ข้ามไปเนื้อหา

หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


หลวงพ่ออู่ทอง
ชื่อเต็มหลวงพ่ออู่ทอง
ชื่อสามัญหลวงพ่ออู่ทอง, หลวงพ่อทองคำ วัดดงสระแก้ว, หลวงพ่อทองคำ
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะศิลปะอู่ทอง ปางมารวิชัย
ความกว้าง34 นิ้ว
วัสดุทองคำ
สถานที่ประดิษฐานถูกโจรกรรม (ปัจจุบันองค์จำลองประดิษฐานอยู่ที่วัดดงสระแก้ว)
ความสำคัญพระพุทธรูปทองคำโบราณองค์สำคัญองค์เดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์
หมายเหตุถูกโจรกรรม
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างอู่ทองโบราณ เนื้อโลหะทองคำบริสุทธิ์ หนักกว่า 200 กิโลกรัม มีขนาดหน้าตักกว้าง 34 นิ้ว พุทธลักษณะปางมารวิชัย มีอายุกว่า 800 ปี

หลวงพ่ออู่ทองเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในฐานะเป็นพระปูนปั้นรอบระเบียงในพระอุโบสถ และต่อมาได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานในอุโบสถ วัดดงสระแก้ว จังหวัดอุตรดิตถ์ จนปูนที่หุ้มองค์พระเนื้อทองคำได้กระเทาะออกในปี พ.ศ. 2508[1]

แต่ในปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่ออู่ทองก็ได้ถูกโจรกรรมจากวัดไป ซึ่งยังไม่สามารถติดตามคืนมาได้จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

พระธรรมกิจโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดดงสระแก้ว นำหลวงพ่ออู่ทองมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2485 ด้วยวิธีจับสลากเลือก และอัญเชิญมาลงยังสถานีอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟ โดยเมื่อแรกนำมาประดิษฐานในอุโบสถนั้น ได้มาเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เทอะทะ ไม่สมส่วน คือส่วนพระเศียรใหญ่กว่าปกติ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ขณะช่างบูรณะอุโบสถ ได้ทำกระเบื้องตกใส่องค์หลวงพ่อ จึงทำให้ปูนกระเทาะออก เผยให้เห็นองค์พระทองคำข้างใน เป็นพระทองคำบริสุทธิ์ สกุลช่างอู่ทอง จึงสันนิษฐานได้ว่าสร้างในพุทธศตวรรษ 17-19

หลวงพ่ออู่ทอง จึง เป็นพระพุทธรูปทองคำโบราณองค์สำคัญองค์เดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์ มาตั้งแต่นั้น และเป็นพระพุทธรูปสำคัญ 1 ใน 3 องค์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน แต่ปรากฏว่า ในปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่ออู่ทองได้ถูกโจรกรรมหายไปจากวัดอย่างไร้ร่องรอย และยังคงตามคืนมาไม่ได้จนปัจจุบันนี้ [2]

ดูประวัติความเป็นมาของหลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เพิ่มได้ที่ ประวัติพระพุทธสุโขทัยไตรโลกเชษฐ์ ฯ เก็บถาวร 2008-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติหลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เก็บถาวร 2009-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เว็บไซต์วัดดงสระแก้ว. เรียกข้อมูลเมื่อ 8-4-52
  2. เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา, 2551.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]