ข้ามไปเนื้อหา

สกุลโกฐจุฬาลัมพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โกฐจุฬาลัมพา (สกุล))

สกุลโกฐจุฬาลัมพา
Artemisia cina (Levant wormseed)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับทานตะวัน
Asterales
วงศ์: วงศ์ทานตะวัน
Asteraceae
วงศ์ย่อย: Asteroideae
Asteroideae
เผ่า: Anthemideae
Anthemideae
สกุล: Artemisia
Artemisia
L.
ชนิดต้นแบบ
Artemisia vulgaris
L.
ชื่อพ้อง[2]
  • Absinthium Mill.
  • Chamartemisia Rydb.
  • Oligosporus Cass.
  • Artemisiastrum Rydb.
  • Artanacetum (Rzazade) Rzazade
  • Abrotanum Mill.
  • Draconia Heist. ex Fabr.
  • Artemisia subg. Seriphidium Less.
  • Hydrophytum Eschw.
  • Seriphidium (Besser ex Less.) Fourr.
  • Dracunculus Ruppr. ex Ledeb. 1845, illegitimate homonym, not Dracunculus Mill. 1754 (Araceae)[2]
Artemisia pycnocephala
โกฐจุฬาลัมพา (Artemisia annua)
โกฐจุฬาลัมพายูเรเชีย (Artemisia abrotanum)
เสจบรัชแคลิฟอร์เนีย (Artemisia californica)
Artemisia mauiensis
Artemisia nilagirica

สกุลโกฐจุฬาลัมพา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artemisia; /ˌɑːrtɪˈmziə/[3]) เป็นพืชสกุลขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลาย ระหว่าง 200 ถึง 400 ชนิด จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) ประกอบด้วยไม้ล้มลุกและไม้พุ่มที่มีความทนทาน ซึ่งมีคุณค่าทางเคมีในน้ำมันหอมระเหย เติบโตในสภาพอากาศอบอุ่น บนพื้นที่แห้งหรือกึ่งแห้งแล้ง พืชในสกุลนี้อาจเรียกได้หลายชื่อคือ โกฐจุฬาลัมพา (mugwort, wormwort), จิงจูฉ่าย, เสจบรัช (sagebrush)

ชนิดที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ใช้เป็นยา ได้แก่ โกฐจุฬาลัมพา (Artemisia annua L. หรือ โกฐจุฬาลัมพาจีน, ชิงเฮา), โกฐจุฬาลัมพาไทย (Artemisia vulgaris L.) และโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia absinthium L.) ใช้เป็นอาหาร ได้แก่ เฮียเฮียะ (Artemisia argyi), จิงจูฉ่าย (Artemisia lactiflora)

พืชในสกุลโกฐจุฬาลัมพาส่วนใหญ่มีกลิ่นหอมแรงและรสขม จากสารสำคัญ Terpenoids และ Lactones Sesquiterpene ซึ่งช่วยไล่สัตว์กินพืช[4] มีดอกขนาดเล็กเป็นช่อกระจุกขนาดเล็ก ผสมเกสรด้วยลม โกฐจุฬาลัมพาเป็นพืชอาหารที่ดีของหนอนผีเสื้อหลายชนิด

นักพฤกษศาสตร์บางคนพยายามแบ่งออกมาเป็นหลายสกุล แต่ผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ[5] ค้านการแบ่งนี้ สกุลที่ไม่ถูกรับรองได้แก่ Crossosthium, Filifolium, Neopallasia, Seriphidium และ Sphaeromeria และสามสกุลที่ได้แยกออกและรับรองแล้วคือ สกุล Stilnolepis, Elachanthemum และ Kaschgaria บางครั้งพืชในสกุลโกฐจุฬาลัมพาบางชนิดถูกเรียกเป็น เสจ (ซึ่งอยู่ในวงศ์ Lamiaceae) พืชเหล่านี้เรียกเป็น เสจบรัช แทนเพื่อป้องกันการสับสน

อนุกรมวิธาน

[แก้]

โกฐจุฬาลัมพา ถูกจำแนกสกุลโดยคาโรลัส ลินเนียส ในปี ค.ศ. 1753 โดยใช้ชื่อ Artemisia มาจากชื่อของเทพธิดา (กรีก) อาร์เตมิส (หรือ เทพีไดแอนา ในเทพปกรณัมโรมัน) และเป็นชื่อของราชินีกรีก อาร์เทมิเซียที่ 1 และ 2 (Artemisia I และ II)[6] ซึ่งสันนิิษฐานว่าน่าจะเป็น อาร์เทมิเซียที่ 2 แห่งคาเรีย (Artemisia II of Caria) ราชินีนักพฤกษศาสตร์และนักวิจัยทางการแพทย์ เสียชีวิตเมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาล[7][8]

ชนิดที่สำคัญ

[แก้]

ณ เดือนพฤศจิกายน 2020 Plants of the World Online ยอมรับเกือบ 470 ชนิด ในจำนวนนี้ชนิดที่สำคัญได้แก่

การใช้ประโยชน์ทางยา

[แก้]

มาลาเรีย

[แก้]

สารอาร์เทมิซินิน (artemisinin) (จาก Artemisia annua) และอนุพันธ์เป็นกลุ่มของสารประกอบที่ออกฤทธิ์เร็วของสารที่ใช้ในปัจจุบันทั้งหมดที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย[19] โดยเฉพาะการบำบัดโรคมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum ในงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้ใบแห้งทั้งใบของโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia annua) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมของสารอาร์เทมิซินิน[20] ดีกว่าและอาจรวมทั้วทำให้การดื้อยาพัฒนาช้ากว่าการให้สารอาร์เทมิซินินบริสุทธิ์ [21] ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกไม่สนับสนุนการส่งเสริมหรือการใช้วัสดุทางยาจากโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia) ในทุกส่วนของพืชสำหรับการป้องกันหรือรักษาโรคมาลาเรีย ด้วยว่ารูปแบบการใช้สรรพคุณยาของพืชโดยตรงมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การขาดความคงที่ของเนื้อยา การมีเนื้อยาที่ไม่พอเพียงทำให้เกิดโรคมาลาเรียขึ้นอีก ซึ่งการใช้ยาในรูปพืชอาจนำไปสู่การดื้อยาในวงกว้าง และอาจไม่ได้ผลในการป้องกันโรคมาลาเรีย[22][23] แหล่งสารอาร์เทมิซินินที่ไม่ใช่เภสัชภัณฑ์ เช่น น้ำผลไม้ ชา และยาต่าง ๆ อาจให้ยาใต้ผิวหนังซึ่งอาจทำให้การดื้อยารุนแรงขึ้น[24]

พยาธิ

[แก้]

หุยเฮา (Artemisia cina) และโกฐจุฬาลัมพาชนิดอื่น ๆ ที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟโฟร-ยูเรเชีย เป็นแหล่งที่ดีของสารแซนโทนินที่มีฤทธิ์ต้านพยาธิ

ประสาทวิทยา

[แก้]

พบว่าอิงทิ้ง (Artemisia capillaris) มีผลกดประสาทและสะกดจิตในหนูทดลอง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางผ่านการกระตุ้นของ GABAA receptor- Cl− ion channel complex

หยินเฮา (Artemisia austriaca) มีผลดีในการลดอาการถอนตัวของมอร์ฟีนในหนู[25]

แพทย์แผนจีน

[แก้]

เฮียเฮียะ (Artemisia argyi) ใช้ในยาจีนโบราณ สัมพันธ์กับการรักษาตับ ม้าม และ ไต[26]ใบใช้เป็นยาแก้ไอขับเสมหะ[27]ใช้เป็นยาห้ามเลือด บรรเทาปวด[28] และอาจใช้ลักษณะการรมยา (moxibustion) ในรูปกรวยหรือแท่ง หรือเป็นลูกกลมอัดที่เสียบไว้กับปลายเข็มฝัง[29]

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

[แก้]

โกฐจุฬาลัมพา (Artemisia annua) ได้รับการพิจารณาความเป็นไปได้ในการเป็นยารักษาสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)[30] ทั้งนี้ ณ เดือนมิถุนายน 2563 ยังไม่มีหลักฐานว่าโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) สามารถรักษาหรือป้องกัน COVID-19 ได้[31] อย่างไรก็ตามในเดือนเมษายน 2563 ประเทศมาดากัสการ์เริ่มผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มสมุนไพรโกฐจุฬาลัมพาในชื่อ Covid-Organics[32] ในเดือนมิถุนายน 2564 การวิจัยสารสกัดรวมในน้ำร้อนของใบโกฐจุฬาลัมพาทั้งสดและแห้ง อาจมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อโควิดทั้งสายพันธุ์แอฟริกาและอังกฤษ[33][34]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1897 illustration from Franz Eugen Köhler, Köhler's Medizinal-Pflanzen
  2. 2.0 2.1 "Artemisia vulgaris". Global Compositae Checklist.[ลิงก์เสีย]
  3. Sunset Western Garden Book (6th ed.). Leisure Arts. 1995. pp. 606–607. ISBN 978-0-376-03851-7.
  4. "119. Artemisia Linnaeus". Flora of North America. 2006.
  5. Watson LE, Bates PL, Evans TM, Unwin MM, Estes JR (September 2002). "Molecular phylogeny of Subtribe Artemisiinae (Asteraceae), including Artemisia and its allied and segregate genera". BMC Evolutionary Biology. 2: 17. doi:10.1186/1471-2148-2-17. PMC 130036. PMID 12350234.
  6. Shorter Oxford English Dictionary, 6th ed. United Kingdom: Oxford University Press. 2007. p. 3804. ISBN 978-0199206872.
  7. "Etymology". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
  8. Various (July 2014). "Etymologia: Artemisinin". Emerg Infect Dis [Internet]. CDC. 20 (7): 1217. doi:10.3201/eid2007.ET2007. PMC 4073852.
  9. Liu, N. Q., Van der Kooy, F., Verpoorte, R. Artemisia afra: A potential flagship for African medicinal plants?, 2009.
  10. "Photos of Genus Artemisia · iNaturalist United Kingdom". iNaturalist United Kingdom.
  11. "Artemisia anethifolia Weber ex Stechm. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  12. "ยาจีนแผนโบราณ ชื่อ-Thaicn.com". th.thaicn.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
  13. "ยาจีนแผนโบราณ ชื่อ-Thaicn.com". th.thaicn.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
  14. "RHS Plant Selector - Artemisia arborescens 'Powis Castle'". สืบค้นเมื่อ 14 April 2020.
  15. "Artemisia arbuscula in Flora of North America @ efloras.org". www.efloras.org. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
  16. "Artemisia australis". Hawaiian Native Plant Propagation Database. University of Hawaiʻi at Mānoa. สืบค้นเมื่อ 2009-03-06.
  17. "ยาจีนแผนโบราณ ชื่อ-Thaicn.com". th.thaicn.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
  18. ชาจิงจูฉ่าย สมุนไพรต้านมะเร็ง. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2563.
  19. White NJ (July 1997). "Assessment of the pharmacodynamic properties of antimalarial drugs in vivo". Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 41 (7): 1413–22. doi:10.1128/AAC.41.7.1413. PMC 163932. PMID 9210658.
  20. Weathers, Pamela J.; Mittleman, Alexis; Desrosiers, Matthew R. (2020). "Dried Leaf Artemisia Annua Improves Bioavailability of Artemisinin via Cytochrome P450 Inhibition and Enhances Artemisinin Efficacy Downstream". Biomolecules. 10 (2): 254. doi:10.3390/biom10020254. PMC 7072484. PMID 32046156.
  21. Elfawal, Mostafa A.; Towler, Melissa J.; Reich, Nicholas G.; และคณะ (20 January 2015). "Dried whole-plant Artemisia annua slows evolution of malaria drug resistance and overcomes resistance to artemisinin". Proceedings of the National Academy of Sciences. 112, 3 (3): 821–826. Bibcode:2015PNAS..112..821E. doi:10.1073/pnas.1413127112. PMC 4311864. PMID 25561559.
  22. "Effectiveness of Non-Pharmaceutical Forms of Artemisia annua L. against malaria" (PDF). World Health Organisation International. World Health Organisation. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
  23. "The use of non-pharmaceutical forms of Artemisia". World Health Organisation International. World Health Organisation. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
  24. Elfawal, Mostafa A.; Towler, Melissa J.; Reich, Nicholas G.; และคณะ (20 January 2015). "Dried whole-plant Artemisia annua slows evolution of malaria drug resistance and overcomes resistance to artemisinin". Proceedings of the National Academy of Sciences. 112, 3 (3): 821–826. Bibcode:2015PNAS..112..821E. doi:10.1073/pnas.1413127112. PMC 4311864. PMID 25561559.
  25. Charkhpour M, Delazar A, Mohammadi H, Gholikhani T, Parvizpur A (March 2014). "Evaluation of the effects of artemisia austriaca on morphine withdrawal syndrome in rats" (PDF). Pharmaceutical Sciences. 20 (1): 1–5.
  26. Acupuncture Today
  27. ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
  28. ศุภนิมิต ทีฆชุณหเสถียร. ยาจีนปรับสมดุลเลือด. กทม. ซีเอ็ดยูเคชัน. 2554
  29. Acupuncture Today: Mugwort Leaf
  30. "WHO supports scientifically-proven traditional medicine". World Health Organization Africa. May 4, 2020. สืบค้นเมื่อ June 4, 2020.
  31. "Q&A: Malaria and COVID-19". World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2020. สืบค้นเมื่อ June 4, 2020.
  32. "COVID-19: Tests for 'miracle cure' herb Artemisia begin". MSN. May 14, 2020. สืบค้นเมื่อ June 4, 2020.
  33. Nair, M. S.; Huang, Y.; Fidock, D. A.; Polyak, S. J.; Wagoner, J.; Towler, M. J.; Weathers, P. J. (2021-06-28). "Artemisia annua L. extracts inhibit the in vitro replication of SARS-CoV-2 and two of its variants". Journal of Ethnopharmacology. 274: 114016. doi:10.1016/j.jep.2021.114016. ISSN 1872-7573. PMC 7952131. PMID 33716085.
  34. มติชนสุดสัปดาห์ (2021-08-01). "เปิดสรรพคุณ โกฐจุฬาลัมพา สมุนไพรที่น่าจับตามองที่สุดในวิกฤตินี้!". มติชนสุดสัปดาห์.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]