บุตรเจ้าพระรามราช ใบลานริจนาราวปลาย พ.ศ. ๒๔๐๐-ต้น พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยระบุถึงพระรามราชว่า "...พวกที่เป็นข้อยโอกาสที่ถืกหยาดน้ำให้ดอมพระบุรมธาตุพระนมพวกนี้เฮียกว่าเป็นพวกข้าพระบุรมธาตุพระนมรือข้อยพระธาตุ กับอีกพวก ๑ นั้นเป็นพวกเซื้อเจ้าเวียงจันทน์ส่วนหลายก็ลงมากับเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ก็มาเป็นพวกเจ้าพวกขุนพระยาพระบุรมธาตุพระนมรือขุนโอกาสที่เฮียกกันว่าพระยาพระธาตุพระนมบุรมเจดีย์ว่าพระยาเมืองธาตุ พวกพระยาเมืองพระธาตุพระนมนี้ก็มีพวกขุนลามพวกเจ้าปู่หลวงกางเป็นเค้าที่เป็นต้นวงศ์ตระกูลของเจ้าเมืองธาตุพระนมและหมวดกองข้าพระบุรมธาตุพระนมสืบมาทุกวันนี้ก็บ่มีหลายวงศ์ท่อกับพวกวงศ์ข้อยโอกาส ส่วนพวกที่เป็นข้าพระบุรมธาตุพระนมนั้นมีหลายวงศ์และก็มีอยู่ ๒ พวก พวก ๑ ก็เป็นข้าพระธาตุทั่วไปเฮ็ดกับวัดกับวาอีกพวก ๑ ก็เป็นข้าพระธาตุนางเทียม วงศ์พวกข้าโอกาสนางเทียมพวกนี้เป็นเซื้อพระยาเมืองธาตุแตกกันลงมาหลายซั้นหลายวงศ์อีก ก็มีลูกหลานเจ้าปู่หลวงกางที่เป็นหญิงเป็นเค้าซื่อนางแก้ว นางจันทละ นางสี นางกะ นางสีไวย นางคิม นางคอง นางเก็ด นางมิ่ง นางมาด นางอำ นางลู นางคาย นางดี นางอบ..."[43]
ในหนังสือหยั้งหยืนเปลี่ยนสกุลเป็นรามางกูร
[แก้]ใบลานหนังสือหยั้งหยืนเปลี่ยนสกุลเป็นรามางกูรต้นฉบับเดิมของพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร) ออกให้นายคำมี รามางกูร (นามเดิมท้าวสุวัณณคำมี บุคคละ-บุคคละวิเสส) บุตรบุญธรรมและหลานอาของพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร) และเป็นอาของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เอกสารจารเมื่อ "...วันพหัสบดี ที่ซาว ๔ เดือนกรกฎาคม พระพุทธสังกราชสสาสสนา ๒ พัน ๔ ฮ้อย ๙๐ ขึ้นวันมื้อ ๗ ค่ำ เดือนแปดหลัง ปีกุน จุลสังกราชราซาได้ ๓ ฮ้อย ๙ ตัว..." ได้ระบุถึงพระรามราชว่า "...ข้าพระเจ้าเป็นบุตรอาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุลนามเดิมว่ายาเจ้าพ่อสีเจ้าเมืองพระธาตุพระนมแต่ก่อน อาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุรหรือยาเจ้าพ่อสีเป็นบุตรยาหลวงเจ้าพระยาลามมะลาดรามางกูรที่กินขุนโอกาสมีนามเดิมว่าเจ้ารามราชก็เป็นเจ้าเมืองพระธาตุพระนมมาแต่ก่อน เจ้าพระยารามราชเป็นบุตรของเจ้าพระยาหลวงราชบุดโคตตวงสานามเดิมว่ายาหลวงคำอยู่เจ้าเมืองพระธาตุพระนมแต่ก่อนพู้น แต่ก่อนยาหลวงคำอยู่ก็ใซ้นามยศศักดิ์เดิมกินเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งสีอยู่เมืองนครจำปาสัก เจ้าพระยาหลวงราชบุดโคตตวงสาคือเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งสีเป็นโอรสเจ้าแผ่นดินเวียงจันทน์องค์บุญแต่ก่อนพู้น แต่ว่าพระเจ้าแผ่นดินเวียงจันทน์ไปตีเศิกเสียบ้านเมืองบ่ทันสงบจิงยกไว้ให้เป็นบุตรบุญธรรมของสมเด็จเจ้าพระยานาเหนือเมืองนครจำปาสัก ที่เป็นลูกหลานพระเจ้าแผ่นดินเมืองนครจำปาสักแต่ก่อนพู้น วงศ์กระกูลของพวกข้าพระเจ้านี้เป็นพระราชวงศ์เมืองล้านซ้างเวียงจันทน์มาแต่เก่า ได้มาอยู่กินเมืองพระมหาธาตุพระนมและกินกองข้าพระมหาธาตุพระนมเดี๋ยวนี้สืบมาจนหลวงตั้งข้าหลวงนายอำเภอมาสืบแทนวงศ์ตระกูลของพวกข้า...หนังสือหยั้งหยืนเปลี่ยนสกุลเป็นรามางกูร รามางกูรแปลว่าผู้เกิดแต่ขุนโอกาสตนซื่อพระรามราชและผู้เป็นหน่อเนื้อเซื้อวงศาเจ้าพระยาเมืองฮามขุนโอกาสตนซื่อพระยาหลวงราชบุดโคดเจ้าเมืองธาตุพระนมแลเจ้าเฮย..."[44]
ในกดหมายเหตุขอเปลี่ยนชื่อตัวท้าวสุวัณณคำมี
[แก้]หนังสือกดหมายเหตุขอเปลี่ยนชื่อตัวท้าวสุวัณณคำมี เข้าใจว่าต้นฉบับอาจเป็นอักษรลาวเดิมซึ่งฝ่ายปกครองและราชการนิยมใช้มากกว่าอักษรธรรม พระอุปราชา (เฮือง รามางกูร) เขียนถึงขุนพนมอำนวยสุขนายอำเภอธาตุพนมลำดับ ๒ หลังย้ายที่ตั้งอำเภอจากเรณูนครมาธาตุพนม (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๔๘๒-๙๐ ต่อมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอเขมราฐ พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๑) ที่ศาลาว่าราชการอำเภอธาตุพนม เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๙ เดือนสิงหาคม ฮวายเส็ด แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ อัฏฐศก จ.ศ. ๑๓๐๘ (พ.ศ. ๒๔๘๙) ตามคำขอชี้แจงและขอยืนยันจากทางราชการเกี่ยวกับข้อมูลของท้าวสุวัณณคำมีบุตรบุญธรรม เพื่อเปลี่ยนชื่อจากสุวัณณคำมีเป็นคำมีและเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจากท้าวเป็นนายระบุถึงพระรามราชว่า "...ข้าพระเจ้ากับพี่ซายลูกบิดามารดาเดียวกันสำเพาะมารดาบิดาเดียวกันมี ๕ คนท่อนั้นเป็นซายหมด นอกนั้นยังหลายแต่บิดาเดียวกันคนละมารดา พ่อของข้าพระเจ้ากับพี่ซายซื่อว่าอาชญาหลวงกางน้อยสีวอลมุงคุลสุนทอรเป็นเจ้าเมืองธาตุพระนมมาแต่เดิมที่ตั้งอยู่พากบ้านธาตุพระนมตำบลธาตุพระนมผั่งนี้ แม่ของพวกข้าพระเจ้ากับพี่ซายซื่อว่าอาชญาแม่บุสสาดีเทวีเป็นคนเซื้อเมืองมุกดาหานมาแต่เดิมอยู่บ้านสระโนดว่านใหญ่เดี๋ยวนี้พี่น้องทุกวันนี้ก็ยังมากหลาย ยาปู่ของพวกข้าพระเจ้ากับพี่ซายซื่อว่าอาชญาหลวงพระยาลามมราชปาณีสีโสธัมมลาซาเจ้าเมืองธาตุพระนมมาแต่เดิม ยาย่าของข้าพระเจ้ากับพี่ซายซื่อว่าเจ้านางสิลิบุญมาเทวีเป็นคนเซื้อเจ้าองค์ครองนครจำปาสักมาแต่เค้าแต่เดิม ยาทวดใหญ่ของพวกข้าพระเจ้ากับพี่ซายซื่อว่าสมเด็จเจ้าพระยาหลวงลาสสบุตโคตตวงสาและเมืองฮามน้ำฮุ่งก็เป็นเจ้าเมืองที่พระธาตุพระนมมาแต่เดิมแต่สมัยท่านยังเป็นกวานเมืองพระธาตุ เมียท่านซื่อว่าเจ้านางโมคคัลลีเทวีก็เป็นเซื้อวงศ์เจ้าองค์ครองเมืองนครจำปาสักเก่ามาแต่เค้าแต่เดิมก็เป็นเซื้อวงศ์เดียวกันกับเจ้านางสิริบุรมานี้เอง นี้เป็นตระกูลข้างฝ่ายพ่อของท้าวสุวัณณคำมี..."[45]
หลักฐานในจารึก
[แก้]ประวัติจารึก
[แก้]ในจารึกวัดพระธาตุพนม ๓ ได้ระบุถึงตำแหน่งขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) จากการตรวจสอบศักราชในจารึกตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๙ ดังนั้นขุนโอกาสในจารึกนี้จึงหมายถึงเจ้าพระรามราช ศักราชของจารึกอยู่ในช่วงก่อนเหตุการณ์สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์จะสถาปนาบุตรของเจ้าพระรามราชคือแสนกางน้อยสีมุงคุรให้ขึ้นปกครองธาตุพนม ๑๒ ปี จารึกนี้จารด้วยอักษรลาวเก่า (ลาวเดิม) ภาษาลาว มี ๒ ด้าน ปรากฏนามขุนโอกาสในด้านที่ ๒ มี ๑๓ บรรทัด ซึ่งจารึกก่อนด้านที่ ๑ วัตถุศิลาหินทรายทรงเสมากว้าง ๒๔ ซม. สูง ๓๕ ซม. บัญชีทะเบียนวัตถุของกองหอสมุดแห่งชาติกำหนดชื่อเป็นจารึก นพ. ๖ หนังสือจารึกในประเทศไทยเล่ม ๕ กำหนดชื่อเป็นจารึกเจ้าครูศีลาภิรัตน์ เนื่องจากด้านที่ ๑ จารในสมัยหลังโดยเจ้าครูศีลาภิรัตน์ (หมี อินฺทวํโส, บุปผาชาติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร หนังสือศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาวกำหนดชื่อเป็นจารึกวัดพระธาตุพนม ๓ และมีเฉพาะด้านที่ ๒ ส่วนหนังสืออุรังคนิทานกำหนดชื่อเป็นคำจารึกอิฐเผามีเฉพาะด้านที่ ๒ เช่นกัน จารึกนี้พบเมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ที่ประตูทิศตะวันออกของวิหารทิศใต้วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารโดยเจ้าหน้าที่แผนกศึกษาธิการจังหวัดนครพนม ปัจจุบันเก็บรักษาที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร ถูกเผยแพร่ในหนังสือจารึกในประเทศไทยเล่ม ๕[46] ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว[47] และอุรังคนิทาน[48] หลังการพบจารึกนั้นพระพนมเจติยานุรักษ์เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้คัดลอกอักษรเมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยศึกษาธิการจังหวัดนครพนมได้นำสำเนาส่งเจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ต่อมา ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เมื่อเจ้าหน้าที่อ่านจารึกจึงทราบว่ามี ๒ แผ่นโดยเนื้อหาไม่ต่อเนื่องกันทั้งต่างยุคสมัยและต่างรูปแบบอักษร เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เข้ามาสำรวจเอกสารโบราณในภาคอีสานพบว่าจารึกถูกเคลื่อนย้ายไป ต่อมาในเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้สำรวจพบจารึกประดิษฐานในกุฏิรองเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารโดยถูกสำรวจและถ่ายภาพจากคณะทำงานของโครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พบจารึกประดิษฐานที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูรในสภาพผนึกติดเสามองเห็นอักษรเพียงด้านที่ ๒ เนื้อหาด้านที่ ๑ เป็นอักษรธรรมลาวระบุถึงเจ้าครูศีลาภิรัตน์พร้อมภิกษุสามเณรและสัปบุรุษได้ประดิษฐานพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ด้านที่ ๒ จารึกด้วยอักษรลาวเก่าระบุถึงเจ้าพระยาจันทสุริยวงศา (กิ่ง จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหารองค์ที่ ๒ เป็นประธานสร้างพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ โดยโปรดให้พระยาหลวงเมืองจันกับขุนโอกาสเป็นผู้ปัคคัยหะ สันนิษฐานว่าผู้สร้างจารึกนี้คือพระยาหลวงเมืองจันกับขุนโอกาส ในบรรทัดที่ ๑ ด้านที่ ๒ ระบุศักราชเป็น จ.ศ. ๑๖๘ ซึ่งมีการละเลข ๑ ตัวหน้าไว้[49] (พ.ศ. ๒๓๔๙) ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์และรัชกาลที่ ๑[50] ส่วนด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๓ ระบุศักราชเป็น จ.ศ. ๑๒๘๓ (พ.ศ. ๒๔๖๔) ตรงกับรัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๖๔)[51]
เนื้อความในจารึก
[แก้]เนื้อความจารึกระบุดังนี้ ...สังกลาสได้ฮ้อย ๖๘ ตัว ปีฮวายยี่ เจ้าพระยาจันทสุลิยวงสาเมืองมุกดาหานกับทั้งบุตตนัตตาภริยา มีอัคคมหาเสนาเจ้าใหญ่ทั้งปวงมีปัสสาทศรัทธาในวรศาสนาอันล้ำยิ่ง จิงให้พระยาหลวงเมืองจันขึ้นมาปัคคัยหะกับขุนโอกาส[52] พร้อมกับโมทนาเจ้าสังฆราชกับทั้งอันเตวาสิก พร้อมกับริจนาสิมมาสืบฮอยมือออรหันตาเจ้าไว้ ขอให้ได้ดังใจจงนิพานะ ปัตไจโย โหตุ...[53] เนื้อความจากจารึกสอดคล้องและเป็นเรื่องราวเดียวกันกับเนื้อความบางตอนในหนังสือแปงโฮงอุปโปโบสัถถารามมาวิหาระโดยเอกสารนี้ระบุว่า ...สมเด็จบุลมมบุพิตตะพระเป็นเจ้าพระยาหลวงจันทสูลิยะวังโสมโหฬาลิกัตติยะลาดซาตติสุลิยะวังสาดำโลงมหาลาชกาลาธิปัตติ ตนเสวยลาชปัลลังกะสัมปัตติยังเมืองพระนครมุกดาหานราชบุลีสีมุตติกา กับดอมพระลาสสปุตตาลาสสปุตตีนัตตินัตตาพัลลิยาห้ามอาคคเทวี มีสมเด็จอาคคมหาเสนาธิปัตติแลมหาอำมาตยลาสสมุนตีเจ้ากรมการบ้านกรมการเมืองพระธาตุพระนมเมืองมุกดาหานบุลีทั้งหลายทั้งมวล ฝูงผระกอบซอบด้วยมหาปัสสาทสัทธาแห่งกุสสลปุญญะในพุทธบัวลบาดสาสสนาตนเป็นพระโคตมะสัพพัญญูเป็นเจ้า จิงเอาเวียกสาสสนากิจจการะปลงยังพระลาสสอาสสยามาฮอดมาเถิงยังสมเด็จพระลาสสอนุซาทั้ง ๒ ตนเป็นเจ้า คือว่าสมเด็จเจ้าพระยาหลวงเมืองจันทบูลีพิลมมลาซาธานีสีโสธัมมาเซยยานุสิตตะอาคคมหาเสนาธิปัตติเมืองมุกดาหานลาสสบุลี จงถือเอายังนวกัมมิกะแลสัพพทัพพสังหาระล่วงขึ้นมาสู่ลัตตนเขตตขงกงแก้วพระเจ้าหัวอก จงโซตตกะปัคคัยยหะยอยกยังพุทธบัวลบาดสาสสนาแห่งวัดพระมหาธาตุพระนมบุลมมเจติยะเจ้า กับดอมสมเด็จพระเป็นเจ้าพระยาหลวงลามมลาซาโอกาสรัฐอุลังกลัตตนนัคระ เจ้าตนเสวยเมืองพระมหาซินธาตุพระนมบุลมมเจติยะหัวอกแก้วแห่งตนเป็นพระโคตมะสัพพัญญู...[54]
จารึกในเอกสารของชาวต่างชาติ
[แก้]สืบเนื่องจากจารึกวัดพระธาตุพนม ๓ ก่อนพบจารึกดังกล่าวมีการอ้างถึงก่อนในเอกสารต่างชาติ (แปล) พ.ศ. ๒๔๔๑ (จ.ศ. ๑๒๕๙) เอเจียน แอร์มอนิเย นักเดินทางชาวฝรั่งเศสมาถึงธาตุพนมแล้วสอบถามชาวบ้านได้รับคำตอบเกี่ยวกับเนื้อความจารึกโดยบันทึกว่า ...ที่ด้านตะวันออกมีกุฏิของพระสงฆ์และวิหารจำนวนมาก เสาทำด้วยอิฐหลังคามุงด้วยดินขอ วิหารหลังหนึ่งในจำนวนที่มีนั้นอ้างว่าสร้างโดยเจ้าอนุจากนครเวียงจันทน์ซึ่งพังทลายไปครึ่งหนึ่งแล้ว วิหารลงรักปิดทองมีจิตรกรรมและประติมากรรมที่ประตูวิหารทั้ง ๓ ด้าน อีกหลังหนึ่งนั้นไม่สวยเท่าวิหารที่กล่าวมาได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี มีจารึกภาษาลาวเขียนย้ำสามครั้งบอกว่าเจ้าเมืองบังมุกพร้อมด้วยอนุชาทั้ง ๒ ซึ่งมียศศักดิ์เหมือนกันได้มาสร้างวิหารบูชาพระธาตุ...[55] อนุชาทั้ง ๒ ของเจ้าเมืองมุกดาหารคงหมายถึงพระยาหลวงเมืองจันกับขุนโอกาสคือเจ้าพระรามราช ในพื้นเมืองเวียงจันทะบูลีระบุว่าเจ้ารามราชเป็นราชวงศ์เวียงจันทน์ ส่วนเจ้าเมืองมุกดาหารก็เป็นราชวงศ์เวียงจันทน์ เนื้อความที่เอเจียน แอร์มอนิเย อ้างถึงจึงสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่น เชื่อว่าจารึกหมายถึงเจ้าพระรามราชเนื่องจากพบจารึกหลักเดียวในวัดพระธาตุพนมกล่าวถึงเจ้าเมืองมุกดาหาร
เหตุการณ์สำคัญในสมัยปกครองธาตุพนม
[แก้]สมัยเจ้าพระรามราชปกครองธาตุพนม (พ.ศ. ๒๓๒๕-๖๐) ตลอดระยะเวลา ๓๕ ปีมีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์เวียงจันทน์ถึง ๓ รัชกาลและปรากฏเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นที่ธาตุพนมหลายครั้ง เริ่มจากกองทัพไตเซินของเวียดนามบุกเผาทำลายธาตุพนมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้านันทเสน การบูรณะพระธาตุพนมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ การสร้างและฉลองสะพานหน้าวัดพระธาตุพนม เศวตรฉัตรพระธาตุพนมหัก ตั้งบุญหลวงฉลองหอพระแก้ว และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ หลังเจ้าพระรามราชได้รับแต่งตั้งจากเวียงจันทน์ให้ขึ้นปกครองธาตุพนมนาน ๙ ปี สยามเล็งเห็นผลประโยชน์ทางการเมืองจากเวียงจันทน์จึงสนับสนุนพระเจ้านันทเสนให้ได้ขยายอำนาจเข้าครอบครองดินแดนล้านช้างทางตอนเหนือเพื่อแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อเวียดนาม พระองค์รวบรวมไพร่พลขึ้นไปตีเมืองพวนและสิบสองจุไทซึ่งเป็นกลุ่มหัวเมืองใหญ่ที่มีสถานะสองฝ่ายฟ้าของเวียงจันทน์และเวียดนาม จักรพรรดิกวางจุงผู้นำสูงสุดของกบฏไตเซิน (ไกเซิน) จึงส่งกองทัพที่เง่อานเข้าตีตลบหลังเวียงจันทน์ที่เมืองนครพนม คำเกิด และธาตุพนม เป็นเหตุให้กองทัพไตเซินบุกเผาทำลายพระธาตุพนมใน พ.ศ. ๒๓๓๔ ตรงกับ จ.ศ. ๑๑๕๓ ปีกุน ตรีศก ปูมโหรเวียงจันท์ (พงศาวดารย่อเวียงจันทน์) วัดแจ้งสว่างนอกระบุว่า ...สังกาสได้ ๔๐ ๓ (๕๐ ๓) ปีฮวงไค้ แกวมาล้อมเมืองลครแตกเข้าจูดธาตุพนมแลเมื่อเดือน ๑๒ แฮม ๗ ค่ำหั้นแล... [56] ซึ่งปีนี้พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ (แผนเมือง) ระบุว่าเจ้าจำปาศักดิ์นิพพานส่วนนครเวียงจันทน์ นครพนมหรือเมืองละคร และกองเจ้าสมพมิตบ้านธาตุเชิงชุมก็ถูกตีแตกจากสงครามเวียดนามเช่นกัน[57] ๑๐ ปีถัดมาราว พ.ศ. ๒๓๔๔ เมื่อเวียงจันทน์เปลี่ยนรัชกาลใหม่สมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์อาจเล็งเห็นผลสูญเสียจากสงครามเวียดนามซึ่งบุกเข้าทำลายพระธาตุพนมในอดีตจึงเสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุขนานใหญ่ ใบลานตำนานเมืองเก่า (บั้งจุ้ม) ระบุว่า ...สังกราด ๑๑๖๓ ปลีฮวงเฮ้า เจ้าอีนไปพอกธาดตุ...[58] ซึ่งพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ (แผนเมือง) ระบุตรงกันว่า ...ศักราช ๑๖๓ ปีฮวงเฮ้า เจ้าอินทร์ไปพอก (ปิด) ธาตุ...[59] มีข้อสังเกตว่าการบูรณะครั้งนี้ได้ใช้ปูนหรือซะทายพอกโอบภายนอกของพระธาตุตั้งแต่ฐานขึ้นไปถึงยอดที่อาจเสื่อมโทรมจากการถูกเผาทำลายใน พ.ศ. ๒๓๓๔ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิมขององค์ธาตุ และเข้าใจว่าเป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งองค์ครั้งแรกในรอบ ๑๐ ปี อย่างไรก็ตามพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ (แผนเมือง) อีกฉบับระบุว่าในปลายปีนี้คือปีฮวงเฮ้า (ระกา) ต่อถึงปีใหม่คือปีเส็ด (จอ) พระองค์พร้อมด้วยเจ้าปาศักดิ์และหัวเมืองทั้งหลายได้ขึ้นไปทำลายโพค้ำหรือบ้านโพธิ์คำ[60] ศูนย์กลางเมืองนครพนมทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงซึ่งตั้งอยู่ห่างธาตุพนมขึ้นไปทางเหนือเลียบลำน้ำโขงไม่เกิน ๘๐ กิโลเมตร แต่ไม่ปรากฏลำดับเวลาว่าทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมก่อนหรือขึ้นไปทำลายโพค้ำก่อนแน่ ๕ ปีต่อมาหลังเปลี่ยนรัชกาลใน พ.ศ. ๒๓๔๙ พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ (แผนเมือง) ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์เสด็จมาพร้อมกับชาวเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหารเพื่อร่วมกันสร้างสะพานขึ้น ๒ แห่งคือสะพานหน้าวัดพระธาตุพนมและหน้าวัดท่ง (วัดท่งเว้า) เมืองมุกดาหารซึ่งปัจจุบันกลายเป็นวัดร้าง สะพานทั้ง ๒ แห่งไม่ปรากฏที่ตั้งแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าหากไม่เป็นสะพานข้ามลำน้ำโขงจากท่าหน้าวัดอาจหมายถึงสะพานเทียบท่าหน้าวัดทั้ง ๒ แห่งลงสู่ตลิ่งชายฝั่งแม่น้ำโขงโดยเอกสารระบุว่า ...ศักราชได้ ๑๖๘ ตัว ปียี (ขาน) เจ้าอนุแลเมืองนครแลบังมุก (มุกดาหาร) สร้างขัว (สพาน) ในพระมหาธาตุ วัดท่ง (ทุ่ง) บ่ (ไม่) ทันแล้ว...[61] ปีต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๕๐ เมื่อสร้างสะพานแล้วเสร็จสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์จึงเสด็จลงมาฉลองสะพานทั้ง ๒ แห่งโดยตำนานเมืองเก่าระบุว่า ...สังกราด ๑๑๖๙ ปลีเมิงเหม้า เจ้าอนุไปสลองขัวธาดตุ...[62] ขัวธาตุในเอกสารนี้อาจหมายถึงสะพานหน้าวัดธาตุพนมแห่งเดียวโดยไม่รวมถึงสะพานหน้าวัดท่ง ส่วนพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ระบุตรงกันว่า ...ศักราชได้ ๑๖๙ ปีเม่า (เถาะ) เจ้าเวียงจันทน์ไปฉลองขัว (สะพาน) ธาตุ...[63] อย่างไรก็ตามพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ (แผนเมือง) อีกฉบับกลับให้รายละเอียดต่างไปว่าทรงลงมาฉลองสะพานวัดทั้ง ๒ แห่งความว่า ...ศักราชได้ ๑๖๙ ปีเม่า (เถาะ) เจ้าอนุเวียงจันทน์กลับเมืองละครบังมุก (มุกดาหาร) พร้อมกันฉลองขัว (สพาน) ในพระมหาธาตุแลวัดท่ง (ทุ่ง)...
ต่อมาราว พ.ศ. ๒๓๕๕-๕๖ พระองค์ได้ตั้งบุญหลวงฉลองหอพระแก้ววัดพระธาตุพนมและสร้างสะพานข้ามน้ำโขงหน้าวัดซึ่งเข้าใจว่าเป็นสะพานข้ามแอ่งน้ำจำนวนมากจากหน้าวัดพระธาตุพนมไปสู่ทางลงแม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก โดยตำนานเมืองเก่าระบุว่า ...สังกราด ๑๑๗๔ ปลีเต่าสัน เจ้าอนุไปสลองวัดธาดตุแล้วคืนมาเถิงเวียงเดือน ๓ (ปี) ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เพ็ง ตั้งบุรหลวงฮอดมื้อลับจีงแล้วสลองหอพระพระแก้วฟ้า...ส้างขัวข้ามน้ำของก็ปีนั้นแล...[64] ส่วนพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ระบุว่า ...ศักราชได้ ๑๗๕ ปีเต่าสัน (วอก) ไปฉลองเดือนเจียง (อ้าย) แรม ๔ ค่ำ วันอังคาร เจ้าเวียงจันทน์วัดธาตุคืนมาเมื่อเดือนยี่ ขึ้นสามค่ำ วันพฤหัสบดี ฮอด (ถึง) มื้อ (วัน) นั้นเดือนสามเพ็งตั้งบุญหลวงเท่าฮอด (จนถึง) มื่อฮับจึงแล้ว สร้างขัว (สะพาน) ข้ามของก็ปีนั้น...[65]
ทัศนะทางประวัติศาสตร์ด้านตำแหน่งปกครอง
[แก้]พระมหาดวง รามางกูร (พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๕๒๖) วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังษี หรือนายดวง รามางกูร อดีตประธานสภาจังหวัดนครพนม เลขาธิการพุทธสมาคมจังหวัดนครพนม กรรมการวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ฯลฯ และทายาทส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกับเอกสารชั้นต้นทุกฉบับว่าเจ้าพระรามราชเป็นเจ้าเมืองธาตุพนม พื้นเมืองพระนมชี้ว่าทรงเป็นเจ้าเมืองกัลปนาเรียกว่าเจ้าโอกาสศาสนานคร ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวยังพบในคัมภีร์อุรังคธาตุผูกเดียวหรือพื้นธาตุหัวอกมากกว่า ๑๐ ฉบับโดยนิยมเรียกผู้ปกครองธาตุพนมว่าเจ้าโอกาส คำเรียกตำแหน่งดังกล่าวสอดคล้องกับสร้อยพระนามบุตรของพระองค์ว่า "โอกาสราชะ" หรือ "อุกาสราชา" ที่พบในคัมภีร์ใบลานหลายเรื่องซึ่งหมายถึงราชาหรือเจ้าผู้ปกครองข้าโอกาส ดร.วีรพงษ์ รามางกูร (ม.ป.ช, ม.ว.ม., ป.ภ., ร.จ.พ., พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๕๖๔) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯลฯ ระบุถึงประวัติต้นตระกูลของตนสอดคล้องกับความเห็นของพระมหาดวงผู้เป็นลุง แต่มีความคลาดเคลื่อนในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับศักดินาโบราณของลาวอยู่บ้างโดยระบุว่า "...ตระกูลผมเป็นเจ้าเมืองธาตุพนมมาโดยตลอดนามสกุลนี่มาจากปู่ทวดมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนคงจะเป็นหัวเมืองชั้นจัตวาเพราะว่าเจ้าเมืองแค่ขุนเท่านั้นเองชื่อว่าขุนราม ก็เลยเอามาเป็นนามสกุลของตระกูล รามางกูรก็เลือดเนื้อเชื้อไขของรามคือขุนราม ลูกของขุนรามก็เป็นเจ้าเมืองต่อมาแต่ว่าเมืองคงจะใหญ่ขึ้นคิดว่าคงปลายกรุงศรีอยุธยาสืบทอดกันมาหลายชั่วคน ลูกของขุนรามก็เป็นเจ้าเมืองต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงแล้วแสดงว่าเมืองใหญ่ขึ้นชื่อว่าหลวงปราณีพุทธบริษัท ลูกของหลวงปราณีฯ ก็เป็นเจ้าเมืองต่อมาชื่อว่าหลวงกลางน้อยศรีมงคล...เป็นปู่ทวดของผมเป็นพ่อของปู่ของผมชื่อว่าเรืองภาษาอีสานคือเฮือง...หลวงกลางน้อยศรีมงคลเป็นเจ้าเมืองที่เป็นคนท้องถิ่นคนสุดท้ายของเมืองธาตุพนม หลังจากนั้นก็มีการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕...ก็เลิกเอาคนท้องถิ่นเป็นเจ้าเมือง ส่งข้าราชการจากกรุงเทพมหานครไปก็เลยหมดปู่ผมก็ไม่ได้เป็นเจ้าเมือง...ความที่ปู่มีความฝังใจอยากให้ลูกหลานเป็นเจ้าเมืองก็บอกว่าให้ผมเรียนรัฐศาสตร์ให้เรียนปกครองและให้เข้ากระทรวงมหาดไทย..."[66] และ "...ตอนที่เป็นเด็กอยู่นครพนมปู่พูดเสมอว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นข้าหลวง คนต่างจังหวัดเขามองข้าหลวงใหญ่มากก็คือผู้ว่าราชการจังหวัด...ดังนั้นในเมืองเล็ก ๆ ใหญ่ที่สุดก็คือข้าหลวงเราก็มุ่งมาทางนี้...เพื่อจะได้เป็นข้าราชการกระทรวงมหาดไทยแล้วไต่เต้าเป็นนายอำเภอเป็นข้าหลวงต่อไป..."[67] ส่วนพระครูสิริเจติยานุรักษ์ (สมลักษณ์ สีหเตโช, ปธ.๕, นธ.เอก, พ.ศ.?-๒๕๖๐) มหาเถระอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารซึ่งคุ้นเคยกับบุตรหลานตระกูลขุนโอกาสระบุว่าตำแหน่งปกครองของเจ้าพระรามราชเรียกว่า "ขุนโอกาส" ซึ่งปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนม ตระกูลของพระองค์สืบทอดตำแหน่งนี้มาหลายชั่วคนและทายาทก็มีบทบาททำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในวัดพระธาตุพนมมาถึงปัจจุบันโดยระบุว่า "...ตระกูลรามางกูรเป็นตระกูลเก่าแก่ของอำเภอธาตุพนมเป็นตระกูลขุนโอกาสที่มีความสำคัญกับวัดพระธาตุพนมมาช้านาน และได้มีการใช้ชื่อขุนรามรามางกูรเป็นชื่อเรือยาวด้วยว่าเรือเจ้าพ่อขุนรามฯ แห่งวัดมรุกขาราม...บุตรหลานของตระกูลรามางกูรจะเกี่ยวข้องกับวัดพระธาตุพนมมาโดยตลอดเป็นไวยาวัจกรบ้างเป็นมัคคทายกบ้าง ทั้งมหาดวง รามางกูร พ่อใหญ่บุญ รามางกูรก็เป็นไวยาวัจกร พ่อใหญ่เศียร รามางกูรก็เป็นมัคคทายก..."[68]
อย่างไรก็ตามพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส, อุทุมมาลา, ป.ธ.๖, นธ.เอก, พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๕๓๒) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ฯลฯ กลับเห็นว่าเจ้าพระรามราชมีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองข้าโอกาสพระธาตุพนมซึ่งมีหลายหมู่บ้านในสองฝั่งโขง ทรงมีช่วงชีวิตและปกครองธาตุพนมราวรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๘๒-๒๒๓๘) ก่อนรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าสิริบุนสารหลายสิบปีและก่อนเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กจะลงมาบูรณะพระธาตุพนม เนื่องจากคำให้การชาวบ้านดงนาคำชี้ว่าบุตรของเจ้าพระรามราชนามว่าแสนกางน้อยศรีมุงคุนได้ปกครองกองข้าโอกาสและรักษาคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับเดิมซึ่งจารึกไว้บนลานคำในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก[69] อย่างไรก็ตามช่วงเวลาปกครองและช่วงชีวิตของพระองค์ที่เก่าเกินไปตามทัศนะนี้ขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ทั้งในคัมภีร์ใบลานทุกฉบับและจารึก นอกจากนี้ยังพบทัศนะที่ไม่ตรงตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากกว่าทัศนะของพระธรรมราชานุวัตรอีกด้วย อาทิ สุรชัย ชินบุตร และประวิทย์ คำพรหม เห็นต่างจากหลายทัศนะว่าเจ้าพระรามราชเป็นเพียงขุนนางชั้นขุนดำรงตำแหน่งกำนันตำบลธาตุพนมถือศักดินา ๔๐๐ ไร่[70] และสืบเชื้อสายจากขุนโอกาสหรือหัวหน้าผู้ควบคุมกองข้าโอกาสพระธาตุพนมในอดีตโดยมีช่วงชีวิตอยู่ในราวรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๕๓)[71] ทัศนะนี้เกิดจากข้อสันนิษฐานของคำว่า "ขุน" ที่นำหน้าคำว่า "ราม" ซึ่งน่าจะมาจากบรรดาศักดิ์ของสยาม แต่แท้ที่จริงขุนรามเป็นนามยศลาวโบราณและถือศักดินาสูงกว่าขุนของสยาม ทัศนะของสุรชัยและประวิทย์ที่ไม่ตรงกับหลักฐานชั้นต้นทุกชิ้นเนื่องจากเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจึงมีความน่าเชื่อถือน้อยมาก เช่นเดียวกับทัศนะของอธิราชย์ นันขันตี ที่คลาดเคลื่อนมากยิ่งกว่าทุกทัศนะโดยระบุว่า "...พระธาตุพนมตกอยู่ใต้ปกครองของพระราชอาณาจักรไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๒...พื้นที่อำเภอธาตุพนมและบริเวณใกล้เคียงจึงไม่มีเจ้าเมืองปกครอง..."[72] ความเห็นของอธิราชย์ไม่มีหลักฐานอ้างอิงทั้งพยายามชี้ว่าเจ้าพระรามราชไม่มีตัวตนและขัดแย้งกับหลักฐานประวัติศาสตร์ทุกชิ้น เนื่องจาก พ.ศ. ๒๓๒๒ นั้นธาตุพนมยังมีสถานะเป็นเมืองหรือเวียงพระธาตุอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ พื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอกระบุว่าเจ้าเมืองขณะนั้นคือเจ้าพระยาหลวงบุตโคตตวงสาและกุมมารเวียงจันทน์ทั้ง ๖ ซึ่งผลัดกันปกครองเมืองธาตุพนมก่อน พ.ศ. ๒๓๒๕ และ "พระราชอาณาจักรไทย" ในขณะนั้นยังไม่ได้ถือกำเนิดขึ้น ดังนั้นทัศนะนี้จึงไม่มีความน่าเชื่อถือและเลื่อนลอย ทั้งแสดงถึงความไม่เข้าใจระบบการปกครองของรัฐในสมัยจารีตและระบบการปกครองเมืองกัลปนาซึ่งปรากฏทั่วไปในกลุ่มประเทศอุษาคเนย์ที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกด้วย[73]
เกี่ยวกับผู้ปกครองธาตุพนมสมัยรัฐจารีตโดยสังเขป
[แก้]คำเรียกตำแหน่งผู้ปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมพบในเอกสารลายลักษณ์อักษรและจารึกหลายคำ เช่น เจ้าเมือง เจ้าตนเสวยเมือง เจ้าตนโอกาสเสวยเมือง สมเด็จพระบุรมบุพพิตต์อันเป็นพระราชอาชญาหลวง ขุนโอกาส เจ้าโอกาส[74] เจ้าโอกาสา เจ้าโอกาสหลวง พระยาเจ้าโอกาส อาชญาเจ้าโอกาสหลวง เค้าอุปัฏฐาก พระเจ้าเฮือน เจ้าเฮือน พระยาเจ้า นายกอง โอกาสะขันธะนายกะราชะ เป็นต้น คำว่า "เจ้าเมือง" พบในเอกสารท้องถิ่นหลายฉบับ เอกสารต่างชาติ (แปล) และเอกสารของสยามแต่ไม่พบในจารึก คำว่า "ขุนโอกาส" พบในเอกสารท้องถิ่นและจารึกแต่ไม่พบในเอกสารต่างชาติและเอกสารของสยาม คำว่า "เจ้าโอกาส"[75] พบทั้งในคัมภีร์อุรังคธาตุ พื้นธาตุพนม พื้นธาตุหัวอก และเอกสารท้องถิ่นช่วงกลางถึงปลาย พ.ศ. ๒๔๐๐ คำว่า "เจ้าโอกาสหลวง" พบในพื้นพระยาธรรมิกราช (พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธราช) เป็นต้น คำว่า "พระเจ้าเฮือน" "เจ้าเฮือน" "พระยาเจ้า" พบในนิทานอุรังคธาตุ พื้นธาตุพนม และจารึก ส่วนคำว่า "นายกอง" พบทั้งในเอกสารท้องถิ่น เอกสารต่างชาติ (แปล) และเอกสารของสยามแต่ไม่พบในจารึก เป็นต้น คำเรียกตำแหน่งผู้ปกครองธาตุพนมเหล่านี้ต่างแสดงถึงพัฒนาการความเป็นชุมชนเมือง และระบบการปกครองแบบพิเศษของธาตุพนมในฐานะพื้นที่กัลปนาขนาดใหญ่ ในสมัยตำนานอาจราวพุทธศตวรรษที่ ๒-๖ พื้นเมืองพระนมระบุว่าผู้ปกครองธาตุพนมมีสถานะเป็นพระยาเมืองโดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๓ กอง มีพระยาสหัสสรัฏฐา (เจ้าแสนเมืองหรือเจ้าเมืองแสน) พระราชนัดดาของพระยานันทเสนกษัตริย์ศรีโคตรบูรโบราณเป็นผู้ปกครองเมืองธาตุพนมหรือเมืองภูกำพร้า โดยมีพระยาทักขีณรัฏฐา (เจ้าเมืองขวา) และพระยานาคกุฏฐวิตถาระ (เจ้าโต่งกว้างหรือเจ้าโต่งเมือง) ร่วมปกครองด้วย[76] แต่พื้นตำนานธาตุพนมระบุว่าพระยาทั้ง ๓ ผลัดเปลี่ยนกันปกครองตามลำดับ ถัดมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๗ รัชกาลพระยาสุมิตตธัมมวงสาเอกราชามรุกขนครกษัตริย์มรุกขนครโบราณ พบเนื้อความในอุรังคธาตุนิทานระบุว่าผู้ปกครองธาตุพนมมีฐานะเป็นเค้าเป็นแก่ในตำแหน่งหมื่นราม[77] (ล่ามหลวง[78] หรือฮามหลวงหรือรามหลวง) เพื่ออุปัฏฐากพระธาตุพนม ล่ามหลวงได้รับพระราชทานสิ่งของตอบแทนเป็นเงินหมื่นคำพัน ขณะเดียวกันยังมีนายด่านนายกองร่วมปกครองในตำแหน่งลดหลั่นลงมาโดยถูกแต่งตั้งและได้รับพระราชทานสิ่งของประจำตำแหน่งเช่นกัน เนื้อความระบุว่า "...แล้วพระยาเทวะอามาตย์เอาไปให้ล่ามนำไปแจกยายแก่นายด่านนายกองเงินพันคำพัน (เงินพันคำร้อย) เสื้อผ้า..."[79] และ "...ให้เขาเหล่านั้นหาลูกเมียญาติพี่น้องวงศ์วานเข้ามาตั้งบ้านสร้างเมืองอยู่ในนั้น..."[80] ในสมัยตำนานนั้นคัมภีร์อุรังคธาตุระบุรายละเอียดผู้ปกครองธาตุพนมไว้น้อยมาก จนเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ปกครองธาตุพนมมาปรากฏอีกครั้งในช่วงท้ายคัมภีร์ซึ่งตรงกับสมัยอาณาจักรล้านช้างคือ พ.ศ. ๒๐๖๓-๙๐ (จ.ศ. ๘๘๒-๙๐๙) พระยาโพธิสาลราชทรงแต่งตั้งข้าเมืองส่วย ๒ พี่น้องที่เคยดำรงตำแหน่งข้าหัตถบาทใกล้ชิดของพระองค์จากราชสำนักเชียงทองมาปกครองธาตุพนม ทรงพระราชทานศักดินาถึงชั้นเจ้าพัน (หัวพัน) เทียบเจ้าเมืองชั้นโท ผู้น้องมีนามยศ "เฮือนหิน" ซึ่งหมายถึงผู้เป็นใหญ่แห่งปราสาทหินอันหมายถึงอูบมุงภูกำพร้าหรือพระธาตุพนม โดยเรียกตำแหน่งนี้ว่า "พันเฮือนหิน"[81] (พันเรือนหิน) บ้างว่าพันเฮือหิน (พันเรือหิน) ส่วนผู้พี่นั้นให้เป็นพันซะเอ็ง[82] (ข้าราชเอ็งหรือข้าซะเอ็ง) สันนิษฐานว่า ๒ ตำแหน่งนี้ทรงพระราชทานแก่ผู้ปกครองธาตุพนมเป็นพิเศษในฐานะผู้ทำหน้าที่ดูแลรักษาศาสนสถานและปกครองพื้นที่กัลปนา โดยได้รับอิทธิพลจากตำแหน่งโขลญพลในวัฒนธรรมขอม[83] ดังหลักฐาน "...ลูกข้าสองคนเมืองส่วยเอามาถวายแต่น้อย ๆ พระองค์เลี้ยงไว้เป็นข้าหัตถบาส ผู้อ้ายนั้นชื่อว่าข้าชะเองผู้น้องให้กินเฮือนหินจึงได้ชื่อว่าพันเฮือนหิน...โปรดให้เป็นใหญ่ปกครองข้าโอกาสทั้งมวล พระราชทานจุ้มและหลั่งน้ำไว้...บ่เถิงปีพันเฮือนหินจึงได้หนีกลับขึ้นมาและเฝ้าพระยาโพธิสาลราช..ข้าชะเองผู้อ้ายจึงเอาคนสามสิบคนเมืออยู่ด้วยสืบหน้าตามหลังพันเฮือนหินแล้วแต่งคนเทียวส่งข้าวกกหมกปลาอีกฮ้อยสามสิบคน ครั้งนั้นขุนพันทั้งหลายมีความสงสัยพันเฮือนหินจึงให้แต่งใส่เวียกชารืมสามสิบด้ามขวานจิงได้เฮ็ดชารืมตั้งแต่นั้นมา..."[84]
ต่อมา พ.ศ. ๒๒๒๔ (จ.ศ. ๑๐๔๓) รัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘) ปรากฏนามเจ้านายพื้นถิ่นองค์หนึ่งในจารึกสร้างพระพุทธรูปทองคำฐานบุเงินซึ่งพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ชื่อว่าพระเจ้าสุวรรณาวรวิสุทธิ์อุตมวิโรจน์โชติรัตนาลังการ โดยประดิษฐานอยู่ใต้วิหารวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ฐานพระพุทธรูปจารึกนามเจ้านายองค์นั้นว่า "...สังกราช ๔๓ ตัว ปีฮ้วงเฮ้า เดือน ๑๒ แฮม ๔ ค่ำ วัน ๕ มื้อกัดใส้ ยามแถใกล้เที่ยง วันฤกษ์ ๔ ลูก นาทีฤกษ์ ๕๙ ติดถี ๑๘ นาทีติดถี ๕๖,๕๓๘ มาสเกณฑ์ ๕๘๑ อาวมาน ๑๕,๕๙๙ หรคุณ หัวท้าวเคยแปงเล่าคึดกับทังมาตุปิตาชายามีประสาทะสัทธาประกอบด้วยมหากุสละเจตนาเลื่อมใสในวรพุทธศาสนายิ่ง จิงได้สร้างพระพุทธฮูปเจ้าขึ้นนามวิเศษ..."[85] เจ้านายองค์นี้เป็นผู้ปกครองธาตุพนมหรือไม่ยังไม่มีหลักฐานอื่นมาสนับสนุน ถัดมาใน พ.ศ. ๒๒๓๘ หลังรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชจึงปรากฏนามเจ้านายท้องอีกครั้งในจารึกลานเงินพระราชสาส์นตราตั้งซึ่งพบในองค์พระธาตุพนม เนื้อความระบุว่า "...จุลศักราชได้ ๕๗ ตัว เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ วัน ๕ พระราชอาชญาเจ้านครวรกษัตริย์ขัติยราชวงศาเจ้า สิทธิพระพรนามกรแสนจันทรานิทธสิทธิมงคลสุนทรอมร..." แสนจันทราฯ อาจเป็นนามผู้ปกครองธาตุพนมในขณะนั้นเนื่องจากผู้ปกครองในยุคหลังคือรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๗๑) เคยมีศักดินาเป็นเจ้าแสน (หัวแสน) และมีนามยศเป็นเจ้าพระยาหลวงหรือพระยา ดังพบว่ามีการแต่งตั้งแสนกางน้อยสีมุงคุรขึ้นเป็นผู้ปกครองธาตุพนม[86] ส่วนเนื้อความในจารึกชี้ว่าขณะนั้นธาตุพนมอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าผู้ครองนครพนมซึ่งเป็นประเทศราชของนครเวียงจันทน์[87] ทั้งยังชี้ถึงพัฒนาการของการขยายตัวชุมชนธาตุพนมว่ามีขนาดใหญ่ขึ้นกว่ารัชกาลพระยาโพธิสาลราชที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ปกครองในระบบศักดินาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามในคำให้การชาวบ้านบ้านดงนาคำระบุว่าเหตุการณ์ช่วงก่อนและหลังศักราชในจารึกลานเงินพระราชสาส์นตราตั้งไม่นานนั้น ธาตุพนมถูกแบ่งการปกครองออกเป็น ๓ กองเหมือนครั้งแรกตั้งเมืองในสมัยตำนานหรือสมัยศรีโคตรบูรโดยมีผู้ปกครอง ๓ ตำแหน่ง คำให้การชาวบ้านดงนาคำระบุว่าครั้งสร้างยอดพระธาตุพนมสำเร็จเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้มอบหมายหน้าที่แก่หัวหน้าข้าโอกาสทั้ง ๓ คือ แสนกลางน้อยศรีมงคล แสนพนม และแสนนามให้อพยพครอบครัวบ่าวไพร่จากบ้านธาตุพนมไปตั้งบ้านเรือนอยู่แถบบ้านดงนาคำ โดยแสนกลางน้อยศรีมุงคุลอพยพผู้คนไปตั้งอยู่บ้านมะนาว (หมากนาว) แสนพนมตั้งอยู่บ้านดงใน ส่วนแสนนามตั้งอยู่บ้านดงนอก[88] อย่างไรก็ตามคำให้การนี้แม้จะสะท้อนรูปแบบการปกครองธาตุพนมในสมัยล้านช้างแบบพิเศษได้ในระดับหนึ่งคือการมีผู้ควบคุมข้าโอกาส ๓ ตำแหน่ง แต่เนื้อหามีลักษณะกึ่งมุขปาฐะที่ถูกให้การในช่วงปลาย พ.ศ. ๒๔๐๐ และบันทึกขึ้นในภายหลัง จึงอาจเกิดความสับสนเรื่องลำดับเวลาทางประวัติศาสตร์ได้เนื่องจากหลักฐานชั้นต้นอย่างน้อย ๑๐ ฉบับระบุว่า แสนกลางน้อยศรีมงคลหรือแสนกางน้อยสีมุงคุรนั้นปกครองธาตุพนมในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๗๑) ไม่ใช่รัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘) ต่อมาล้านช้างแบ่งแยกเป็น ๓ อาณาจักรพบว่าเอกสารหลายฉบับระบุคำเรียกสถานะผู้ปกครองธาตุพนมที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ขุนโอกาส นายกองข้าโอกาส กวานเมือง กวานเวียงพระธาตุ เจ้าเมือง เจ้าหย่ำกระหม่อมสมเด็จเจ้าพระยาฯ[89] เป็นต้น โดยภายหลังสงครามเวียงจันทน์-สยามใน พ.ศ. ๒๓๗๑ หรือหลังการล่มสลายของราชวงศ์เวียงจันทน์ได้พบหลักฐานในสมุดไทยดำอักษรไทยของจังหวัดสกลนคร ชี้ว่าเมืองธาตุพนมถูกยุบสถานะลงเป็นกองบ้านธาตุพนมคือราวก่อน พ.ศ. ๒๓๘๖ เพี้ยเมืองทศ (นายเชียงสุวรรณ) ปลัดกองข้าพระธาตุพนมเมืองธาตุบุตรเพี้ยเมืองธาตุอดีตนายกองควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระเมืองธาตุ ได้มาปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมก่อพระธาตุเชิงชุมครอบปรางค์ขอมเดิมเมื่อวัน ๓ (อังคาร) แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ จ.ศ. ๑๒๐๕ (พ.ศ. ๒๓๘๖) ต่อมาท้าวเพี้ยตัวเลกกองข้าพระธาตุพนมกลุ่มเพี้ยเมืองทศที่ขึ้นกับกองพระพิทักษ์เจดีย์บ้านธาตุพนมไม่ยอมกลับบ้านเมืองเดิมของตน แล้วพากันอพยพออกมาตั้งบ้านงิ้วด่อน คูสนาม และฉพังเม็ก (พังเม็ก) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองสกลนครโดยขอทำราชการขึ้นกับเมืองสกลนคร พระพิทักษ์เจดีย์นายกองข้าพระธาตุพนมจึงกล่าวโทษลงไปกรุงเทพฯ แต่กษัตริย์สยามโปรดให้กลุ่มเพี้ยเมืองทศขึ้นสังกัดได้ตามสมัครใจพร้อมแต่งตั้งขึ้นเป็นพระพิทักษ์เจดีย์นายกองควบคุมข้าพระวัดวาอารามในเมืองสกลนครด้วย ถัดนั้นในก่อน พ.ศ. ๒๔๑๖ (จ.ศ. ๑๒๓๕) เอกสารประวัติบ้านชะโนดระบุว่าธาตุพนมถูกปกครองโดยนายกองอย่างน้อย ๒ คนซึ่งเป็นเชื้อสายท้าวคำสิงห์บุตรของหม่อมบ่าวหลวงผู้ตั้งเมืองหลวงโพนสิมในแขวงสะหวันนะเขด เอกสารระบุว่า[90] "...อามาตย์ผู้น้องมีบุตรชาย ๒ คนคืออ้วน ๑ คูณ ๑...เติบโตขึ้นบ่าวอ้วนบ่าวคูณได้ลงไปเรียนเป็นกองปกครองข้าพระธาตุพนมที่กรุงเทพฯ ได้รับชื่อเป็นสุริยะราชวัตร์ขึ้นเป็นใหญ่ในบ้านชะโนดพวกนี้เป็นเชื้อลูกหลานบ่าวคำสิงห์ทั้งหมด..."[91] เหตุการณ์คงเกิดขึ้นหลังการปกครองของกลุ่มเพี้ยเมืองธาตุและเพี้ยเมืองทศ จากนั้น พ.ศ. ๒๔๒๓ (จ.ศ. ๑๒๔๒) สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้สำเร็จราชการมหาดไทย ได้มีท้องตรามาถึงเจ้าเมืองมุกดาหารและนครพนมให้ตั้งท้าวอุปละ (ถง) เป็นพระพิทักษ์เจดีย์นายกองข้าตัวเลกพระธาตุพนม โดยปรากฏในเอกสาร ร.๕ ร.ล.ตราน้อย เล่ม ๔ จ.ศ. ๑๒๔๒ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ความว่า "...แต่ท้าวอุปละกับครอบครัวตัวเลกรายนี้ก็ปรนนิบัติรักษาอารามพระเจดีย์พระธาตุพนมมาช้านานหลายเจ้าเมืองแล้ว ถ้าจะไม่ตั้งเป็นหมวดเป็นกองไว้ท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุจะพากันโจทย์ไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง เลกข้าพระธาตุพนมก็จะร่วงโรยเบาบางลงจะเสียไพร่พลเมือง..."[92]
จากนั้นใน พ.ศ. ๒๔๒๕ (จ.ศ. ๑๒๔๔) ดร.เปแนซ์ หมอนักสำรวจชาวฝรั่งเศสได้เดินทางโดยเรือสำรวจแม่น้ำโขงขึ้นมาทางตอนเหนือโดยผ่านเมืองธาตุพนมในราวเดือนมีนาคม ครั้นมาถึงธาตุพนมได้พบกับเจ้าเมืองธาตุพนมโดยบันทึกในหนังสือ Le Tour du Monde ว่าขณะเดินทางผ่านนครพนมนั้นเมืองต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงกำลังเป็นอหิวาตกโรค ชาวบ้านชาวเมืองไม่ยอมฝังศพคนตายด้วยโรคนี้แต่จะทิ้งศพลงน้ำโขงทุกราย "...แม้หมอแนซ์จะได้พยายามชี้แจงให้เจ้าเมืองธาตุพนมเกี่ยวกับเรื่องอหิวาต์ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและขอร้องให้นำศพไปฝังเสีย เจ้าเมืองก็หายอมไม่กลับตอบว่าเป็นธรรมเนียมของชาวบ้านชาวเมืองเช่นนี้..."[93] จากนั้นใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ธาตุพนมได้ปราศจากผู้ปกครองที่มีอำนาจอย่างเป็นเอกเทศเนื่องจากถูกแทรกแซงกิจการท้องถิ่นโดยเจ้าเมืองนครพนมและมุกดาหาร รวมถึงหัวเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ที่อยู่รายรอบธาตุพนม ก่อน พ.ศ. ๒๔๒๔ (จ.ศ. ๑๒๔๓) นั้นธาตุพนมเคยเป็นอิสระจากอำนาจรัฐศูนย์กลางเนื่องจากเป็นพื้นที่กัลปนา และอำนาจเอกเทศของผู้ปกครองธาตุพนมได้เริ่มสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๒๔๒๕ (จ.ศ. ๑๒๔๔) โดยผู้ปกครองธาตุพนมในฐานะนายกองต้องถูกแต่งตั้งจากสยาม บันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน แอมอนิเย ระบุว่า "...ทุกคนที่ดูแลรักษาพระธาตุนั้นอยู่ภายใต้คำสั่งของขุนนาง ๒ คน ๑. พระพิทักษ์เจดีย์เป็นหัวหน้าสำคัญซึ่งขึ้นกับเจ้าเมืองละคร ๒. หลวงภูษารัตน์ (หลวงโพธิ์สาราช) ปลัดกองซึ่งขึ้นกับเจ้าเมืองบางมุก ยศศักดิ์ของขุนนางท้องถิ่นทั้ง ๒ นี้ตกทอดต่อไปหาคนในครอบครัวเดียวกันได้ พวกเขาได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากสมเด็จมหามาลานายกรัฐมนตรีจังหวัดภาคเหนือ ก่อนปี ๑๘๘๑ (พ.ศ. ๒๔๒๔) พวกเขาไม่ได้ขึ้นกับผู้ใด แต่ว่าหลังจากเกิดมีข้อพิพาทพวกเขาได้ขอความอารักขาจากเจ้าเมืองบางมุกและเจ้าเมืองละคอน...ทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนนั้นขึ้นกับบางมุกหรือละคร ๒ จังหวัดอยู่ใกล้เคียงกับพระธาตุพนม ไม่อาจจะเป็นเมืองได้และไม่อาจจะให้มีเจ้าเมืองได้ พระธาตุซึ่งเป็นพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถทำให้เจ้าเมืองทุกคนตายลงโดยพลัน ข้าราชการพลเรือน ๒ คนที่บังคับบัญชาพลเมืองนั้นจะต้องเห็นพ้องกับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมเสียก่อนในกิจการต่าง ๆ ที่จะทำเกี่ยวกับวัดพระธาตุพนม..."[94] ภายหลังจากสยามจัดการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ. ๒๔๔๙ (จ.ศ. ๑๒๖๘) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เดินทางมาตรวจราชการมณฑลอุดร โดยผ่านไปยังหัวเมืองลาวหลายเมืองแล้วบรรยายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง คำว่า "เจ้าเมือง" ปรากฏอีกครั้งคือ "...๓ วันถึงพระธาตุพนมที่ริมแม่น้ำโขงลงเรือยาวพายล่องจากพระธาตุพนมทาง ๒ วันถึงเมืองมุกดาหาร...จนมาลงเรือยาวพายล่องจากพระธาตุพนมลงมาเมืองมุกดาหารฉันลงเรือพายของเจ้าเมืองมาจึงได้เห็นน้ำวนในแม่น้ำโขงถนัดที่แก่งคันกะเบา..."[95] อย่างไรก็ตามข้อความอาจบ่งชี้ว่าคำว่า "เจ้าเมือง" ที่พระองค์ระบุถึงนั้นอาจหมายถึงเจ้าเมืองมุกดาหารมากกว่าเจ้าเมืองธาตุพนม เนื่องจากขณะนั้นธาตุพนมถูกลดสถานะลงเป็นตำบลแล้ว และได้ยกเลิกตำแหน่งนายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมไปตั้งแต่การเริ่มจัดตั้งบริเวณธาตุพนมในก่อน พ.ศ. ๒๔๔๔[96]
สกุลและทายาทที่สืบเชื้อสาย
[แก้]การตั้งสกุลและผู้ร่วมใช้สกุลรามางกูร
[แก้]เจ้าพระรามราชรามางกูรเป็นต้นสกุลรามางกูรและสกุลบุคคละ ผู้ตั้งสกุลรามางกูรนามว่าพระอุปราชา (เฮือง) หรือนายฮ้อยเฮืองสกุลเดิมบุคคละผู้เป็นหลานปู่ บุตรลำดับที่ ๓ ของเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัทหรือแสนกางน้อยสีมุงคุร (ศรี) ขุนโอกาส (เจ้าเมือง) ธาตุพนมคนที่ ๒ กับอาดยานางบุษดีเชื้อสายหม่อมบ่าวหลวงผู้ตั้งเมืองหลวงโพนสิม ส่วนผู้ตั้งสกุลบุคคละคือพระอัคร์บุตร (บุญมี) หรือพระมหาสมเด็จราชาธาตุพระนมบุรมราชาเจดีย์มหาคูร ขุนโอกาส (เจ้าเมือง) ธาตุพนมคนที่ ๔ (ปกครองเฉพาะปากเซบั้งไฟฝั่งซ้ายน้ำโขงในอารักขาฝรั่งเศส) บุตรลำดับแรกโดยตั้งจากประเทศลาว ทายาทผู้ใช้สกุลรามางกูรมาจาก ๓ สายสกุลคือบุคคละ ประคำมินทร์ และบัวสาย บุคคละเป็นสกุลเดิมของพระอุปราชา (เฮือง) ประคำมินทร์เป็นสกุลเดิมของธิดาเจ้าพระรามราช ส่วนบัวสายเป็นสกุลเจ้าเมืองและกรมการเมืองเรณูนคร[97] ชั้นต้นมีผู้ใช้สกุลรามางกูร ๑๕ ท่าน รวมพระอุปราชา (เฮือง) ทายาทผู้ขอร่วมใช้สกุลแรกตั้งสกุลมี ๑๔ ท่าน เดิมมี ๑๐ ท่าน ต่อมาร่วมใช้อีก ๔ ท่าน ผู้ใช้สกุลสืบสายตรงจากเจ้าพระรามราชมี ๑๓ ท่าน อีก ๑ ท่านเป็นญาติภริยาพระอุปราชา (เฮือง) มิใช่สายโลหิตโดยกำเนิดแต่เป็นบุตรบุญธรรมและมีเชื้อสายเจ้านายเมืองเรณูนคร ผู้ร่วมใช้สกุล ๑๔ ท่านมีทายาทเกิดแต่บุตรชายเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) บุตรเจ้าพระรามราช ๑๐ ท่านซึ่งเป็นทายาทชั้นเหลนเจ้าพระรามราช อีก ๓ ท่านเป็นทายาทบุตรธิดาอาดยานางหล้าน้องสาวเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) ซึ่งเป็นทายาทชั้นเหลนเจ้าพระรามราชเช่นกัน ๓ ท่านนี้สืบทางสตรีลงมา ๒ ชั้นคือชั้นยายและมารดา ๒ ท่าน สืบทางสตรีแล้วผ่านบุรุษลงมา ๑ ชั้นคือชั้นย่าและบิดา ๑ ท่าน ทายาทสายตรงจากเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) ชั้นหลานมี ๑๐ ท่าน เป็นบุตรพระอัคร์บุตร (บุญมี) ๒ ท่าน บุตรท้าวจารย์พุทธา ๑ ท่าน บุตรพระอุปราชา (เฮือง) ๔ ท่าน บุตรท้าวพรหมบุตร์ (เที่ยง) ๓ ท่าน รวม ๑๐ ท่านกับทายาทบุญธรรมเจ้าพระอุปราชา (เฮือง) ซึ่งเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองเรณูนครแล้วมี ๑๑ ท่าน ต่อมาทายาทสายอาดยานางหล้าน้องสาวเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) ๓ ท่านใช้สกุลร่วมกันจึงมีทั้งสิ้น ๑๔ ท่าน เมื่อรวมพระอุปราชา (เฮือง) ผู้ตั้งสกุลมี ๑๕ ท่าน ทายาททั้ง ๑๔ ท่าน ได้แก่
๑. กำนันสุนีย์ รามางกูร (นายสุนีย์ บุคคละ (นี))[98] กำนันตำบลธาตุพนมท่านแรกหลังยกเลิกบรรดาศักดิ์และกำนันตำบลธาตุพนมลำดับ ๗ เป็นน้องชายต่างมารดากับหมื่นศีลาสมาทานวัตร์ (ท้าวสุวรรณสีลา) กำนันตำบลธาตุพนมลำดับ ๑ เป็นบุตร์พระอัคร์บุตร (บุญมี) กับนางวัน (บ้างว่านางโผน) ชาวธาตุพนม เป็นหลานเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) กับอาดยานางบุษดี เป็นเหลนเจ้าพระรามราชกับอาดยาโซ่นสิริบุญมาแห่งจำปาศักดิ์
๒. นายคำมี รามางกูร[99] (ท้าวสุวัณณคำมี บุคคละ (มี)) ชาวนครเวียงจันทน์ ตั้งรกรากที่คุ้มวัดหัวเวียง บ้านหัวบึง และบ้านดอนนางหงส์ท่า อำเภอธาตุพนม ตามลำดับ[100] เป็นบุตรสุดท้ายของพระอัคร์บุตร (บุญมี) กับอาดยานางบัวสี (สกุลสุวันนะพักดี หลานเจ้าอุปฮาตเมืองคำเกิด) และเป็นบุตรบุญธรรมพระอุปราชา (เฮือง) กับอาดยานางสูนทอง (สกุลเดิมบัวสาย)
๓. นายกง รามางกูร (นายกง บุคคละ (กง)) ผู้ร่วมสร้างพระพุทธไสยาสน์และหอพระพุทธไสยยาสน์ประดิษฐานเหนือเมรุพระอุปราชา (เฮือง) ณ วัดป่าสุริโย เป็นบุตร์ท้าวจารย์พุทธากับนางอบ (บ้างว่านางบุตร) เป็นหลานเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) กับอาดยานางบุษดี เป็นเหลนเจ้าพระรามราชกับอาดยาโซ่นสิริบุญมาแห่งจำปาศักดิ์
๔. นายแก้ว รามางกูร (นายแก้ว บุคคละ (จารย์แก้ว)) เป็นบุตรพระอุปราชา (เฮือง) กับยานางจำปี (สกุลเดิมสารสิทธิ์) เป็นหลานเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) กับอาดยานางบุษดี เป็นเหลนเจ้าพระรามราชกับอาดยาโซ่นสิริบุญมาแห่งจำปาศักดิ์
๕. นายดวง รามางกูร (นายดวง บุคคละ หรือมหาดวง, ป.ธ., พระราชทานเพลิง) เป็นบุตรพระอุปราชา (เฮือง) กับอาดยานางสูนทอง (สกุลเดิมบัวสาย ทายาทพระแก้วโกมล (สาย) เจ้าเมืองเรณูนครและเจ้าอุปฮาต (บุตร บัวสาย) เมืองเรณูนคร)
๖. ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร (นายประดิษฐ์ บุคคละ (แดง), ร.จ.ม., ช.ส., พระราชทานเพลิง) เป็นบุตรพระอุปราชา (เฮือง) กับอาดยานางสูนทอง (สกุลเดิมบัวสาย ทายาทพระแก้วโกมล (สาย) เจ้าเมืองเรณูนครและเจ้าอุปฮาต (บุตร บัวสาย) เมืองเรณูนคร) เป็นบิดา ดร. วีรพงษ์ รามางกูร (นายประดับ บุคคละ, ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ.) อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตนายกสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ ฯลฯ
๗. นายโกมล รามางกูร เป็นบุตรพระอุปราชา (เฮือง) กับยานางแก้วชาวร้อยเอ็ด[101]
๘. ท้าวเสถียร รามางกูร (ท้าวเสถียร บุคคละ (เถียน)) เป็นบุตรราชวงศ์หรือท้าวพรหมบุตร (เที่ยง) นครเวียงจันทน์ กับอาดยานางบัวสี เป็นหลานเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี) กับอาดยานางบุษดี เป็นเหลนเจ้าพระรามราชกับอาดยาโซ่นสิริบุญมาแห่งจำปาศักดิ์
๙. ท้าวลังสี รามางกูร (ท้าวจันทรรังสี บุคคละ (ลังสี)) ชาวนครเวียงจันทน์ เป็นบุตรราชวงศ์หรือท้าวพรหมบุตร (เที่ยง) บ้านสวนมอน เมืองสีสัดตะนาก กำแพงนครเวียงจันทน์ กับอาดยานางบัวสี
๑๐. นายตุ๊ รามางกูร (นายตุ๊ บุคคละ (ตุ๊)) เป็นบุตรราชวงศ์หรือท้าวพรหมบุตร (เที่ยง) นครเวียงจันทน์ กับอาดยานางบัวสี
๑๑. นายณรงค์ รามางกูร (นายณรงค์ บัวสาย (นะ)) อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านนาแก เดิมเป็นชาวเมืองเรณูนคร (เมืองเว) ตั้งรกรากที่บ้านนาแก ตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม เป็นบุตรอาดยานางครุฑจันทร์ บัวสาย พี่สาวอาดยานางสูนทอง บัวสาย หม่อมของพระอุปราชา (เฮือง) เป็นหลานตาขุนสฤษดิ์เรณู (ท้าวไชยสาย บัวสาย) กับอาดยานางผายี เป็นเหลนทวดเพี้ยพรรณละบุตร์ (พัน บัวสาย) ต้นสกุลพรรณุวงศ์ กับอาชญานางซืม เพี้ยพรรณละบุตร์ (พัน บัวสาย) เป็นบุตรเพี้ยเสมียนบัว (บัวละวงศ์ บัวสาย) กับนางมะนีละวัน เพี้ยเสมียนบัว (บัวละวงศ์ บัวสาย) เป็นบุตรพระแก้วโกมล (สาย) เจ้าเมืองเรณูนคร นางมะนีละวันเป็นธิดาเจ้าอุปฮาต (บุตร บัวสาย) เมืองเรณูนคร
๑๒. นายกุหลาบ รามางกูร (นายกุหลาบ ประคำมินทร์) เป็นบุตรอาดยานางนางกับท้าวกองเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นหลานยายอาดยานางคำหล้า ((หล้า) ธิดาเจ้าพระรามราช) กับท้าวทา (ต้นสกุลประคำมินทร์) เป็นเหลนเจ้าพระรามราชกับอาดยาโซ่นสิริบุญมาแห่งจำปาศักดิ์
๑๓. นายเกิ่ง รามางกูร (นายเกิ่ง ประคำมินทร์ (เกิ่ง)) เป็นบุตรอาดยานางนางกับท้าวกองเมืองนครจำปาศักดิ์
๑๔. นายบุญ รามางกูร (นายบุญ ประคำมินทร์ (บุญ)) เป็นบุตรท้าวแพง (สกุลประคำมินทร์) กับนางบุดดา เป็นหลานย่าอาดยานางคำหล้า ((หล้า) ธิดาเจ้าพระรามราช) กับท้าวทา (ต้นสกุลประคำมินทร์)
สกุลหลักและสกุลสาขา
[แก้]สกุลที่สืบเชื้อสายทั้งสายตรงและเกี่ยวดองทางเครือญาติกับเจ้าพระรามราชรามางกูรและเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งสี (บิดา) ได้แก่ รามางกูร บุคคละ[102] (บุคละ) รามางกูร ณ โคตะปุระ [103] ในประเทศไทย ຣາມາງກູຣ (บ้างใช้ ຣາມາງກູນ ລາມາງກູນ ຣາມາງກຸຣ ລາມັງກຸນ) บุคคละวิเสด ในประเทศลาว ส่วนสกุลที่เป็นมหาสาขา ได้แก่ ประคำมินทร์ (ประคำ) จันทศ (จันทร์ทศ) ทามนตรี (ทามุนตรี บ้างออกเสียงว่าไซมุนตี) มันทะ (มัณฑะ) มันตะ จันทนะ (จันทะนะ) มนารถ สุมนารถ (เดิมใช้มนารถ)[104] วงศ์ขันธ์ (วงษ์ขันธ์) ลือชา (ฤๅชา) สารสิทธิ์ พุทธศิริ รัตโนธร ครธน ธีระภา อุทา สายบุญ ชุณหปราณ ทศศะ ชามาตย์ อุปละ[105] อุประ อึ้งอุประ[106] บุปผาชาติ สุภารัตน์ พรหมอารักษ์ จันทรา ใจสุข ใจช่วง เมืองโคตร เหล่าไพฑูรย์ จันทลสาขา (จันทรสาขา สกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ ๖) พิทักษ์พนม (สกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ ๘)[107] บัวสาย พรรณุวงศ์ มังคลคีรี (มังคละคีรี สกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ ๖) อรรคศรีวร ธ.น.ตื้อ ฯลฯ
ทายาทสำคัญในสกุล
[แก้]ดวง รามางกูร (นามเดิมดวง บุคคละ, ปธ.) อดีตพระมหาดวง คณะแดงรังสี วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร อดีตประธานสภาจังหวัดนครพนม และอดีตคณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดนครพนม เจ้าของร้านสินไทยร้านหนังสือแห่งแรกของอำเภอธาตุพนม ผู้รวบรวมคัมภีร์ใบลานเกี่ยวกับประวัติเมืองธาตุพนมและอนุเคราะห์แปลอักษรโบราณแก่ทางวัดพระธาตุพนม ทั้งอุปถัมภ์และสร้างวัดในอำเภอหลายแห่ง เช่น วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดมรุกขาราม วัดป่าสุริโย วัดเกาะแก้วอัมพวัน เป็นต้น ปัจจุบันถึงแก่กรรมและพระราชทานเพลิง ณ วัดสารภาณนิมิตร อ.เมือง จ.นครพนม
รามงฺกุโร ภิกขุ (พระมหาธเนศร์ รามงฺกุโร, รามางกูร, ป.ธ.๔, น.ธ.เอก) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พระธรรมทูตรุ่น ๘ วัดป่าธรรมชาติ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร (นามเดิมประดับ บุคคละ, ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ.) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ๗ รัฐบาล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีหลายสมัย อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ เป็นต้น[108]
เอ่ม รามางกูร (Em Ramangkoun) อดีตนายทหารลาวสมัยพระราชอาณาจักรลาวในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ปัจจุบันลี้ภัยไปต่างประเทศ
บันดิด รามางกูร (Bandith Ramangkoun) Deputy Director General of Department of Agricultural Land Management (DALaM) อดีต Acting Director of Center of Agriculture and Forestry Research Information (CAFRI), NAFRI และอดีต Director of Administration Division, Department of Agricultural Land Management (DaLaM).
กี้ รามางกูร (Ky ramangkoun) นครเวียงจันทน์ นางแบบชื่อดังของประเทศลาว
วรมน รามางกูร ผู้พิพากษา[109] ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
วรวงศ์ รามางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ในคณะรัฐมนตรีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร[110]
ดร.ภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา[111] รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ดร.พูนสิน ประคำมินทร์
รองศาสตราจารย์ ดร.วยุพา ทศศะ ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[112]
วิวัฒน์ชัย คงเพชร อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักษาชาติแบบแบ่งเขต (เขต ๓) จังหวัดนครพนม (ก่อนถูกยุบพรรค) กรรมการบริหารจัดการวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๕๖๖[113]
จุฑาทิพย์ สุมนารถ นักร้อง ฯลฯ
นามานุสรณ์
[แก้]นามสกุลรามางกูรในไทย, นามสกุลรามางกูร ณ โคตะปุระในไทย[114], นามสกุลรามางกูร (รามางกูน ลามางกูน รามางกุร ลามังกุน) ใน สปป.ลาว, ฉายาพระสงฆ์รามงฺกุโร (รามังกุโร), จวนขุนราม เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา, บ้านรามางกูร อำเภอธาตุพนม, ซอยรามางกูร คุ้มวัดเกาะแก้วอัมพวัน อำเภอธาตุพนม, เรือแข่งเจ้าพ่อขุนราม วัดมรุกขาราม อำเภอธาตุพนม, กาละแมขุนรามผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในอำเภอธาตุพนม, โครงการรับสร้างบ้านขุนราม เฮ้าส์ อำเภอธาตุพนม เป็นต้น
ก่อนหน้า | เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าพระยาหลวงบุตรโคตรวงสา (คำอยู่ รามางกูร) กวานเวียงพระนม | ขุนโอกาสหรือเจ้าโอกาส (เจ้าเมือง) ธาตุพนม |
เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วีรพงษ์ รามางกูร, ดร., "วงศ์สกุลของพ่อ", ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร ณ เมรุวัดตรีทศเทพ : วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๘ เวลา ๑๗.๐๐ น., (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.ส., ๒๕๒๘), หน้า ๑.
- ↑ สุรชัย ชินบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าใจว่าตำแหน่งขุนโอกาสคนแรกถูกแต่งตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่จากหลักฐานพื้นเวียงจันทน์พบว่าถูกแต่งตั้งในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๕ ซึ่งเป็นปีปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์รัตนโกสินทร์ ดูรายละเอียดใน สุรชัย ชินบุตร, "สัญลักษณ์ข้าโอกาสวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในพิธีถวายข้าวพีชภาคและเสียค่าหัว", ไทยศึกษา. ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ (สิงหาคม ๒๕๕๖-มกราคม ๒๕๕๗) : ๑๗๒.
- ↑ สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู. เอกสารเรื่อง พื้นพระยาธัมมิกราช (พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธราช) (ฉบับคัดลอก). วัดศรีสุมังค์ บ.นาถ่อนท่า ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสารเขียนบนกระดาษ ๑ ฉบับ. อักษรธรรมลาว-ลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นเขียน. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. หมวดตำนานพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์. ๓ แผ่น ๖ หน้า. ผ.๓/น.๖/ด.๒. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ ธาตุพนมเคยเป็นเมืองธาตุพนมไม่ได้เป็นเพียงบ้านธาตุพนมตามความเข้าใจและความเชื่อของนักวิชาการบางกลุ่ม เรื่องความเป็นเมืองธาตุพนมดูรายละเอียดใน คัมภีร์ใบลานเรื่อง ตำนานลานคำ. หอสมุดแห่งชาติ ม.จันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. จ.ศ. ๑๒๕๙. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม เลขรหัส PLMP ๐๑ ๐๑ ๒๙ ๑๒ ๐๒๒_๐๑. หมวดนิทานชาวบ้าน. ๘ ใบ ๑๖ หน้า. ผ.๑/บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๓., คัมภีร์ใบลานเรื่อง ลำพื้นเมืองเวียงจัน. วัดอารันยาราม ม.หินบูน ข.คำม่วน สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. พ.ศ. ๒๔๗๘. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม เลขรหัส PLMP ๑๒ ๐๔ ๐๑ ๐๔ ๐๐๑_๐๐. หมวดตำนานเมือง. น.๕/บ.๓/ด.๑/บท.๔. และคัมภีร์ใบลานเรื่อง นิมิตหลักกงแก้วหัวเอิกธาตุเจ้าก้ำเหนือ. วัดหัวเวียงรังษี (ธ) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. หมวดตำนานพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์. ๒๒ ใบ ๔๓ หน้า. บ.๓/น.๖/ด.๒/, บ.๔/น.๘/ด.๒, บ.๕/น.๙/ด.๑-น.๑๐/ด.๒. (เอกสารส่วนบุคคล), ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), "เมืองลาวแถบโขง", ใน วชิรญาณวิเศษ : เล่ม ๘ แผ่นที่ ๔๖ วันพฤหัศบดี ที่ ๒๔ เดือนสิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ, (ม.ป.ท. : สำนักหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ม.ป.ป.), หน้า ๕๔๒-๕๔๓. สุพร สิริพัฒน์, "Laotiane", ใน อำเภอธาตุพนมดินแดนพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์, (นครพนม : ม.ป.พ., ม.ป.ป.), หน้า ๕-๖. (อัดสำเนา), โยซิยูกิ มาซูฮารา, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรลาวล้านช้างสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๗ จาก "รัฐการค้าภายในภาคพื้นทวีป" ไปสู่ "รัฐกึ่งเมืองท่า", (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖), หน้า ๙๐., ง้าวแถน ถนิมแก้ว, สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว : เอกสารประวัติศาสตร์การเมืองลาวจากปี ค.ศ. ๗๐๐ ถึงปี ค.ศ. ๑๙๖๐, เรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย บุญส่ง สิริขรรค์, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ๒๕๔๒)., Lefevre, E., Travels in Laos : The Fate of the Sip Song Pana and Muong Sing (๑๘๙๔-๑๘๙๖), (Bangkok : White Lotus, ๑๙๙๕)., และ Aymonie, Etienne, Isan travels : Northeast Thailand's economy in ๑๘๘๓-๑๘๘๔, Translated by E. J. Tips, Walter, (Bangkok : White Lotus, ๒๐๐๐), p. ๗๙.
- ↑ การสถาปนาพระบรมธาตุมีรูปแบบและที่ตั้งตามสภาพแวดล้อม ๓ ลักษณะคือ ๑) เวียงพระธาตุ คือสถาปนาให้พระธาตุเป็นศูนย์กลางชุมชนทั้งที่สูงและที่ราบ ๒) จอมพระธาตุ คือสถาปนาให้พระธาตุเป็นศุนย์กลางเฉพาะชุมชนในพื้นที่ระดับสูง ๓) พระธาตุในแนวคิดลังกาคติ คือการสถาปนาพระธาตุภายใต้แนวคิดจากคัมภีร์มหาวงศ์และถูปวงศ์เป็นหลัก เวียงพระธาตุมีฐานะเป็นเวียงบริวารของเมืองใหญ่หรือเมืองสำคัญ เช่น เวียงพระธาตุพนมเป็นเวียงบริวารของเมืองนครพนมและมุกดาหาร เป็นต้น จึงมีวัดหัวเวียง (หัวเวียงรังษี) ตั้งอยู่ทางด้านเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุพนม ดูรายละเอียดเวียงพระธาตุใน สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, ๒๕๓๙), หน้า ๔๘.
- ↑ คำว่า "พุทธศาสนานคร" (พุทธสาสสนานคอร) ปรากฏในนิทานอุรังคธาตุว่า "...พระอุรังคะทาดพระเจ้าเสด็จออกมาจากอุบมุงได้มากระทำปาฏิหาริย์ก็เพื่อให้ฮู้ว่าบ่ให้ปะถิ่มพุทธวจนะอันนั้น จึงได้ทำนวยทวยพุทธศาสนานครนี้ไว้...", วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัน, นิทานอุรังคธาตุ (ฉบับลาว) : วรรณกรรมเสริมสร้างมิตรภาพแห่งประชาชาติในอู่อารยธรรมลุ่มน้ำโขง อุดร จันทวัน ปริวรรตจากอักษรลาว เพื่อการวิจัยการใช้ภาษาทางศาสนาสำหรับปลูกศรัทธาและเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในอู่อารยธรรมลุ่มน้ำโขงกว่า ๒,๐๐๐ ปี, (ขอนแก่น : หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ๒๕๔๗), หน้า ๕๕.
- ↑ หรือพระไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ ตรงกับ จ.ศ. ๑๑๑๓-๔๑ ตรงกับปลายรัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ (พ.ศ. ๒๒๗๔-๒๓๐๑) ถึงพระยาตากสิน (พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๕), สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, ลำดับกษัตริย์ลาว : เอกสารวิชาการสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (นครราชสีมา : บริษัท โจเซฟ ปริ๊นซ์ติ้ง จำกัด, ๒๕๔๕), หน้า ๒๓๑.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอก (ผูกเดียว). วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. หมวดประวัติศาสตร์และพุทธตำนาน. ผ.๑/บ.๓๓/น.๖๕/ด.๑/บท.๑-๔ - น.๖๖/ด.๒/บท.๑-๔. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ สัมภาษณ์ พระครูสิริเจติยานุรักษ์ (สมลักษณ์ สีหเตโช), อาชีพ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร, บทสัมภาษณ์เรื่อง ประวัติขุนโอกาสเมืองธาตุพนมและประวัติตระกูลรามางกูร, สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕.
- ↑ เพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ, ดร., "พระยาธาตุ : ผู้ปกครองเขตน้ำแดนดินธาตุพนมและสายสกุลในปัจจุบัน", ใน ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ดร. และเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ, ดร., นัยตำนานพระธาตุพนม : งานสร้างสรรรค์ในสวนพุทธมาลัยลำดับ ๓, ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ดร. (บรรณาธิการ), (เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่สแกนเนอร์, ๒๕๖๔), หน้า ๓๔๑.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นเวียงจัน (เวียงจัน (พื้น)). วัดอารันยะราม บ.นาโน ม.หินบูน ข.คำม่วน สปป.ลาว. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีจอ ม.ป.ป.. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม PLMP ๑๒ ๐๔ ๐๑ ๑๔ ๐๐๑_๐๐. ๑๐ ใบ ๒๐ หน้า. หมวดตำนานเมือง. ผ.๑/น.๑๕/ด.๑/บท.๓-๔, น.๑๖/ด.๒/บท.๑-๓., คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นเวียงจันทะบูลี. วัดสวนตาน บ.หนองเดิ่น ม.อาดสะพอน ข.สุวรรณเขต สปป.ลาว. หนังสือใบลาน ๔ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีจอ พ.ศ. ๒๔๖๕. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม PLMP ๑๓ ๑๓ ๐๓ ๐๒ ๐๐๑_๐๐. ๑๔ ใบ ๒๘ หน้า. หมวดตำนานเมือง. ผ.๓/บ.๑๓/น.๒๕/ด.๑/บท.๑-๔-, น.๒๖/ด.๒/บท.๑. และคัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสือพื้นเวียงจัน (พื้นเวียงจัน). วัดโพไซ บ.นาห้าง ม.หินบูน ข.คำม่วน สปป.ลาว. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีขาล พ.ศ. ๒๕๐๕. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม PLMP ๑๒ ๐๔ ๐๒ ๑๔ ๐๐๑_๐๐. ๙ ใบ ๑๘ หน้า. หมวดตำนานเมือง. ผ.๑/บ.๘/น.๑๕/ด.๑/บท.๑-๔, บ.๙/น.๑๖/ด.๒/บท.๑.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นเวียงจัน (เวียงจัน (พื้น)). วัดอารันยะราม บ.นาโน ม.หินบูน ข.คำม่วน สปป.ลาว. ผ.๑/บ.๘/น.๑๕/ด.๑/บท.๓-๔, น.๑๖/ด.๒/บท.๑-๓.
- ↑ ตระกูลรามางกูรบางส่วนตั้งรกรากที่บ้านสวนมอน (สวนมอญ) เมืองสีสัดตะนาก กำแพงนครเวียงจันทน์, พิษณุ จันทร์วิทัน. "ดร.วีรพงษ์ รามางกูร กับความสัมพันธ์ ไทย-ลาว (๑)/บทความพิเศษ", มติชนสุดสัปดาห์ (Matichonweekly). (๑๙-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) : ๑.
- ↑ คือ จ.ศ. ๑๑๔๔ พ.ศ. ๒๓๒๕ ปีขาล (พฺยคฺฆสํวจฺฉร) จัตวาศก เป็นปีตั้งเมืองหรือยกฐานะเมืองธาตุพนมจากเมืองฮามคือเมืองขนาดกลางหรือเวียงพระธาตุขึ้นเป็นนครหรือเมืองขนาดใหญ่ ปีนี้มีเหตุการณ์สำคัญคือสมเด็จพระเจ้านันทเสนเสด็จขึ้นเสวยราชย์นครหลวงเวียงจันทน์แทนพระราชบิดา และนายทองด้วงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์, สำนักพจนานุกรม มติชน, พจนานุกรมฉบับมติชน (Matichon Dictionary of The Thai Language) : ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๗), หน้า ๖๐๕., ทุนมูลนิธิเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมเวียงไชยสงคราม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, สุริยยาตรา จาด้วยคณนาวัน เดือน ปี ตามอันไพแห่งพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวครหะ จุฬามณีสาร จาด้วยนครภังคะ เหตุอันเปนไพแห่งบ้านเมือง, โสภณธรรมานุวัฒน์ (บุญมี สุธมฺโม), พระครู (บรรณาธิการ), (เชียงใหม่ : บริษัท สันติภาพแพ็คพริ้นท์ จำกัด, ๒๕๕๔), หน้า ๒-๕. และคณะอนุรักษ์และเผยแพร่วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา วัดใจดงเทวี ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, ยอดไตรปิฏกะ : โบราณาจารย์ล้านนาไม่ปรากฏนาม รจนา, โสภณธรรมานุวัฒน์ (บุญมี สุธมฺโม), พระครู (บรรณาธิการ), เรียบเรียงและปริวรรตโดยสุวิทย์ ใจจุ้ม, (เชียงใหม่ : บริษัทสันติภาพแพ็คพริ้นท์ จำกัด, ๒๕๕๗), หน้า ๗๘-๗๙
- ↑ ดูรายละเอียดใน จันทะสีโสราช, เพี้ยเฒ่า และคณะ (แต่ง). คัมภีร์ใบลานเรื่อง จาเซื้อราชวังสาเจ้าพระอัคคปุตตะ (จาเซื้อวงศ์พระอัคร์บุตร). วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. หมวดตำนานเมืองและประวัติพุทธศาสนา. (เอกสารส่วนบุคคลของหม่อมจำเลินสิริ บ.วัดไต ม.สีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์)
- ↑ ในล้านช้างมี "อุรังคธาตุ" ส่วนล้านนามี "อุรุงคธาตุ" ทั้งอุรังคธาตุและอุรุงคธาตุล้วนหมายถึงธาตุดูกอกรวมถึงบริเวณหน้าอกส่วนอื่นและหัวใจของพระพุทธเจ้า ต่างกันที่บาลีล้านช้างกับบาลีล้านนาเขียนและออกเสียงไม่เหมือนกัน ในประเทศไทยมีเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้าอยู่อย่างน้อย ๔ แห่ง ในอีสานมี ๑ แห่งซึ่งจัดเป็นพระบรมธาตุ คือ พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ส่วนภาคเหนือมี ๓ แห่งโดยจัดเป็นพระบรมธาตุ ๒ แห่ง และพระธาตุ ๑ แห่ง คือ พระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน พระธาตุดอนเต้า อ.เมือง จ.ลำปาง และพระธาตุห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ ข้อแตกต่างคือพระธาตุพนมบรรจุส่วนที่เป็นธาตุหัวอก (อุลํกธาตุ, อรกธาตุ) และธาตุหมากหัวใจ (ธาตุหทฺธยํ) พระธาตุหริภุญชัยบรรจุทั้งธาตุดูกอก ดูกหัว ดูกนิ้ว และธาตุย่อย พระธาตุดอนเต้าบรรจุธาตุหัวใจและธาตุมะแกว (ไต) ส่วนพระธาตุห้วยอ้อซึ่งชาวอีสาน-สปป.ลาวไม่ค่อยรู้จักนั้นบรรจุเฉพาะธาตุดูกอก พระธาตุที่บรรจุดูกอกของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ แห่งนี้ในตำนานระบุว่าพระธาตุพนมสร้างก่อนทุกแห่ง และทั้ง ๔ แห่งต่างถูกเขียนตำนานขึ้นมารองรับความศักดิ์สิทธิ์ สงวน โชติสุขรัตน์, "ตำนานพระธาตุศรีดอนคำ (ห้วยอ้อ)", ใน ประชุมตำนานล้านนาไทย : จากนครรัฐโบราณสู่อาณาจักรยิ่งใหญ่ ถอดความจากพับสา, (ศรีปัญญา : นนทบุรี, ๒๕๕๕), หน้า ๕๘๑-๕๘๕.
- ↑ ดูรายละเอียดใน จันทะสีโสราช, เพี้ยเฒ่า และคณะ (แต่ง). คัมภีร์ใบลานเรื่อง จาเซื้อราชวังสาเจ้าพระอัคคปุตตะ (จาเซื้อวงศ์พระอัคร์บุตร). วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. (เอกสารส่วนบุคคลของหม่อมจำเลินสิริ บ.วัดไต ม.สีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์)
- ↑ วัดหัวเวียงรังษีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจากสยามเมื่อ ๒๙ มกราคม ร.ศ. ๑๓๘ พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นวันที่ ๓๓๖๗ ในรัชกาลที่ ๖ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ (ผู้มีพระบรมราชโองการ) พนมนครคณาจารย์, พระครู และเจ้าคณะแขวง, พระครู (ผู้กราบบังคมทูลพระกรุณา). เอกสารเรื่อง พระราชอุทิศที่นั้นให้เปนที่วิสุงคามสิมา. วัดหัวเวียง บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. พ.ศ. ๒๔๖๒. ไม่ปรากฏรหัส. ไม่ปรากฏหมวด. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๑-๒. (เอกสารส่วนบุคคล) และ พนมเจติยานุรักษ์, พระ, "กัณฑ์ที่ ๗ ไทยลานช้างอุปถัมภ์ ราชวงศ์ล้านช้างคุ้มครอง", ใน อุรังคะนิทาน : เปนตำนานพระธาตุพนมพิศดารละเอียดแสดงประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและมนุษย์ชนตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนปัจจุบัน พระพนมเจติยานุรักษ์เจ้าอาวาสรวบรวม พิมพ์จำหน่ายเก็บทุนบำรุงพระธาตุพนม, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (พระนคร : โรงพิมพ์ พ.พิทยาคาร (ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล), ๒๔๙๖), หน้า ๗๖. อย่างไรก็ตามในใบลานเรื่องเลิกแปลงสิมมาหัวเวียงพระมหาธาตุ อักษรลาวเดิมสมัยพระราชอาณาจักร มี ๑ ผูก ๕ ใบ จาร ๙ หน้า สันนิษฐานว่าจารราวปลาย พ.ศ. ๒๔๐๐-ต้น ๒๕๐๐ ระบุว่าต่อมาสิมของวัดสร้างขึ้นอีกครั้งโดยบรรดาทายาทของเจ้าพระรามราชคือเจ้าเมืองธาตุพนมฝ่ายเซบั้งไฟเป็นประธาน นอกนั้นมีนายกองบ้านธาตุพนม กรมการ บุตรหลานและภริยาทั้ง ๒ ฝ่าย ร่วมกับราษฎรและภิกษุ ๒ ฝ่าย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ ปีฉลู เอกศก จ.ศ. ๑๒๕๑ ปีกัดเป้า เดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ วันอังคาร สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๓ ปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๒๕๒ ปีกดยี่ เดือน ๘ แรม ๓ ค่ำ วันอาทิตย์ ยามแถใกล้เที่ยง ฉลองเสร็จเมื่อแรม ๘ ค่ำ วันศุกร์ ยามหม่าเข้าแลงตะเว็นสูรย์คล้อยน้อย ๆ พออ่อนแสงจวนสิค่ำ รวมฉลอง ๕ วัน ในใบ ๑ หน้า ๑ ด้าน ๑ บรรทัด ๔ ถึงใบ ๒ หน้า ๔ ด้าน ๒ บรรทัด ๔ ปรากฏรายละเอียดระบุถึงผู้สร้างสิมหลังนี้ว่า "...ภายนอกมีอาชญาราซาเจ้าโอกาสตนเป็นอาชญ์กั่วแสนท้าวพระยาในขงขอกดินน้ำพระมหาธาตุพนมเจ้าจอมหัวเอิกแห่งพระสัพพัญญู อันมีพระนามกรว่าสมเด็จเจ้าพระอัคคบุตตามหาราซาธาตุพนมบุรมราชเจดีย์มหาบุญสีวรมุงคุลสุนทร ผู้เสวยเมืองพระมหาธาตุเจ้าพนมก้ำฟากบ้านด่านปากเซบั้งไฟทั้ง ๑๒ ลูกบ้านลูกเวียง พร้อมด้วยหมู่พี่น้องวงศามีสมเด็จเจ้าพระอุปราซามหาสีสุวัณณคำเฮืองบ้านหัวบึง ยาพ่อเจ้าจารย์พุทธา พระราชวงสามหาพรหมบุตราชคำเที่ยงกองบ้านด่านปากเซแลเอกภริยาญาติกาวงศาหม่อมห้ามลูกหลานทั้งมวล มีพระราชบุตรพระเป็นเจ้าเมืองพระมหาธาตุพนมตนมีพระนามว่าอาชญาเจ้าพระพิพักษ์เจดีย์สีมหาพุทธปริษัทกัตติยะวงสา ผู้เสวยกองข้าเลกพระมหาธาตุเจ้าพนมก้ำฟากบ้านธาตุพนมเป็นเค้าแลเอกภริยาหม่อมห้ามญาติพี่น้องลูกหลาน พระโพธิสารพินิต ญาพระประสิทธิ์ไซยสุลิยวงศ์ ยาพระพรหมวงสาฝูงฮักษาราชการกรมการกองบ้านธาตุพนมเดิม ก็เข้ามาพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาลาวภูไทไกสอนเสนาอามาตย์พระราชมุนตรีมีทั้งสิบฮ้อยน้อยใหญ่ในเมืองพระมหาธาตุเจ้าพนมทั้ง ๒ ก้ำ ๒ กองฝ่ายฟากปากบ้านด่านน้ำเซแลฝ่ายบ้านธาตุพนม หมายเอาพระมหาธาตุเจ้าพนมหัวเอิกแห่งองค์สัพพัญญูเจ้าเป็นใหญ่ ภายในมีเจ้าหัวครูพนมพรหมวิเศษ เจ้าหัวครูอุตราเขตตรัตนะ แลเจ้าหัวด้านปู้ย เจ้าสำเร็จสิริตัมพสังฆาราชคามวาสี เจ้าหัวซาดี เจ้าหัวซาก่อง เจ้าสำเร็จพุทธวังสะ เจ้าหัวด้านซี แลพระสังฆเถระซาวเจ้าหัวจัวหม่อม คุณสัมมเณรนักบวชคนบุญขุนค้าพราหมณะมหาเศรษฐีกระฎุมพีชอันมีในหัวบ้านหัวเมืองพระมหาธาตุเจ้าพนมแลกองข้าเลกพระมหาธาตุเจ้าพนมทั้ง ๒ ก้ำ ๒ ฝ่าย..."
- ↑ อุรังคธาตุฉบับอาชญาเจ้าพระอุปราชระบุว่าวัดสมสนุก, กรมศิลปากร, อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) : ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิง อ.ต. หลวงประชุมบรรณสาร (พิณ เดชะคุปต์) วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ณสุสานวัดมกุฎกษัตริยาราม, ถ่ายออกจากสำนวนเดิมโดย สุด ศรีสมวงศ์ และทองดี ไชยชาติ เปรียญ, (พระนคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม หน้าวัดราชบพิธ, ๒๔๘๓), หน้า ๑๔๓. อุรังคธาตุฉบับวัดบ้านโพนสวาง ต.แพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ระบุว่าวัดสวนสนุก, ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์, อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘) : เอกสารวิชาการลำดับที่ ๒๘ กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (มหาสารคาม : หจก. อภิชาติการพิมพ์, ๒๕๖๑), หน้า ๒๑๗., เนื้อความตรงกับอุรังคธาตุฉบับเมืองจำปาศักดิ์ (ต้นฉบับไม่มีที่มาแน่ชัด) ซึ่งระบุว่าวัดสวนสนุกเช่นกัน, ปฐมพงศ์ ณ จัมปาศักดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พฉพ. ดร. (ปริวรรตและเรียบเรียง), นิทานธาตุ อุรังคนิทาน ฉบับเมืองจำปาศักดิ์ : จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพิธีสมโภช และอัญเชิญแผ่นพระไตรปิฎกทองคำ (อิเล็กโตรฟอร์มมิ่ง) หุ้มห้องบรรจุพระอุรังคธาตุ ภายในองค์พระธตุพนม ชั้นที่ ๓ พิธีฉลองขัวสะพาน และหอหลวงเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ พิธีฉลองอายุวัฒนมงคล ครบ ๘๑ ปี พระเทพวรมุนี (สำลี ปัญญาวโร น.ธ.เอก, ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม วันที่ ๘-๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔, (เชียงใหม่ : หจก. วนิดาการพิมพ์, ๒๕๖๔), หน้า ๑๙๘.
- ↑ สัมภาษณ์ นางจันเนา รามางกูร, อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ขุนรามฯ กับการสร้างวัดประจำตระกูลและประวัติวัดหัวเวียงรังษี (ธ.), สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕. และดูรายละเอียดใน หนูกัน ธมฺมทินฺโน, พระอธิการ, วัดหัวเวียง, (นครพนม : วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม, ๒๕๑๖), ไม่ปรากฏหน้า. (เอกสารเย็บเล่มและอัดสำเนา) วัดหัวเวียงรังษีมีศาสนสถานสำคัญของตระกูลผู้ปกครองธาตุพนมในอดีตคือกุฏิรามางกูร ศรัทธาสร้างโดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฯลฯ เพื่ออุทิศแด่บรรพบุรุษตระกูลรามางกูร ในบทความของหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๒ เก็บรักษาที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (Princess Maha Chakri Sirindhon Anthropology (SAC)) ระบุว่า "...ขณะเดียวกันทางฝ่ายไทยนั้น ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เลขาธิการสมาคมไทย-ลาว ซึ่งเดินทางไปร่วมงานพร้อมกับภรรยา นางลดาวัลย์ รามางกูร ได้เชิญชวนให้ฝ่ายลาวเข้าร่วมพิธีมอบเสนาสนะ (กุฏิ) ที่สร้างถวายเป็นกุศลแก่บรรพบุรุษในตระกูล "รามางกูร" ณ วัดหัวเวียงรังษี ซึ่งเป็นวัดที่ "ดร.โกร่ง" เคยวิ่งเล่นตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ด้วย ครอบครัวฝ่ายพ่อของ ดร.วีรพงษ์เป็นคนพื้นเพอำเภอธาตุพนม สืบเชื้อสายมาจากขุนราม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และต่อมาทายาทได้เป็นหลวงกลางครองเมือง และวัดหัวเวียงรังษีซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีความสัมพันธ์กับตระกูลมาตั้งแต่สมัยที่ปู่ทวดเคยบวชเรียนสืบต่อมาจนถึงรุ่นพ่อสู่ลูก ดร.โกร่งเล่าว่า ปู่บุญมีนั้นค้าขายร่ำรวยมากที่เวียงจันทน์ มีลูกหลานทางลาวก็ให้เปลี่ยนมาใช้นามสกุล "รามางกูร" หมด แม่นั้นเป็นชาวมอญปากลัด ตนเองเกิดมาแล้วจำความได้ก็ที่วัดหัวเวียงฯ แห่งนี้ ลานวัดเป็นที่วิ่งเล่นอยู่จนกระทั่งเข้าไปเรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนสุนทรวิจิตร ในตัวจังหวัดนครพนม เมื่อมีโอกาสทำบุญทอดกฐินจึงรำลึกถึงวัดแห่งนี้อยู่เสมอ หลังจากที่สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายเจ้าอาวาสแล้ว ดร.โกร่งยังมีแผนที่จะทำบุญบูรณะหลังคาโบสถ์อีกด้วย โบสถ์ของวัดแห่งนี้เป็นโบสถ์เก่าแก่ควรค่าแก่การรักษาและขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เนื่องจากมีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปะไทย-ลาว อันวิจิตร อายุเกือบศตวรรษ ที่ควรแก่การแวะไปชื่นชมสักครั้งหนึ่งอย่างยิ่ง..." สุมิตรา จันทร์เงา. "บุญเดือนสาม ไหว้พระธาตุ "ขอให้ไทย-ลาว มีฮักแพงเสถียรหมั้น" ", มติชนรายวัน, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (Princess Maha Chakri Sirindhon Anthropology (SAC)). (๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒) : ๑๑. และดูรายละเอียดใน พิษณุ จันทร์วิทัน, กงสุลไทยในเมืองลาว : ประสบการณ์ของนักการทูตไทยในประเทศเพื่อนบ้าน, (กรุงเทพฯ : บริษัทเนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, ๒๕๔๘), หน้า ๒๐๗.
- ↑ ในตำนานพระธาตุจอมทองเชียงใหม่ระบุว่า พ.ศ. ๒๑๐๐ พระแม่กุกษัตริย์เชียงใหม่มีพระบรมราชโองการห้ามนำผลประโยชน์ทั้งหมดจากเขตแดนกัลปนาของพระธาตุจอมทองมาจัดเข้าในราชโกษิ์ (ราชโกฏิ) เนื่องจากพื้นที่กัลปนาของพระธาตุจอมทองไม่ได้มีสถานะเป็นเมือง แต่ พ.ศ. ๒๓๖๐ คือสมัยที่แสนกางน้อยสีมุงคุรปกครองพื้นที่กัลปนาของพระธาตุพนมนั้น ธาตุมีสถานะเป็นเมืองเนื่องจากสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์มีพระบรมราชโองการให้นำผลประโยชน์บางส่วนจากเขตแดนกัลปนาของพระธาตุพนมมาจัดเข้าเป็นราชสมบัติ, สงวน โชติสุขรัตน์, "ตำนานพระธาตุจอมทองเชียงใหม่", แปลโดยหมื่น วุฑฒิญาโณ, พระมหา, ใน ประชุมตำนานล้านนาไทย : จากนครรัฐโบราณสู่อาณาจักรยิ่งใหญ่ ถอดความจากพับสา, หน้า ๕๒๖. และยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ, ดร., ตำนานอุรังคธาตุ : หนังสือที่ระลึกงานกฐินพระราชทานมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ ทอดถวาย ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม วันเสาร์ที่ ๒๖-วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒, (ขอนแก่น : ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๖๒), หน้า ๑๖๑-๑๖๒.
- ↑ คำว่า "ขุนราม" หรือ "ขุนลาม" ในศักดินาลาวโบราณเป็นขุนระดับกลาง มี ๗ ตำแหน่ง ถือศักดินา ๓ ขั้น ขนันรัตนะ (เขียน). คัมภีร์ใบลานเรื่อง อาณาจักรธรรมจักร. วัดโพนตาน บ.นาปอด ม.อาดสะพอน ข.สะหวันนะเขด. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีก่าเป้า จ.ศ. ๑๒๑๕. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม PLMP ๑๓ ๑๓ ๐๕ ๑๕ ๐๐๑_๐๒. ๓๖ ใบ ๗๒ หน้า. หมวดกฎหมาย. ผ.๑/บ.๒๓/ด.๑/น.๔๖/บท.๓-๔, บ.๒๔/น.๔๗/ด.๑/บท.๑-๓., น.๔๘/ด.๒/บท.๑-๓. และขนันเณรจุม (ริจนา). คัมภีร์ใบลานเรื่อง อาณาจักรธรรมจักร. วัดสีบุนเฮือง บ.ค้อ ม.จำพอน ข.สะหวันนะเขด. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๕. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม PLMP ๑๓ ๐๙ ๐๗ ๑๕ ๐๐๑_๐๐. ๓๕ ใบ ๗๐ หน้า. หมวดกฎหมาย. ผ.๑/บ.๒๔/น.๔๘/ด.๒/บท.๑-๒, บ.๒๕/น.๔๙/ด.๑/บท.๑-๒.
- ↑ เฮือง รามางกูร (ผู้เขียน) และนายอำเภอ (ลายเซ็น) (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง จดหมายบันทึก สกุลนี้สืบมาแต่ขุนรามฯ และอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร (สำเนา). ที่ว่าการอำเภอธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. พ.ศ. ๒๔๙๐. ไม่ปรากฏรหัส. ไม่ปรากฏหมวด. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๒. (เอกสารส่วนบุคคล) และคณะผู้จัดทำ, ใบโพธิ์ทอง...ที่ร่วงหล่น คุณแม่พิศมัย คงเพชร : ณ เมรุวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖, (นครพนม : เรณูนครการพิมพ์, ๒๕๕๖), หน้า ๑.
- ↑ เฮือง รามางกูร, ท้าว (ผู้เขียน) และเปลี่ยน สุนีย์ (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง จดหมายบันทึก สกุลนี้สืบมาแต่ขุนรามรามางกูร และอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร (สำเนา). ที่ว่าการอำเภอธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. ไม่ปรากฏหมวด. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๒, ๕. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ ดวง รามางกูร, พระมหา, พื้นเมืองพระนม (ประวัติวงศ์เจ้าเมืองธาตุพนม), (กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังษี, ม.ป.ป.), ไม่ปรากฏเลขหน้า. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์และเอกสารเย็บเล่ม)
- ↑ กองบรรณาธิการ. "ลูกป๋า ซาร์เศรษฐกิจ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร สืบวงศ์วานเจ้าเมืองธาตุพนม รองนายกฯ ไอเอ็มเอฟ", ไฮคลาส. ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๖๒ (ตุลาคม ๒๕๔๐) : ๑๒๕-๑๒๗.
- ↑ หลวงซาน (หลวงชาญ) (ก่าย). คัมภีร์ใบลานเรื่อง จุ้มเจ้าเมืองธาตุพระนม. วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส (เอกสารส่วนบุคคล). ๕ ใบ ๑๐ หน้า. หมวดตำนานเมือง. ผ.๑/บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๑-๔.
- ↑ เรื่องพระรามโพธิสัตว์หรือท้าวพระลามในวรรณกรรมชาดกนอกนิบาตลาวดูรายละเอียดใน ศรีอมรญาณ (ชัยศรี ศรีอมร), หลวง, พระรามชาดก (ถอดความบรรยายจากหนังสือเทศน์) : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพมารดา ณ วัดโบสถ์ บ้านกะทุ่ม พระนครศรีอยุธยา วันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖, (กรุงเทพฯ : ศรีหงส์, ๒๔๗๖), ๒๒๔ หน้า., อภิวัฒน์ ปรีชาประศาสน์, "วรรณกรรมอีสาน : พระลัก-พระลาม", รายงานการวิจัย, (สถาบันไทยคดีศึกษา คณะศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๙), ๑๐๖ หน้า., สมัย วรรณอุดร, ดร., พระลัก พระลาม หรือพระลามชาดก, (มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๖๑), ๕๓ หน้า., มารศรี สอทิพย์, พระลัก พระลาม (สยามพากย์) ภาคที่ ๑, พิมพ์ชนก ศรีคง (บรรณาธิการ), (ขอนแก่น : ฝ่ายวิชาการและสื่อสารองค์กร, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๖๑), ๕๔๔ หน้า., อาทิตย์ ดรุนัยธร (บรรณาธิการ), พระลัก พระลาม (สยามพากย์) ภาคที่ ๒ : หนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘, (ขอนแก่น : ฝ่ายการศึกษาร่วมกับกองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๖๒), ๔๘๒ หน้า., อาทิตย์ ดรุนัยธร (บรรณาธิการ), พระรามชาดก บั้นต้น (สำนวนร้อยเอ็ด) ฉบับคัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ : จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสวาระครบรอบ ๗๐ ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว, (ขอนแก่น : กองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่นการพิมพ์, ๒๕๖๓), ๑๒๘ หน้า. และนิยะดา เหล่าสุนทร, พระรามชาดก ภาคที่ ๑-๒ : กระทรวงการต่างประเทศร่วมมือกับสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ จัดพิมพ์เนื่องในการฉลองครบรอบ ๖๐ ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตไทย-ลาว ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓, (กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ, สมาคมไทย-ลาว เพื่อมิตรภาพ, ๒๕๕๓), ๕๘๖ หน้า.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอก (ผูกเดียว). วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. ผ.๑/บ.๓๓/น.๖๕/ด.๑/บท.๑-๔ - น.๖๖/ด.๒/บท.๑-๔. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ การกัลปนาข้าพระหรือเลกวัดหรือข้าโอกาสปรากฏในคนทุกชั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะไพร่ทาส วิชญา มาแก้ว, ยุคทองล้านนา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสามัญชน, (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๔), หน้า ๒๑๖.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นตำนานธาตุเจ้ามหาพนมหัวอก (ผูกเดียว). วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. ผ.๑/บ.๔๘/น.๙๕/ด.๑/บท.๒-๔ - น.๙๖/ด.๒/บท.๑-๓. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ เรื่องเดียวกัน. ผ.๑/บ.๑๓๘/น.๒๗๖/ด.๒/บท.๑-๔. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ เจ้าสาลีภิกขุ (จาร). คัมภีร์ใบลานเรื่อง ธาตุภูกำพร้า. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีขาล จ.ศ. ๑๒๗๖ (พ.ศ. ๒๔๕๗). ไม่ปรากฏรหัส. ๑๔ ใบ ๒๗ หน้า. หมวดตำนานพุทธศาสนา. ผ.๑/บ.๑๑/น.๒๑/ด.๑/บท.๒-๔ - บ.๑๒/น.๒๔/ด.๒/บท.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู. เอกสารเรื่อง พื้นพระยาธัมมิกราช (พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธราช) (ฉบับคัดลอก). วัดศรีสุมังค์ บ.นาถ่อนท่า ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. ผ.๒/น.๓/ด.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ เรื่องเดียวกัน. ผ.๓/น.๕/ด.๑-ผ.๓/น.๖/ด.๒. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด สำนักงานจังหวัดนครพนม ศาลากลางจังหวัดนครพนม, ๒๓๒ ปี นครพนม เมืองนครพนม ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ : เฉลิมฉลอง ๒๓๒ ปี เมืองนครพนม ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ ๙-๑๗ กันยายน ๒๕๖๑ ณ ลานพญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม, (มหาสาคาม : บริษัท สารคามการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๖๑), หน้า ๑๕.
- ↑ พรหมาภิกขุเจ้าสังฆมหาเถระ, หัวครู (ต้นฉบับ). คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสือแปงโฮงอุปโปโบสัถถารามมาวิหาระ. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. ๔ ใบ ๘ หน้า. หมวดประวัติศาสตร์และพุทธตำนาน. ผ.๑/บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๑-๔ - บ.๒/น.๔/ด.๒/บท.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ คัมภีร์ใบลาน (ลานก้อม) เรื่อง หนังสือแปงนามมะยัสสะเจ้าเมืองธาตุทั้ง ๗. วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. ๑๐ ใบ ๒๐ หน้า. หมวดตำนานเมือง. ผ.๑/บ.๑/น.๒/ด.๒/บท.๑-๒ - บ.๒/น.๔/ด.๒/บท.๑-๒. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นเวียงจัน (เวียงจัน (พื้น)). วัดอารันยะราม บ.นาโน ม.หินบูน ข.คำม่วน สปป.ลาว. ผ.๑/บ.๘/น.๑๕/ด.๑/บท.๓-๔, น.๑๖/ด.๒/บท.๑-๓.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นเวียงจันทะบูลี. วัดสวนตาน บ.หนองเดิ่น ม.อาดสะพอน ข.สุวรรณเขต สปป.ลาว. ผ.๓/บ.๑๓/น.๒๕/ด.๑/บท.๑-๔-, น.๒๖/ด.๒/บท.๑.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสือพื้นเวียงจัน (พื้นเวียงจัน). วัดโพไซ บ.นาห้าง ม.หินบูน ข.คำม่วน สปป.ลาว. ผ.๑/บ.๘/น.๑๕/ด.๑/บท.๑-๔, บ.๙/น.๑๖/ด.๒/บท.๑.
- ↑ อุปราชา (เฮือง รามางกูร), พระ (เจ้าของต้นฉบับ). คัมภีร์ใบลานเรื่อง คำอุทิศทานหาพระเจ้าโอกาสเมืองธาตุประนม. บ.หัวบึงท่า ต.ธาตุพนมเหนือ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. จ.ศ. ๑๒๙๗ (พ.ศ. ๒๔๗๙). ไม่ปรากฏรหัส. ๔ ใบ ๘ หน้า. หมวดประวัติศาสตร์. ผ.๑/บ.๓/น.๕/ด.๑/บท.๒-๔. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ คัมภีร์ใบลาน (ลานก้อม) เรื่อง วงศ์ข้อยโอกาสธาตุ (วงข้อยโอกาสทาส). วัดหัวเวียงรังษี (ธ.) ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. ๘ ใบ ๑๖ หน้า. หมวดประวัติศาสตร์. ผ.๑/บ.๑/น.๒/ด.๒/บท.๑-๒ - บ.๓/น.๕/ด.๑/บท.๒. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ อุปราชา (เฮือง รามางกูร), พระ (เจ้าของต้นฉบับ). เอกสารใบลานเรื่อง หนังสือหยั้งหยืนเปลี่ยนสกุลเป็นรามางกูร. บ.หัวบึงท่า ต.ธาตุพนมเหนือ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาลาว-ไทย. เส้นจาร. ปีกุน พ.ศ. ๒๔๙๐ (จ.ศ. ๑๓๐๙). ไม่ปรากฏรหัส. ๔ ใบ ๘ หน้า. หมวดประวัติศาสตร์. ผ.๑/บ.๒/น.๓/ด.๑/บท.๑-๔ - น.๔/ด.๒/บท.๑-๓, บ.๔/น.๘/ด.๒/บท.๓-๔. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ สุวัณณคำมี บุคคละ (รามางกูร), ท้าว (เจ้าของต้นฉบับ). เอกสารใบลานเรื่อง กดหมายเหตุขอเปลี่ยนชื่อตัวท้าวสุวัณณคำมี. บ.ดอนนางหงส์ท่า (โรงบ่ม) ต.ดอนนางหงส์ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาลาว-ไทย. เส้นจาร. ปีจอ จ.ศ. ๑๓๐๘ (พ.ศ. ๒๔๘๙). ไม่ปรากฏรหัส. ๘ ใบ ๑๖ หน้า. หมวดประวัติศาสตร์. ผ.๑/บ.๔/น.๘/ด.๒/บท.๑-๔ - บ.๕/น.๙/ด.๑/บท.๑-๓. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อักษรขอม อักษรธรรม และอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔, (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), หน้า ๓๐๘-๓๑๓.
- ↑ ธวัช ปุณโณทก, ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน, (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), หน้า ๓๖๙-๓๗๑.
- ↑ ธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), พระ (รวบรวมและเรียบเรียง), อุรังคนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร), บันทึกท้ายเล่มต่อโดยธรรมชีวะ (สม สุมโน, ดร.พระมหา), พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (กรุงเทพฯ : นีลนาราการพิมพ์, ๒๕๓๗), หน้า ๑๓๗-๑๓๙.
- ↑ ธวัช ปุณโณทก, "จารึกวัดพระธาตุพนม ๓", ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน, หน้า ๓๖๙-๓๗๑.
- ↑ สิลา วีระวงส์ (เรียบเรียง), ประวัติศาสตร์ลาว, แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๐), หน้า ๑๗๐-๑๗๔.
- ↑ นวพรรณ ภัทรมูล (เรียบเรียง). จารึกเรื่อง จารึกเจ้าครูศีลาภิรัตน์ (นพ. ๖, จารึกวัดพระธาตุพนม ๓, คำจารึกอิฐเผา). วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. จารึกอิฐเผา ๑ แผ่น. อักษรลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. พ.ศ. ๒๓๔๙ (จ.ศ. ๑๑๖๘). ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส). หมวดประวัติศาสตร์. ๑ แผ่น ๒ หน้า. น.๒/ด.๒/บท.๑-๑๓. ภาพจารึกคัดจำลองอักษรจารึกจาก หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อักษรขอม อักษรธรรม และอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔, ไม่ปรากฏหน้า.
- ↑ ปัคคัยหะ เป็นบาลีลาวโบราณมาจากมคธภาสาว่า ปคฺคห (ป.) คือการยกย่องประคับประคอง, อุปถัมภ์, เพียร ความหมายเดียวกับ ปคฺคาห (ป.), ปคฺคหณ (นป.) ปัคคัยหะปัจจุบันเขียนเป็นปัคหะ [ปักคะ-] (แบบ) น. คือประเคราะห์, การยกย่อง คำว่า ประเคราะห์ (แบบ) น. คือความเพียรที่แก่กล้า, การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับนิเคราะห์ซึ่งแปลว่าการกําราบ, การลงโทษ, การข่มขี่ ก. คือยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห, ป. ปคฺคห) ส่วน ปคฺคหิต (กิต.) คือยกย่องแล้ว, อุปถัมภ์แล้ว, ช่วยเหลือแล้ว ในแง่อุบายการปกครองสงฆ์ของพระพุทธเจ้านั้นมี ๒ อย่างคือ ๑) ปัคคัยหะ ทรงยกย่องคนที่ควรยกย่อง ๒) นิคคัยหะ ทรงตำหนิหรือข่มคนที่ควรข่ม
- ↑ คำแปลและปริวรรตอักษรโดยบุญนาค สะแกนอก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ดูรายละเอียดใน บุญนาค สะแกนอก, "จารึกเจ้าครูศีลาภิรัตน์", ใน หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อักษรขอม อักษรธรรม และอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔, หน้า ๓๐๘-๓๑๓. ภาพสำเนาจารึกจากภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕ (เลขทะเบียน CD; INS-TH-14, ไฟล์; Nph_00300_c) ต้นฉบับระบุดังนี้ "...(บท.๑) สังกลาษไดรอย ๖๐๘ ตั (บท.๒) ว ปีรวายยี เจ้าพรยาจันทะสุ (บท.๓) ลิยะวังสาเมืองมุกดาหานกับ (บท.๔) ทังบุดตะนัตตาพะลิยา มีอักคะมหาเส (บท.๕) นาเจ้าไหยทังปวงมีปัษสาทะสัด (บท.๖) ทาไนวํละสาษสนาอันลำยิง จิงไห (บท.๗) พรยาหลวงเมืองจันขึนมาปักไคหะ (บท.๘) กับขุนโอกลาษ พอมกับโมทะ (บท.๙) นาเจ้าสังคะลาษกับทังอันเตวา (บท.๑๐) สิก พอมกับลิดจะนาสิมมาสื (บท.๑๑) บรอยมือํละหันตาเจ้าไว ขํไห (บท.๑๒) ไดดังไจจังนิพานะปัตไจโยโ (บท.๑๓) หตุ..."
- ↑ พรหมาภิกขุเจ้าสังฆมหาเถระ, หัวครู (ต้นฉบับ). คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสือแปงโฮงอุปโปโบสัถถารามมาวิหาระ. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. ผ.๑/บ.๓/น.๕/ด.๑/บท.๑-๔ - บ.๔/น.๗/ด.๑/บท.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ Aymonier, Mission Etienne (เอเจียน แอมอนิเย), บันทึกการเดินทางในลาวภาค ๒ พ.ศ. ๒๔๔๐ : แปลจากหนังสือเรื่อง Voyage dans le Laos, Tome Deusieme, แปลโดย ทองสมุทร โดเร, เจ้า และสมหมาย เปรมจิตต์, รศ.ดร., (เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทบวงมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑), หน้า ๑๔๙.
- ↑ ธนายุทธ อุ่นศรี, ปูมโหรเวียงจันท์ (พงศาวดารย่อเวียงจันทน์) ฉบับวัดแจ้งสว่างนอก อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น : ปริวรรตจากต้นฉบับใบลานอักษรธรรมลาว, (ม.ป.ท. : วัดแจ้งสว่างนอก อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น, ๒๕๖๕), ไม่ปรากฏหน้า. (ยังไม่พิมพ์เผยแพร่)
- ↑ กรมศิลปากร, "พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ : แผนเมืองฉบับหนึ่ง", ใน ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐ เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔, (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๘๔), หน้า ๑๘๔.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง ตำนานเมืองเก่า (บั้งจุ้ม (ตำนานเมือง)). วัดโพนกอก บ.ปากกะยุง ม.ทุละคม ข.เวียงจันทน์ สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว (เฉพาะหน้า ๓๕ อักษรธรรมลาว-ลาวเดิม). ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) เลขรหัส PLMP ๑๐ ๐๒ ๐๑ ๑๔ ๐๐๔_๐๒. หมวดตำนานเมือง. ๒๑ ใบ ๔๒ หน้า (ตรวจสอบมี ๑๘ ใบ ๓๖ หน้า). บ.๔/น.๘/ด.๒, บ.๕/น.๙/ด.๑.
- ↑ กรมศิลปากร, "พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ : แผนเมืองฉบับหนึ่ง", ใน ประชุมพงศาวดารเล่ม ๔๓ (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๙-๗๐) : เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า (ตอนที่ ๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ และเรื่องขุนบรมราชา, (กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภาและศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, ๒๕๑๒), หน้า ๑๔๓.
- ↑ กรมศิลปากร, "พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ : แผนเมืองฉบับหนึ่ง", ใน ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐ เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงคอยท่า ปราโมช ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๘๔.
- ↑ เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง ตำนานเมืองเก่า (บั้งจุ้ม (ตำนานเมือง)). วัดโพนกอก บ.ปากกะยุง ม.ทุละคม ข.เวียงจันทน์ สปป.ลาว. บ.๕/น.๑๐/ด.๒.
- ↑ กรมศิลปากร, "พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ : แผนเมืองฉบับหนึ่ง", ใน ประชุมพงศาวดารเล่ม ๔๓ (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๙-๗๐) : เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า (ตอนที่ ๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ และเรื่องขุนบรมราชา, หน้า ๑๔๔.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง ตำนานเมืองเก่า (บั้งจุ้ม (ตำนานเมือง)). วัดโพนกอก บ.ปากกะยุง ม.ทุละคม ข.เวียงจันทน์ สปป.ลาว. บ.๖/น.๑๑/ด.๑.
- ↑ กรมศิลปากร, "พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ : แผนเมืองฉบับหนึ่ง", ใน ประชุมพงศาวดารเล่ม ๔๓ (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๙-๗๐) : เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า (ตอนที่ ๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ และเรื่องขุนบรมราชา, หน้า ๑๔๔.
- ↑ กองบรรณาธิการ. "ลูกป๋า ซาร์เศรษฐกิจ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร สืบวงศ์วานเจ้าเมืองธาตุพนม รองนายกฯ ไอเอ็มเอฟ", ไฮคลาส., : ๑๒๗-๑๒๘.
- ↑ ธนกร จ๋วงพานิช (สัมภาษณ์วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓). "For Whom the Bell Tolls ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ‘กุนซือเศรษฐกิจ ๗ รัฐบาล’ กับหน้าที่ลั่นระฆังก่อนภัยจะมา : ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Optimise ของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร", ThaiPublica. (๗ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ (๒๕๖๔)) : ๑.
- ↑ สัมภาษณ์ พระครูสิริเจติยานุรักษ์ (สมลักษณ์ สีหเตโช), อาชีพ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร, บทสัมภาษณ์เรื่อง ตระกูลขุนโอกาสเมืองธาตุพนม (ตระกูลรามางกูรและสาขา) กับบทบาททางพระพุทธศาสนาในธาตุพนมและวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร, สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕.
- ↑ รัตนโมลี, พระเทพ (เรียบเรียง), "ประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)", ใน ติสฺสวํโส ภิกฺขุ และคณะ, สมเด็จพระสังฆราชลาว พระชนม์ ๘๙ พรรษา เสด็จหนีภัย ลอยแพข้ามสู่ฝั่งไทย : มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘, (กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., ๒๕๒๘), หน้า ๒๓๓-๒๓๕.
- ↑ ประวิทย์ คำพรหม และคณะ, ประวัติอำเภอธาตุพนม : จัดพิมพ์โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม, (กาฬสินธุ์ : ประสารการพิมพ์, ๒๕๔๖), หน้า ๑๒๗-๑๒๙.
- ↑ สุรชัย ชินบุตร, ดร., "ข้าโอกาสวัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม การสืบทอดและการดำรงอยู่ในสังคมปัจจุบัน", จุลสาส์นไทย. ไม่ปรากฏปีที่ ไม่ปรากฏฉบับที่ (ไม่ปรากฏเดือน ม.ป.ป.) : ๑๕-๑๗.
- ↑ อธิราชย์ นันขันตี. "ประวัติศาสตร์ล้านช้างในจารึกวัดพระธาตุพนม", ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑) : ๒๔๑.
- ↑ ตัวอย่างเช่นเมืองยองหรือมหิยังครัฏฐะที่พญาอโศกธรรมราชาเวนเมืองทั้งหมดให้กับพระมหาธาตุจอมยองจึงได้ชื่อว่าแผ่นดินมหาธาตุ แต่เมืองนี้ยังคงมีราชวงศ์ปกครองอยู่ โครงการล้านนาคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านที่ ๘ มานุษยวิทยา ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, "ตำนานเมืองยอง" ปริวรรตโดยสภาวุฒิ อภิสิทธิ์, พระ, ใน ตำนานเมืองลื้อ ประวัติศาสตร์พื้นถิ่น แดนดิน เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองสิงห์, สมหมาย เปรมจิตต์ และวสันต์ ปัญญาแก้ว (บรรณาธิการ), (เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์, ๒๕๕๘), หน้า ๙๗-๑๐๒. และไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว, ประเพณีไหว้พระธาตุจอมยอง, (เชียงใหม่ : โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ม.ป.ป.), หน้า ๑. (เอกสารเย็บเล่ม)
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา, ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุททิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม จำนวน ๓๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๔๗๔, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์, ๒๔๗๔), หน้า ๒๕.
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา, ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุททิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม จำนวน ๓๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๔๗๔, หน้า ๒๕.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นตำนานธาตุพนม. วัดหัวเวียงรังษี (ธ) บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. หนังสือใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. ๕ ใบ ๑๐ หน้า. หมวดตำนานเมือง. ผ.๑/บ.๒/น.๓/ด.๑. และอุทัย ภัทรสุข, "การศึกษาอิทธิพลของพระธาตุพนมที่มีต่อความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง", วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๑๖๘.
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา, ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุททิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม จำนวน ๓๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๔๗๔, หน้า ๑๕.
- ↑ ราชันย์ นิลวรรณาภา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. และณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์, "อุรังคธาตุวิเคราะห์ : An Analysis of the Vocabulary in the Urangadhutu Palm-Leaf Manuscript ", สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ไม่ปรากฏปีที่ ไม่ปรากฏฉบับที่ (ไม่ปรากฏเดือน ม.ป.ป.) : ๘.
- ↑ พจนีย์ เพ็งเปลี่ยน, นิทานอุรังคธาตุฉบับหลวงพระบาง, (กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๔๓), หน้า ๑๒๖.
- ↑ ทศพล อาจหาญ, "ข้าโอกาสพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม", วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (เน้นมนุษยศาสตร์), (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๔๒), หน้า ๒๒.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง อุลังกธาตุนิทาน (อุลังคะธาตุนิทาน). วัดอับเปวันนัง บ.บกท่ง ม.จำพอน ข.สะหวันนะเขด สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๒ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๘๕. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม เลขรหัส PLMP ๑๓ ๐๙ ๐๙ ๐๗ ๐๐๙ _๐๐. หมวดตำนานพุทธศาสนา. ๒๓ ใบ ๔๕ หน้า. ผ.๒/บ.๕/น.๑๐/ด.๒.
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา, ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุททิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม จำนวน ๓๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๔๗๔, หน้า ๑๗.
- ↑ วิทยาลัยครูสกลนคร, มูนมังอีสาน : รวมบทความเนื่องในโอกาสงานแสดงนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมไทยมูนมังอีสานครั้งที่ ๓ ๑๔-๑๖ มกราคม ๒๕๒๖ ณ วิทยาลัยครูสกลนคร, (สกลนคร : วิทยาลัยครูสกลนคร, ๒๕๒๖), หน้า ๖๑-๖๒, ๗๒.
- ↑ พจนีย์ เพ็งเปลี่ยน, นิทานอุรังคธาตุฉบับหลวงพระบาง, หน้า ๑๒๙-๑๓๐.
- ↑ เทพรัตนโมลี, พระ (แก้ว กนฺโตภาโส, อุทุมมาลา) (อ่าน). จารึกเรื่อง จารึกพระเจ้าสุวรรณาวรวิสุทธิ์อุตมวิโรจน์โชติรัตนาลังการ. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. จารึกฐานพระพุทธรูป ๑ องค์. อักษรลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. พ.ศ. ๒๒๒๒ (จ.ศ. ๑๐๔๓). ไม่ปรากฏรหัส. ไม่ปรากฏหมวด. ๑ หน้า ๓ บรรทัด. น.๑/ด.๑/บท.๒-๓. และธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), พระ (รวบรวมและเรียบเรียง), "จดหมายเหตุท้ายเล่ม พระเทพรัตนโมลี บันทึก", ใน อุรังคนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร), หน้า ๑๘๓-๑๘๔, ๑๙๔-๑๙๕.
- ↑ ช่วง พ.ศ. ๒๓๒๒ ของล้านนาเป็นเวลาไล่เลี่ยกันกับการสถาปนาเจ้าพระรามราชและแสนกางน้อยสีมุงคุรเป็นเจ้าเมืองธาตุพนม ในล้านนาพบหลักฐานจากจารึกพระยาหลวงวชิรปราการว่าเค้าอุปัฏฐากพระธาตุจอมทองมียศเป็นแสนเช่นกันชื่อว่า "แสนมหาธาตุ" แต่ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าเมือง นิชนันท์ กลางวิชัย, "กัลปนา : ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคนในชุมชนล้านนาต่อการกัลปนาคน", บทความส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง "การศึกษาการกัลปนาคนจากจารึกล้านนา กรณีศึกษาความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคนในชุมชนล้านนาต่อการกัลปนาคน" ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ไม่ปรากฏปีที่ ไม่ปรากฏฉบับที่ (ไม่ปรากฏเดือน ๒๕๕๕) : ๘. อ้างใน กรมศิลปากร, จารึกล้านนาภาค ๒ เล่ม ๑ จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑), หน้า ๖๗.
- ↑ นวพรรณ ภัทรมูล (เรียบเรียง). จารึกเรื่อง จารึกลานเงินพระราชสาส์นตราตั้ง (3840/92 จารึกลานเงิน). วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. จารึกลานเงิน ๑ แผ่น. อักษรลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. พ.ศ. ๒๒๓๘ (จ.ศ. ๑๐๕๗). ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส). หมวดประวัติศาสตร์. ๑ แผ่น ๒ หน้า. น.๑/ด.๑/บท.๒, น.๒/ด.๒/บท.๑.
- ↑ รัตนโมลี, พระเทพ (เรียบเรียง), "ประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)", ใน ติสฺสวํโส ภิกฺขุ และคณะ, สมเด็จพระสังฆราชลาว พระชนม์ ๘๙ พรรษา เสด็จหนีภัย ลอยแพข้ามสู่ฝั่งไทย : มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘, หน้า ๒๓๔-๒๓๕.
- ↑ เอกสารใบลานเรื่อง ก้านสาบานถือน้ำต่อเจ้าแผ่นดินปารี. บ.หัวบึงท่า ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรลาวเดิมสมัยพระราชอาณาจักร. ภาษาลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. หมวดประวัติศาสตร์. ๕ ใบ ๑๐ หน้า. ผ.๑/บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๑. เอกสารระบุว่า "...ก้านสาบานถือน้ำของเจ้าหย่ำกระหม่อมสมเด็จเจ้าพระยาโพสาราชกัตติยะวงสาโอกาสะราชาพนมเจ้าเมืองพระธาตุพนมฝ่ายบ้านด่านปากเซและเจ้าเมืองปากเซบั้งไฟแล..."
- ↑ โอภาสธรรมกิจ (คำพุ ใจช่วง), พระครู และคณะ, อนุสรณ์บ้านชะโนดอายุครบ ๓๐๐ ปี : รวบรวมโดยคณะกรรมการจัดงานสมโภช ๓๐๐ ปี วัดลัฏฐิกวัน บ้านชะโนด ตำบลชะโนด กิ่งอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ประจำปี ๒๕๓๐, (มุกดาหาร : คณะกรรมการจัดงานสมโภช ๓๐๐ ปี วัดลัฏฐิกวัน บ้านชะโนด, ๒๕๓๐), หน้า ๑๔.
- ↑ ฎิสสโร (หนูกร) ใจสุข, พระ และพันธุโร ตา (ใจสุข), พระ, ประวัติบ้าน ของ พระฎิสสโร (หนูกร) ใจสุข วัดมะโนภิรมย์ บ้านหมู่ที่ ๗ : พิมพ์แจกทายก ทายิกา โดยคำร้องขอเหล่าสานุศิษย์ เพื่อไว้เปนที่สักการปูชาในการที่ท่านได้ปฏิสังขรณ์อารามต่าง ๆ, (กรุงเทพฯ : วัดมะโนภิรมย์ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนมฯ, ม.ป.ป.), หน้า ๖. และ ธวัชชัย พรหมณะ, "ความสำคัญของการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงต่อความเป็นเมืองสุวรรณเขต ระหว่าง ค.ศ.๑๘๙๓-๑๙๕๔", สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์เอเชีย), (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๕), หน้า ๑๙๐ (ภาคผนวก ข ประวัติบ้าน).
- ↑ สุรจิตต์ จันทรสาขา, เมืองมุกดาหาร, (มุกดาหาร : สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร, ๒๕๔๓), หน้า ๓๔.
- ↑ สุพร สิริพัฒน์, นครพนม : ศรีโคตตะบูรณ์นคร, (ม.ป.ท : ประสานการพิมพ์, ม.ป.ป.), หน้า ๑๖๕-๑๖๖.
- ↑ Aymonier, Mission Etienne (เอเจียน แอมอนิเย), บันทึกการเดินทางในลาวภาค ๒ พ.ศ. ๒๔๔๐ : แปลจากหนังสือเรื่อง Voyage dans le Laos, Tome Deusieme, หน้า ๑๔๘.
- ↑ ดูรายละเอียดใน ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, "นิทานที่ ๑๖ เรื่อง ลานช้าง", ใน นิทานโบราณคดี, (กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์, ๒๕๕๖).
- ↑ ดูรายละเอียดใน สมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒๕๓๔, เอกสารวิชาการหมายเลข ๑ : เอกสารชั้นต้นเกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๖๕, ไพฑูรย์ มีกุศล (บรรณาธิการ), (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๕), หน้า ๖๘-๙๖.
- ↑ นฤทร์บดินทร์ สาลีพันธ์, "นาฏยศิลป์ : อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ภูไทเรณูนคร ในสังคมวัฒนธรรมรัฐชาติไทย", วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาสารคาม, ๒๕๖๔), หน้า ๖๕.
- ↑ สัมภาษณ์ นางทองแสง รามางกูร (นีรพงศ์), อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ประวัติกำนันสุนีย์ รามางกูร, สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓., สัมภาษณ์ นางบัวระพันธุ์ รามางกูร, อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ญาติพี่น้องของนายคำมี รามางกูร (บุคคละ) ที่ข้ามมาจากนครหลวงเวียงจันทน์, สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓.
- ↑ ดูรายละเอียดใน ประสพสุข ใจสุข และคณะ (คณะผู้จัดทำรวบรวม), อนุสรณ์ คุณพ่อคำมี รามางกูร : ชาตะ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๖ มรณะ ๔ กันยายน ๒๕๓๖, (นครพนม : ม.ป.พ., ๒๕๓๖), หน้า ๑-๘.
- ↑ สัมภาษณ์ นางทองแสง รามางกูร (นีรพงศ์), อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ประวัตินายคำมี รามางกูร (บุคคละ), สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓., สัมภาษณ์ นางฉวีวรรณ ใจสุข (บุคคละ), อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง การตั้งรกรากถิ่นฐานของนายคำมี รามางกูร (บุคคละ) ในประเทศไทย, สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓. และสัมภาษณ์ นางบัวระพันธุ์ รามางกูร, อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ประวัตินายคำมี รามางกูร (บุคคละ) ในช่วงบั้นปลายของชีวิต, สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓.
- ↑ สัมภาษณ์ นายโกมล รามางกูร, อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ประวัติภรรยาของพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร), สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕. และสัมภาษณ์ นางจันเนา รามางกูร, อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ประวัติเครือญาติของพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร), สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕.
- ↑ คำมี บุคคละ (ผู้ขอ) และนายทะเบียนท้องที่ (ลายเซ็น) (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง ขอเปลี่ยนชื่อสกุลจาก "บุคคละ" เป็น "รามางกูร" โดยร่วมกับ นายเฮือง รามางกูร. ที่ว่าการอำเภอธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘. เล่มที่ ๑ ฉบับที่ ๒/๒๕๑๘ แบบ ช.๔. ไม่ปรากฏหมวด. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๑-๑๔. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ เพลิงสุริยเทพ รามางกูร (ผู้ขอ) และดำรงค์ ทิพย์เดช (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล "รามางกูร ณ โคตะปุระ". ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. พ.ศ. ๒๕๕๒. คำขอที่ ๕๑๒๐/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ เลขที่ ๓๒๐/๒๕๕๒ แบบ ช.๒. ไม่ปรากฏหมวด. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๘. (เอกสารส่วนบุคคล)
- ↑ สกุล "สุมนารถ" เดิมแยกมาจากสกุล "มนารถ" ตั้งสกุลโดยจารย์บัวลี สุมนารถ (สกุลเดิมมนารถ) ชาวบ้านหนองหอย-หัวบึง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม นับถือเป็นญาติกับพระอุปราชา (เฮืองหรือสุวัณณคำเฮือง รามางกูร สกุลเดิมบุคคละและอุปละ) เหตุที่แปลงสกุลเป็นสุมนารถเนื่องจากจารย์บัวลีเคยอุปสมบท ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารและมีความรู้ทางบาลีมาก่อน
- ↑ วานิชย์ สุภารัตน์, "กำนัน", ใน ประวิทย์ คำพรม, มีนัยยะในอุรังคนิทาน คำว่าน้ำของมาจากไหน ? ประวัติกำนันตำบลธาตุพนม, (ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ๒๕๔๙), หน้า คำนำ.
- ↑ สัมภาษณ์ นางจันเนา รามางกูร, อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว, บทสัมภาษณ์เรื่อง ประวัติตระกูลอุปละ อุประ อึ้งอุประ และทายาทพระพิทักษ์เจดีย์นายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมในอดีต, สัมภาษณ์โดยเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕.
- ↑ กรมศิลปากร สำนักหอสมุดแห่งชาติ, นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๗ ถึงรัชกาลปัจจุบัน : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสุนันทา วามสิงห์ ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส วันเสาร์ที่ ๒๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา, ๒๕๕๔), หน้า ๘๘. และดูรายละเอียดใน คณะผู้จัดทำ, พิทักษ์พนมเขตร์อนุสรณ์ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงพิทักษ์พนมเขตร์ ณ เมรุวัดศิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒, (พระนคร : ร.พ. ประเสริฐศิริ, ๒๕๑๒).
- ↑ ดูรายละเอียดใน วีรพงษ์ รามางกูร, ดร., คนเดินตรอกฉบับบันทึกความทรงจำ : อนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๓๐ น., (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๕), ๗๙๖ หน้า.
- ↑ สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม (Office of Judicial and Legal Affairs). "ข่าวสารและกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป : วันนี้ เวลา ๑๐.๐๐ น. เลขาธิการฯ มอบหมายนางสาววรมน รามางกูร ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกาและทีมงาน เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมหารือ", สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม (Office of Judicial and Legal Affairs). (๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) : ๑.
- ↑ กระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce). "เกี่ยวกับกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายข้าราชการการเมือง : ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (Vice Minister for Commerce)", กระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce). (๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗) : ๑.
- ↑ บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จํากัด. "ครม. ตั้ง "ภูเวียง ประคำมินทร์" นั่งอธิบดีกรมอุตุฯ", ฐานเศรษฐกิจ. (๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) : ๑.
- ↑ วยุพา ทศศะ, รศ.ดร. และคณะ (คณะผู้จัดทำวีดีทัศน์), รศ. ดร.วยุพา ทศศะ (ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ) มุทิตาจิต ๒๕๕๙, [วีดีโอคลิป], มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, msutubeThailand, ๒๐๑๖ (๒๕๕๙).
- ↑ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารและมูลนิธิทนายกองทัพธรรม (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง คำสั่งวัดพระธาตุพนม ที่ ๑๒/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร บ.ธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖. ไม่ปรากฏรหัส. ไม่ปรากฏหมวด. ๒ แผ่น ๒ หน้า. ผ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๒๗., นายวิวัฒน์ชัย คงเพชร เป็นบุตรของนางพิศมัย คงเพชร (สกุลเดิมรามางกูร) ธิดาของพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร)
- ↑ เพลิงสุริยเทพ รามางกูร (ผู้ขอ) และดำรงค์ ทิพย์เดช (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล "รามางกูร ณ โคตะปุระ". ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๘. (เอกสารส่วนบุคคล)