เจี่ยง จิงกั๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจี่ยง จิงกั๋ว
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม 2521 – 13 มกราคม 2531
หัวหน้ารัฐบาลสฺวี ชิ่งจง (รักษาการ)
ซุน ยฺวิ่นเสฺวียน
ยฺหวี กั๋วหฺวา
รองประธานาธิบดีเซี่ย ตงหมิ่น
หลี่ เติงฮุย
ก่อนหน้าหยาน เจียก้าน
ถัดไปหลี่ เติงฮุย
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤษภาคม 2515 – 20 พฤษภาคม 2521
ประธานาธิบดีหยาน เจียก้าน
ก่อนหน้าหยาน เจียก้าน
ถัดไปสฺวี ชิ่งจง (รักษาการ)
รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน 2512 – 1 มิถุนายน 2515
หัวหน้ารัฐบาลหยาน เจียก้าน
ตนเอง
ก่อนหน้าหวง เฉากู่
ถัดไปสฺวี ชิ่งจง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 เมษายน 2453
เฟิงหัว เจ้อเจียง ราชวงศ์ชิง
เสียชีวิต13 มกราคม 2531 (77 ปี)
โรงพยาบาลทหารผ่านศึกไทเป ไทเป ไต้หวัน
พรรคการเมืองพรรคก๊กมินตั๋ง
คู่สมรสเจี่ยง ฟางเหลียง

เจี่ยง จิงกั๋ว (27 เมษายน ค.ศ. 1910 – 13 มกราคม ค.ศ. 1988) เป็นนักการเมืองแห่งสาธารณรัฐจีน เป็นลูกชายคนโตและลูกชายเพียงคนเดียวของเจียง ไคเชก อดีตประธานาธิบดี เขาดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งในรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เขาทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1972 และ 1978 และเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1988

เจี่ยง จิงกั๋วในวัยรุ่นได้ถูกส่งไปเรียนหนังสือในสหภาพโซเวียตในช่วงแนวร่วมที่หนึ่ง(First United Fron) ในปี ค.ศ. 1925 เมื่อพรรคชาตินิยมจีนของพ่อของเขาและพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เป็นพันธมิตรกัน เขาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่นั่น แต่พรรคชาตินิยมจีนได้ทำการหักหลังคอมมิวนิสต์จีนด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรง สตาลินได้ส่งเขาไปใช้แรงงานในโรงงานเหล็กกล้าในเทือกเขายูรัล ที่นั่น, เจียงได้พบและแต่งงานกับ Faina Vakhreva เมื่อสงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่นกำลังใกล้เข้ามาในปี ค.ศ. 1937 สตาลินได้ส่งทั้งสองสามีภรรยากลับไปยังประเทศจีน ในช่วงสงคราม พ่อของเจี่ยง จิงกั๋วก็ค่อย ๆ เชื่อใจเขาและมอบงานให้เขาที่มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นรวมไปถึงงานด้านการบริหารปกครอง ภายหลังจากญี่ปุ่นยอมจำนน เจี่ยง จิงกั๋วได้รับมอบหมายให้ไปจัดการการทุจริตคอรัปชั่นในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาโจมตีอย่างมีประสิทธิภาพและไร้ความปราณี ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 1949 ได้ขับไล่เจียงและรัฐบาลของเขาไปยังเกาะไต้หวัน เจี่ยง จิงกั๋วได้รับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมตำรวจลับ ตำแหน่งนี้เขาได้สงวนไว้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1965 และเขาได้ใช้ในการจับกุมโดยตามอำเภอใจและทำการทรมานเพื่อให้แน่ใจว่ามีการควบคุมได้อย่างเข้มงวด เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ค.ศ. 1965–1969), รองนายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 1969–1972) และนายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 1972–1978) ภายหลังจากพ่อของเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1975 เขาได้ขึ้นเป็นผู้นำแห่งพรรคชาตินิยมในฐานะประธาน และรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1978 และอีกสมัยในปี ค.ศ. 1984

ภายใต้การปกครองของเขาในรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ในขณะที่เผด็จการกลายเป็นสิ่งที่เปิดกว้างมากขึ้นและอดทนต่อความขัดแย้งทางการเมือง เจียงได้ประจบผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวไต้หวันและลดความนิยมของผู้ที่มาจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงหลังสงคราม ในช่วงสุดท้ายของชีวิตของเขา เจียงได้ผ่อนปรนให้รัฐบาลทำการควบคุมสื่อและการพูด และอนุญาตให้ชาวฮั่นไต้หวันเข้ามามีอำนาจ รวมทั้งผู้สืบทอดต่อจากเขาอย่างนาย หลี่ เติงฮุย[1]

อ้างอิง[แก้]