อเล็กซานดรา เอลบัคยาน
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อเล็กซานดรา เอลบัคยาน | |
---|---|
![]() อเล็กซานดรา เอลบัคยาน ในพ.ศ. 2553 | |
เกิด | 6 พฤศจิกายน 1988[1] อัลมา-อะตา, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค, สหภาพโซเวียต[1][2][3] |
มีชื่อเสียงจาก | การสร้างเว็บไซต์ไซ-ฮับ |
อเล็กซานดรา เอลบัคยาน (รัสเซีย: Александра Асановна Элбакян[4]) เป็น นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ชาวคาซัคสถาน[5] นักเขียนโปรแกรม และผู้สร้างเว็บไซต์ไซ-ฮับ (Sci-hub)[6] เดอะนิวยอร์กไทมส์ เปรียบเทียบเธอกับเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ในการปล่อยข้อมูล ด้วยความที่เธอหนีกฎหมายอเมริกาโดยย้ายไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย[7] อาร์เทคนิกาเปรียบเทียบเธอกับแอรอน สวอตซ์[8]
ประวัติ[แก้]
เอลบัคยานเกิดที่สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคในปี พ.ศ. 2531 เธอเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยในนครอัสตานา ซึ่งเป็นที่ที่เธอฝึกทักษะการแฮ็กคอมพิวเตอร์ การทำงานเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ทำให้เธอมีเงินมากพอที่จะย้ายไปที่เมืองไฟรบูร์กอิมไบรส์เกาในพ.ศ. 2553 เพื่อทำงานในโครงการสมอง-คอมพิวเตอร์ และทำให้เธอเกิดความสนใจในลัทธิพ้นมนุษย์ (transhumanism) ซึ่งนำเธอสู่การเข้าฝึกงานที่สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียในสหรัฐอเมริกา เธอเริ่มทำไซ-ฮับเมื่อเดินทางกลับสู่คาซัคสถานในพ.ศ. 2554 ถูกกล่าวถึงโดย ไซเอินซ์ ว่าทำ การกระทำเพื่อผู้อื่นที่น่าประทับใจ หรือ วิสาหกิจอาชญากรรมอันยิ่งใหญ่ แล้วแต่ว่าคุณถามใคร[1] จากคดีความซึ่งฟ้องร้องโดยแอ็ลเซอเฟียร์ในสหรัฐอเมริกา ขณะนี้เอลบัคยานต้องซ่อนตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกจับและส่งตัวข้ามชายแดน[9] จากบทสัสัมภาษณ์ในพ.ศ. 2559 งานวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ของเธอต้องถูกหยุดชั่วคราว ทว่าเธอสมัครเรียนในสาขาประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ที่ "มหาวิทยาลัยเอกชนเล็กๆ แห่งหนึ่ง" ในที่ๆ ไม่อาจเผยแพร่ วิทยานิพนธ์ของเธอมุ่งไปที่การสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์[1]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Bohannon, John (29 April 2016). "The frustrated science student behind Sci-Hub". Science. 352 (6285). doi:10.1126/science.aaf5675.
- ↑ "Alexandra Elbakyan". Vk.com (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 6 October 2016.
- ↑ Coralie Trinh Thi (2016). "Alexandra Elbakyan: la pirate scientifique" (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-11. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
Née en 1988 au Kazakhstan, elle est fascinée par « les livres de science soviétiques, qui expliquent scientifiquement tous les miracles attribués aux dieux ou à la magie ». Elle étudie les neurosciences à Astana et son université n’a pas les moyens de payer l’abonnement aux publications des éditeurs scientifiques. Pour son projet de recherche (l’interactivité cerveau-machine), elle aurait dû acheter chaque article autour de 30 dollars – un prix faramineux quand on sait qu’il faut consulter des dizaines ou des centaines d’articles. Elle n’a qu’une solution : les pirater.
- ↑ https://runet-id.com/103103/
- ↑ Rosenwald, Michael S. (30 March 2016). "This student put 50 million stolen research articles online. And they're free". Washington Post.
- ↑ Dylla, H. Frederick (2016-03-21). "No need for researchers to break the law to access scientific publications". Physics Today. doi:10.1063/PT.5.2031. ISSN 0031-9228. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-28. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Murphy, Kate (2016-03-12). "Should All Research Papers Be Free?". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
- ↑ Kravets, David (3 April 2016). "A spiritual successor to Aaron Swartz is angering publishers all over again". Ars Technica. Condé Nast. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
- ↑ Bohannon, John (29 April 2016). "Who's downloading pirated papers? Everyone". Science. 352 (6285): 508–512. doi:10.1126/science.aaf5664.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Engineuring – Elbakyan's blog