อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี (ดาวเคราะห์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี
ดาวเคราะห์นอกระบบ รายชื่อ

ภาพในจินตนาการของอิปไซลอนแอนดรอมิดา บี
ดาวฤกษ์แม่
ดาวฤกษ์ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ
กลุ่มดาว กลุ่มดาวแอนดรอมิดา
ไรต์แอสเซนชัน (α) 01h 36m 47.8s
เดคลิเนชัน (δ) +41° 24′ 20″
ความส่องสว่างปรากฏ (mV) 4.09
ระยะห่าง44.0 ± 0.1 ly
(13.49 ± 0.03 pc)
ชนิดสเปกตรัม F8V
มวล (m) 1.28 M
รัศมี (r) 1.480 ± 0.087 R
อุณหภูมิ (T) 6074 ± 13.1 K
ความเป็นโลหะ [Fe/H] 0
อายุ 3.3 พันล้านปี
องค์ประกอบวงโคจร
กึ่งแกนเอก(a) 0.0595 ± 0.0034 AU
    ~4.41 mas
จุดใกล้ที่สุดจากดาวฤกษ์แม่ (q) 0.0549 ± 0.0046 AU
จุดไกลที่สุดจากดาวฤกษ์แม่ (Q) 0.0609 ± 0.0046 AU
ความเยื้องศูนย์กลาง (e) 0.023 ± 0.018
คาบการโคจร(P)4.617113 ± 0.000082 d
(0.01264 y)
ความเอียง (i) ~25[1]°
มุมของจุดใกล้ที่สุด (ω) 63.4°
เวลาที่เข้าใกล้ดาวฤกษ์แม่ที่สุด (T0) 2,451,802.64 ± 0.71 JD
ครึ่งแอมพลิจูด (K) 69.8 ± 1.5 m/s
ลักษณะทางกายภาพ
มวล(m)1.4[1] MJ
ข้อมูลการค้นพบ
ค้นพบเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2539
ค้นพบโดย จอฟฟรีย์ มาร์ซี
วิธีตรวจจับ ความเร็วแนวเล็ง
สถานที่ที่ค้นพบ สถานที่หาดาวเคราะห์นอกระบบแคลิฟอร์เนีย
 สหรัฐ
สถานะการค้นพบ ยืนยันแล้ว
ชื่ออื่น
50 แอนโดรเมดา บี, อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอบี

อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี (อังกฤษ: Upsilon Andromedae b; υ Andromedae b / υ And b / υ Andromedae Ab / υ And Ab ) หรืออิปไซลอนแอนดรอมิดา เอบี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวอิปไซลอนแอนดรอมิดา เอในระยะทางที่ใกล้ที่สุด ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกประกาศการค้นพบพร้อมกันกับ 55 ปู บี และ เทา คนเลี้ยงสัตว์ บี เมื่อเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2539 อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีก็เป็นดาวพฤหัสร้อนดวงแรกๆที่ถูกพบ อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลสูง จึงน่าจะเป็นดาวแก๊สยักษ์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ได้ค้นพบว่าดาวเคราะห์ดวงนี้มีอุณหภูมิประมาณ -20℃ ถึง 230℃ ในด้านที่ไม่ได้หันหน้าเข้าดาวเอกของมันและ 1,400℃ ถึง 1,650℃ ในด้านที่หันหน้าเข้าดาวเอกของมัน ซึ่งคล้ายกับดาวพุธ และด้านหลังของดาวเคราะห์ดวงนี้ สามารถเห็นสีแดงท่วมเต็มไปหมด คงมีจุดๆเดียวบริเวณขั้วดาวเคราะห์ที่เห็นเป็นรอยด่างเพราะเป็นจุดไกลที่สุด

สีดาวเคราะห์[แก้]

สีของดาวเคราะห์น่าจะอยู่ในสีโทนร้อน เช่นสีแดง สีส้ม สีเหลือง ฯลฯ เพราะโคจรอยู่ใกล้ดาวเอกของมันมาก

จุดร้อนประหลาด[แก้]

ภาพในจินตนาการของอิปไซลอนแอนดรอมิดา บี กับจุดร้อนของมัน (โทนสีส้ม)

นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบจุดร้อนประหลาดบนดาวเคราะห์ดวงนี้ แล้วก็ยังตั้งข้อเสนอว่ามี่จุดร้อนที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของดาวเอกของมันบนดาวเคราะห์ดวงนี้ด้วย

การมีดาวบริวาร[แก้]

นักวิจัยหลายคนคาดว่าด้านที่ถูกแสงแดดของดาวเคราะห์ดังกล่าวอาจหันเข้าหาดวงฤกษ์ของมันตลอดเวลาด้วยแรงไทดัล เหมือนกับกรณีที่ดวงจันทร์หันด้านเดิมเข้าหาโลกเสมอซึ่งเกิดจากเวลาที่ใช้หมุนรอบตัวเองเท่ากับเวลาที่ดวงจันทร์ใช้โคจรรอบโลก จึงไม่น่าสามารถที่จะมีดาวบริวารได้ แต่ ณ ตอนนี้ คงไม่อาจพิสูจน์ได้จากเทคโนโลยีสมัยนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 McArthur, Barbara E.; และคณะ (2010). "New Observational Constraints on the υ Andromedae System with Data from the Hubble Space Telescope and Hobby Eberly Telescope" (PDF). The Astrophysical Journal. 715 (2): 1203. Bibcode:2010ApJ...715.1203M. doi:10.1088/0004-637X/715/2/1203.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัด: Sky map 01h 36m 47.8s, +41° 24′ 20″