หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร
หม่อมเจ้า ชั้น 5
ประสูติ11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447
ประเทศสยาม (ปัจจุบัน ประเทศไทย)
ชีพิตักษัย18 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (28 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สวามีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (เริ่ม 2462; เสียชีวิต 2463)
หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร (สมรส 2464)
พระบุตรหม่อมราชวงศ์อมราภินพ กิติยากร
หม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร
หม่อมราชวงศ์กิติอัจฉรา ปวนะฤทธิ์
ราชสกุลรพีพัฒน์ (โดยประสูติ)
กิติยากร (โดยสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระมารดาหม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
ศาสนาพุทธ

หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์: 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (แบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2447)[1] สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[2]

หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ เป็นชายาองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หลังทรงหย่าร้างกับหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ทำการเสกสมรส

หลังจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต ในพินัยกรรม ทรงมอบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างให้หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศเพียงผู้เดียว ทรงมอบพระโอรสให้อยู่ในความดูแลของหม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ และจะมีสิทธิ์ในมรดกก็ต่อเมื่อหม่อมเจ้าชวลิตโอภาศสิ้นชีพิตักษัยแล้วเท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วยกับพินัยกรรม จึงทรงยับยั้งพินัยกรรมไม่ให้มีผลบังคับใช้ ดังนั้นทั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ และหม่อมคัทรินต่างได้รับเงินปันผลจากผลประโยชน์ของกองมรดก แต่มรดกส่วนใหญ่ยังคงอยู่ ต่อมาทรงเรียกคืนวังปารุสกวันกลับมาเป็นของพระมหากษัตริย์ ส่วนหม่อมเจ้าชวลิตโอภาศต้องย้ายกลับไปประทับยังวังที่ท่าเตียน ซึ่งเคยประทับก่อนเป็นชายา

หนึ่งปีต่อมา เมื่อหม่อมเจ้าชวลิตโอภาศจะเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบที่จะให้หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศคืนมรดกกลับไปให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เสียก่อน จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เสกสมรสได้

หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศมีโอรส - ธิดากับหม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากรดังนี้

  1. หม่อมราชวงศ์อมราภินพ กิติยากร
  2. หม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร
  3. หม่อมราชวงศ์กิติอัจฉรา กิติยากร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เกิดวังปารุสก์. พิมพ์ครั้งที่ 12, กรุงเทพฯ : ริเวอร์ บุ๊คส์, 2547. 560 หน้า. หน้า 539. ISBN 974-8225-22-4
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 37, ตอน 0, 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463, หน้า 2802