หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
เทวาธิราช ป.มาลากุล | |
---|---|
สมุหพระราชพิธี | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2501 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | หม่อมราชวงศ์โป้ย 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 |
เสียชีวิต | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (77 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงเนื่อง คุณหญิงเผื่อน |
บุตร | 10 คน |
บุพการี |
|
หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป.มาลากุล (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510) (นามเดิม:หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล) เคยมีบรรดาศักดิ์เป็นมหาเสวกตรี พระยาเทวาธิราช อดีตข้าราชการสำนักพระราชวัง เคยเป็นสมุหพระราชพิธี
ประวัติ
[แก้]หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป.มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ณ วังซึ่งเป็นที่ทำการกรมศิลปากรในบัดนี้ นามเดิม หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล เป็นพระโอรสของพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ และหม่อมสุ่น มีพี่น้องร่วมพระบิดา ดังรายนามต่อไปนี้
- มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)
- เจ้าจอม หม่อมราชวงศ์แป้น มาลากุล
- ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม ในรัชกาลที่ 5)
- ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ม ในรัชกาลที่ 5)
- มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)
- เจ้าจอม หม่อมราชวงศ์แป้ว มาลากุล
- ท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)
- มหาเสวกตรี พระยาเทวาธิราช
- มหาเสวกตรี พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล)
- หม่อมราชวงศ์เปี๊ยะ มาลากุล
- หม่อมราชวงศ์ปึก มาลากุล
ในวัยเยาว์ พระบิดาได้ถวายตัวพร้อมกับพี่น้องทั้งหมดให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพระบรมมหาราชวัง ได้ทรงพระกรุณาฯส่งไปศึกษาในขั้นแรกที่โรงเรียนราชวิทยาลัย และต่อมาที่ Higher Technological School ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยส่งไปพร้อมกับบุคคลดังมีรายพระนามและรายนามต่อไปนี้
- หม่อมเจ้าพงษ์ภูวนารถ ทวีวงศ์ ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
- หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล
- นายเจริญ สวัสดิ-ชูโต (ภายหลังเป็น มหาเสวกตรี พระยานรเทพปรีดา)
- นายเสริม ภูมิรัตน (ภายหลังเป็น หลวงประกาศโกศัยวิทย์)
- นางสาวขจร (ท่านผู้หญิงขจร ภะรตราชา)
- นางสาวพิศ (นางประกาศโกศัยวิทย์ พิศ ภูมิรัตน)
- นางสาวนวล
- นางสาวหลี (คุณศรีนาฏ บูรณะฤกษ์)
ทั้งหมดนี้นับเป็นนักเรียนญี่ปุ่นรุ่นแรกของประเทศไทย
เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว เดินทางกลับมาประเทศไทยในปลายรัชกาลที่ 5 เริ่มฝึกราชการในกรมพระราชพิธี กระทรวงวัง จนถึงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ในรัชกาลที่ 6 จึงได้รับราชการ ทรงพระกรุณาฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น จมื่นศิริวังรัตน์ ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจวังในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือศักดินา ๖๐๐[1]และรับราชการเรื่อยมามีความเจริญโดยลำดับจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "พระยาเทวาธิราช" ในที่สุด และมียศพลเรือนสูงสุด คือ "มหาเสวกตรี" จนถึงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2485 ท่านจึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากบรรดาศักดิ์[2]
ตำแหน่งราชการ
[แก้]ท่านได้รับราชการโดยลำดับ ดังนี้
- พ.ศ. 2453 เป็นเจ้ากรมพระตำรวจวัง ในราชสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- พ.ศ. 2463 เป็นผู้ช่วยสมุหพระราชพิธี ในกระทรวงวัง
- พ.ศ. 2470 เป็นผู้ช่วยสมุหพระราชพิธี และ เจ้ากรมกรมวัง ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
- 1 เมษายน พ.ศ. 2471 เป็นสมุหพระราชพิธี[3]
- พ.ศ. 2476 เป็นสมุหพระราชพิธี และทำการในตำแหน่งเจ้ากรม กองพระราชพิธี
- พ.ศ. 2478 เป็นหัวหน้ากองวังและพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
- พ.ศ. 2479 เป็นสมุหพระราชพิธี กรรมการพระราชวัง เพื่อปรึกษากิจการพระราชสำนัก
- พ.ศ. 2486 เป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ชั้นพิเศษ
- พ.ศ. 2492 เป็นสมุหพระราชพิธี และที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เกือบครึ่งชีวิตในเวลาราชการของพระยาเทวาธิราช ท่านได้ครองตำแหน่งสมุหพระราชพิธียาวนานถึง 3 แผ่นดิน ตราบจนเกษียณอายุออกรับพระราชทานบำนาญ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2501 รวมอายุเวลาราชการ 47 ปี 6 เดือน เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและรอบรู้ในเรื่องพิธีการในพระราชสำนักอันจะหาผู้เสมอได้ยาก ความรู้ในเรื่องระเบียบพระราชพิธีของท่านได้ถ่ายทอดให้บุคคลจำนวนมาก ทั้งบุตรและข้าราชการรุ่นหลัง เช่น นายเศวต ธนประดิษฐ์, นายเกรียงไกร วิศวามิตร เป็นต้น ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ, ประถมาภรณ์ช้างเผือก, ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเหรียญรัตนาภรณ์ ในรัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเกียรติยศ
และมีราชการพิเศษ ดังนี้
- พ.ศ. 2478 เป็นประธานกรรมการปรึกษากิจการระหว่างพระราชสำนักและกรมศิลปากร
- พ.ศ. 2478 เป็นกรรมการสอบแข่งขันส่งนักเรียนไปต่างประเทศ
- พ.ศ. 2478 เป็นกรรมการพิจารณาทรัพย์สิน สำนักพระราชวัง และกรรมการพิจารณาหลักสูตรประถมและมัธยมศึกษา
- พ.ศ. 2485 เป็นกรรมการชำระปทานุกรม
- พ.ศ. 2486 เป็นกรรมการที่ปรึกษาวัฒนธรรม เรื่องชีวิตในบ้าน
- พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ
- พ.ศ. 2491 เป็นกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2495 เป็นประธานกรรมการดำเนินงานพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
- พ.ศ. 2496 เป็นประธานกรรมการพิจารณาจัดวางแผนผังดัดแปลงและซ่อมทำพระราชฐาน
ในราชการพิเศษที่ได้กล่าวมานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ ในปี พ.ศ. 2493 ได้เป็นผู้อำนวยการ งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส, พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและงานพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย รัชกาลที่ 1 สำหรับทรงรับน้ำอภิเษก (น้ำที่ได้พลีกรรมประกอบการพิธีแล้ว) ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นด้วย
ความสนใจ
[แก้]นอกจากหน้าที่ในพระราชสำนักแล้ว ยามว่าง พระยาเทวาธิราช จะเพลิดเพลินอยู่กับการสะสมวัตถุโบราณและหาความรู้ในหนังสือจากห้องสมุดภายในบ้านของท่าน ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถนนประแจจีน (บ้านเลขที่ 408 สี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว) และเขียนบทความสารคดีต่าง ๆ เกี่ยวกับประเพณีทั้งใน-นอกวัง อาทิ
- พระราชประวัติสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- ราชาภิสดุดี
- ประเพณีวัง
- เจ้า
- เบญจราชกกุธภัณฑ์ และ ราชูปโภค
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ประเพณีการสมรส
- เรื่องเรือนหอ
- เพชร-พลอย
- เครื่องประดับของไทย
- ช่าง 10 หมู่
- บทสนทนา เรื่อง "เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ฯลฯ
ที่สำคัญที่สุด คือได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ให้เขียนจดหมายทูลถามความรู้เกี่ยวกับราชประเพณีโบราณ โต้ตอบกับพระองค์ท่าน ทำนองเป็นจดหมายเวรติดต่อเป็นเวลาหลายปี ซึ่งมีบุคคลเพียงไม่กี่ท่านที่จะได้รับพระเมตตาเช่นนี้
นอกจากการแสวงหาความรู้จากหนังสือแล้ว พระยาเทวาธิราช ยังมีความสามารถในการถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ จนถึงได้เป็นสมาชิกของสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในบ้านของท่านจะมีห้องสำหรับล้างฟิล์มโดยเฉพาะ 1 ห้อง รวมถึงห้องฉายภาพยนตร์ด้วย สำหรับภาพยนตร์ที่ท่านสร้างและกำกับมี 2 เรื่องคือ เจ้าหญิงกุณฑลทิพย์และถลางพ่าย
ครอบครัว
[แก้]ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเนื่อง มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร 1 คนคือ
- หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล
เมื่อคุณหญิงเนื่อง ถึงอนิจกรรม ในปี พ.ศ. 2458 ท่านได้สมรสอีกครั้งกับ คุณหญิงเผื่อน มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สอาดเอี่ยม) มีบุตร-ธิดา รวม 9 คน คือ
- หม่อมหลวงปุณฑริก ชุมสาย
- หม่อมหลวงปัณยา มาลากุล
- หม่อมหลวงปิลันธน์ มาลากุล
- หม่อมหลวงปานีย์ เพ็ชรไทย
- หม่อมหลวงปฤศนี ศรีศุภอรรถ
- หม่อมหลวงปัทมาวดี มาลากุล
- หม่อมหลวงปารวดี กันภัย
- หม่อมหลวงปราลี ประสมทรัพย์
- หม่อมหลวงโปรพ มาลากุล
และมีธิดากับนางผัน 1 คน คือ
- หม่อมหลวงปาริชาต มาลากุล
อนิจกรรม
[แก้]บั้นปลายชีวิต หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป.มาลากุล ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และถึงอนิจกรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 สิริรวมอายุได้ 78 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2480 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[8]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[10]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[11]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
ลำดับสาแหรก
[แก้]พงศาวลีของหม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๒๗๑)
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคับลาออกจากบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (18 ง): 513. 17 มีนาคม 2485. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศกระทรวงวัง ปลดและตั้งข้าราชการ (หน้า ๑๖)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๒๒๙๔, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๘, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๕๙๐, ๒๙ กันยายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า[ลิงก์เสีย], เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๓๐๓๘, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๘ ง หน้า ๒๖๐๘, ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ปกิณกะ ของ ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2510]