ไอแคนแฮซพีดีเอฟ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ไอแคนแฮซพีดีเอฟ (อังกฤษ: ICanHazPDF) เป็นแฮชแท็กที่ถูกใช้ในทวิตเตอร์เพื่อขออนุญาตเข้าถึงวารสารวิชาการที่ต้องเข้าผ่านเพย์วอลล์[1] โดยเริ่มใช้ในปี 2554[2] โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Andrea Kuszewski[3][4] ชื่อนั้นดัดแปลงมาจากอินเทอร์เน็ตมีม I Can Has Cheezburger?.[4]
กระบวนการ
[แก้]ผู้ใช้ร้องขอบทความโดยการทวีตชื่อตัวระบุวัตถุดิจิทัล (DOI) หรือลิงก์ของผู้จัดพิมพ์ของบทความนั้นๆ ตามด้วยแฮชแทค "#ICanHazPDF" จากนั้นคนที่สามารถเข้าถึงบทความเหล่านั้นจะอีเมลไฟล์บทความไปให้ จากนั้นผู้ใช้จึงลบทวีตทิ้ง[5]
การใช้และความโด่งดัง
[แก้]บทความที่ถูกขอส่วนใหญ่นั้นเป็นบทความใหม่ที่ถูกตีพิมพ์ใน 5 ปีที่ผ่านมา และส่วนใหญ่ของผู้ใช้นั้นมาจากประเทศที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก[1] บทความทางชีววิทยานั้นถูกร้องขอเป็นจำนวนมากที่สุด ถึงแม้ราคาสมาชิกโดยเฉลี่ยของสาขาอื่นเช่น เคมี ฟิสิกส์ และ ดาราศาสตร์ จะสูงกว่าก็ตาม[1] เหตุผลที่เป็นไปได้ที่ทำให้คนใช้แฮชแท็กได้แก่การที่ผู้อ่านไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อบทความและความรวดเร็วในการเข้าถึงที่มากกว่าเมื่อเทียบกับระบบกู้ยืมของมหาลัย[1]
การวิจารณ์
[แก้]บางครั้งวิธีปฏิบัติในการขอบทความถูกมองถูกมองว่าเป็น "การละเมิดลิขสิทธิ์"[6] การเหมารวมเกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมายของไอแคนแฮซพีดีเอฟนั้นเป็นที่ถกเถียง เพราะว่ามีสำนักพิมพ์หลายที่ ที่อนุญาตให้เผยแพร่บทความทางวิชาการในบางรูปแบบ แต่ทว่านโยบายของแต่ละสำนักพิมพ์นั้นมีความแตกต่างกัน[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Gardner, Carolyn Caffrey; Gardner, Gabriel J. "Bypassing Interlibrary Loan Via Twitter: An Exploration of #icanhazpdf Requests" (PDF). ALA. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
- ↑ Dunn, Adam, G.; Coiera, Enrico; Mandl, Kenneth D. (2014). "Is Biblioleaks Inevitable?". Journal of Medical Internet Research. 16 (4). doi:10.2196/jmir.3331. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
- ↑ Kuszewski, Andrea (20 January 2011). "OMG, that should be the new "I'm requesting a paper" hashtag!". สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
- ↑ 4.0 4.1 Mohdin, Aamna (23 October 2015). "How to Get Free Access to Academic Papers on Twitter". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
- ↑ Wendling, Mike (21 October 2015). "The scientists encouraging online piracy with a secret codeword". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
- ↑ Wendling, Mike (21 October 2015). "The scientists encouraging online piracy with a secret codeword". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
- ↑ Jarreau, Paige Brown. "Open Access to Science Communication Research: Your Options". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-10. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.