อิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี
ดาวเคราะห์นอกระบบ รายชื่อ

ภาพจินตนาการของ อิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี
ดาวฤกษ์แม่
ดาวฤกษ์ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ
กลุ่มดาว กลุ่มดาวแอนดรอมิดา
ไรต์แอสเซนชัน (α) 01h 36m 47.8s
เดคลิเนชัน (δ) +41° 24′ 20″
ความส่องสว่างปรากฏ (mV) 4.09
ระยะห่าง44.0 ± 0.1 ly
(13.49 ± 0.03 pc)
ชนิดสเปกตรัม F8V
มวล (m) 1.28 M
รัศมี (r) 1.480 ± 0.087 R
อุณหภูมิ (T) 6074 ± 13.1 K
ความเป็นโลหะ [Fe/H] 0
อายุ 3.3 พันล้านปี
องค์ประกอบวงโคจร
กึ่งแกนเอก(a) 0.830 ± 0.048 AU
    ~61.5 mas
ความเยื้องศูนย์กลาง (e) 0.262 ± 0.021
คาบการโคจร(P)241.23 ± 0.30 d
ความเอียง (i) 7.9 ± 1°
ข้อมูลการค้นพบ
ค้นพบเมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2542
ค้นพบโดย เจฟฟรีย์ มาร์ซี และคณะ
วิธีตรวจจับ ความเร็วแนวเล็ง
สถานที่ที่ค้นพบ สถานที่หาดาวเคราะห์นอกระบบแคลิฟอร์เนีย
 สหรัฐ
สถานะการค้นพบ ยืนยันแล้ว
ชื่ออื่น
50 แอนดรอมิดา ซี, อัปซีลอนแอนดรอมิดา เอซี

อิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี หรือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอซี (อังกฤษ: Upsilon Andromedae c, υ Andromedae c, υ and c; Upsilon Andromedae ac, υ Andromedae Ac หรือ υ and Ac) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวอิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีความร้อนสูงมาก และมีความหนาแน่นถึง 13.98 เท่าของดาวพฤหัสบดี ถ้าสมมุติว่าอิปไซลอนแอนดรอมิดา ซีนั้นอยู่ในระบบสุริยะของเรา มันจะโคจรระหว่างโลกกับดาวศุกร์ นักดาราศาสตร์ก็ได้ตั้งข้อเสนอว่ามีดาวเคราะห์วงนอกอีกดวง (ซึ่งอาจหลุดวงโคจรไปแล้ว) ดันให้อิปไซลอนแอนดรอมิดา ดีเข้าไปโคจรดาวเอกของมันในระยะทางที่ใกล้กว่า ดังนั้นอิปไซลอนแอนดรอมิดา ดีจึงค่อยๆ ทำให้วงโคจรของอิปไซลอนแอนดรอมิดา ซีเยื้องมากขึ้น แต่ถ้าเป็นเช่นนี้ ดาวเคราะห์ที่หายไปก็จะต้องถูกผลักดันให้หลุดวงโคจรไป นักดาราศาสตร์จึงไม่ค่อยแน่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก

สีดาวเคราะห์[แก้]

สีฟ้าที่เห็นอยู่ในภาพจินตนาการของศิลปินส่วนใหญ่ไม่ได้แปลว่า "ความเย็น" แต่สีฟ้านี้เกิดจากการกระจายตัวของแสง เพราะดาวเคราะห์ดวงนี้ร้อนมาก ดังนั้นถ้ามองด้วยตาเปล่า เราจะเห็นดาวเคราะห์ดวงนี้จะมีเมฆสีแดงอยู่

การมีดาวบริวาร[แก้]

ดาวเคราะห์ดวงนี้มีโอกาสที่จะมีดาวบริวารอยู่ได้ และเนื่องจากดาวเคราะห์ดวงนี้มีความหนาแน่นสูง จึงน่าจะมีดาวบริวารที่ใหญ่ถึงดาวอังคารได้ และมีชั้นบรรยากาศของมันเองด้วย เนื่องจากอิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี โคจรรอบดาวเอกของมันในระยะทางที่ค่อนข้างใกล้ชิด ดาวบริวารของมันจึงน่าจะมีพื้นผิวเป็นทะเลทราย และปราศจากน้ำ