หน่วยทหารเชโกสโลวัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราประจำหน่วยทหารเชโกสโลวาเกีย
"ปรากสำหรับบุตรชายแห่งชัยชนะ" อนุสรณ์เพื่อเป็นเกียรติแก่หน่วยทหารเชโกสโลวัก ณ จัตุรัสปาลัตสกี

หน่วยทหารเชโกสโลวัก (เช็ก: Československé legie; สโลวัก: Československé légie) เป็นกองกำลังอาสาสมัครที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวเช็กและชาวสโลวัก[1] ซึ่งต่อสู้เคียงข้าง ฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและกองทัพขาวในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซียจนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1919 โดยเป้าหมายของหน่วยทหารเชโกสโลวัก คือ การได้รับการสนับสนุนสำหรับการประกาศเอกราชของดินแดนแห่งมงกุฎโบฮีเมียจากจักรวรรดิออสเตรีย และอิสรภาพของดินแดนสโลวักจากราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยได้รับความช่วยเหลือจากปัญญาชนและนักการเมืองผู้อพยพ เช่น โตมาช การิก มาซาริก และมิลัน ราจิสเลา เจฟานิค และมีกองกำลังที่แข็งแกร่งทั้งสิ้นมากกว่า 100,000 นาย

ในจักรวรรดิรัสเซีย หน่วยทหารมีส่วนร่วมในการต่อสู้ในสงครามแห่งชัยชนะอยู่หลายครั้ง อย่างเช่นยุทธการที่ซบอริวและบัคมัชในการต่อต้านฝ่ายมหาอำนาจกลาง และมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในสงครามกลางเมืองรัสเซียที่ต่อสู้กับบอลเชวิค โดยมีช่วงเวลาหนึ่งที่หน่วยทหารได้ควบคุมทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรียและเมืองส่วนใหญ่ของไซบีเรีย

หลังจากช่วงสามปีของการเป็นกองทหารขนาดเล็กในกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย หน่วยทหารเชโกสโลวักประจำรัสเซียจึงถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1917 พร้อมด้วยกองกำลังอื่น ๆ ที่ต่อสู้ในฝรั่งเศสตั้งแต่เริ่มต้นสงครามในชื่อ "Nazdar" และมีการจัดตั้งกองทหารที่คล้ายกันในอิตาลีและเซอร์เบีย ซึ่งเดิมทีเป็นกองกําลังอาสาสมัครทั้งหมด ต่อมากองกำลังเริ่มแข็งแกร่งขึ้นจากการเช้าร่วมของเชลยศึกชาวเช็กและสโลวักหรือผู้ลี้ภัยจากกองทัพออสเตรีย-ฮังการี หน่วยทหารส่วนใหญ่เป็นชาวเช็ก โดยมีชาวสโลวักคิดเป็น 7% ของกองกําลังในรัสเซีย อีก 3% ในอิตาลี และ 16% ในฝรั่งเศส[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Nad Tatrou sa blýska - (10)". Valka.cz.
  2. "Češi bojovali hrdinně za Rakousko-Uhersko, ale první republika to tutlala". zpravy.idnes.cz. 27 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-08-14.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Baerlein, Henry, The March of the 70,000, Leonard Parsons/Whitefriar Press, London 1926.
  • Bullock, David: The Czech Legion 1914–20, Osprey Publishers, Oxford 2008.
  • Clarke, William, The Lost Fortune of the Tsars, St. Martins Press, New York 1994 pp. 183–189.
  • Fic, Victor M., The Bolsheviks and the Czechoslovak Legion, Shakti Malik, New Delhi 1978.
  • Fic, Victor M., Revolutionary War for Independence and the Russian Question, Shakti Malik, New Delhi, 1977.
  • Fleming, Peter, The Fate of Admiral Kolchak, Rupert Hart Davis, London 1963.
  • Footman, David, Civil War in Russia, Faber & Faber, London 1961.
  • Goldhurst, Richard, The Midnight War, McGraw-Hill, New York 1978.
  • Hoyt, Edwin P., The Army Without a Country, MacMillan, New York/London 1967.
  • Kalvoda, Josef, Czechoslovakia's Role in Soviet Strategy, University Press of America, Washington DC 1981.
  • Kalvoda, Josef, The Genesis of Czechoslovakia, East European Monographs, Boulder 1986.
  • McNamara, Kevin J., ''Dreams of a Great Small Nation: The Mutinous Army that Threatened a Revolution, Destroyed an Empire, Founded a Republic, and Remade the Map of Europe,'' Public Affairs, New York 2016.
  • McNeal, Shay, The Secret Plot to Save the Tsar, HarperCollins, New York 2002 pp. 221–222.
  • Meek, James, The People's Act of Love, Canongate, Edinburgh, London, New York 2005.
  • Mohr, Joan McGuire, The Czech and Slovak Legion in Siberia from 1917 to 1922. McFarland, NC 2012.
  • Mueggenberg, Brent, The Czecho-Slovak Struggle for Independence 1914–1920, McFarland, Jefferson, 2014.
  • Preclík, Vratislav. Masaryk a legie (TGM and legions), váz. kniha, 219 str., vydalo nakladatelství Paris Karviná, Žižkova 2379 (734 01 Karviná) ve spolupráci s Masarykovým demokratickým hnutím (Masaryk democratic movement in Prague), 2019, ISBN 978-80-87173-47-3.
  • Unterberger, Betty Miller, The United States, Revolutionary Russia, and the Rise of Czechoslovakia, Texas A&M University Press, College Station, 2000.
  • White, John Albert, The Siberian Intervention, Princeton University Press, Princeton 1950.
  • Cestami odboje, memoirs of Czechoslovak Legion soldiers in Russia, France and Italy published in "Pokrok" (Prague) between 1926 and 1929.

Note: There were quite a few books on the Legion written in Czech that were published in the 1920s, but most were hard to find following Soviet victory in World War II.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]