เจี่ยนเฮา
เจี่ยนเฮา | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Asterales |
วงศ์: | Asteraceae |
สกุล: | Artemisia |
สปีชีส์: | A. anethifolia |
ชื่อทวินาม | |
Artemisia anethifolia Weber ex Stechm., 1775 | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
เจี่ยนเฮา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artemisia anethifolia; จีน: 碱蒿; พินอิน: Jiǎn hāo) เป็นพืชในสกุลโกฐจุฬาลัมพา วงศ์ทานตะวัน มีถิ่นกำเนิดในรัสเซีย มองโกเลีย และจีน[2]
อนุกรมวิธาน
[แก้]เจี่ยนเฮา (Artemisia anethifolia Weber ex Stechm.) ถูกระบุชนิดโดย เกออก ไฮน์ริค เวเบอร์ (Georg Heinrich Weber) ในปี ค.ศ. 1775[3]
บางครั้งอาจสับสนว่าเป็นชื่อพ้องของ Artemisia abrotanum (ชื่อพ้อง: Artemisia anethifolia Fisch. ex DC.) ซึ่งเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในสเปน อิตาลี่ ประเทศแถบทะเลบอลติก[4][5]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]เจี่ยนเฮา (A. anethifolia) เป็นพืชทนแล้ง (xerophile) ปรับตัวให้เจริญเติบโตในที่แห้งแล้ง เป็นพืชล้มลุกปีเดียว สูง 20–55 เซนติเมตร ลำต้นบางครั้งเรียวมาก เป็นพืชมีขน[6]
ผิวใบขนสั้น เกือบเกลี้ยง ฐานใบรูปไข่ ยาว 3–4.5 กว้าง 1.5–2.5 (อาจถึง 3) เซนติเมตร ใบหยักลึกมาก ใบแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ใบย่อยมี 3 หรือ 4 คู่ ปลายกลีบขอบใบเป็นลอน (loburate)[6]
ดอกเป็นช่อดอกรวมกระจุกมีกลีบรองหรือใบประดับเล็ก ๆ รองรับดอกจำนวนมาก ดอกแป้นกว้าง บนยอดกระจุกดอกแน่นและดอกขนาดเล็กบานเฉพาะตรงปลายนอกสุด (ส่วนหัว Capitula) ก้านดอกแต่ละดอกรียาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–3 (อาจถึง 4) มิลลิเมตร ดอกกะเทย กลีบสีเหลืองหรือสีแดง[6]
ผลขนาดเล็ก มีเมล็ดเดียว ผนังผลแห้ง บางและเหนียว ไม่เชื่อมติดกับเมล็ด (achene) ทรงรีหรือรูปไข่กลับ ออกดอกและผลช่วงเดือนสิงหาคม–ตุลาคม[6]
การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่
[แก้]เจี่ยนเฮา มีถิ่นกำเนิดในรัสเซีย มองโกเลีย และจีน[7] ในซินเจียง เฮย์หลงเจียง มองโกเลียใน ส่านซี เหอเป่ย์ ชิงไห่ หนิงเซี่ย ซานซี กานซู่[2] โดยทั่วไปเติบโตในพื้นที่ 800 ถึง 2,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในที่รกร้างที่มีความชื้นต่ำและดินเค็ม ใกล้ทุ่งหญ้า ใกล้เนินทราย หุบเขาเนินเขาที่แห้งแล้ง หาดทรายที่เป็นด่าง และพื้นที่ที่มีความเค็ม มักกลายเป็นพืชหลักในกลุ่มพืชในภูมิภาคข้างต้น[6]
การใช้ประโยชน์
[แก้]ใช้เป็นพืชสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Plant List Artemisia anethifolia Weber ex Stechm
- ↑ 2.0 2.1 "Artemisia anethifolia Weber ex Stechm. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Artemisia anethifolia Weber ex Stechm. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Artemisia anethifolia - Wikispecies". species.wikimedia.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Artemisia abrotanum L. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "Artemisia anethifolia in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
- ↑ "Artemisia anethifolia". iNaturalist.