แอรอน สวอตซ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แอรอน ฮิลเลล สวอตซ์ | |
---|---|
แอรอน สวอตซ์ ณ งานของครีเอทีฟคอมมอนส์ ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
เกิด | แอรอน ฮิลเลล สวอตซ์[1] 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ไฮแลนด์พาร์ก รัฐอิลลินอย,[2] สหรัฐ |
เสียชีวิต | 11 มกราคม พ.ศ. 2556 (26 ปี) บรุกลิน, นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
สาเหตุเสียชีวิต | ฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอ |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด |
อาชีพ | นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักเขียน ลัทธิแฮกเกอร์อินเทอร์เน็ต |
ตำแหน่ง | สมาชิกอาวุโสของ Edmond J. Safra Center for Ethics มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด |
บิดามารดา | รอเบิร์ต สวอตซ์ (พ่อ) ซูซัน สวอตซ์ (แม่) |
รางวัล | รางวัลเจมส์ เมดิสัน ของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (หลังเสียชีวิต) EFF Pioneer Award 2013 (หลังเสียชีวิต) หอเกียรติยศอินเทอร์เน็ต 2013 (หลังเสียชีวิต) |
เว็บไซต์ | aaronsw.com rememberaaronsw.com |
แอรอน ฮิลเลล สวอตซ์ (อังกฤษ: Aaron Hillel Swartz; 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 11 มกราคม พ.ศ. 2556) เป็นทั้งโปรแกรมเมอร์ นักลงทุน นักเขียน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ชาวอเมริกันซึ่งอยู่ใน นักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต เขามีส่วนร่วมในการพัฒนา ฟีด หรือที่เรียกว่าอาร์เอสเอส[3] ภาษามาร์กอัปมาร์กดาวน์[4] องค์กรครีเอทีฟคอมมอนส์[5] โครงร่างเว็บไซต์ web.py[6] และเว็บไซต์ข่าวทางสังคมอย่างเรดดิต ซึ่งเขาได้เป็นหุ้นส่วนหลังจากที่เว็บไซต์ได้ร่วมมือกับบริษัทของเขาที่ชื่อว่า Infogami.[i] สวอตซ์ได้ฆ่าตัวตายระหว่างที่อยู่ภายใต้ข้อกล่าวหาว่าด้วยการขโมยข้อมูล[7] งานของสวอตซ์นั้นมุ้งเน้นไปในด้านความตระหนักและการเคลื่อนไหวทางการเมือง[8][9] เขามีส่วนช่วยในการเปิดตัวของกลุ่ม Progressive Change Campaign Committee ในปี 2552 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านการเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2010 เขาได้เป็นนักวิจัยที่ Safra Research Lab on Institutional Corruption ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของลอว์เรนซ์ เลสสิก[10][11] เขาก่อตั้งกลุ่มออนไลน์ที่ชื่อว่า Demand Progress ซึ่งเป็นที่รู้จักในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์
ในวันที่ 6 มกราคม 2554 สวอตซ์ถูกจับกุมตัวโดยตำรวจ MIT หลังจากต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายของ MIT และแอบไว้ในห้องที่ไม่ได้ล็อกในเขตหวงห้าม และตั้งให้ดาวน์โหลดบทความจากวารสารวิชาการอย่างเป็นระบบจาก เจสตอร์ (JSTOR) ผ่านทางบัญชี guest ที่ MIT มอบให้[12][13] จากนั้นเขาได้ถูกเข้าจับกุมโดย อัยการกลาง นำโดย Carmen Ortiz ด้วย 2 กระทงของการฉ้อโกงโดยวิธีการทางสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และ 11 กระทง ของละเมิดกฎหมายการฉ้อโกงและการใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด[14] ซึ่งมีโทษปรับรวมสูงสุดถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำคุกรวมสูงสุด 35 ปี การริบสินทรัพย์ การชดใช้ และควบคุมความประพฤติ[15]
สวอตซ์ได้ปฏิเสธการต่อรองการรับสารภาพซึ่งจะทำให้เขาติดคุกเป็นเวลา 6 เดือน สองวันหลังจากการปฏิเสธ ศพของเขาได้ถูกพบในห้องอพาร์ตเมนต์ของเขาที่บรุกลิน ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้จบชีวิตตัวเองด้วยการแขวนคอ[7][16]
ในเดือนมิถุนายน ปี 2556 สวอตซ์ได้ถูกใส่ชื่อให้อยู่ในหอเกียรติยศอินเทอร์เน็ตหลังจากที่เสียชีวิต[17][18]
ชีวิตและการงาน
[แก้]สวอตซ์เกิดที่ไฮแลนด์พาร์ก รัฐอิลลินอย[19][20] แถบชานเมืองของชิคาโก เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวชาวยิว โดยมี ซูซัน และ รอเบิร์ต สวอตซ์เป็นแม่และพ่อ[1][21] พ่อของเขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Mark Williams Company สวอตซ์ได้จมตัวเองกับการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ การโปรแกรม อินเทอร์เน็ต และวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต[22] ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่ North Shore Country Day School ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนเล็กๆใกล้กับชิคาโกจนถึงชั้นมัธยมศึกษาที่ 3[23] สวอตซ์ได้ออกจากไฮสกูลในชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 และได้ลงทะเบียนเข้าเรียนหลักสูตรที่มหาลัยแถบชิคาโก[24][25]
ตอนอายุ 13 สวอตซ์ได้ชนะรางวัล ArsDigita Prize ซึ่งจะให้เหล่าผู้เยาว์ที่สร้างเว็บไซต์ที่ไม่แสวงหากำไรซึ่ง "มีประโยชน์ ให้ความรู้ และสร้างความสามัคคี"[1][26] เมื่ออายุ 14 ปี เขาได้เข้าเป็นสมาชิคของกลุ่มงานที่เป็นผู้สร้างข้อมูลจำเพาะของระบบการกระจายข่าวทางเว็บไซต์ RSS 1.0
W3C
[แก้]ในปี 2544 สวอตซ์เข้าร่วมกลุ่มทำงาน RDFCore ในเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C)[27] ซึ่งเขาเป็นผู้เขียน RFC 3870 หรือ การขึ้นทะเบียนชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ของ Application/RDF+XML โดยเอกสารนั้นระบุเกี่ยวกับชนิดสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "RDF/XML" ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้กับเว็บเชิงความหมาย[28]
มาร์กดาวน์
[แก้]สวอตซ์เป็นผู้มีส่วนร่วมหลักในการพัฒนามาร์กดาวน์[4][29] ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปเบาสำหรับสร้าง HTML และผู้คิดสร้างตัวแปล html2text ที่ใช้ร่วมกัน โครงสร้างภาษาสำหรับมาร์กดาวน์นั้นได้อิทธิพลมาจากภาษา atx ของสวอตซ์ (ปี 2545)[30] ซึ่งทุกวันนี้ถูกจดจำจากโครงสร้างภาษาสำหรับบ่งบอกเฮดเดอร์ (header) หรือที่เรียกกันว่า เฮดเดอร์รูปแบบ atx[31]
# H1-header
## H2-header
...
###### H6-header
ตัวมาร์กดาวน์เองนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลาย
การลงทุน
[แก้]สวอตซ์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในขณะอยู่ปี 1 สวอตซ์ได้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนครั้งแรกที่จัดขึ้นโดยบริษัทวายคอมบิเนเตอร์ และเสนอว่าจะทำงานให้กับบริษัทเกิดใหม่ (startup) ที่มีชื่อว่า อินโฟกามิ (Infogami) ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นระบบจัดการเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่น เพื่อสร้างเว็บโซต์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และน่าสนใจ[32] หรือรูปแบบหนึ่งของวิกิสำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง หลังจากทำงานกับ อินโฟกามิ ด้วยกันกับผู้ก่อตั้งร่วมที่มีชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น (Simon Carstensen) ตลอดฤดูร้อนของปี 2548,[33] อารอนตัดสินใจที่จะไม่กลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแต่กลับมุ่งหน้าพัฒนาและหาทุนให้กับอินโฟกามิ[32]
โครงร่างเว็บไซต์ web.py ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานจากอินโฟกามิ เนื่องจากการที่อารอนไม่ชอบระบบที่มีอยู่ในภาษาไพทอน ในต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี 2548 สวอตซ์ได้ทำงานกับผู้ก่อตั้งของบริษัทหน้าใหม่ที่ชื่อว่า เรดดิต ภายใต้บริษัทวายคอมบิเนเตอร์ เพื่อเขียนพื้นฐานโค้ดที่อยู่ในภาษาลิสป์ใหม่ โดยใช้ภาษาไพทอนและ web.py[6]
เมื่อครั้นอินโฟกามิประสบปัญหาทางด้านทุนทรัพย์ ผู้สร้างของวายคอมบิเนเตอร์ได้เสนอให้อินโฟกามิรวมเข้ากับเรดดิต[34][35] โปรเจกต์ทั้งสองได้รวมกันในปี 2548 กลายเป็นบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า น็อท อะ บัค (Not A Bug) ซึ่งมุ้งเน้นไปในการพัฒนาโปรเจกต์ทั้งสอง[34][36] แม้ตอนแรกทั้งสองโปรเจกต์จะมีปัญหาทางด้านการดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ เรดดิตเริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างช่วงปี 2548 และ 2549
ในเดือนตุลาคม ปี 2549 บนพื้นฐานของความสำเร็จของเรดดิต น็อท อะ บัค ได้ถูกโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ สำนักพิมพ์ Condé Nast เจ้าของนิตยสารไวร์ด์[22][37] สวาร์สซกับบริษัทของเขาได้ย้ายไปทำงานให้กับนิตยสารไวร์ด์ที่ซานฟรานซิสโก[22] ทว่าจากนั้นสวอตซ์ไม่พอใจกับการทำงานในออฟฟิศ และได้ออกจากบริษัทในที่สุด[38]
ในเดือนกันยายนปี 2550 สวอตซ์ได้ร่วมมือกับผู้ก่อตั้งร่วมของอินโฟกามิที่ชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น ในการเปิดตัวบริษัทใหม่ชื่อ จอททิต (Jottit) เป็นความพยายามอีกครั้งที่จะสร้างระบบจัดการเนื้อหาขับเคลื่อนโดยมาร์คดาวน์ในภาษาไพทอน[39]
ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์
[แก้]สวอตซ์มีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) ซึ่งมีเป้าหมายในการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต แต่กลับถูกวิจารย์ในพื้นฐานที่การต่อต้านนั้นทำให้รัฐบาลสหรัฐเข้าปิดเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต[40] หลังจากที่ร่างกฎหมายถูกยกเลิก สวอตซ์ได้เป็นผู้บรรยายจากองค์ปาฐก ณ งาน F2C: Freedom to Connect 2012 ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 21 พฤษภาคม ปี 2555 ภายใต้หัวข้อการบรรยายชื่อ "เราหยุด SOPA ได้อย่างไร" ซึ่งเขาได้บอกผู้ชมว่า
"เราชนะการต่อสู้ครั้งนี้เพราะทุกคนทำให้ตัวเองเป็นวีรบุรุษในเรื่องของตนเอง ทุกคนทำให้การรักษาเสรีภาพนี้เป็นหน้าที่ของตนเอง"[41][42] เขาอ้างถึงการประท้วงต่อร่างกฎหมายโดยหลากหลายเว็บไซต์ซึ่งถูกกล่าวถึงใน Electronic Frontier Foundation ว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็บไซต์มากกว่า 115,000 เว็บไซต์ทำการปรับแต่งหน้าเพจของตนเอง [43] สวอตซ์ยังได้บรรยายหัวข้อนี้ในงานจัดโดย ThoughtWorks อีกด้วย[44]
วิกิพีเดีย
[แก้]สวอตซ์ได้เป็นอาสาสมัครแก้ไขบทความในวิกิพีเดีย และในปี 2549 สวอตซ์ได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีที่บทความในวิกิพีเดียถูกเขียน และได้สรุปว่าข้อมูลส่วนใหญ่ในบทความต่าง ๆ นั้นมาจากผู้มีส่วนร่วมเป็นครั้งคราว หรือ "คนนอก" นับหมื่นคน ซึ่งอาจไม่มีส่วนร่วมอื่นในวิกิพีเดียเลย ส่วนกลุ่มสมาชิกหลักซึ่งประกอบด้วย 500 ถึง 1000 คนที่เป็นสมาชิกประจำ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้แก้ไขตัวสะกดและข้อผิดพลาดทางรูปแบบ[45] สวอตซ์ได้กล่าวว่า "ผู้แก้ไขรูปแบบเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีส่วนร่วม ไม่ใช่ในทางกลับกัน"[45][46]
ไซ-ฮับ
[แก้]อเล็กซานดรา เอลบัคยาน ผู้เป็นทั้งนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และนักวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ชาวคาซัคสถานก่อตั้งไซ-ฮับ[47] ไซ-ฮับได้ให้การเข้าถึงบทความทางวิชาการภายใต้เพย์วอลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ ปี พ.ศ. 2559 ไซ-ฮับรวบรวมบทความไว้มากกว่า 50 ล้านบทความ[47][48] เอลบัคยานมักถูกเปรียบเทียบกับสวอตซ์ ด้วยความที่เธอมักวิจารณ์เพย์วอล รวมไปถึงความทุ่มเทที่เธอมีต่อไซ-ฮับ โดยเธอกล่าวว่าจะไม่ยอมปิดเว็บไซต์แม้จะโดนฟ้องก็ตาม[49]
JSTOR
[แก้]อ้างอิงจากผู้มีอำนาจทางภาครัฐและสหพันธรัฐ สวอตซ์ใช้ JSTOR ซึ่งเป็นที่เก็บดิจิทัล[50] เพื่อดาวน์โหลดวารสารวิชาการจำนวนมาก[ii] ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ MIT ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ในท้ายปี 2553 และ ต้นปี 2554 ในขณะนั้น สวอตซ์ยังเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอีกด้วย ซึ่งเป็นผู้ให้บัญชีของ JSTOR[51] ผู้เยี่ยมชม "มหาลัยแบบเปิด" ของ MIT นั้นได้รับอนุญาตให้เข้าชม JSTOR ผ่านทางระบบเครือข่ายของ JSTOR เอง[52]
ผู้มีอำนาจได้กล่าวว่าสวอตซ์ดาวน์โหลดเอกสารผ่านแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อกับสวิตช์ระบบเครือข่ายในห้องควบคุมการเข้าถึงผ่านสายใน MIT[13][53][54][55][56] จากรายงานข่าว ประตูของห้องนั้นไม่ได้ถูกล็อก[52][57][58] เมื่อถูกจับได้ JSTOR อ้างว่าลูกจ้างของบริษัทได้ติดตั้งกล้องวิดีโอในห้องเพื่อดักถ่ายสวอตซ์โดยไม่ได้แตะต้องกับคอมพิวเตอร์ของเขา หลังจากที่วิดีโอถูกเผยแพร่ การดาวน์โหลดได้หยุดลงและสวอตซ์ได้ถูกชี้ตัว แทนที่จะต่อสู้กับคดี ในเดือนมิถุนายน ปี 2554 เขาได้ยอมลบไฟล์ที่ดาวน์โหลดไปทั้งหมด[59][60]
การจับกุม
[แก้]ในคืนวันที่ 6 มกราคม ปี 2554 สวอตซ์ถูกจับกุมใกล้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดโดย ตำรวจ MIT และหน่วยตำรวจลับของสหรัฐ เขาถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่เคมบริดจ์โดยมีสองข้อหาเกี่ยวกับการบุกรุกและตั้งใจบุกเข้าไปเพื่อทำอาชญากรรม[12][13][56][61][62]
การเสียชีวิต
[แก้]ในคืนของวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 ศพของสวอตซ์ถูกพบในห้องอพาร์ตเมนต์ของเขาที่บรุกลินโดยแฟนสาวของเขา Taren Stinebrickner-Kauffman[52][63][64] โฆษกหญิงเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพนิวยอร์กรายงานว่าเขาได้ผูกคอตาย[63][64][65] โดยไม่พบจดหมายลาตาย[66] ครอบครัวของสวอตซ์และแฟนของเขาได้สร้างเว็บไซต์เพื่อระลึกถึง โดยเขียนบนเว็บไซต์ว่า "สวอตซ์ได้ใช้ทักษะความรู้ที่อัจฉริยะของเขาในการเป็นผู้เขียนโปรแกรมและนักเทคโนโลยี ไม่ใช่เพื่อก่อกำไรต่อตัวเอง แต่เพื่อทำให้โลกอินเทอร์เน็ตและโลกนี้เป็นที่ที่มีความยุติธรรมมากขึ้น และเป็นที่ที่ดีขึ้น"[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Yearwood, Pauline (February 22, 2013).
- ↑ Skaggs, Paula (January 16, 2013). "Aaron Swartz Remembered as Internet Activist who Changed the World". Patch.
- ↑ "RSS creator Aaron Swartz dead at 26".
- ↑ 4.0 4.1 "Markdown".
- ↑ Lessig, Lawrence (January 12, 2013).
- ↑ 6.0 6.1 Grehan, Rick (August 10, 2011).
- ↑ 7.0 7.1 "Aaron Swartz, Tech Prodigy and Internet Activist, Is Dead at 26".
- ↑ Swartz, Aaron.
- ↑ Swartz, Aaron (May 13, 2008).
- ↑ Seidman, Bianca (July 22, 2011).
- ↑ "Lab Fellows 2010–2011: Aaron Swartz".
- ↑ 12.0 12.1 Gerstein, Josh (July 22, 2011).
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Commonwealth v.
- ↑ "Indictment, USA v.
- ↑ US Attorney's Office District of Massachusetts (July 19, 2011). "Alleged Hacker Charged With Stealing Over Four Million Documents from MIT Network". Press release. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ January 17, 2013.
- ↑ "Aaron Swartz, internet freedom activist, dies aged 26".
- ↑ Press release from the Internet Hall of Fame.
- ↑ "Internet Hall of Fame Announces 2013 Inductees".
- ↑ Skaggs, Paula (January 16, 2013).
- ↑ http://www.rollingstone.com/culture/news/the-brilliant-life-and-tragic-death-of-aaron-swartz-20130215?page=2
- ↑ 21.0 21.1 Nelson, Valerie J. (January 12, 2013).
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Swartz, Aaron (September 27, 2007).
- ↑ "Reddit co-creator Aaron Swartz dies from suicide" เก็บถาวร 2016-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Skaggs, Paula (January 15, 2013).
- ↑ Swartz, Aaron (January 14, 2002).
- ↑ Schofield, Jack (January 13, 2013).
- ↑ "RDFCore Working Group Membership".
- ↑ Swartz, A. (September 2004).
- ↑ Gruber, John.
- ↑ "atx, the true structured text format".
- ↑ "Daring Fireball – Markdown – Syntax".
- ↑ 32.0 32.1 Ryan, Singel (2005-09-13).
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-19. สืบค้นเมื่อ 2016-01-11.
- ↑ 34.0 34.1 Swartz, Aaron (2007).
- ↑ "A passion for your users brings good karma: (Interview with) Alexis Ohanian, co-founder of reddit.com".
- ↑ Singel, Ryan (July 19, 2011). "Feds Charge Activist as Hacker for Downloading Millions of Academic Articles". Wired. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
- ↑ "Breaking News: Condé Nast/Wired Acquires Reddit".
- ↑ Lenssen, Philipp (2007). "A Chat with Aaron Swartz". Google Blogoscoped. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2010. สืบค้นเมื่อ May 11, 2010.
- ↑ "Aaron Swartz's Jottit has been officially released".
- ↑ Wagner, Daniel; Verena Dobnik (January 13, 2013).
- ↑ Swartz, Aaron (May 21, 2012). "How we stopped SOPA" (video). Keynote address at the Freedom To Connect 2012 conference. New York: Democracy Now!.
[T]he 'Combating Online Infringement and Counterfeiting Act' ... was introduced on September 20th, 2010.... And [then] it began being called PIPA, and eventually SOPA.
- ↑ Aaron Swartz (interviewee) & Amy Goodman (พฤษภาคม 21, 2012). Freedom to Connect: Aaron Swartz (1986–2013) on victory to save open Internet, fight online censors (Video). N.Y.C.: Democracy Now. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 20, 2013.
- ↑ "Bill Killed: SOPA death celebrated as Congress recalls anti-piracy acts", Russian Times, January 19, 2012
- ↑ Swartz, Aaron (August 16, 2012).
- ↑ 45.0 45.1 Swartz, Aaron (September 4, 2006).
- ↑ Blodget, Henry (January 3, 2009).
- ↑ 47.0 47.1 Murphy, Kate (March 12, 2016). "Should All Research Papers Be Free?". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ August 23, 2016.
- ↑ McNutt, Marcia. "Science Magazine". Science.
- ↑ "A spiritual successor to Aaron Swartz is angering publishers all over again". สืบค้นเมื่อ August 23, 2016.
- ↑ "Terms and Conditions of Use".
- ↑ "Indictment, USA v.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 MacFarquhar, Larissa (March 11, 2013).
- ↑ "Indictment, USA v.
- ↑ Lindsay, Jay (July 19, 2011).
- ↑ "JSTOR Statement: Misuse Incident and Criminal Case".
- ↑ 56.0 56.1 Cohen, Noam (January 20, 2013).
- ↑ Peters, Justin (February 7, 2013).
- ↑ Merritt, Jeralyn (January 14, 2013).
- ↑ "JSTOR Statement: Misuse Incident and Criminal Case".
- ↑ "Aaron Swartz, Internet Pioneer, Found Dead Amid Prosecutor 'Bullying' In Unconventional Case".
- ↑ Hak, Susana; Paz, Gabriella (January 26, 2011).
- ↑ Singel, Ryan (February 27, 2011).
- ↑ 63.0 63.1 Kemp, Joe; Trapasso, Clare; Mcshane, Larry (January 12, 2013).
- ↑ 64.0 64.1 "Co-founder of Reddit Aaron Swartz found dead".
- ↑ Lessig, Lawrence (January 12, 2013). "Prosecutor as bully". สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
- ↑ Gustin, Sam (January 14, 2013).
ดูเพิ่ม
[แก้]- Nanos, Janelle (January 2014). "Losing Aaron". Boston. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-01-11.
- Poulsen, Kevin. "MIT Moves to Intervene in Release of Aaron Swartz's Secret Service File." Wired. July 18, 2013.
ภาพยนตร์สารคดี
[แก้]- Brian Knappenberger (Producer and Director), The Internet's Own Boy: The Story of Aaron Swartz. Participant Media: 2014. Via The Internet Archive, www.archive.org/ Run time: 105 minutes.
- Ali Akbarzadeh (Director), Killswitch: The Battle to Control the Internet, Akorn Entertainment: 2014
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Wikipedia user page (2004–2013)
- แอรอน สวอตซ์ ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- Remembrances (2013– ), with obituary and official statement from family and partner
- How can we further Aaron's legacy? – LinkedIn Post featuring the documentary: Internet’s Own Boy: The story of Aaron Swartz
- The Aaron Swartz Collection at Internet Archive (2013– ) (podcasts, e-mail correspondence, other materials)
- Guerilla Open Access Manifesto
- แอรอน สวอตซ์ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Posting about Swartz as Wikipedia contributor (2013), at The Wikipedian
- Case Docket: US v. Swartz
- Report to the President: MIT and the Prosecution of Aaron Swartz
- JSTOR Evidence in United States vs. Aaron Swartz – A collection of documents and events from JSTOR's perspective. Hundreds of emails and other documents they provided the government concerning the case.
- https://swartzfiles.com/ เก็บถาวร 2020-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Federal law enforcement documents about Aaron Swartz, released under the Freedom of Information Act