ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์
(หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มกราคม พ.ศ. 2420
เสียชีวิต1 มกราคม พ.ศ. 2501 (80 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงประไพ ศรีพิพัฒน์
บุตร11 คน
บุพการี

มหาเสวกเอก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร) เป็นขุนนางชาวสยาม ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ กรรมการองคมนตรี เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์มูล เป็นโอรสคนที่ 4 ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรสุเทพ กับหม่อมเวก เป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2420 ณ บ้านเชิงสะพานแม้นศรี[1] พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ

ท่านเรียนที่อังกฤษอยู่ 8 ปี ถึงปี พ.ศ. 2440 จึงตามเสด็จฯ กลับมากรุงเทพมหานคร เข้ารับราชการในตำแหน่งล่ามภาษาอังกฤษ เวรบัญชาการ กรมพระคลังข้างที่ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประกิจอังกนี ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2444[2]ตำแหน่งปลัดกรมเวรเงิน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลจัดหาผลประโยชน์ส่วนพระองค์เจ้านายทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสิทธิธนรักษ์[3]ตำแหน่งเจ้ากรมการคลัง มีหน้าที่ดูแลหุ้นส่วนของกรมพระคลังข้างที่ในบริษัทต่าง ๆ ทุกแห่ง[4]

วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระบริบูรณ์ราชสมบัติ เจ้ากรมพระคลังข้างที่ในสำนักสมเด็จพระบรมราชชนีพันปีหลวง ถือศักดินา 800[5] ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาบริบูรณ์ราชสมบัติ รองอธิบดีกรมพระคลังข้างที่ จากนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2464 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่สืบต่อจากพระยาศุภกรณ์บรรณสาร[6]และในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ก็ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาเสวกเอก[7] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2466 ท่านได้รับพระราชทานยศ นายกองตรีเสือป่า[8]

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ รัตนราชโกษาธิบดี ศรีสุเทพจันทรสกุล วรบาทมูลมหาสวามิภักดิ อันดรภิรักษ์ราชศฤงคาร พุทธศาสโนฬารศราทธฤตวัต คฤหปติรัตน์มหัทธิกมนตรี อภัยพีรยปรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[9] ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[10] และกรรมการองคมนตรี[11]

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ ถูกปลดออกจากราชการในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ [12] ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับคุณหญิงประไพ ธิดาขุนเยาวราชธนารักษ์ (พร้อม ไกรฤกษ์) มีบุตรธิดารวม 11 คน[13]

เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501[13] สิริอายุ 80 ปีในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อช่วงบ่ายของวันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2501[14]

ยศ

[แก้]
  • 17 พฤศจิกายน 2463 – มหาเสวกโท[15]
  • 21 สิงหาคม 2466 – นายกองตรี[8]
  • 10 มีนาคม 2467 – นายกองโท[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ชีวะประวัติเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (ม.ร.ว. มูล ดารากร), หน้า 5
  2. "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  3. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  4. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 258
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๒๗๐
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๐, ตอน ง, ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๒๕๖๕
  8. 8.0 8.1 พระราชทานยศนายเสือป่า
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา, เล่ม ๔๗, ตอน ๐ ก, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓, หน้า ๒๔๘-๒๕๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติองคมนตรี, เล่ม ๔๔, ตอน ๐ ก, ๕ กันยายน ๒๔๗๐, หน้า ๒๑๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรรมการองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๔-๖ (จำนวน ๔๐ ราย), เล่ม ๔๗, ตอน ๐ ก, ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๓, หน้า ๔๓๔
  12. ประกาศ ปลดเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่
  13. 13.0 13.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ หน้า260
  14. ข่าวในพระราชสำนัก
  15. "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 พฤศจิกายน 1920.
  16. พระราชทานยศนายเสือป่า
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๐๖, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๖๖, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
  20. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๙๔, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา แลเหรียญดุษฎีมาลา เหรียญจักรมาลา เหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๓๕๘, ๗ ตุลาคม ๑๑๙
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๕, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
บรรณานุกรม
  • สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 258-260. ISBN 974-417-534-6