หน้าไม้กล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าไม้กล
หน้าไม้กลที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ เป็นหน้าไม้กลยิงติดต่อกันได้ 2 ดอกที่ขุดพบจากสุสานของรัฐฉู่ที่มีอายุย้อนไปเมื่อศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
อักษรจีนตัวเต็ม諸葛弩
อักษรจีนตัวย่อ诸葛弩
ความหมายตามตัวอักษร"หน้าไม้จูกัด [เหลียง]"

หน้าไม้กล หรือ เหลียนหนู่ (จีน: 連弩; พินอิน: Lián Nǔ) เป็นที่รู้จักในอีกคำเรียกว่า หน้าไม้จูกัด หรือ จูเก๋อหนู่ (จีน: 諸葛弩; พินอิน: Zhūgě nǔ, ถอดเป็นอักษรโรมันได้อีกแบบว่า Chu-ko-nu) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับจูกัดเหลียง (ค.ศ. 181-234) นักยุทธศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นหน้าไม้ที่ประดิษฐ์ในช่วงยุครณรัฐในประวัติศาสตร์จีนโดยการการรวมการเหนี่ยวธนู การบรรจุลูกธนู และการยิงธนูเข้าด้วยกันในกระบวนการเดียว

หลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดของหน้าไม้กลถูกพบในรัฐฉู่ แต่ใช้ด้ามจับที่แตกต่างจากการออกแบบของราชวงศ์หมิงในภายหลังและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมากกว่า

แม้ว่าหน้าไม้กลจะถูกใช้ตามช่วงเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์จีนจนถึงปลายยุคราชวงศ์ชิง แต่โดยทั่วไปหน้าไม้ถือว่าเป็นอาวุธที่ไม่ใช่ทางการทหาร เป็นอาวุธที่เหมาะสำหรับผู้หญิง ใช้ในการปกป้องครัวเรือนจากโจร และยังใช้ในการล่าสัตว์

ประวัติ[แก้]

หน้าไม้กลยุครัฐฉู่
หน้าไม้กลที่ยังไม่โค้งกลับ จะโค้งกลับเมื่อใช้ในสงคราม
ม้วนหนังสือยุทธนาวีแสดงภาพทหารหมิงใช้หน้าไม้กลระหว่างสงครามอิมจิน (การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น)

หน้าไม้จูกัด (จูเก๋อหนู่) เป็นอาวุธขนาดกะทัดรัดที่แม้แต่บัณฑิตลัทธิขงจื๊อและหญิงในวังก็สามารถใช้ป้องกันตนได้... พลังการยิงต่ำจึงต้องอาบปลายลูกดอกด้วยยาพิษ เมื่อลูกดอกอาบปลายด้วย "ยาพิษฆ่าเสือ" ก็จะสามารถยิงไปที่ม้าหรือคนได้ และถ้ายิงแล้วได้แผล ศัตรูก็จะตายทันที ข้อด้อยของอาวุธนี้คือมีระยะยิงที่จำกัดมาก[1]

กู่จินถูชูจี๋เฉิง (古今图书集成; "รวมตำราจีนโบราณฉบับสมบูรณ์")

ตามที่บันทึกในอู๋เยฺว่ชุนชิว (吳越春秋; ประวัติศาสตร์สงครามรัฐอู๋-รัฐเยฺว่) ที่เขียนในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หน้าไม้กลถูกประดิษฐ์ขึ้นในยุครณรัฐโดยคนตระกูลฉิน (琴氏 ฉินชื่อ) จากรัฐฉู่ เรื่องนี้ได้รับการยืนยันโดยหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดของหน้าไม้กลซึ่งขุดค้นจากหลุมฝังศพรัฐฉู่ที่สุสาน 47 ที่ฉินเจียจุ่ย (秦家嘴) มณฑลหูเป่ย์ และมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลในยุครณรัฐ (475 - 220 ปีก่อนคริสตกาล)[2] หน้าไม้กลที่ค้นพบนี้มีความแตกต่างจากหน้าไม้กลในสมัยหลัง โดยหน้าไม้กลโบราณที่ยิงติดต่อกันได้ 2 ดอกมีการใช้ด้ามจับและกลไกดึงไปด้านหลังสำหรับติดตั้ง หน้าไม้ของราชวงศ์หมิงใช้การกลไกการติดตั้งที่ผู้ใช้ต้องดันคันโยกด้านหลังขึ้นและลงกลับไปมา[3] แม้ว่าหน้าไม้กลแบบใช้มือถือโดยทั่วไปมีพลังการยิงน้อยและต้องใช้ยาพิษเพิ่มเติมซึ่งอาจจะเป็นสารอะโคนิทีนที่ให้พิษถึงตาย แต่ก็มีหน้าไม้กลแบบที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากปรากฏในยุคราชวงศ์หมิง[1]

ในปี ค.ศ. 180 หยาง เสฺวียน (楊琁) ใช้หน้าไม้กลรูปแบบหนึ่งที่ขับเคลื่อนโดยการเคลื่อนที่ของล้อ:

...ราวปี ค.ศ. 180 หยาง เสฺวียนเจ้าเมืองหลิงหลิง (零陵) พยายามปราบปรามกบฏที่ก่อการอย่างหนัก โดยที่กำลังทหารของหยาง เสฺวียนไม่เพียงพอ วิธีแก้ปัญหาของหยาง เสฺวียนก็คือการบรรทุกกระสอบปูนขาวบนรถหลายสิบคันและติดตั้งหน้าไม้อัตโนมัติบนรถคันอื่น ๆ จากนั้นจึงจัดรถเป็นกระบวนรบ หยาง เสฺวียนใช้ประโยชน์จากลมในการพัดกลุ่มฝุ่นปูนขาวเข้าปกคลุมข้าศึกทำให้ข้าศึกมองไม่เห็น ก่อนที่หยาง เสฺวียนจะติดเศษผ้าที่หางม้าใช้ดึงรถไร้คนขับติดตั้งอาวุธเหล่านี้ลงไป มุ่งตรงไปยังกระบวนทัพของข้าศึกที่ถูกกลุ่มฝุ่นปกคลุมหนาแน่น หน้าไม้กลของรถเหล่านั้น (ที่ขับเคลื่อนโดยการเชื่อมโยงกับล้อ) ยิงออกไปซ้ำ ๆ ไปในทิศทางแบบสุ่ม ทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นอย่างมาก ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายอย่างหนัก พวกกบฏก็ยิงเกาทัณฑ์ตอบโต้อย่างดุเดือดเพื่อป้องกันตนเอง กลายเป็นการฆ่าฟันกันเองก่อนที่ทัพของหยาง เสฺวียนจะเข้ามาปราบปรามสังหารได้เป็นจำนวนมาก[4]

— ราล์ฟ ซอว์เยอร์ (Ralph Sawyer)

การประดิษฐ์หน้าไม้กลมักถูกยกให้เป็นผลงานของจูกัดเหลียง แต่ความเป็นจริงแล้วจูกัดเหลียงไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์ ความเข้าใจผิดนี้มีพื้นฐานมาจากบันทึกที่ระบุว่าจูกัดเหลียงได้ปรับปรุงหน้าไม้กลยิงหลายดอก[5]

ในยุคราชวงศ์หมิง มีการใช้หน้าไม้กลบนเรือ[4]

แม้ว่าหน้าไม้กลจะถูกนำมาใช้ตลอดประวัติศาสตร์จีนและมีการยืนยันถึงการใช้อย่างช้าที่สุดเมื่อราชวงศ์ชิงในศตวรรษที่ 19 ในยุทธการที่รบกับชาวญี่ปุ่น แต่โดยทั่วไปหน้าไม้กลไม่ถือว่าเป็นอาวุธทางการทหารที่สำคัญ ตำราอู่เป้ย์จื้อ (武備志) ที่เขียนในศตวรรษที่ 17 ระบุว่าหน้ากลไม้เป็นที่นิยมโดยผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงใต้ แต่ขาดอานุภาพ และลูกดอกแทบจะไม่ทำร้ายใครเลย การใช้งานหน้าไม้กลที่ระบุในตำราโดยหลักแล้วเป็นการใช้งานที่ไม่ใช่ทางการทหาร เช่น การล่าเสือ การป้องกันบ้านที่มีป้อมปราการ และใช้โดยชายและหญิงที่ขี้กลัว ในตำราเทียนกงไคอู้ (天工開物) ซึ่งเขียนในช่วงศตวรรษที่ 17 เช่นกันระบุว่าหน้าไม้กลมีประโยชน์ในการป้องกันโจรเท่านั้น[6][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Loades 2018.
  2. Lin, Yun. "History of the Crossbow," in Chinese Classics & Culture, 1993, No.4: p. 33–37.
  3. Unique weapon of the Ming Dynasty — Zhu Ge Nu (諸葛弩), 24 September 2015, สืบค้นเมื่อ 16 April 2018
  4. 4.0 4.1 4.2 Liang 2006.
  5. Needham 1994, p. 8.
  6. Needham 1994, p. 161-162.
  • Liang, Jieming (2006), Chinese Siege Warfare: Mechanical Artillery & Siege Weapons of Antiquity, Singapore, Republic of Singapore: Leong Kit Meng, ISBN 981-05-5380-3
  • Needham, Joseph (1994), Science and Civilization in China Volume 5 Part 6, Cambridge University Press

บรรณานุกรม[แก้]

  • Adle, Chahryar (2003), History of Civilizations of Central Asia: Development in Contrast: from the Sixteenth to the Mid-Nineteenth Century
  • Ágoston, Gábor (2005), Guns for the Sultan: Military Power and the Weapons Industry in the Ottoman Empire, Cambridge University Press, ISBN 0-521-60391-9
  • Agrawal, Jai Prakash (2010), High Energy Materials: Propellants, Explosives and Pyrotechnics, Wiley-VCH
  • Andrade, Tonio (2016), The Gunpowder Age: China, Military Innovation, and the Rise of the West in World History, Princeton University Press, ISBN 978-0-691-13597-7.
  • Arnold, Thomas (2001), The Renaissance at War, Cassell & Co, ISBN 0-304-35270-5
  • Benton, Captain James G. (1862). A Course of Instruction in Ordnance and Gunnery (2 ed.). West Point, New York: Thomas Publications. ISBN 1-57747-079-6.
  • Brown, G. I. (1998), The Big Bang: A History of Explosives, Sutton Publishing, ISBN 0-7509-1878-0.
  • Buchanan, Brenda J., บ.ก. (2006), "Gunpowder, Explosives and the State: A Technological History", Technology and Culture, Aldershot: Ashgate, 49 (3): 785–786, ISBN 0-7546-5259-9
  • Chase, Kenneth (2003), Firearms: A Global History to 1700, Cambridge University Press, ISBN 0-521-82274-2.
  • Cocroft, Wayne (2000), Dangerous Energy: The archaeology of gunpowder and military explosives manufacture, Swindon: English Heritage, ISBN 1-85074-718-0
  • Cook, Haruko Taya (2000), Japan At War: An Oral History, Phoenix Press
  • Cowley, Robert (1993), Experience of War, Laurel.
  • Cressy, David (2013), Saltpeter: The Mother of Gunpowder, Oxford University Press
  • Crosby, Alfred W. (2002), Throwing Fire: Projectile Technology Through History, Cambridge University Press, ISBN 0-521-79158-8.
  • Curtis, W. S. (2014), Long Range Shooting: A Historical Perspective, WeldenOwen.
  • Earl, Brian (1978), Cornish Explosives, Cornwall: The Trevithick Society, ISBN 0-904040-13-5.
  • Easton, S. C. (1952), Roger Bacon and His Search for a Universal Science: A Reconsideration of the Life and Work of Roger Bacon in the Light of His Own Stated Purposes, Basil Blackwell
  • Ebrey, Patricia B. (1999), The Cambridge Illustrated History of China, Cambridge University Press, ISBN 0-521-43519-6
  • Grant, R.G. (2011), Battle at Sea: 3,000 Years of Naval Warfare, DK Publishing.
  • Hadden, R. Lee. 2005. "Confederate Boys and Peter Monkeys." Armchair General. January 2005. Adapted from a talk given to the Geological Society of America on March 25, 2004.
  • Harding, Richard (1999), Seapower and Naval Warfare, 1650-1830, UCL Press Limited
  • al-Hassan, Ahmad Y. (2001), "Potassium Nitrate in Arabic and Latin Sources", History of Science and Technology in Islam, สืบค้นเมื่อ 23 July 2007.
  • Hobson, John M. (2004), The Eastern Origins of Western Civilisation, Cambridge University Press.
  • Johnson, Norman Gardner. "explosive". Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica Online.
  • Kelly, Jack (2004), Gunpowder: Alchemy, Bombards, & Pyrotechnics: The History of the Explosive that Changed the World, Basic Books, ISBN 0-465-03718-6.
  • Khan, Iqtidar Alam (1996), "Coming of Gunpowder to the Islamic World and North India: Spotlight on the Role of the Mongols", Journal of Asian History, 30: 41–5.
  • Khan, Iqtidar Alam (2004), Gunpowder and Firearms: Warfare in Medieval India, Oxford University Press
  • Khan, Iqtidar Alam (2008), Historical Dictionary of Medieval India, The Scarecrow Press, Inc., ISBN 978-0-8108-5503-8
  • Kinard, Jeff (2007), Artillery An Illustrated History of its Impact
  • Konstam, Angus (2002), Renaissance War Galley 1470-1590, Osprey Publisher Ltd..
  • Lidin, Olaf G. (2002), Tanegashima – The Arrival of Europe in Japan, Nordic Inst of Asian Studies, ISBN 8791114128
  • Loades, Mike (2018), The Crossbow, Osprey
  • Lorge, Peter A. (2008), The Asian Military Revolution: from Gunpowder to the Bomb, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-60954-8
  • Lu, Gwei-Djen (1988), "The Oldest Representation of a Bombard", Technology and Culture, 29 (3): 594–605, doi:10.2307/3105275, JSTOR 3105275, S2CID 112733319
  • May, Timothy (2012), The Mongol Conquests in World History, Reaktion Books
  • McLahlan, Sean (2010), Medieval Handgonnes
  • McNeill, William Hardy (1992), The Rise of the West: A History of the Human Community, University of Chicago Press.
  • Morillo, Stephen (2008), War in World History: Society, Technology, and War from Ancient Times to the Present, Volume 1, To 1500, McGraw-Hill, ISBN 978-0-07-052584-9
  • Needham, Joseph (1971), Science and Civilization in China Volume 4 Part 3, Cambridge At The University Press
  • Needham, Joseph (1980), Science & Civilisation in China, vol. 5 pt. 4, Cambridge University Press, ISBN 0-521-08573-X
  • Needham, Joseph (1986), Science & Civilisation in China, vol. V:7: The Gunpowder Epic, Cambridge University Press, ISBN 0-521-30358-3.
  • Nicolle, David (1990), The Mongol Warlords: Genghis Khan, Kublai Khan, Hulegu, Tamerlane
  • Nolan, Cathal J. (2006), The Age of Wars of Religion, 1000–1650: an Encyclopedia of Global Warfare and Civilization, Vol 1, A-K, vol. 1, Westport & London: Greenwood Press, ISBN 0-313-33733-0
  • Norris, John (2003), Early Gunpowder Artillery: 1300–1600, Marlborough: The Crowood Press.
  • Partington, J. R. (1960), A History of Greek Fire and Gunpowder, Cambridge, UK: W. Heffer & Sons.
  • Partington, J. R. (1999), A History of Greek Fire and Gunpowder, Baltimore: Johns Hopkins University Press, ISBN 0-8018-5954-9
  • Patrick, John Merton (1961), Artillery and warfare during the thirteenth and fourteenth centuries, Utah State University Press.
  • Pauly, Roger (2004), Firearms: The Life Story of a Technology, Greenwood Publishing Group.
  • Perrin, Noel (1979), Giving up the Gun, Japan's reversion to the Sword, 1543–1879, Boston: David R. Godine, ISBN 0-87923-773-2
  • Petzal, David E. (2014), The Total Gun Manual (Canadian edition), WeldonOwen.
  • Phillips, Henry Prataps (2016), The History and Chronology of Gunpowder and Gunpowder Weapons (c.1000 to 1850), Notion Press
  • Purton, Peter (2010), A History of the Late Medieval Siege, 1200–1500, Boydell Press, ISBN 978-1-84383-449-6
  • Robins, Benjamin (1742), New Principles of Gunnery
  • Rose, Susan (2002), Medieval Naval Warfare 1000-1500, Routledge
  • Roy, Kaushik (2015), Warfare in Pre-British India, Routledge
  • Schmidtchen, Volker (1977a), "Riesengeschütze des 15. Jahrhunderts. Technische Höchstleistungen ihrer Zeit", Technikgeschichte 44 (2): 153–173 (153–157)
  • Schmidtchen, Volker (1977b), "Riesengeschütze des 15. Jahrhunderts. Technische Höchstleistungen ihrer Zeit", Technikgeschichte 44 (3): 213–237 (226–228)
  • Tran, Nhung Tuyet (2006), Viêt Nam Borderless Histories, University of Wisconsin Press.
  • Turnbull, Stephen (2001), Siege Weapons of the Far East (1) AD 612-1300, Osprey Publishing
  • Turnbull, Stephen (2002), Siege Weapons of the Far East (2) AD 960-1644, Osprey Publishing
  • Turnbull, Stephen (2003), Fighting Ships Far East (2: Japan and Korea Ad 612-1639, Osprey Publishing, ISBN 1-84176-478-7
  • Urbanski, Tadeusz (1967), Chemistry and Technology of Explosives, vol. III, New York: Pergamon Press.
  • Villalon, L. J. Andrew (2008), The Hundred Years War (part II): Different Vistas, Brill Academic Pub, ISBN 978-90-04-16821-3
  • Wagner, John A. (2006), The Encyclopedia of the Hundred Years War, Westport & London: Greenwood Press, ISBN 0-313-32736-X
  • Watson, Peter (2006), Ideas: A History of Thought and Invention, from Fire to Freud, Harper Perennial (2006), ISBN 0-06-093564-2
  • Wilkinson, Philip (9 September 1997), Castles, Dorling Kindersley, ISBN 978-0-7894-2047-3
  • Wilkinson-Latham, Robert (1975), Napoleon's Artillery, France: Osprey Publishing, ISBN 0-85045-247-3
  • Willbanks, James H. (2004), Machine guns: an illustrated history of their impact, ABC-CLIO, Inc.
  • Williams, Anthony G. (2000), Rapid Fire, Shrewsbury: Airlife Publishing Ltd., ISBN 1-84037-435-7

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]