สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลในฤดูกาล 1996–97

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เซนอล
ฤดูกาล 1996–97
ประธานสโมสรปีเตอร์ ฮิล-วูด
ผู้จัดการทีม
  • สจ๊วต ฮุสตัน (รักษาการ จนถึง 12 กันยายน)
  • แพ็ต ไรซ์ (รักษาการ จนถึง 30 กันยายน)
  • อาร์แซน แวงแกร์
กัปตันทีมโทนี แอดัมส์
สนามอาร์เซนอลสเตเดียม
ผู้ทำประตูสูงสุดลีก: เอียน ไรต์ (23)
ทั้งหมด: เอียน ไรต์ (30)
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย37,056 คน[1]
สีชุดเหย้า
สีชุดเยือน

ฤดูกาล 1996–97 เป็นฤดูกาลที่ 99 ของการแข่งขันฟุตบอลที่เล่นโดยอาร์เซนอล สโมสรปลดผู้จัดการทีมบรูซ ริออค ในช่วงปิดฤดูกาล 1995–96 หลังจากใช้บริการ 2 รักษาการผู้จัดการทีมคือ สจ๊วต ฮุสตัน และ แพ็ต ไรซ์ มาระยะหนึ่ง อาร์แซน แวงแกร์ ผู้จัดการทีมชาวฝรั่งเศสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมคนแรกของสโมสรที่เกิดนอกเกาะอังกฤษ เมื่อจบฤดูกาล อาร์เซนอลจบอันดับ 3 ของพรีเมียร์ลีกและพลาดการเข้ารอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกต้องไปแข่งขันยูฟ่าคัพรอบคัดเลือกรอบแรกแทน พวกเขาตกรอบที่ 4 ทั้งเอฟเอคัพและลีกคัพให้กับลีดส์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูลตามลำดับ ในการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรป สโมสรตกรอบยูฟ่าคัพรอบแรกด้วยน้ำมือของโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค จากเยอรมนี

อาร์เซนอลขายผู้เล่นแนวรุกหลายคนในตลาดซื้อขายนักเตะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดวิด ฮิลลิเออร์ให้กับพอร์ตสมัท และพอล ดิกคอฟให้กับแมนเชสเตอร์ซิตี กองกลาง เรมี การ์ด และปาทริก วีเยรา ถูกซื้อมาจากสทราซบูร์ และเอซี มิลาน ตามลำดับ จอห์น ฮาร์ทสันย้ายไปเวสต์แฮมยูไนเต็ดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1997; เขาถูกแทนที่ด้วยนีกอลา อาแนลกา กองหน้าดาวรุ่งซึ่งย้ายมาอาร์เซนอลในเดือนต่อมาหลังซื้อมาจากปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง

พวกเขาเริ่มต้นในลีกได้อย่างแข็งแกร่งโดยแพ้เพียง 1 นัดจาก 12 นัดแรก อาร์เซนอลเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายนในตำแหน่งจ่าฝูง แม้ว่าสโมสรจะไร้ชัยชนะในช่วงคริสต์มาส แต่โอกาสในการคว้าแชมป์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง การแข่งขันที่เสมอ 2 นัดและแพ้ในเดือนกุมภาพันธ์นั้นรุนแรง เนื่องจากมันทำให้อาร์เซนอลหล่นไปอยู่อันดับที่ 4 ผลเสมอในเดือนเมษายนทำให้ทีมออกจากการแข่งขันชิงตำแหน่งแชมป์ลีกและให้ความสำคัญกับตำแหน่งรองจ่าฝูง ซึ่งมาพร้อมกับโควตายูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก ความพ่ายแพ้ต่อนิวคาสเซิลยูไนเต็ดในนัดสุดท้ายของฤดูกาลทำให้โอกาสของอาร์เซนอลในการจบตำแหน่งรองแชมป์จบลง เนื่องจากผลต่างประตูได้เสียที่เหนือกว่าของนิวคาสเซิล ชัยชนะเหนือดาร์บี้ เคาน์ตี้ในวันสุดท้าย หมายความว่าสโมสรจบอันดับ 3 โดยมีแต้มเท่ากับนิวคาสเซิลและลิเวอร์พูล แต่ผลต่างประตูได้เสียมากกว่าลิเวอร์พูล

เอียน ไรต์ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดของอาร์เซนอลในฤดูกาลนี้ เขายิงได้ 30 ประตูจาก 41 นัด

ปูมหลัง[แก้]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1995 อาร์เซนอลได้แต่งตั้งบรูซ ริออช ซึ่งเพิ่งพาโบลตันวอนเดอเรอส์เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศลีกคัพและเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[2] แทนที่จอร์จ เกรแฮม ผู้ซึ่งพาสโมสรคว้าแชมป์ลีกดิวิชัน 1 สมัยล่าสุดเมื่อ 4 ปีก่อน ภายใต้การคุมทีมของเขา สโมสรได้ทำลายสถิติการย้ายทีมของอังกฤษในเวลานั้นด้วยการจ่ายเงินให้อินเตอร์มิลาน 7.5 ล้านปอนด์สำหรับการเซ็นสัญญาคว้าตัวเดนนิส เบิร์กแคมป์กองหน้าทีมชาติเนเธอร์แลนด์เพื่อมาจับคู่กับเอียน ไรต์[3][4] อาร์เซนอลเข้าถึงรอบรองชนะเลิศลีกคัพและจบอันดับที่ 5 ในพรีเมียร์ลีกเมื่อจบฤดูกาล 1995–96 และผ่านเข้ารอบคัดเลือกรอบแรกในยูฟ่าคัพในฤดูกาลถัดมา[5][6]

เปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีม[แก้]

หนึ่งสัปดาห์ก่อนเริ่มฤดูกาลใหม่ อาร์เซนอลปลดผู้จัดการทีม บรูซ ริออช ออกจากตำแหน่ง และอ้างว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็น "ผลประโยชน์ระยะยาวที่ดีที่สุดของสโมสร"[7] เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องเงินซื้อขายนักเตะกับคณะกรรมการทำให้เขาต้องออกจากสโมสร ความสัมพันธ์ของเขากับเดวิด ดีน ตามข้อมูลวงในคือ "ไม่จริงใจอีกต่อไป"[8] สจ๊วต ฮุสตัน ได้รับแต่งตั้งให้คุมทีมชั่วคราวอีกครั้ง โดยแพ็ต ไรซ์ทำหน้าที่เป็นโค้ชทีมชุดใหญ่[9] โยฮัน ไกรฟฟ์ ได้รับการพิจารณาให้รับงานนี้ เทอร์รี เวนาเบิลส์ และเดวิด โอเลียรี เป็นอีก 2 รายชื่อที่เชื่อมโยงกับตำแหน่งผู้จัดการทีม[10] ฮุสตันเสนอชื่อสำหรับงานนี้ แต่เมื่อได้รับแจ้งว่าเขาจะไม่ได้รับการพิจารณา เขาจึงตัดสินใจลาออกเพื่อรับตำแหน่งผู้จัดการทีมควีนส์พาร์กเรนเจอส์ในดิวิชัน 1 โดยปล่อยให้ไรซ์เป็นรักษาการผู้จัดการทีมคนที่ 2 ของฤดูกาล ในที่สุดอาร์เซนอลเลือกผู้จัดการทีมชาวฝรั่งเศส อาร์แซน แวงแกร์ เป็นผู้จัดการคนต่อไปของพวกเขา แต่ไม่ได้ประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจนกระทั่งเดือนกันยายน ค.ศ. 1996 เมื่อสัญญาของเขากับนาโงยะ แกรมปัส ถูกยกเลิกโดยความยินยอมร่วมกัน[11] เขากลายเป็นผู้จัดการทีมคนที่ 19 และรับค่าจ้างสูงสุดของฟอาร์เซนอล ด้วยสัญญา 3 ปี สัญญาปีละ 2 ล้านปอนด์[11]

พรีเมียร์ลีก[แก้]

สิงหาคม–ตุลาคม[แก้]

อาร์เซนอลเริ่มการต่อสู้ในลีกของพวกเขาเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1996 โดยเปิดบ้านพบกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด

อ้างอิง[แก้]

  1. "Arsenal first team line up (1996–97)". The Arsenal History. สืบค้นเมื่อ 19 March 2013. Note: Information is in the section 1996–97. Attendances of friendlies not taken into account in average.
  2. Hart, Michael (8 June 1995). "Rioch named Arsenal boss". Evening Standard. London. p. 72.
  3. Sharma, Shiv (2 July 1995). "Soccer stars on the move". The Guardian Weekly. London. p. 31.
  4. Tanner, Richard (26 October 1995). "I've got Wright on my side". Daily Mirror. London. p. 40.
  5. "Arsenal fear the power of Fowler". The Independent. London. 1 May 1996. p. 27.
  6. Chesshyre, Tom (6 May 1996). "Bergkamp sends Arsenal into Europe". The Independent. London. p. S6.
  7. "Pass notes, no. 868: Bruce Rioch". The Guardian. London. 13 August 1996. p. T3.
  8. Kempson, Russell (13 August 1996). "Rioch's reign brought to sudden end". The Times. London. p. 48.
  9. Thorpe, Martin (13 August 1996). "Arsenal ditch Rioch and look abroad". The Guardian. London. p. 22.
  10. Hughes, Rob (13 August 1996). "Cruyff appears Arsenal's likely target". The Times. London. p. 48.
  11. 11.0 11.1 Moore, Glenn (17 September 1996). "Wenger confirmed as Arsenal manager". The Independent. London. p. 48.