สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลในฤดูกาล 2003–04

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาร์เซนอล
ฤดูกาล 2003–04
ประธานสโมสรปีเตอร์ ฮิล-วูด
ผู้จัดการทีมอาร์แซน แวงแกร์
สนามไฮบรี
พรีเมียร์ลีกอันดับที่ 1
เอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ
ลีกคัพรอบรองชนะเลิศ
เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์รองชนะเลิศ
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบก่อนรองชนะเลิศ
ผู้ทำประตูสูงสุดลีก: ตีแยรี อ็องรี (30)
ทั้งหมด: ตีแยรี อ็องรี (39)
ผู้เข้าชมในบ้านสูงสุด38,184 คน พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
(28 มีนาคม 2004)[1]
ผู้เข้าชมในบ้านต่ำสุด27,451 คน พบกับรอเทอรัมยูไนเต็ด
(28 ตุลาคม 2003)[1]
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย38,078 คน[2]
สีชุดเหย้า
สีชุดเยือน

ฤดูกาล 2003–04 เป็นฤดูกาลที่ 109 ในประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2003 และสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2004 ประกอบด้วยนัดแข่งขันตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคม สโมสรฯ สิ้นสุดฤดูกาลในพรีเมียร์ลีกโดยเป็นแชมป์ไร้พ่าย (สถิติชนะ 26 นัด และเสมอ 12 นัด) ส่วนในฟุตบอลชิงถ้วย สโมสรฯ ทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยตกรอบรองชนะเลิศเอฟเอคัพและลีกคัพ โดยพ่ายต่อแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและมิดเดิลส์เบรอตามลำดับ และในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แพ้ต่อเชลซี ในรอบก่อนรองชนะเลิศ

ช่วงต้นฤดูกาล อาร์เซนอลซื้อ-ขายนักเตะค่อนข้างน้อย เนื่องจากต้องการเก็บงบประมาณเพื่อโครงการสร้างสนามฟุตบอลแห่งใหม่ นักเตะคนสำคัญที่ย้ายเข้ามา อาทิ ผู้รักษาประตู เย็นส์ เลมัน (ค่าตัว 1.5 ล้านปอนด์) ต่อมามีการซื้อกองหน้า โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส ในช่วงซื้อขายฤดูหนาว ส่วนนักเตะเดิมที่มีอยู่ สโมสรฯ สามารถเก็บรักษาไว้ได้ และเจรจาต่อสัญญาฉบับใหม่กับกัปตันทีม ปาทริก วีเยรา และกองกลาง รอแบร์ ปีแร็ส สำเร็จ เนื่องจากสมาชิกนิ่ง จึงมีการมองว่าอาร์เซนอลเป็นตัวเต็งคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก เช่นเดียวกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและเชลซี ซึ่งเศรษฐีพันล้านชาวรัสเซีย โรมัน อับราโมวิช ซื้อไป

อาร์เซนอลเริ่มต้นฤดูกาลอย่างดี ได้อยู่หัวตารางตั้งแต่สี่นัดแรก แต่นัดที่เสมอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนกันยายนสร้างเรื่องไม่ดีระหว่างสองสโมสร ผู้เล่นของอาร์เซนอลบางคนถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษปรับเงินจากเหตุทะเลาะวิวาทหมู่หลังจบการแข่งขัน ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน อาร์เซนอลชนะดีนาโมคียิวด้วยประตูเดียว และต่อมามีผลงานน่าประทับใจด้วยการบุกไปยิง 5 ประตูต่ออินเตอร์มิลานที่ซานซีโร ถือเป็นการเริ่มต้นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่ดี ต่อมาในช่วงปลายปี สโมสรสามารถเก็บชัยได้ถึง 9 นัดติดต่อกัน ทำให้ตำแหน่งจ่าฝูงมั่นคงขึ้น แต่ในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน สโมสรฯ ตกรอบทั้งเอฟเอคัพและแชมเปียนส์ลีก แต่ในปลายเดือนเดียวกัน สโมสรฯ ก็สามารถรับประกันแชมป์พรีเมียร์ลีก หลังจากที่เสมอ 2–2 กับคู่ปรับท้องถิ่นทอตนัมฮอตสเปอร์

มีผู้เล่น 34 คนลงเล่นให้กับสโมสรฯ ในการแข่งขัน 5 รายการ และมีผู้ทำประตู 15 คน โดยผู้ทำประตูสูงสุดเป็นปีที่สามติดต่อกันคือ ตีแยรี อ็องรี ยิงได้ 39 ประตูใน 51 เกม ทั้งยังได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอจากคะแนนของเพื่อนร่วมอาชีพและรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอลจากผู้สื่อข่าวฟุตบอล แม้ว่าอาร์เซนอลจะไม่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลชิงถ้วย แต่นักวิจารณ์หลายคนก็ถือว่าความสำเร็จในลีกเป็นความสำเร็จแล้ว ทีมได้รับฉายา "ดิอินวินซิเบิล" เหมือนกับเพรสตันนอร์ทเอนด์เคยทำได้ในสมัยฤดูกาลประเดิมของฟุตบอลลีก และหลังจากจบฤดูกาล สโมสรฯ ได้รับถ้วยรางวัลพรีเมียร์ลีกสีทองเมื่อจบฤดูกาล และทีมยังไม่แพ้ทีมใดเป็นจำนวน 49 นัดเป็นสถิติใหม่ ในปี 2012 ทีมอาร์เซนอลชุดฤดูกาล 2003–04 ชนะรางวัล "ทีมยอดเยี่ยม" จากรางวัลพรีเมียร์ลีก 20 ฤดูกาล

ภูมิหลัง[แก้]

อาร์แซน แวงแกร์ ผู้จัดการของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

อาร์เซนอลจบฤดูกาลที่แล้วด้วยอันดับรองชนะเลิศในพรีเมียร์ลีก หลังถูกแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำคะแนนแซงในช่วงสิบสัปดาห์สุดท้ายของฤดูกาล[3] อย่างไรก็ตาม สโมสรฯ สามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพ โดยชนะเซาแทมป์ตัน 1–0[4] และผลจากการเริ่มต้นฤดูกาล 2002–03 ที่ดีนั้น ผู้จัดการทีม อาร์แซน แวงแกร์ บอกเป็นนัยว่าทีมของเขาอาจไม่แพ้ทุกการแข่งขันของฤดูกาล "ใช่ว่ามันเป็นไปไม่ได้เมื่อเทียบกับที่เอซี มิลานเคยทำได้ แต่ผมมองไม่ออกเลยว่าทำไมแค่พูดถึงก็น่าตกใจหนักหนา คุณคิดว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล หรือเชลซีไม่คิดฝันอย่างนี้บ้างหรือ พวกเขาก็เหมือนกัน พวกเขาเพียงไม่พูดเพราะกลัวคนมองว่าน่าตลกขบขัน แต่ไม่มีใครขำขันกับงานแบบนี้หรอก เพราะเรารู้ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้"[nb 1][6] ทีมของเขาพ่ายต่อเอฟเวอร์ตันเพียงหนึ่งเดือนหลังประกาศของแวงแกร์ โดยนักเตะดาวรุ่งอย่างเวย์น รูนีย์ เป็นผู้ทำประตูชัย หยุดสถิติไร้พ่าย 30 นัดของอาร์เซนอล[7] ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2003 อาร์เซนอลเป็นจ่าฝูง มีแต้มเหนือกว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่ 5 แต้ม แต่เนื่องจากการบาดเจ็บของผู้เล่นคนสำคัญ รวมทั้งกัปตันทีมปาทริก วีเยรา ทำให้ทีมขาดเสถียรภาพ[8] อาร์เซนอลเสมอหลายนัดในเดือนเมษายน ประกอบกับแพ้ในบ้านต่อลีดส์ยูไนเต็ด ทำให้อาร์เซนอลหมดโอกาสรักษาแชมป์ลีก[3] แวงแกร์หักล้างความคิดเห็นจากสื่อที่กล่าวว่าเป็นฤดูกาลที่ล้มเหลว แวงแกร์กล่าวว่า

แน่นอนเราต้องการแชมป์ลีก แต่ผมคิดว่าสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับสโมสรคือความคงเส้นคงวา และเรามีความคงเส้นคงวาอย่างมาก เราเสียแชมป์ลีกให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งใช้เงินมากกว่า 50% ทุกปี ปีที่แล้วพวกเขาใช้เงินซื้อนักเตะ 30 ล้านปอนด์หลังจากเสียแชมป์ พวกเขาจะทำแบบนี้อีกในปีหน้า และพวกเราสร้างปาฏิหาริย์ที่ต่อกรกับพวกเขา[9]

ช่วงปิดฤดูกาล เชลซีถูกขายให้กับเศรษฐีพันล้านชาวรัสเซีย โรมัน อับราโมวิช ด้วยมูลค่า 140 ล้านปอนด์ ถือเป็นการซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดในวงการฟุตบอลอังกฤษในช่วงนั้น[10][nb 2] แดเนียล คิง นักหนังสือพิมพ์ต้อนรับการซื้อกิจการครั้งนี้ โดยแสดงความคิดเห็นว่าสโมสรฯ จะสามารถ "ยุติการผูกขาดแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด-อาร์เซนอล" ในลีกได้ดีขึ้น[12] รองประธานสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เดวิด ดีน รู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง และเหน็บอับราโมวิชว่า "จอดรถถังรัสเซียของเขาบนสนามหญ้าของพวกเรา แล้วก็ยิงธนบัตร 50 ปอนด์ใส่เรา"[13] กล่าวกันว่าอับราโมวิชประมูลซื้อกองหน้าอาร์เซนอล ตีแยรี อ็องรี แต่ถูกปฏิเสธทันควัน[14]

การทำนายอันดับในลีกเมื่อจบฤดูกาล
สำนักข่าว อันดับ
เดอะการ์เดียน[nb 3] 3[15]
การ์เดียนอันลิมิตเต็ด 1[16]
ดิอินดิเพนเดนต์ 3[17]
ดิอินดิเพนเดนต์ออนซันเดย์ 5[18]
ดิอับเซิร์ฟเวอร์ 1[19]
เดอะซันเดย์ไทม์ 3[20]
ซันเดย์ทริบูน 2[21]

การซื้อขายนักเตะช่วงฤดูร้อนของอาร์เซนอลค่อนข้างเงียบ เนื่องจากงบประมาณที่จำกัดจากโครงการสนามแห่งใหม่[22][nb 4] แต่สโมสรก็สามารถรั้งนักเตะคนสำคัญ ๆ ชุดเดิมไว้ได้ และยังเจรจาสัญญาฉบับใหม่กับปาทริส เอวรา และตำแหน่งปีก รอแบร์ ปีแร็สได้สำเร็จ[25] มีการซื้อตัวนักเตะเพิ่มสำคัญมีเฉพาะผู้รักษาประตูชาวเยอรมัน เย็นส์ เลมัน เขาเข้ามาแทนเดวิด ซีแมน ที่ย้ายไปแมนเชสเตอร์ซิตี[26] กองหลังชาวยูเครน ออเลก ลุชนี (Oleh Luzhny) หมดสัญญา 4 ปีกับสโมสรและย้ายไปวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์แบบไม่มีค่าตัว ในขณะที่กองหน้า เกรอัม แบร์เรตต์ ย้ายไปคอเวนทรีซิตี[27] กองหน้า ฟรานซิส เจฟเฟอส์ ซึ่งไม่ค่อยมีโอกาสลงเล่นชุดใหญ่ ก็ถูกปล่อยยืมตัวให้กับเอฟเวอร์ตัน สโมสรเก่าของเขา หนึ่งฤดูกาล[28] โจฟันนี ฟัน โบรงก์ฮอสต์ ย้ายไปบาร์เซโลนาในข้อตกลงคล้ายกัน โดยมองว่าอาจย้ายถาวรเมื่อจบฤดูกาล[29] สโมสรได้ผู้เล่นเยาวชนจากอะคาเดมีต่างประเทศ ได้แก่ กาแอล กลีชี จากสโมสรกาน และโยฮัน จูรูจากเอตวลการูฌ[30] ในเดือนมกราคม 2004 อาร์เซนอลเซ็นสัญญากับกองหน้าชาวสเปน โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส (José Antonio Reyes) จากเซบิยา และในเดือนเมษายนบรรลุข้อตกลงซื้อตัวตำแหน่งปีก โรบิน ฟัน แปร์ซี กับไฟเยอโนร์ด[31]

ต้นฤดูกาลแวงแกร์ให้ความความสำคัญกับการทวงแชมป์ลีกไว้ว่า "ผมรู้สึกว่าการทำดังนี้สำคัญมากในใจเรา และผมทราบว่าความกระหายที่จะลงมือแรงกล้า" และออกชื่อนิวคาสเซิลยูไนเต็ดกับลิเวอร์พูล รวมไปถึงแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับเชลซี เป็นคู่แข่งหลักในพรีเมียร์ลีก[32][33] อดีตกองกลางอาร์เซนอล พอล เมอร์สัน ยืนยันว่าอาร์เซนอลเป็นตัวเต็ง เพราะพวกเขามี "ผู้เล่นยอดเยี่ยม … ถ้าพวกเขามีความพร้อมคงเส้นคงวาแล้วพวกเขาจะไม่แพ้"[34] เกล็น มัวร์จาก ดิอินดิเพนเดนต์ เขียนถึงโอกาสของอาร์เซนอลว่า "พวกเขาจะเข้าใกล้แชมป์ แต่จนกว่าแวงแกร์จะให้ความเชื่อมั่นกับเยาวชน และผู้เล่นอย่างเฌเรมี อาลียาเดียร์ (Jérémie Aliadière), เจอร์เมน เพนนันต์ (Jermaine Pennant), ฟีลิป แซนเดอร็อส เล่นคุ้มค่าตอบแทน พวกเขาอาจขาดความสามารถในการรักษาหนทางชิงแชมป์"[17] กองหลัง โซล แคมป์เบลล์ เชื่อว่าผู้เล่นชุดนี้ "แข็งแกร่งพอสำหรับลีกและเอฟเอคัพ" แต่ข้องใจกับการคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[35]

สีชุดเหย้าไม่เปลี่ยนจากฤดูกาลที่แล้ว เป็นชุดสีแดง แขนเสื้อ กางเกง และถุงเท้าสีขาว[36] ส่วนชุดเยือนสีใหม่ เป็นเสื้อสีเหลืองแนวย้อนยุค ปกเสื้อและกางเกงสีน้ำเงิน ชุดนี้มาจากชุดที่ใส่แข่งขันเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1979[37][38]

การซื้อขายนักเตะ[แก้]

ก่อนเปิดฤดูกาล[แก้]

เพื่อเตรียมตัวก่อนเปิดฤดูกาล อาร์เซนอลได้ลงแข่งนัดกระชับมิตรในยุโรปตะวันตก นัดแรกพ่ายต่อปีเตอร์โบโรยูไนเต็ดจากเซคกันด์ดิวิชั่น โดยผู้รักษาประตู สจวต เทย์เลอร์ ถูกไล่ออกจากสนามหลังไปปะทะกับ ลี คลาร์ก ผู้เล่นปีเตอร์โบโรตัวสำรอง ในครึ่งหลัง[60] ต่อมาอาร์เซนอลเสมอกับบาร์นิต ซึ่งมียาย่า ตูเร น้องชายของโกโล ตูเร อยู่ในทีมด้วย[61] ในการสัมภาษณ์ในปี 2011 แวงแกร์กล่าวถึงผลงานของยาย่าว่า "กลาง ๆ โดยสิ้นเชิงในเวลานั้น" และสังเกตว่าความใจร้อนทำให้เขาไม่ได้เข้าอาร์เซนอล ตูเรจึงย้ายไปบาร์เซโลนาก่อนไปแมนเชสเตอร์ซิตีในปี 2010[62] ภายหลังจากการเสมอกับบาร์นิต อาร์เซนอลทัวร์ในประเทศออสเตรีย ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์วุ่นวายฝูงชนในนัดกระชับมิตรที่ไอเซินชตัทเมื่อปีก่อนทำให้ต้องยกเลิก[63] วันนั้น แวงแกร์ไม่ได้เข้าร่วมเพราะมีอาการปวดมวนท้อง จึงให้ผู้ช่วยผู้จัดการ แพต ไรซ์ คุมทีมชั่วคราว ในนัดที่พบกับริทซิง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2003 ทีมยิงตามตีเสมอได้หลังตามอยู่สองประตู เป็นการเสมอนัดกระชัดมิตรนัดที่สองติดต่อกัน[64] ไรซ์พอใจการเล่นเกมรับของฟีลิป แซนเดอร็อส และกล่าวว่า "ยังมีอุปสรรคข้างหน้า แต่เขาก็จะดีขึ้นเมื่อได้เล่นร่วมกับมาร์ติน คีโอน และโซล แคมป์เบลล์"[64]

อาร์เซนอลชนะนัดแรกช่วงก่อนเปิดฤดูกาลต่อเอาส์ทรีอาวีน โดยแบร์คกัมป์ทำ "ผลงานส่วนตัวได้สุดยอด" โดยยิงประตูแรก แล้วส่งให้เจฟเฟอร์ทำประตูที่สอง[65] นัดสุดท้ายของทัวร์พบกับเบชิกทัช ซึ่งต้องมีการรักษาความปลอดภัยหนาแน่นเนื่องจากประวัติศาสตร์ระหว่างแฟนบอลชาวอังกฤษและตุรกี[66] ในนัดนั้น อาร์เซนอลได้ประตูชัยจากแบร์คกัมป์ในครึ่งหลังลอดขาของผู้รักษาประตู ออสการ์ กอร์โดบา[67] หลังจากนั้น อาร์เซนอลเดินทางกลับอังกฤษ และแข่งขันนัดกระชับมิตรกับเซนต์ออลบันส์ซิตีและชนะ 3–1 จากนั้นชุดหลักเดินทางต่อไปยังประเทศสกอตแลนด์พบกับเซลติกในวันที่ 2 สิงหาคม 2003 ผลเสมอ 1–1 มาจากครึ่งหลัง โดยนัดนั้นวีเยรากลับมาลงเล่นอีกครั้งในรอบสามเดือนหลังเจ็บเข่า[68] แวงแกร์เปิดเผยภายหลังว่าเขาตั้งใจใช้นัดกระชับมิตรเพื่อทดลองแนวรับ[69] เขาจัดวางเซ็นเตอร์แบ็ก แคมป์เบลล์คู่กับตูเร ซึ่งในฤดูกาลก่อนส่วนใหญ่เล่นตำแหน่งกองกลาง[68] แวงแกร์พอใจการเล่นของโกโล ตูเร ในนัดพบกับเซลติก เขากล่าวว่า "เขามีคุณภาพ เดิมเขาเป็นกองหลังกลาง และเนื่องจากเราเก็บคลีนชีตได้บ้างในช่วงหลัง และเขาเล่นได้ดี ผมคิดว่าเราควรให้เขาเล่นตำแหน่งนั้นต่อ"[69] หลังจากนั้น ชุดหลักเดินทางไปประเทศเบลเยียมเพื่อลงเล่นกับเบเฟอเรินและเสียสองประตูในช่วงห้านาทีสุดท้าย ทำให้เสมอกัน 2–2 และนัดกระชับมิตรนัดสุดท้าย พวกเขาบุกไปชนะเรนเจอส์ 3–0 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2003[70]

19 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-19) กระชับมิตรบาร์นิต0–0อาร์เซนอลบาร์นิต
15:00 รายงาน สนามกีฬา: สนามกีฬาอันเดอร์ฮิลล์
ผู้ชมในสนาม: 4,778 คน
22 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-22) กระชับมิตรริทซิง2–2อาร์เซนอลริทซิง
19:00 เซบัสทา Goal 20'
เอ็ล เซโนซี Goal 25'
รายงาน ซีก็อง Goal 60'
ยุงแบร์ย Goal 85' (ลูกโทษ)
สนามกีฬา: สนามกีฬาริทซิง
ผู้ชมในสนาม: 4,200 คน
25 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-25) กระชับมิตรเอาส์ทรีอาวีน0–2อาร์เซนอลชเว็ชชัท
19:00 รายงาน แบร์คกัมป์ Goal 29'
เจฟเฟอส์ Goal 44'
สนามกีฬา: สนามกีฬาชเว็ชชัท
ผู้ชมในสนาม: 4,800 คน[71]
29 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-29) กระชับมิตรอาร์เซนอล1–0เบชิกทัชสตีเรีย
18:00 แบร์คกัมป์ Goal 48' รายงาน สนามกีฬา: บาทวัลเทิร์สดอร์ฟชตาดีอ็อน
31 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-31) กระชับมิตรเซนต์ออลบันส์ซิตี1–3อาร์เซนอลเซนต์ออลบันส์
19:30 มักดอนเนลล์ Goal 44' รายงาน ฟ็อลทซ์ Goal 19'51'
ฮอลส์ Goal 60'
สนามกีฬา: แคลเรนซ์พาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 1,500 คน
ผู้ตัดสิน: แกรี เอฟวิตส์
2 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-02) กระชับมิตรเซลติก1–1อาร์เซนอลกลาสโกว์
15:00 มิลเลอร์ Goal 57' รายงาน คานู Goal 70' สนามกีฬา: เซลติกพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 44,396 คน
ผู้ตัดสิน: ดักกี แมกดอนัลด์
3 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-03) กระชับมิตรเบเฟอเริน2–2อาร์เซนอลเบเฟอเริน
17:00 กาอีแปร์ Goal 85'
ยาปี ยาโป Goal 88'
รายงาน Nicolau Goal 55'
โอวูซู-อาเบยี Goal 76'
สนามกีฬา: สนามกีฬาเฟรตีล
ผู้ชมในสนาม: 2,500 คน
5 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-05) กระชับมิตรเรนเจอส์0–3อาร์เซนอลกลาสโกว์
19:45 รายงาน เอดู Goal 31'
โลแรน Goal 47' (ลูกโทษ)
แคมป์เบลล์ Goal 58'
สนามกีฬา: สนามกีฬาไอบรอกซ์
ผู้ชมในสนาม: 37,000 คน
ผู้ตัดสิน: เคนนี คลาร์ก

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์[แก้]

การแข่งขันเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2003 นัดฟุตบอลอังกฤษประจำปี เป็นการแข่งขันระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับอาร์เซนอลที่มิลเลนเนียมสเตเดียมในคาร์ดิฟฟ์ในวันที่ 10 สิงหาคม โดยเลมันลงเล่นนัดแรกให้กับอาร์เซนอล และตูเรยังคงเล่นกองหลังกลางคู่กับแคมป์เบลล์[72] ยูไนเต็ดได้ประตูขึ้นนำในนาทีที่ 15 จากมีกาแอล ซีลแว็สทร์ แต่ไม่นานจากนั้นตีแยรี อ็องรี ก็ตีเสมอให้อาร์เซนอลจากลูกฟรีคิก[73] เจฟเฟอส์ถูกไล่ออกจากสนามจากการไปเตะฟิล เนวิล และไม่มีประตูเกิดขึ้นหลังจากนั้น ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ[73] ผู้รักษาประตู ทิม ฮาวเวิร์ด เซฟจุดโทษของฟัน โบรงก์ฮอสต์ และปีแร็สทำให้ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายชนะ 4–3[73] แวงแกร์พาดพิงถึงผู้ชมอาร์เซนอลที่ไปชมการแข่งขันน้อยและเสนอว่ามี "ความกระหายน้อยลงทุกที" สำหรับคอมมิวนิตีชีลด์ [74] เขาไม่มีความสุขกับช่วงก่อนเปิดลีกในวันเสาร์ที่จะมาถึง "ผมอยากมีเวลาอีกสักสองสัปดาห์ โดยเฉพาะกับผู้เล่นชาวฝรั่งเศสที่ไปเล่นคอนเฟเดอเรชันส์คัพ พวกเรายังไม่พร้อมเท่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และรู้ว่าผู้เล่นหลายคนยังไม่มีร่างกายพร้อม"[74]

พรีเมียร์ลีก[แก้]

ฤดูกาล 2003–04 ของพรีเมียร์ลีกมี 20 ทีม แต่ละทีมลงเล่น 38 นัด โดยแข่งกับทีมอื่นทุกทีมทีมละ 2 นัด ที่สนามเหย้าของแต่ละฝ่ายครั้งละนัด ถ้าชนะได้สามคะแนน เสมอได้หนึ่งคะแนน และถ้าแพ้จะไม่ได้คะแนน เมื่อจบฤดูกาล 2 ทีมแรกจะได้สิทธิแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม ส่วนอันดับที่ 3 และ 4 ต้องเล่นรอบคัดเลือกก่อน[75]

มีการออกกำหนดการแข่งขันมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2003 แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีชนกับการแข่งขันอื่น การแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ ลมฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยหรือนัดที่เลือกให้แพร่สัญญาณโทรทัศน์ โดย 5 จาก 8 นัดแรกของอาร์เซนอลมีการแร่ะสัญญาณผ่านทางช่องสกายสปอร์ต และในจำนวนนั้น 3 นัดจะอยู่ในรายการหลักของเครือข่ายในรายการ ซูเปอร์ซันเดย์[76]

สิงหาคม–ตุลาคม[แก้]

รอแบร์ ปีแร็ส ยิงประตูชัยให้อาร์เซนอลในนัดที่พบกับลิเวอร์พูลเมื่อเดือนตุลาคม 2003

นัดเปิดฤดูกาล อาร์เซนอลลงเล่นในบ้านพบกับเอฟเวอร์ตันที่ไฮบรี แคมป์เบลล์ถูกไล่ออกในนาทีที่ 25 จากการทำฟาวล์ที่กีดขวางการเล่น (professional foul) ใส่ทอมัส กราเวอเซิน กองกลางเอฟเวอร์ตัน แม้ว่าอาร์เซนอลจะเสียเปรียบจำนวนผู้เล่น แต่ก็นำสองประตูเมื่อเวลา 58 นาที ก่อนที่ตอมัช ราจินสกี จะยิงประตูให้ทีมเยือน[77] นัดต่อมาหลังจากนัดแรกหนึ่งสัปดาห์ พวกเขาไปเยือนมิดเดิลส์เบรอที่ริเวอร์ไซด์สเตเดียม จบด้วยชัย 4–0 โดยได้ 3 ประตูจากอ็องรี, ชิลเบร์ตู ซิลวา และซีลแว็ง วีลตอร์ในครึ่งแรก[78] สามวันถัดมา อาร์เซนอลชนะแอสตันวิลลา โดยแคมป์เบลล์และอ็องรีทำประตูได้คนละประตู[79] อาร์เซนอลยังรักษาช่วงต้นฤดูกาลที่ยอดเยี่ยมด้วยการบุกไปชนะแมนเชสเตอร์ซิตี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2003 เมื่อแคมป์เบลล์ถูกพักการเล่น มาร์ติน คีโอนเข้ามาเล่นตัวจริงคู่กับตูเรแทน[80] แม้ว่าอาร์เซนอลทำเข้าประตูตัวเองโดยโลแรนในครึ่งแรก และเล่น "45 นาทียอดแย่ที่แฟนคนใดจะจำได้" ตามคำบรรยายของนักหนังสือพิมพ์ แมต ดิกคินสัน แต่ในครึ่งหลังวีลตอร์ตามตีเสมอในครึ่งหลัง ก่อนเฟรดริก ยุงแบร์ย ใช้ข้อผิดพลาดของซีแมนทำประตูชัย[80] จบ 4 นัดแรก อาร์เซนอลอยู่อันดับหนึ่ง มีแต้มนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่สามแต้ม[81]

เนื่องจากกำหนดการแข่งขันทีมชาติ ทำให้สโมสรได้พักสองสัปดาห์ พวกเขากลับมาลงเล่นในบ้านพบกับพอร์ตสมัทที่เพิ่งเลื่อนชั้น โดยกองหน้า เท็ดดี เชริงงัม ยิงให้ทีมเยือนขึ้นนำก่อน ก่อนที่อาร์เซนอลได้จุดโทษเมื่อปีแร็สถูกเดยัน สเตฟานอวิช กรรมการตัดสินว่าทำฟาวล์ในกรอบเขตโทษ[82] อ็องรียิงประตูเข้า และแม้การเล่นของทีมจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในครึ่งหลัง แต่เกมก็จบด้วยผลเสมอ[82] ทำให้ผู้จัดการทีมพอร์ตสมัท แฮร์รี เรดแนปป์ บ่นถึงการเสียจุดโทษและรู้สึกว่าปีแร็ส "... กำลังจะได้ใบเหลือง [จากการพุ่งล้ม]"[82] แต่ปีแร็สปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าวที่ว่าเขาตบตากรรมการ "ผมไม่ได้พุ่งล้มและผมไม่ได้โกง ไม่ใช่วิธีการเล่นของผม"[83]

หนึ่งสัปดาห์ถัดมา อาร์เซนอลไปพบแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่โอลด์แทรฟฟอร์ด โดยแวงแกร์ให้ปีแร็สและวีลตอร์เป็นสำรอง และให้เรย์ พาร์เลอร์ กับยุงแบร์ยลงเล่นแทน ส่วนแคมป์เบลล์ไม่ได้เดินทางไปด้วย เนื่องจากมีสมาชิกครอบครัวเสียชีวิต[84] ในนาทีที่ 80 วีเยราถูกไล่ออกจากสนามจากการได้ใบเหลืองที่สอง โดยเขาพยายามเตะกองหน้า รืด ฟัน นิสเติลโรย ซึ่งผู้ตัดสิน สตีฟ เบนนิตต์ เห็นการกระทำดังกล่าว[84] ขณะผลประตู 0–0 ยูไนเต็ดได้จุดโทษในนาทีที่ 90 แต่ลูกยิงของฟัน นิสเติลโรย ไปชนคาน กลับมาเล่นต่อ[84] หลังจบเกม ผู้เล่นอาร์เซนอลหลายคนไปล้อมฟัน นิสเติลโรย ซึ่งบานปลายเป็นเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างทั้งสองทีม[84] ผู้เล่นของอาร์เซนอล 6 คน (แอชลีย์ โคล, โลแรน, คีโอน, พาร์เลอร์, เลมัน, วีเยรา) ถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (FA) ตั้งข้อหาประพฤติไม่เหมาะสม และสโมสรถูกปรับเงิน 175,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นค่าปรับมากที่สุดที่สั่งลงโทษสโมสรใด ๆ[85] โลแรนถูกแบน 4 นัด ในขณะที่วีเยรากับพาร์เลอร์ถูกแบนนัดเดียว[86]

ในนัดถัดมา อาร์เซนอลชนะนิวคาสเซิลยูไนเต็ด 3–2 โดยได้ประตูชัยจากจุดโทษของอ็องรี[87] วีเยราได้รับบาดเจ็บระหว่างเกม ทำให้ลงเล่นไม่ได้สองเดือน[88] หลังจากนั้นอาร์เซนอลบุกไปเยือนลิเวอร์พูลที่แอนฟีลด์ในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม แต่วีเยราไม่ได้ลงเล่น ทำให้พาร์เลอร์รับหน้าที่เป็นกัปตันทีมแทน ส่วนแคมป์เบลล์ลงเล่นตำแหน่งกองหลังแทนคีโอน[89][90] อาลียาเดียร์เล่นกองหน้าคู่กับอ็องรี[90] อาร์เซนอลตามหลังในนาทีที่ 11 แต่ก็ตีเสมอได้เมื่อซามี ฮือปิแอ เปลี่ยนทิศทางลูกโหม่งของเอดูโดยไม่ได้ตั้งใจจากฟรีคิกของอาร์เซนอล[91] ปีแร็สยิงประตูชัยในครึ่งหลัง ทำให้ทีมยังเป็นจ่าฝูงในตารางลีกอยู่[91][92] ผู้สื่อข่าวของเดอะไทมส์ โอลิเวอร์ เคย์ บรรยายการกลับมาชนะของอาร์เซนอลว่า "มุ่งมั่นมาก" และสังเกตข้อแตกต่างของทีมเทียบกับฤดูกาลก่อนว่า[91]

... เหตุการณ์ล่าสุดสอนพวกเขาให้จัดสาระก่อนลีลา อาจดูไม่ดึงดูดสำหรับผู้เน้นความถูกต้อง แต่ไม่มีข้อสงสัยว่าแนวทางโผงผางแบบใหม่ของพวกเขาทำให้ดูน่าเกรงขามยิ่งขึ้น หนึ่งปีก่อนพวกเขากำลังผลิตฟุตบอลที่มีความงามที่พบเห็นได้น้อยครั้งในประเทศนี้หรือที่อื่น ฤดูกาลนี้ ด้วยความคล่องที่พิสูจน์แล้วว่าลื่นไหล พวกเขากำลังทำผลงานโดยมีประสิทธิภาพเทียบได้กับทิวทอนิก[91]

นัดถัดมา อาร์เซนอลสามารถชนะเชลซีได้ในนัดที่สูสี จากความผิดพลาดของผู้รักษาประตู การ์โล กูดีชีนี ในครึ่งหลัง ทำให้อ็องรียิงประตูที่ 7 จาก 9 นัดแรก[93] จนถึงขณะนั้นทั้งสองทีมเป็นจ่าฝูงของตารางและไม่แพ้ทีมใด[94] แวงแกร์ตั้งข้อสังเกตหลังจบการแข่งขันว่า ทีมของเชลซีที่ใหญ่กว่าจะมีประโยชน์เมื่อฤดูกาลผ่านไป แต่เน้นย้ำว่าทีมเล็กของเขามีเสถียรภาพ "เราอยู่ด้วยกันหลายปีและมีความอุ่นใจที่ทราบว่าเราเคยคว้าแชมป์มาก่อน เมื่อเราถูกท้าทาย เรายิ่งสามัคคีกันมากขึ้น"[95] ปลายเดือนตุลาคม อาร์เซนอลเสมอชาร์ลตันแอธเลติก 1–1[96] ผ่านไป 10 นัด อาร์เซนอลเก็บได้ 24 แต้ม กลับเป็นจ่าฝูงอีกครั้งหลังจากเสียอันดับให้กับเชลซีชั่วคราว[97]

พฤศจิกายน–ธันวาคม[แก้]

อาร์เซนอลเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายนด้วยการเยือนลีดส์ยูไนเต็ด ณ เอลแลนด์โรด ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นจากเกมที่พบชาร์ลตัน โดยผู้เล่นของลีดส์อย่างเพนนันต์ลงเล่นพบกับสโมสรแม่ของเขาหลังแวงแกร์อนุญาต[98] อาร์เซนอลชนะ 4–1 เหมือนกับนัดที่พบกันเมื่อฤดูกาลที่แล้ว[99] ในรายงานการแข่งขันของ นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ นักข่าว มาร์ติน ซามูเอล ยกให้อ็องรีเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด และยืนยันว่าอาร์เซนอลคือทีมที่ลุ้นแชมป์เต็มตัว[100] นัดถัดมา อาร์เซนอลแข่งดาร์บีลอนดอนเหนือ พบกับทอตนัมฮอตสเปอร์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2003 โดยทอตนัมไม่ชนะอาร์เซนอลมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1999 และชัยของทอตนัมครั้งล่าสุดที่สนามไฮบรีเกิดเมื่อทศวรรษก่อน[101][102] นัดนี้ คานูถูกจัดเป็นตัวจริงคู่กับอ็องรี เนื่องจากวีลตอร์มีกล้ามเนื้อน่องล้า[103] อาร์เซนอลเสียประตูเร็วหลังดาร์เรน แอนเดอร์ตันใช้โอกาสที่กองหลังสับสน แต่สามารถยิงสองประตูในช่วงท้ายเกม โดย ดิอับเซิร์ฟเวอร์ อธิบายว่าเป็นการเล่นที่ "ติดขัดอีกครั้ง"[102] ผลทำให้อาร์เซนอลนำอันดับที่สองอยู่ 4 แต้มชั่วคราวก่อนเชลซีชนะนิวคาสเซิลในบ้านในหนึ่งวันต่อมา ทำให้แต้มห่างกันเหลือหนึ่งแต้ม[104]

ตีแยรี อ็องรีพลาดการลงเล่นเพียงหนึ่งนัดในลีก คือนัดเยือนเลสเตอร์ซิตี

อาร์เซนอลไม่ได้ลงเล่นเป็นเวลาสองสัปดาห์เนื่องจากช่วงพักฟุตบอลระหว่างประเทศ ก่อนบุกไปเยือนเบอร์มิงแฮมซิตี เนื่องจากการพักการแข่งขันมีผลและมีผู้เล่นตัวจริงได้รับบาดเจ็บหลายคน ทำให้แวงแกร์ต้องปรับเปลี่ยนผู้เล่น โดยกลีชีได้ลงเล่นตัวจริงนัดแรก ส่วนปัสกาล ซีก็อง ลงเล่นเป็นนัดแรกของฤดูกาล โดยลงตำแหน่งคู่กับแคมป์เบลล์[105] อาร์เซนอลยิงสามประตูจนได้รับชัยชนะเป็นนัดที่สามติดต่อกันของเดือน[106] จนถึงขณะนั้นอาร์เซนอลไม่แพ้ทีมใดตั้งแต่เปิดฤดูกาลมา 13 นัดติดต่อกัน นับเป็นสถิติใหม่ของพรีเมียร์ลีก[106] นัดถัดมา ทีมเสมอฟูลัม 0–0 เป็นทีมแรกที่อาร์เซนอลยิงประตูในบ้านไม่ได้ครั้งแรกใน 46 นัดที่ไฮบรี[107] เดวิด เลซีย์ ผู้สื่อข่าวของ เดอะการ์เดียน สรุปการเล่นของอาร์เซนอลในวันนั้นว่า "เข้มแข็งในส่วนเครื่องสาย แต่ขาดเครื่องเคาะจังหวะ" และตั้งข้อสังเกตว่าพวกเขากลับไปมีรูปแบบทำประตูสมบูรณ์แบบแทนที่จะเล่นแบบมีประสิทธิภาพ[108] ในสัปดาห์เดียวกัน เชลซีชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1–0 ทำให้อาร์เซนอลตกลงมาอยู่อันดับที่ 2 ในวันสุดท้ายของเดือน[109]

ในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม อาร์เซนอลบุกไปเยือนเลสเตอร์ซิตีและพลาดอีก 2 แต้ม ในนัดนั้นอ็องรีไม่ได้ลงเล่นเช่นเดียวกับวีเยรากัปตันทีม อาร์เซนอลได้ประตูขึ้นนำก่อนเมื่อเวลา 60 นาทีจากลูกโหม่งของชิลเบร์ตู แต่ถูกตีเสมอในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ[110] นัดนั้นโคลได้รับใบแดงจากการพุ่งเสียบเบน แทตเชอร์โดยใช้สองเท้า ทำให้ลงเล่นไม่ได้อีก 3 นัด[111] แวงแกร์กล่าวหลังจากนั้นว่า "ดูเหมือนว่าแอชลีย์ต้องการพุ่งเอาบอล แต่เมื่อมันเป็นการเข้าแย่งสองเท้าที่สูงเกินไป จึงเป็นใบแดงและเราต้องยอมรับ"[111] อีกหนึ่งสัปดาห์ถัดมา อาร์เซนอลเปิดบ้านเอาชนะแบล็กเบิร์นโรเวอส์ 1–0 จากประตูของแบร์คกัมป์ เชลซีที่แพ้เมื่อวันก่อนก็ทำให้อาร์เซนอลกลับไปอยู่หัวตารางอีกครั้ง นำหน้าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อันดับที่สองอยู่หนึ่งแต้ม[112]

วันที่ 20 ธันวาคม 2003 อาร์เซนอลบุกไปเยือนโบลตันวอนเดอเรอส์ที่สนามกีฬารีบ็อก ซึ่งเคยมีส่วนทำให้อาร์เซนอลพลาดแชมป์เมื่อแปดเดือนที่แล้ว[113] แม้ว่าทีมจะเก็บได้เพียงหนึ่งแต้ม แต่แวงแกร์ยังมองว่ามีประโยชน์ "หากโบลตันยังคงเล่นแบบนั้น เราจะมองย้อนกลับมาดูผลนี้และรู้สึกยินดีมาก ดีมากเท่ากับทีมที่เราเล่น"[113] ต่อมาในวันเปิดกล่องของขวัญ อ็องรียิงสองประตูช่วยให้ทีมชนะวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 3–0[114] สามวันถัดมา ทีมพบกับเซาแทมป์ตัน ประตูชัยมาจากครึ่งแรก คือ ลูกส่งผ่านของอ็องรีเข้าเท้าของปีเรส "ที่สไลด์บอลลอดใต้อันต์ตี นิเอมี"[115] ผลชนะทำให้อาร์เซนอลไม่แพ้ทีมใดมาครึ่งฤดูกาลแล้ว และ เดอะไทมส์ เขียนว่าทีมเริ่ม "สร้างรัศมีไร้พ่าย"[115] อาร์เซนอลจบปีปฏิทินด้วยอันดับที่สอง มี 45 แต้มจาก 19 นัด ตามหลังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเพียงหนึ่งแต้ม และนำเชลซีอยู่สามแต้ม[116]

มกราคม–กุมภาพันธ์[แก้]

วันที่ 7 มกราคม 2004 อาร์เซนอลพบเอฟเวอร์ตันที่กูดิสันพาร์ก ซึ่งแวงแกร์ได้สับเปลี่ยนผู้เล่นหลายตำแหน่ง ซีก็องถูกเรียกกลับไปเล่นกองหลังกลาง หมายความว่าตูเรถูกเลื่อนเป็นปีกขวาและโลแรนถูกส่งเป็นตัวสำรอง และพาร์เลอร์ลงเป็นตัวจริงแทนชิลเบร์ตูในกองกลาง[117] คานูยิงประตูให้อาร์เซนอลขึ้นนำก่อนในครึ่งแรก แต่ราจินสกีทำประตู "ตีเสมอช่วงท้ายเกมอย่างสมควรอย่างยิ่ง" ให้กับเอฟเวอร์ตันในช่วง 15 นาทีสุดท้าย[118] คืนเดียวกัน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะโบลตันวอนเดอเรอส์ 2–1 ทำให้จ่าฝูงนำห่าง 3 แต้ม[119] สามวันถัดมา อาร์เซนอลเปิดบ้านพบมิดเดิลส์เบรอ และทำผลงานที่แวงแกร์อธิบายว่าเป็นนัดยอดเยี่ยมนัดหนึ่งในฤดูกาล เขากล่าวว่า "เราเล่นเกมตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และน่าจะทำประตูได้มากกว่านี้"[120][121] โดยนัดนั้นพวกเขาชนะ 4–1 กลับขึ้นไปเป็นจ่าฝูงอีกครั้ง แม้เป็นการจัดเรียงตามตัวอักษรเท่านั้น เนื่องจากแต้ม ผลต่างประตูได้เสียและประตูได้เท่ากับสถิติของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[120] สัปดาห์ถัดมา อาร์เซนอลชนะแอสตันวิลลา 2–0 โดยอ็องรีเป็นผู้ทำประตูทั้งสองลูก[122] อย่างไรก็ตาม เกิดกรณีพิพาทในประตูแรกของอ็องรี ซึ่งได้จากลูกฟรีคิกที่ตั้งเร็วซึ่งทำให้ผู้เล่นของวิลลาสับสนและทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อผู้ตัดสิน มาร์ก แฮลซีย์ ซึ่งส่งสัญญาณว่าอนุญาตให้เล่น[122] ผ่านไป 22 นัด อาร์เซนอลอยู่อันดับที่ 1 นำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่สองแต้ม[123]

"บางคนยังไม่ยอมชื่นชมอาร์เซนอลยุคใหม่ พวกเขายังเชื่อว่านี่เป็นด้านที่นิก ฮอร์นบีกล่าวว่าเป็นตัวแทนของความน่าเบื่อ ความโชคดี ความสกปรก อารมณ์ร้อน ความรวย และความใจแคบ ความจริงคือมันเป็นเอกสิทธิ์ที่ได้ดูอาร์เซนอลยุคใหม่ พวกเขาเป็นโพรแซก [ยี่ห้อยาต้านซึมเศร้า] แก่ผู้ที่คุ้นเคยกับความน่าเบื่อ"

บันทึกของริก บรอดเบนต์ว่าด้วยนัดที่อาร์เซนอลชนะวุลเวอร์แฮมป์ตัน ในเดอะไทม์ 9 กุมภาพันธ์ 2004[124]

อาร์เซนอลยังรักษาสถิติไร้พ่ายตลอดเดือนกุมภาพันธ์ โดยชนะทั้ง 5 นัด เริ่มจากเกมเหย้าที่พบกับแมนเชสเตอร์ซิตี โดยเรเยสลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรโดยลงสนามเป็นตัวสำรองในครึ่งหลัง ส่วนประตูชัย "ดังสนั่นกะอย่างสวยงาม 25 หลา" ได้จากอ็องรี[125] ต่อมา ในนัดที่ 24 ของลีก อาร์เซนอลทำสถิติชนะเกมเยือนพบกับวุลเวอร์แฮมป์ตัน ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2004 ทำสถิติไร้พ่ายยาวนานที่สุดตั้งแต่เปิดฤดูกาลของสโมสรนับแต่ทีมของจอร์จ เกรอัมในปี 1990–91[126] แวงแกร์กล่าวถึงสถิติไร้พ่ายในการประชุมผู้สื่อข่าวหลังนัด ว่า "คุณต้องการโชคเพียงเล็กน้อยและคุณภาพจิตใจที่ดี"[126] สามวันถัดมา อ็องรีทำสถิติส่วนตัวยิงประตูที่ 100 และ 101 ในพรีเมียร์ลีกของเขา นัดที่พบกับเซาแทมป์ตัน[127] ผลชนะในนัดนั้นทำให้อาร์เซนอลนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอันดับสองอยู่ 5 แต้ม โดยแข่งมากกว่า 1 นัด[128]

อ็องรีกลับมาลงเล่นนัดวันเสาร์ช่วงมื้อกลางวันที่พบกับเชลซี เขาไม่ได้ลงในรอบที่ห้าเอฟเอคัพพบกับเชลซีเช่นกัน[129] อาร์เซนอลเสียประตูก่อนใน 27 วินาทีแรก แต่ก็กลับมาตีเสมอได้ในนาทีที่ 15 แบร์คกัมป์ "บรรจงส่งลูก" ให้กับวีเยราทางฝั่งซ้าย และยิงบอลผ่านผู้รักษาประตู นีล ซิลลิวัน[130] และได้ประตูชัยใน 6 นาทีถัดมา ซัลลิเวนกะลูกเตะมุมของอ็องรีผิด ซึ่งทำให้เอดูยิงเข้าตาข่าย[130] ตารางคะแนนตอนนี้ อาร์เซนอลนำห่าง 7 แต้ม ซึ่งแวงแกร์ว่าเป็น "ตำแหน่งที่ดีกว่าทีมใดเคยถือฤดูกาลที่แล้ว"[130] เดอะไทม์ เน้นการย้ายตูเรไปเล่นกองหลังว่า

ประกอบกับที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่มีริโอ เฟอร์ดินานด์[nb 5] การแจ้งเกิดของโกโล ตูเรในฐานะเซ็นเตอร์ฮาล์ฟผู้มากความสามารถ อาจหมายถึง ทำให้มีคะแนนแกว่งเป็นสิบแต้มในพรีเมียร์ชิป หากตูเรและแคมป์เบลล์ยังฟิตอยู่เรื่อย ๆ อาร์เซนอลน่าจะยิ่งกว่าจะแค่เพียงรักษาผลต่าง 7 แต้ม ส่วนกาแอล กลีชี พวกเขาก็คาดไว้ว่าจะมาแทนแอชลีย์ โคล[133]

นัดสุดท้ายของเดือน อาร์เซนอลพบชาร์ลตันที่ไฮบรี โดยอาร์เซนอลทำได้สองประตูในสี่นาทีแรก แต่ในช่วงท้ายเกม "ยังรักษาตำแหน่งผู้นำ เหมือนลูกแมวกระวนกระวาย"[134] ผ่านไป 27 นัด อาร์เซนอลอยู่อันดับหนึ่ง สะสมได้ 67 แต้ม นำห่างเชลซีและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 9 แต้ม[135]

มีนาคม–พฤษภาคม[แก้]

อาร์เซนอลยังรักษาฟอร์มการเล่นที่ดีในเดือนมีนาคม โดยอ็องรีและปีแร็สยิงคนละประตูในนัดที่บุกชนะแบล็กเบิร์นโรเวอส์ เป็นการเล่นที่หมั่นเพียรจากจ่าฝูงสมคำกล่าวว่า "... สิ่งเตือนจำของภาษิตโบราณว่าทีมชนะแชมเปียนชิปคือทีมที่เก็บแต้มได้มากที่สุดเมื่อพวกเขาไม่ได้เล่นดี"[136] นัดถัดมา อาร์เซนอลเปิดบ้านพบโบลตันวอนเดอเรอส์ โดยในนัดนั้น แวงแกร์ได้จัดตัวแบร์คกัมป์ลงแทนเรเยสอยู่หน้า[137] ภาวะลมแรงทำให้เลื่อนการแข่งขัน 15 นาที ปีแร็สยิงประตูขึ้นนำก่อนในเวลาประมาณ 15 นาที[138] ต่อมานาทีที่ 24 ผลขยับเป็น 2–0 แม้ว่าโบลตันจะทำผลงานดีขึ้นหลังทำประตูได้ก่อนหมดครึ่งแรกเล็กน้อย แต่ผลสุดท้ายอาร์เซนอลชนะ 9 ติดต่อกัน และรักษาแต้มห่างอันดับที่สอง 9 แต้ม[138]

วันที่ 28 มีนาคม 2004 การพบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในบ้านถือเป็นบททดสอบที่ดุดันของอาร์เซนอล เป็นการพบกันครั้งแรกของทั้งสองทีมหลังเหตุรุนแรงที่โอลด์แทรฟฟอร์ด[139] กลีชีได้เป็นผู้เล่นตัวจริงแทนโคลซึ่งบาดเจ็บในเกมแชมเปียนลีกพบกับเชลซีเมื่อกลางสัปดาห์ ส่วนเรเยสได้เป็นตัวจริงแทนแบร์คกัมป์[140] อ็องรียิงประตูขึ้นนำให้อาร์เซนอลด้วยลูกยิงระยะไกลที่โค้งผ่านผู้รักษาประตู รอย แคร์รอลล์[141] แต่ในห้านาทีสุดท้าย ลูย ซาอา หลบหลีกกองหลังของอาร์เซนอล และทำประตูตีเสมอให้ทีมเยือน[141] อาร์เซนอลเกือบได้ประตูชัยในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ แต่ผู้รักษาประตูรับลูกยิงของโลแรนได้[141] ผลเสมอไม่ดีสำหรับเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งยอมรับโอกาสของทีมเขาภายหลังว่า "ตอนนี้พวกเขา (อาร์เซนอล) กำลังจะเป็นแชมป์ลีก ผมแน่ใจเลย พวกเขาเล่นด้วยความมุ่งมั่นอย่างยิ่ง ... ทีมที่แข็งแกร่ง ฉะนั้นควรชนะลีกจริง ๆ"[142] หลังจบนัดนั้น "อาร์เซนอลสร้างสถิติลีกใหม่ตลอดกาลของลีกไม่แพ้ทีมใด 30 นัดติดต่อกันตั้งแต่เริ่มฤดูกาล ซึ่งผู้ถือสถิติเดิม ได้แก่ ลีดส์และลิเวอร์พูล[nb 6][147] จบเดือนมีนาคม พวกเขาอยู่อันดับที่หนึ่งของตาราง มีแต้มนำห่างเชลซี 7 แต้มในขณะที่เหลือการแข่งขันอีก 8 นัด[148]

กัปตันทีม ปาทริก วีเยรา กับถ้วยรางวัลที่ไฮบรี ในการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาล

หลังตกรอบแชมป์ถ้วยสองรายการห่างกันหนึ่งสัปดาห์ อาร์เซนอลเปิดบ้านรับลิเวอร์พูลในวันศุกร์ประเสริฐ นัดนั้น ฮูเปีย้ฟยิงประตูขึ้นนำให้ทีมเยือนก่อนตั้งแต่ 5 นาทีแรก ต่อมาอ็องรีก็ยิงประตูตีเสมอหลัง 30 นาทีเล็กน้อย แต่ลิเวอร์พูลก็ขึ้นนำอีกครั้งก่อนหมดครึ่งแรก[149] อาร์เซนอลยิงสองประตูพลิกขึ้นนำในเวลา 1 นาที ประตูที่สองของอ็องรีเป็นการหยุดดีทมาร์ ฮามัน ในกลางสนาม เลี้ยงผ่านกองหลัง เจมี แคร์ราเกอร์ และวางบอลผ่านแยชือ ดูแด็ก[150] อ็องรีทำแฮตทริกได้ในนาทีที่ 78 หลังแบร์คกัมป์ช่วยส่งให้[149] ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล เฌราร์ อูลีเย เปรียบอาร์เซนอลกับ "สัตว์บาดเจ็บ" หลังการแข่งขันและเชื่อว่าอ็องรีเป็น "ผู้สร้างความแตกต่าง ... เขาตั้งจังหวะการเล่น"[149] ต่อมาอาร์เซนอลเสมอ 0–0 กับนิวคาสเซิลในวันจันทร์หยุดธนาคาร และห้าวันถัดมาพบกับลีดส์ยูไนเต็ด[151] นัดนั้นอ็องรียิงสี่ประตู และได้รับคำชมจากแวงแกร์ว่าเป็น "กองหน้าดีที่สุดในโลก" อาร์เซนอลต้องการชนะอีกสองนัดก็จะคว้าแชมป์[152]

เนื่องจากเชลซีไม่สามารถเก็บแต้มเต็มได้อีกสองนัด อาร์เซนอลจึงทราบตั้งแต่ก่อนนัดที่ไปเยือนทอตนัมว่าผลเสมอจะรับประกันว่าได้แชมป์[153] โคลได้กลับมาลงเล่นในดาร์บีนัดนั้น หลังไม่ได้ลงในนัดที่พบลีดส์ เนื่องจากบาดเจ็บข้อเท้า[154] อาร์เซนอลได้ประตูขึ้นนำก่อนในจังหวะโต้กลับของวีเยรา[2] อาร์เซนอลได้ประตูที่สอง ในช่วงสิบนาทีก่อนพักครึ่ง โดยแบร์คกัมป์ผ่านบอลให้วีเยรา ซึ่งตัดกลับให้ปีแร็สใช้ข้างเท้าเตะเข้า[154] แต่ทอตนัมก็ยิงสองประตูตีเสมอในครึ่งหลัง โดยเป็นลูกโทษหนึ่งลูก แต่ไม่หยุดผู้เล่นอาร์เซนอลมิให้เฉลิมฉลองเมื่อเสียงนกหวีดหมดเวลาการแข่งขัน "หน้ากองเชียร์ที่ไวต์ฮาร์ตเลน"[2] เป็นครั้งที่สองที่อาร์เซนอลได้แชมป์ลีกที่สนามของคู่แข่ง โดยครั้งแรกเกิดในปี 1971[155] แวงแกร์ชื่นชมความสำเร็จของลูกทีม พร้อมกล่าวกับบีบีซีว่า "พวกเรามีความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่แพ้สักเกม และเราเล่นฟุตบอลมีสไตล์ เราสร้างความบันเทิงให้ผู้รักฟุตบอล"[156]

ในเดือนพฤษภาคม อาร์เซนอลเสมอในบ้านสองนัดติดต่อกันต่อเบอร์มิงแฮมซิตีและพอร์ตสมัท ทำให้อาร์เซนอลมี 84 แต้มจาก 36 นัด[157][158][159] นัดถัดมา เรเยสยิงหนึ่งประตูช่วยให้ทีมเอาชนะฟูลัมจากความผิดพลาดของผู้รักษาประตู แอ็ดวิน ฟัน เดอร์ซาร์ "ผู้รักษาประตูชาวดัตช์พยายามพุ่งผ่านกองหน้าของอาร์เซนอล แต่ให้อาร์เซนอลได้ครองบอลแทนและเป็นประตูโล่ง ๆ ที่ง่ายที่สุด"[160] นัดสุดท้ายของฤดูกาลอาร์เซนอลพบเลสเตอร์ซิตีในบ้าน พวกเขาเสียประตูก่อน แต่ก็พลิกกลับมาชนะจากสองประตูของอ็องรีกับวีเยรา จบฤดูกาล พวกเขาชนะ 26 นัด เสมอ 12 นัด และไม่แพ้สักนัด เป็นทีมแรกที่ไม่แพ้ทีมใดตลอดทั้งฤดูกาลนับตั้งแต่ที่เพรสตันนอร์ทเอนด์เคยทำได้ในฤดูกาล 1888–89 เมื่อทบทวนนัดและฤดูกาลทั้งหมดแล้ว เอมี โลแรนซ์แห่ง ดิอับเซิร์ฟเวอร์ เขียนว่า "ความสำเร็จของอาร์เซนอลไม่อาจทำให้พวกเขา 'ยิ่งใหญ่' ในความเห็นของทุกคนได้ ผู้ที่นิยามความยิ่งใหญ่เฉพาะจากถ้วยยุโรป แชมป์ติดต่อกันและตีลังกาสามรอบก่อนทำประตูทุกครั้ง แต่มันน่าประทับใจด้วยตัวมันเอง"[161]

นัด[แก้]

24 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-24) 2มิดเดิลส์เบรอ0–4อาร์เซนอลมิดเดิลส์เบรอ
16:05 BST คูเปอร์ โดนใบเหลือง ใน 25 นาที 25' รายงาน อ็องรี Goal 5'
ชิลเบร์ตู ซิลวา Goal 13'
วีลตอร์ Goal 22'60'
สนามกีฬา: ริเวอร์ไซด์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 29,450 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์
27 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-27) 3อาร์เซนอล2–0แอสตันวิลลาลอนดอน
19:05 BST ตูเร โดนใบเหลือง ใน 40 นาที 40'
แคมป์เบลล์ Goal 57'
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 22 นาที 22'
แบร์คกัมป์ โดนใบเหลือง ใน 80 นาที 80'
อ็องรี Goal 90'
รายงาน เฮนดรี โดนใบเหลือง ใน 16 นาที 16'
ดิเลนีย์ โดนใบเหลือง ใน 18 นาที 18'
อังเฮล โดนใบเหลือง ใน 37 นาที 37'
วิตทิงงัม โดนใบเหลือง ใน 71 นาที 71'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,010 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
31 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-31) 4แมนเชสเตอร์ซิตี1–2อาร์เซนอลแมนเชสเตอร์
16:05 BST โลแรน Goal 10' (o.g.)
บาร์ตัน โดนใบเหลือง ใน 49 นาที 49'
ซอแมย์ โดนใบเหลือง ใน 56 นาที 56'
ทาร์นัท โดนใบเหลือง ใน 74 นาที 74'
ทีแอตโต โดนใบเหลือง ใน 75 นาที 75'
รายงาน โคล โดนใบเหลือง ใน 34 นาที 34'
วีลตอร์ Goal 48'
โลแรน โดนใบเหลือง ใน 59 นาที 59'
ยุงแบร์ย Goal 72', โดนใบเหลือง ใน 73 นาที 73'
สนามกีฬา: ซิตีออฟแมนเชสเตอร์
ผู้ชมในสนาม: 46,436 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
13 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-13) 5อาร์เซนอล1–1พอร์ตสมัทลอนดอน
15:00 BST แคมป์เบลล์ โดนใบเหลือง ใน 10 นาที 10'
อ็องรี Goal 40' (ลูกโทษ)
ตูเร โดนใบเหลือง ใน 40 นาที 40'
รายงาน เชริงงัม Goal 26'
เดอ เซว โดนใบเหลือง ใน 45 นาที 45'
สเตฟานอวิช โดนใบเหลือง ใน 48 นาที 48'
เชมเมิล โดนใบเหลือง ใน 65 นาที 65'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,052 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
21 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-21) 6แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด0–0อาร์เซนอลแมนเชสเตอร์
16:05 BST คีน โดนใบเหลือง ใน 22 นาที 22'
ฟัน นิสเติลโรย โดนใบเหลือง ใน 82 นาที 82'
โรนัลโด โดนใบเหลือง ใน 84 นาที 84'
ฟอร์จูน โดนใบเหลือง ใน 90 นาที 90'
รายงาน ตูเร โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54'
คีโอน โดนใบเหลือง ใน 61 นาที 61'
วีเยรา Yellow card 79' Yellow-red card 81'
สนามกีฬา: โอลด์แทรฟฟอร์ด
ผู้ชมในสนาม: 67,639 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ เบนนิตต์
26 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-26) 7อาร์เซนอล3–2นิวคาสเซิลยูไนเต็ดลอนดอน
20:00 BST อ็องรี Goal 18'80' (ลูกโทษ)
ชิลเบร์ตู ซิลวา Goal 67'
รายงาน รอแบร์ Goal 26', โดนใบเหลือง ใน 66 นาที 66'
แบร์นาร์ Goal 71'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,112 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ไรลีย์
4 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (2003-10-04) 8ลิเวอร์พูล1–2อาร์เซนอลลิเวอร์พูล
12:30 BST Kewell Goal 14'
Bišćan โดนใบเหลือง ใน 67 นาที 67'
Welsh โดนใบเหลือง ใน 85 นาที 85'
รายงาน ฮูเปีย Goal 31' (o.g.)
โคล โดนใบเหลือง ใน 34 นาที 34'
พาร์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 37 นาที 37'
ปีแร็ส Goal 68'
สนามกีฬา: แอนฟีลด์
ผู้ชมในสนาม: 44,374 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
18 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (2003-10-18) 9อาร์เซนอล2–1เชลซีลอนดอน
15:00 BST เอดู Goal 5'
อ็องรี Goal 75'
รายงาน เกรสโป Goal 8'
มาเกเลเล โดนใบเหลือง ใน 11 นาที 11'
ฮัสเซิลบังก์ โดนใบเหลือง ใน 83 นาที 83'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,172 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
26 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (2003-10-26) 10ชาร์ลตันแอธเลติก1–1อาร์เซนอลลอนดอน
14:00 GMT Di Canio Goal 28' (ลูกโทษ)
Parker โดนใบเหลือง ใน 35 นาที 35'
รายงาน โลแรน โดนใบเหลือง ใน 27 นาที 27'
อ็องรี Goal 39'
สนามกีฬา: เดอะแวลลีย์
ผู้ชมในสนาม: 26,660 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ ดันน์
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-01) 11ลีดส์ยูไนเต็ด1–4อาร์เซนอลลีดส์
15:00 GMT แบตตี โดนใบเหลือง ใน 30 นาที 30'
ออแลมเบ โดนใบเหลือง ใน 51 นาที 51'
สมิท Goal 64'
รายงาน อ็องรี Goal 8'33'
ปีแร็ส Goal 18'
ชิลเบร์ตู ซิลวา Goal 50'
สนามกีฬา: เอลแลนด์โรด
ผู้ชมในสนาม: 36,491 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-08) 12อาร์เซนอล2–1ทอตนัมฮอตสเปอร์ลอนดอน
15:00 GMT พาร์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 10 นาที 10'
ปีแร็ส Goal 69'
ยุงแบร์ย Goal 79'
รายงาน แอนเดอร์ตัน Goal 5' โดนใบเหลือง ใน 20 นาที 20'
คอนเชสกี โดนใบเหลือง ใน 14 นาที 14'
ริชาดส์ โดนใบเหลือง ใน 20 นาที 20'
ตาริกโก โดนใบเหลือง ใน 27 นาที 27'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,101 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก แฮลซีย์
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-22) 13เบอร์มิงแฮมซิตี0–3อาร์เซนอลเบอร์มิงแฮม
15:00 GMT ซีเซ โดนใบเหลือง ใน 7 นาที 7' รายงาน ยุงแบร์ย Goal 4'
ตูเร โดนใบเหลือง ใน 14 นาที 14'
เอดู โดนใบเหลือง ใน 78 นาที 78'
แบร์คกัมป์ Goal 80'
ปีแร็ส Goal 88'
สนามกีฬา: เซนต์แอนดรูส์
ผู้ชมในสนาม: 29,588 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-30) 14อาร์เซนอล0–0ฟูลัมลอนดอน
14:00 GMT เอดู โดนใบเหลือง ใน 90 นาที 90' รายงาน แลกแว็งสกี โดนใบเหลือง ใน 57 นาที 57' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,063 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
6 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-06) 15เลสเตอร์ซิตี1–1อาร์เซนอลเลสเตอร์
15:00 GMT เฟอร์ดิแนนด์ โดนใบเหลือง ใน 50 นาที 50'
ฮิกนิตต์ Goal 90'
รายงาน เลมัน โดนใบเหลือง ใน 57 นาที 57'
ชิลเบร์ตู ซิลวา Goal 60'
โคล Red card 73'
สนามกีฬา: วอล์กเกอร์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 32,108 คน
ผู้ตัดสิน: ร็อบ สไตลส์
14 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-14) 16อาร์เซนอล1–0แบล็กเบิร์นโรเวอส์ลอนดอน
14:00 GMT แบร์คกัมป์ Goal 11'
ชิลเบร์ตู ซิลวา โดนใบเหลือง ใน 29 นาที 29'
ซีก็อง โดนใบเหลือง ใน 67 นาที 67'
รายงาน เกร็ชกอ โดนใบเหลือง ใน 6 นาที 6'
เฟอร์กัสสัน โดนใบเหลือง ใน 13 นาที 13'
บับเบิล โดนใบเหลือง ใน 42 นาที 42'
ทอดด์ โดนใบเหลือง ใน 77 นาที 77'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 37,677 คน
ผู้ตัดสิน: แอนดี เดอร์โซ
20 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-20) 17โบลตันวอนเดอเรอส์1–1อาร์เซนอลโบลตัน
15:00 GMT กัมโป โดนใบเหลือง ใน 52 นาที 52'
โนลัน โดนใบเหลือง ใน 58 นาที 58'
Pedersen Goal 83'
รายงาน วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54'
ปีแร็ส Goal 57'
อ็องรี โดนใบเหลือง ใน 64 นาที 64'
สนามกีฬา: สนามกีฬารีบอค
ผู้ชมในสนาม: 28,003 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
26 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-26) 18อาร์เซนอล3–0วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ลอนดอน
12:00 GMT แครดด็อก Goal 13' (o.g.)
อ็องรี Goal 20'89'
อาลียาเดียร์ โดนใบเหลือง ใน 73 นาที 73'
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 75 นาที 75'
รายงาน บัตเลอร์ โดนใบเหลือง ใน 12 นาที 12'
เร โดนใบเหลือง ใน 28 นาที 28'
อินซ์ โดนใบเหลือง ใน 66 นาที 66'
เนย์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 79 นาที 79'
ลุชนี โดนใบเหลือง ใน 80 นาที 80'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,003 คน
ผู้ตัดสิน: ฟิล ดาวด์
29 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-29) 19เซาแทมป์ตัน0–1อาร์เซนอลเซาแทมป์ตัน
20:00 GMT มักแคนน์ โดนใบเหลือง ใน 87 นาที 87' รายงาน ปีแร็ส Goal 35' สนามกีฬา: เซนต์แมรีส์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 32,151 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ ดันน์
7 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-07) 20เอฟเวอร์ตัน1–1อาร์เซนอลลิเวอร์พูล
20:00 GMT ราจินสกี Goal 75' รายงาน พาร์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 22 นาที 22'
คานู Goal 29'
โลแรน โดนใบเหลือง ใน 45 นาที 45'
ยุงแบร์ย โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54'
สนามกีฬา: กูดิสันพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 38,726 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
10 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-10) 21อาร์เซนอล4–1มิดเดิลส์เบรอลอนดอน
15:00 GMT ชิลเบร์ตู ซิลวา โดนใบเหลือง ใน 20 นาที 20'
อ็องรี Goal 38' (ลูกโทษ)
เกอดรูว์ Goal 45' (o.g.)
ปีแร็ส Goal 57'
ยุงแบร์ย Goal 68'
รายงาน ดูรีวา โดนใบเหลือง ใน 30 นาที 30'
มัคคาโรเน Goal 86' (ลูกโทษ)
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,117 คน
ผู้ตัดสิน: แอนดี เดอร์โซ
18 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-18) 22แอสตันวิลลา0–2อาร์เซนอลเบอร์มิงแฮม
14:00 GMT ดิเลนีย์ โดนใบเหลือง ใน 29 นาที 29'
เม็ลแบร์ย โดนใบเหลือง ใน 34 นาที 34'
วิตทิงงัม โดนใบเหลือง ใน 45 นาที 45'
แบร์รี โดนใบเหลือง ใน 59 นาที 59'
รายงาน อ็องรี Goal 29'53' (ลูกโทษ)
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 55 นาที 55'
สนามกีฬา: วิลลาพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 39,380 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก แฮลซีย์
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-01) 23อาร์เซนอล2–1แมนเชสเตอร์ซิตีลอนดอน
16:05 GMT ทาร์นัท Goal 7' (o.g.), โดนใบเหลือง ใน 37 นาที 37'
พาร์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 63 นาที 63'
อ็องรี Goal 83'
โคล โดนใบเหลือง ใน 90 นาที 90'
รายงาน บาร์ตัน โดนใบเหลือง ใน 60 นาที 60'
ซิงแคลร์ โดนใบเหลือง ใน 84 นาที 84'
อาแนลกา Goal 89', Red card 90'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,103 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-10) 25อาร์เซนอล2–0เซาแทมป์ตันลอนดอน
19:45 GMT อ็องรี Goal 31'90'
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 38 นาที 38'
พาร์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 63 นาที 63'
รายงาน แบร์ด โดนใบเหลือง ใน 71 นาที 71'
สเว็นซอน โดนใบเหลือง ใน 90 นาที 90'
อันต์ตี นิเอมี โดนใบเหลือง ใน 90 นาที 90'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,007 คน
ผู้ตัดสิน: นีล แบร์รี
21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-21) 26เชลซี1–2อาร์เซนอลลอนดอน
12:30 GMT กวึดยอนแซน Goal 1' Yellow card 42' Yellow-red card 60'
มูตู โดนใบเหลือง ใน 51 นาที 51'
เทร์รี โดนใบเหลือง ใน 67 นาที 67'
แลมพาร์ด โดนใบเหลือง ใน 67 นาที 67'
รายงาน วีเยรา Goal 15'
เอดู Goal 21'
โลแรน โดนใบเหลือง ใน 60 นาที 60'
อ็องรี โดนใบเหลือง ใน 90 นาที 90'
สนามกีฬา: สแตมฟอร์ดบริดจ์
ผู้ชมในสนาม: 41,847 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ไรลีย์
28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-28) 27อาร์เซนอล2–1ชาร์ลตันแอธเลติกลอนดอน
15:00 GMT ปีแร็ส Goal 2'
อ็องรี Goal 4'
รายงาน เยินเซิน Goal 59' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,137 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
13 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-13) 28แบล็กเบิร์นโรเวอส์0–2อาร์เซนอลแบล็กเบิร์น
15:00 GMT Andresen โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54' รายงาน อ็องรี Goal 57'
เอดู โดนใบเหลือง ใน 73 นาที 73'
ปีแร็ส Goal 87'
สนามกีฬา: อีวุดพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 28,627 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
20 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-20) 29อาร์เซนอล2–1โบลตันวอนเดอเรอส์ลอนดอน
15:00 GMT ปีแร็ส Goal 16'
แบร์คกัมป์ Goal 24'
โคล โดนใบเหลือง ใน 62 นาที 62'
รายงาน โนลัน โดนใบเหลือง ใน 30 นาที 30'
กัมโป Goal 41'
เพเดอร์เซิน โดนใบเหลือง ใน 85 นาที 85'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,053 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
28 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-28) 30อาร์เซนอล1–1แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดลอนดอน
16:05 BST อ็องรี Goal 50'
กลีชี โดนใบเหลือง ใน 70 นาที 70'
รายงาน สโกลส์ โดนใบเหลือง ใน 25 นาที 25'
ซาอา Goal 86'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,184 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
9 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-09) 31อาร์เซนอล4–2ลิเวอร์พูลลอนดอน
12:30 BST โคล โดนใบเหลือง ใน 29 นาที 29'
อ็องรี Goal 31'50'78'
ปีแร็ส Goal 49'
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 65 นาที 65'
โลแรน โดนใบเหลือง ใน 73 นาที 73'
รายงาน ฮือปิแอ Goal 5'
โอเวน Goal 42'
ดียุฟ โดนใบเหลือง ใน 83 นาที 83'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,119 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
11 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-11) 32นิวคาสเซิลยูไนเต็ด0–0อาร์เซนอลนิวคาสเซิลอะพอนไทน์
16:05 BST รายงาน วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 5 นาที 5' สนามกีฬา: เซนต์เจมส์พาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 52,141 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
16 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-16) 33อาร์เซนอล5–0ลีดส์ยูไนเต็ดลอนดอน
20:00 BST ปีแร็ส Goal 6'
อ็องรี Goal 27'33' (ลูกโทษ)50'67'
รายงาน สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,094 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์
25 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-25) 34ทอตนัมฮอตสเปอร์2–2อาร์เซนอลลอนดอน
16:05 BST เรดแนปป์ โดนใบเหลือง ใน 58 นาที 58', Goal 62'
คีน Goal 90+4' (ลูกโทษ)
รายงาน วีเยรา Goal 3'
ปีแร็ส Goal 35'
เลมัน โดนใบเหลือง ใน 90 นาที 90'
สนามกีฬา: ไวต์ฮาร์ตเลน
ผู้ชมในสนาม: 36,097 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก ฮอลซีย์
1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-01) 35อาร์เซนอล0–0เบอร์มิงแฮมซิตีลอนดอน
12:30 BST รายงาน จอห์นสัน โดนใบเหลือง ใน 16 นาที 16'
แซวิจ โดนใบเหลือง ใน 49 นาที 49'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,061 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
4 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-04) 36พอร์ตสมัท1–1อาร์เซนอลพอร์ตสมัท
20:00 BST ยาคูบู Goal 30' รายงาน แคมป์เบลล์ โดนใบเหลือง ใน 42 นาที 42'
เรเยส Goal 50'
พาร์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 49 นาที 49'
สนามกีฬา: แฟรตตันพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 20,140 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ไรลีย์
9 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-09) 37ฟูลัม0–1อาร์เซนอลลอนดอน
16:05 BST เดวิส โดนใบเหลือง ใน 89 นาที 89' รายงาน เรเยส Goal 9'
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 52 นาที 52'
อ็องรี โดนใบเหลือง ใน 69 นาที 69'
พาร์เลอร์ โดนใบเหลือง ใน 84 นาที 84'
สนามกีฬา: ลอฟตัสโรด
ผู้ชมในสนาม: 18,102 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
15 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-15) 38อาร์เซนอล2–1เลสเตอร์ซิตีลอนดอน
14:00 BST อ็องรี Goal 47' (ลูกโทษ)
วีเยรา Goal 66'
รายงาน ดิกคอฟ Goal 26'
ซิงแคลร์ โดนใบเหลือง ใน 47 นาที 47'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,419 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน

ตารางคะแนน[แก้]

อันดับ
สโมสร
แข่ง
ชนะ
เสมอ
แพ้
ได้
เสีย
ผลต่าง
คะแนน
ได้รับคัดเลือก หรือ ตกชั้น
1 อาร์เซนอล (C) 38 26 12 0 73 26 +47 90 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004–05 รอบแบ่งกลุ่ม
2 เชลซี 38 24 7 7 67 30 +37 79
3 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 38 23 6 9 64 35 +29 75 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004–05 รอบคัดเลือกรอบสาม
4 ลิเวอร์พูล 38 16 12 10 55 37 +18 60
5 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 38 13 17 8 52 40 +12 56 ยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2004–05 รอบแรก

แหล่งข้อมูล: [162]
กฎการจัดอันดับ: 1) คะแนน; 2) ผลต่างประตู; 3) ประตูรวม
(C) = ชนะเลิศ; (R) = ตกชั้น; (P) = เลื่อนชั้น; (O) = ผู้ชนะจากรอบคัดเลือก; (A) = ผ่านเข้ารอบต่อไป
ใช้ได้เฉพาะเมื่อฤดูกาลยังไม่สิ้นสุด:
(Q) = ได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขันในระยะของทัวร์นาเมนต์ที่ระบุ; (TQ) = ได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขัน แต่ยังไม่อยู่ในระยะที่ระบุ; (DQ) = ถูกตัดสิทธิ์จากทัวร์นาเมนต์

ผลแต่ละรอบ[แก้]

นัดที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38
สนาม H A H A H A H A H A A H A H A H A H A A H A H A H A H A H H H A H A H A A H
ผล W W W W D D W W W D W W W D D W D W W D W W W W W W W W W D W D W D D D W W
อันดับที่ 4 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 2 2 1 1 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1

อ้างอิง: [163]
สนาม: A = เยือน; H = เหย้า ผล: D = เสมอ; L = แพ้; W = ชนะ; P = เลื่อนการแข่งขัน

เอฟเอคัพ[แก้]

เอฟเอคัพเป็นการแข่งขันถ้วยหลักของฟุตบอลอังกฤษ จัดครั้งแรกในปี 1871–72 โดยมี 15 ทีมเข้าแข่งขัน[164] การเติบโตของกีฬาฟุตบอลและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการแข่งขันทำให้ในปี 2000 มีกว่า 600 ทีมเข้าร่วม[165] สโมสรในพรีเมียร์ลีกเข้าสู่เอฟเอคัพในรอบสามและถูกจับสุ่มออกจากหมวกด้วยสโมสรที่เหลือ หากผลเสมอทั้งสองทีมต้องเล่นใหม่ เดิมเล่นที่สนามของทีมเยือนของเกมแรก ด้วยกำหนดการลีก นัดเอฟเอคัพจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่เกมได้รับคัดเลือกให้ออกอากาศทางโทรทัศน์และอาจชนกับการแข่งขันอื่นได้[166] ในกรณีของอาร์เซนอล มีการออกอากาศการแข่งขันทุกนัดยกเว้นนัดที่เสมอ (รอบที่สี่) ต่อผู้ชมบริติช[167][168][169][170]

อาร์เซนอลเข้าสู่ฤดูกาล 2003–04 ในฐานะแชมป์เก่า ทีมไร่พ่ายในการแข่งขันถ้วย 14 นัดนับแต่นัดที่แพ้ลิเวอร์พูล 2–1 ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 2001 และหวังชนะการแข่งขันเป็นฤดูกาลที่สามติดต่อกัน ซึ่งครั้งสุดท้ายสโมสรแบล็กเบิร์นโรเวอส์เคยทำไว้ตั้งแต่ปี 1884 ถึง 1886[171] อ็องรีเชื่อว่ารูปแบบการเล่นที่ดีของอาร์เซนอลในบอลถ้วยแสดงว่าพวกเขา "สนใจ" ในการแข่งขันและหวังว่าความสำเร็จของพวกเขาจะยังอยู่ต่อไป[171] เอฟเอคัพอยู่ไม่สูงในรายการลำดับความสำคัญของแวงแกร์ "พรีเมียร์ลีกและแชมเปียนลีกสำคัญกว่า" แต่เขาขยายความว่าไม่ได้หมายความว่าอาร์เซนอลจะละเลยการแข่งขันนี้ "คุณชนะเท่าที่ได้และไปให้ไกลที่สุด"[172]

Arsenal opened their FA Cup campaign at Elland Road, where they played Leeds United; the match ended 4–1 in the visitors' favour.
ภาพถ่ายเรวี สแตนด์ที่เอลแลนด์โรดปี 2007 ที่ที่อาร์เซนอลพบลีดส์ยูไนเต็ดในรอบที่สาม

อาร์เซนอลถูกจับสลากให้พบกับลีดส์ยูไนเต็ดแบบเยือนในรอบที่สาม มีการเล่นในสุดสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม[173] แวงแกร์เปลี่ยนตัวผู้เล่นหกตำแหน่งซึ่งเริ่มที่เซาท์แทมป์ตันในลีก ได้แก่ โคลแทนกลีชีเป็นกองหลังซ้ายหลังโทษพักเล่น 3 นัด หลังผ่านไป 8 นาที ลีดส์ขึ้นนำก่อนเมื่อลูกที่สกัดไม่หลุดของเลมันชนกองหน้า มาร์ก วิดูกา และกระดอนกลับเข้าตาข่าย[174] อาร์เซนอลตีเสมอได้ด้วยประตูของอ็องรี ซึ่งเปลี่ยนทิศทางลูกส่งข้ามของยุงแบร์ยจากฝั่งขวาด้วยวอลเลย์[174] อาร์เซนอลได้ประตูเพิ่มจากเอดู, ปีแร็ส และตูเร ทำให้อาร์เซนอลชนะ 4–1 ประตูต่อลีดส์เป็นครั้งที่สามติดต่อกันในเอลแลนด์โรด[174] ที่บ้านของมิดเดิลสเบรอในรอบที่สี่ แบร์คกัมป์ยิงประตูให้อาร์เซนอลขึ้นนำก่อนหลังการเล่นที่ดีจากพาร์เลอร์;[175] โฌแซ็ฟ-เดซีเร ฌอบ ยิงประตูตีเสมอให้ทีมเยือนอีกสี่นาทีถัดมา[175] แต่ยุงแบร์ยทำประตูทำให้อาร์เซนอลขึ้นนำอีกครั้งจากลูกยิงนอกกรอบเขตโทษ และยิงประตูที่สองเป็นลูกตรงจากการเตะมุม[175] จอร์จ โบอาเท็ง จากทีมเยือนถูกส่งออกจากสนามในนาทีที่ 86 จากใบเหลืองใบที่สอง และตัวสำรอง เดวิด เบนต์ลีย์ ยิงประตูที่สี่ให้อาร์เซนอล โดยชิปบอลข้ามผู้รักษาประตู ชวาร์ทเซอร์ ในนาทีสุดท้ายของเวลาปกติ[175]

ในรอบที่ห้า อาร์เซนอลพบเชลซีที่ไฮบรี ห้านาทีก่อนหมดครึ่งแรก กองหน้า อาดรีอัน มูตู ยิงให้เชลซีขึ้นนำก่อนจากลูกยิงระยะ 20 หลา[176] เรเยสซึ่งลงมาแทนอ็องรีเป็นตัวจริงในนัดนี้ ยิงไกลเข้าประตูตีเสมอให้กับเจ้าบ้าน[176] เขาวิ่งแข่งผู้รักษาประตูซัลลิวันเพื่อยิงประตูที่สองซึ่งเป็นประตูชัยของนัดนี้[176] รอบก่อนรองชนะเลิศเป็นการพบกับพอร์ตสมัทที่แฟรตตันพาร์กในวันที่ 6 มีนาคม 2004 อ็องรีเปิดเกมด้วยการทำประตูในนาทีที่ 25 และยิงเข้าอีกประตู และยุงแบร์ยกับตูเรยิงเข้าอีกคนละประตู ผ่านเข้าเป็นสี่ทีมสุดท้ายของการแข่งขัน[177] ผู้สื่อข่าว เดอะการ์เดียน เควิน แม็กคารา ผู้ตื่นเต้นกับการเล่นของทีมเยือน ยกย่องเอดูว่า "อาร์เซนอลดำเนินตามปรัชญาของอายักซ์ที่ผู้เล่นสับเปลี่ยนตำแหน่งและเปลี่ยนจุดบุกเรื่อย ๆ ก่อนสะกดสายตาของเกมรับ"[177]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นคู่แข่งของอาร์เซนอลในรอบรองชนะเลิศ จัดที่วิลลาพาร์กเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2004 ทั้งสองทีมเสมอกันในลีกเมื่อวันอาทิตย์ก่อน แต่เนื่องจากนี่เป็นนัดเพื่อตำแหน่งในรอบชิงชนะเลิศ เดิมพันจึงสูงกว่ามาก กองหลังของยูไนเต็ด แกรี เนวิล อธิบายเกมนี้ว่าเป็นเกม "สำคัญที่สุด" ของทีมเขาในฤดูกาลนี้หลังตกรอบแชมเปียนลีกและเขามองว่า "ตามหลังเกินไป" ในพรีเมียร์ลีก[178] แวงแกร์ให้อ็องรีได้พัก เมื่อพิจารณากำหนดการแข่งขันแน่นของทีมในอนาคต แม้อาร์เซนอลเริ่มเกมได้ดีกว่า แต่กองกลางของยูไนเต็ด พอล สโกลส์ เป็นผู้ทำประตูชัยประตูเดียวของเกมนั้นและทำให้ทีมผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ[179]

4 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-04) รอบที่สามลีดส์ยูไนเต็ด1–4อาร์เซนอลลีดส์
16:05 GMT วิดูกา Goal 8'
Bakke โดนใบเหลือง ใน 36 นาที 36'
สมิท โดนใบเหลือง ใน 42 นาที 42'
รายงาน อ็องรี Goal 26'
เอดู Goal 33'
ชิลเบร์ตู ซิลวา โดนใบเหลือง ใน 84 นาที 84'
ปีแร็ส Goal 87'
ตูเร Goal 90'
สนามกีฬา: Elland Road
ผู้ชมในสนาม: 31,207 คน
ผู้ตัดสิน: ร็อบ สไตลส์
24 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-24) รอบที่สี่อาร์เซนอล4–1มิดเดิลส์เบรอลอนดอน
15:00 GMT แบร์คกัมป์ Goal 19'
ยุงแบร์ย Goal 28'68'
เบนต์ลีย์ Goal 90'
รายงาน ฌอบ Goal 23'
แซ็นเดิน โดนใบเหลือง ใน 84 นาที 84'
ริกกอตต์ โดนใบเหลือง ใน 84 นาที 84'
Parnaby โดนใบเหลือง ใน 56 นาที 56'
โบอาเท็ง Yellow card 84' Yellow-red card 85'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 37,256 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-15) รอบที่ห้าอาร์เซนอล2–1เชลซีลอนดอน
12:30 GMT แคมป์เบลล์ โดนใบเหลือง ใน 7 นาที 7'
ชิลเบร์ตู ซิลวา โดนใบเหลือง ใน 34 นาที 34'
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 45 นาที 45'
เรเยส Goal 56'61'
รายงาน แม็ลคีโยต โดนใบเหลือง ใน 16 นาที 16'
มูตู โดนใบเหลือง ใน 25 นาที 25', Goal 40'
มาเกเลเล โดนใบเหลือง ใน 29 นาที 29'
ฮัสเซิลบังก์ โดนใบเหลือง ใน 60 นาที 60'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,136 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
6 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-06) รอบก่อนรองชนะเลิศพอร์ตสมัท1–5อาร์เซนอลพอร์ตสมัท
18:00 GMT เชริงงัม Goal 90' รายงาน อ็องรี Goal 25'50'
ยุงแบร์ย Goal 43'57'
ตูเร Goal 43'
สนามกีฬา: แฟรตตันพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 20,137 คน
ผู้ตัดสิน: เจฟฟ์ วินเตอร์
3 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-03) รอบรองชนะเลิศอาร์เซนอล0–1แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเบอร์มิงแฮม
12:00 GMT ปีแร็ส โดนใบเหลือง ใน 29 นาที 29'
เลมัน โดนใบเหลือง ใน 52 นาที 52'
ตูเร โดนใบเหลือง ใน 78 นาที 78'
โลแรน โดนใบเหลือง ใน 80 นาที 80'
รายงาน สโกลส์ Goal 32', โดนใบเหลือง ใน 73 นาที 73' สนามกีฬา: วิลลาพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 39,939 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; แดง = คู่แข่งชนะ

ฟุตบอลลีกคัพ[แก้]

ฟุตบอลลีกคัพเป็นการแข่งขันถ้วยที่เปิดแก่สโมสรในพรีเมียร์ลีกและฟุตบอลลีก แข่งแบบแพ้คัดออกเช่นเดียวกับเอฟเอคัพ โดยยกเว้นรอบรองชนะเลิศซึ่งแข่งสองผลัด ระยะเวลาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมของแวงแกร์ที่อาร์เซนอล เขาใช้การแข่งขันให้ผู้เล่นอายุน้อยและมีชื่อเสียงน้อยกว่าลงเล่น ซึ่งเขาและเฟอร์กูสันถูกวิจารณ์ทีแรกในปี 1997[180] แม้เฟอร์กูสันรู้สึกว่าเป็นสิ่งไขว้เขวไม่พึงปรารถนาในขณะนั้น แต่แวงแกร์กล่าวว่า "หากการแข่งขันต้องการอยู่รอด จะต้องให้สิ่งจูงใจเป็นตำแหน่งในยุโรป [การแข่งขันต่าง ๆ ของยูฟ่า]"[181][182] ผู้ชนะลีกคัพในฤดูกาล 2003–04 จะได้เข้าไปเล่นยูฟ่าคัพ ยกเว้นได้รับสิทธิแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจากอันดับในลีก[183] นัดลีกคัพสามารถเปลี่ยนได้ในกรณีมีการเลือกเกมออกอากาศ ลมฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย และการแข่งขันชนที่อาจเกิดขึ้น ทุกรอบยกเว้นรอบชิงชนะเลิศเล่นกลางสัปดาห์[184]

อาร์เซนอลเข้าสู่ลีกคัพในรอบที่สาม และถูกจับสลากเล่นที่บ้านของรอเทอรัมยูไนเต็ด[185] แวงแกร์ให้กองกลาง เซสก์ ฟาเบรกัส ลงเล่นนัดแรกเมืออายุได้ 16 ปี 177 วัน จนถึงปี 2016 เขายังเป็นผู้เล่นอายุน้อยสุดที่ลงเล่นให้สโมสร[186] อาร์เซนอลนำตั้งแต่นาทีที่ 11 จากประตูของอาลียาเดียร์ แต่เสียประตูตีเสมอในช่วงท้ายเกมทำให้ต้องต่อเวลา[187] ผู้รักษาประตูรอเทอรัม ไมก์ พอลลิตต์ ถูกไล่ออกจากสนามเพราะถือบอลนอกกรอบเขตโทษ ส่วนตัวสำรอง แกรี มอนต์กอเมอรี ป้องกันประตูชัยของวีลตอร์ได้ เนื่องจากไม่มีทีมใดยิงประตูเพิ่มได้ จึงตัดสินด้วยจุดโทษซึ่งอาร์เซนอลชนะ 9–8[187] อาร์เซนอลชนะคู่แข่งจากดิวิชันวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ในรอบที่สี่ วีเยราซึ่งไม่ได้ลงเล่นจากอาการบาดเจ็บในเดือนกันยายนและตุลาคม กลับมาลงเล่นให้ทีมครั้งแรกและเล่นเต็มเวลา[188]

ในรอบที่ห้า อาร์เซนอลเดินทางไปเดอะฮอว์ทอนส์พบกับเวสต์บรอมมิชอัลเบียน แวงแกร์เพิ่มนักฟุตบอลมากประสบการณ์เป็นตัวสำรองเพื่อลงแทนเยาวชน โดยมีชื่อของพาร์เลอร์, เอดู, คานู และคีโอน อาร์เซนอลขึ้นนำในนาทีที่ 25 จากคานู ลูกยิงข้ามจากฝั่งขวามือของโลแรนถูกเปลี่ยนทิศทางสู่คานู[189] ผู้รักษาประตู รัสเซลล์ โฮลต์ ป้องกันลูกโหม่งของเขา แต่ไม่สามารถรับลูกยิงที่กระดอนมาเข้าตาข่าย อาลียาเดียร์ทำประตูที่สองของอาร์เซนอลในนัดนี้หลัง โฮลต์เตะลูกทิ้งไม่ดี[189]

อาร์เซนอลออกจากการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศที่พบกับมิดเดิลส์เบรอ ที่ไฮบรีอันเป็นที่แข่งขันผลัดแรก ฌูนิญญูยิงประตูเดียวในนัดนั้น[190] ความพยายามผ่านเข้ารอบของอาร์เซนอลยากขึ้นเมื่อคีโอนถูกไล่ออกจากสนามในผลัดสอง และเบาเดอไวน์ แซ็นเดิน ยิงประตูเพิ่มให้มิดเดิลส์เบรอ แม้เอดูจะยิงประตูตีเสมอให้อาร์เซนอลในคืนนั้น แต่การทำเข้าประตูตัวเองของเรเยสทำให้มิดเดิลส์เบรอชนะ[191] แวงแกร์ออกความเห็นถึงผลการแข่งขันว่า "ผมไม่คิดว่าเราสมควรแพ้ แม้เมื่อเราเหลือผู้เล่น 10 คน เราก็กำลังเล่นเกม"[191]

2 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-02) รอบที่สี่อาร์เซนอล5–1วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ลอนดอน
19:45 GMT อาลียาเดียร์ Goal 24'71'
ซิเม็ก โดนใบเหลือง ใน 35 นาที 35'
ตัฟลารีดิส โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54'
คานู Goal 68'
วีลตอร์ Goal 79'
ฟาเบรกัส Goal 88'
รายงาน เบลก โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54'
กวึดโยนซอน โดนใบเหลือง ใน 72 นาที 72'
เร Goal 81'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 28,161 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์
16 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-16) รอบที่ห้าเวสต์บรอมมิชอัลเบียน0–2อาร์เซนอลเวสต์บรอมมิช
20:00 GMT รายงาน คานู Goal 25'
ตัฟลารีดิส โดนใบเหลือง ใน 34 นาที 34'
อาลียาเดียร์ Goal 57'
สนามกีฬา: เดอะฮอว์ทอนส์
ผู้ชมในสนาม: 20,369 คน
ผู้ตัดสิน: แมตต์ เมสไซอัส
20 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-20) รอบรองชนะเลิศ (เลกแรก)อาร์เซนอล0–1มิดเดิลส์เบรอลอนดอน
19:45 GMT รายงาน ฌูนิญญู โดนใบเหลือง ใน 14 นาที 14', Goal 53'
เกอดรูว์ โดนใบเหลือง ใน 64 นาที 64'
มิลส์ โดนใบเหลือง ใน 71 นาที 71'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 31,070 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ ดันน์
3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-03) รอบรองชนะเลิศ (เลกที่สอง)มิดเดิลส์เบรอ2–1
(3–1 ผลประตูรวม)
อาร์เซนอลมิดเดิลส์เบรอ
20:00 GMT เกอดรูว์ โดนใบเหลือง ใน 60 นาที 60'
แซ็นเดิน Goal 69'
เรเยส Goal 85' (o.g.)
รายงาน คีโอน Red card 45'
เบนต์ลีย์ โดนใบเหลือง ใน 73 นาที 73'
เอดู Goal 77'
สนามกีฬา: ริเวอร์ไซด์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 28,781 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[แก้]

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรของทวีปยุโรปที่ยูฟ่าจัด ก่อตั้งในคริสต์ทศวรรษ 1950 ในชื่อ "ยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ" การแข่งขันเปิดให้กับสโมสรแชมเปียนของแต่ละประเทศและจัดแบบทัวร์นาเมนต์แพ้คัดออก[192] การเติบโตของสิทธิโทรทัศน์ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ให้รวมรอบแบ่งกลุ่มและอนุญาตให้ประเทศหนึ่งมีสโมสรเข้าแข่งขันได้หลายสโมสร[192][193] อาร์เซนอลผ่านเข้าไปเล่นในแชมเปียนส์ลีกทุกฤดูกาลตั้งแต่ฤดูกาล 1998–99 แต่สโมสรไม่เคยไปไกลเกินรอบก่อนรองชนะเลิศ[194] ก่อนการแข่งขัน แวงแกร์ประเมินว่าทีมเขาจำเป็นต้องทำผลงานในเกมเหย้าว่า "เราโตพอแล้ว และเราต้องเพิ่มประกายเล็กน้อยเพื่อสร้างความแตกต่าง"[194]

รอบแบ่งกลุ่ม[แก้]

A placard advertising Arsenal's opening match in the Champions League against Inter Milan of Italy.
ประกาศนอกไฮบรีแจ้งนัดที่อาร์เซนอลจะพบกับอินเตอร์มิลาน

อาร์เซนอลถูกจับสลากอยู่กลุ่มบี ร่วมกับสโมสรอิตาลีอินเตอร์มิลาน, โลโกโมติฟมอสโกแห่งรัสเซียและดีนาโมคียิวของยูเครน[195] แวงแกร์เชื่อว่าการเดินทางไปยุโรปตะวันออกคุกคามโอกาสชนะพรีเมียร์ลีกของทีม "ทีมอังกฤษอื่นมีกลุ่มที่สบายกว่าเรา การไปรัสเซียมันยาก ผมบอกเสมอถ้าคุณต้องเดินทางมากกว่าสองชั่วโมงมันยาก บางทีผู้เล่นจ่ายราคาแพงในเกมหลังนัดแชมเปียนส์ลีก"[196]

อาร์เซนอลประเดิมแชมเปียนส์ลีกด้วยการแพ้ 3–0 ต่ออินเตอร์มิลานซึ่งได้ประตูจากฮูลิโอ ริการ์โด กรุซ, แอ็นดี ฟัน เดอร์ไมเดอ และโอบาเฟมี มาร์ตินส์ ในครึ่งแรกทั้งหมด ทำให้อาร์เซนอลได้สถิติแพ้ในบ้านในแชมเปียนส์ลีกเป็นนัดที่หกติดต่อกัน[197] แวงแกร์กล่าวหลังจากนั้นว่า "เราสามารถบ่นและร้องไห้ได้ทั้งคืน แต่มันจะไม่เปลี่ยนแปลงผล สิ่งเดียวที่เราทำได้คือโต้ตอบ"[198] ทีมอาร์เซนอลซึ่งไม่มีแคมป์เบลล์และวีเยราเสมอในนัดที่ไปเยือนโลโคโมติฟมอสโก แต่ยังอยู่ท้ายตาราง[199] อาร์เซนอลแพ้ดีนาโมคียิวในปลายเดือนตุลาคม การตัดสินใจของแวงแกร์เปลี่ยนจากรูปขบวน 4–4–2 ที่เขานิยมทำให้ทีมเล่นแคบกว่าปกติ[200] โคลทำประตูชัยในนัดเล่นที่ไฮบรีพบดีนาโมคียิว ลูกยิงข้ามจากวีลตอร์ถูกอ็องรีปักไปทางโคลที่กำลังพุ่งเข้ามา แล้วโหม่งบอลข้ามผู้รักษาประตู ออเลคซันดร์ ชอฟคอฟสกีย์[201]

ทีมทำประตูได้สี่ประตูในครึ่งหลังที่พบกับอินเตอร์มิลานและชนะ 5–1 แวงแกร์รู้สึกว่าผลนี้แสดงถึง "...ความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นพิเศษในทีม" ส่วนโคลเปรียบเทียบว่าเหมือนชัยของอังกฤษต่อเยอรมนีในปี 2001 แต่เสริมว่า "นี่ดีกว่าอีก"[202] อาร์เซนอลชนะโลโคโมติฟมอสโก 2–0 เป็นแชมป์กลุ่มบี เจค็อบ เล็กเกโท ถูกไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 8 ทำให้ทีมเยือนแข่งในเวลาที่เหลือด้วยผู้เล่นสิบคน[203]

กลุ่มบี
ทีม แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน
อังกฤษ อาร์เซนอล 6 3 1 2 9 6 +3 10
รัสเซีย โลโคโมติฟมอสโก 6 2 2 2 7 7 0 8
อิตาลี อินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน 6 2 2 2 8 11 −3 8
ยูเครน ดีนาโมคียิว 6 2 1 3 8 8 0 7
17 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-17) 1อาร์เซนอล อังกฤษ0–3อิตาลี อินแตร์นาซีโอนาเลลอนดอน อังกฤษ
19:45 BST รายงาน กรุซ Goal 22'
ฟัน เดอร์ไมเดอ Goal 24'
มาร์ตินส์ Goal 41'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 34,393 คน
ผู้ตัดสิน: มานูเอล เมฆูโต กอนซาเลซ (สเปน)
30 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-30) 2โลโคโมติฟมอสโก รัสเซีย0–0อังกฤษ อาร์เซนอลมอสโก รัสเซีย
18:30 MSD นีเจโกโรดอฟ โดนใบเหลือง ใน 79 นาที 79' รายงาน สนามกีฬา: สนามกีฬาโลโคโมติฟ
ผู้ชมในสนาม: 30,000 คน
ผู้ตัดสิน: ยัน เวเคอเรฟ (เนเธอร์แลนด์)
21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (2003-10-21) 3ดีนาโมคียิว ยูเครน2–1อังกฤษ อาร์เซนอลเคียฟ ยูเครน
20:45 EET ชัตสกิค Goal 27'
เบียลเควิช Goal 64'
รายงาน อ็องรี Goal 80' สนามกีฬา: โอลิมปิสกี
ผู้ชมในสนาม: 80,000 คน
ผู้ตัดสิน: ค็อนราท เพลาทซ์ (ออสเตรีย)
5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-05) 4อาร์เซนอล อังกฤษ1–0ยูเครน ดีนาโมคียิวลอนดอน อังกฤษ
19:45 GMT ซิลวา โดนใบเหลือง ใน 27 นาที 27'
ตูเร โดนใบเหลือง ใน 74 นาที 74'
โคล Goal 88'
รายงาน เลคอ โดนใบเหลือง ใน 37 นาที 37' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 34,419 คน
ผู้ตัดสิน: ลูซียู บาติชตา (โปรตุเกส)
10 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-10) 6อาร์เซนอล อังกฤษ2–0รัสเซีย โลโคโมติฟมอสโกลอนดอน อังกฤษ
19:45 GMT ปีแร็ส Goal 12'
วีเยรา โดนใบเหลือง ใน 14 นาที 14'
ยุงแบร์ย Goal 67'
รายงาน เอฟเซเยฟ โดนใบเหลือง ใน 38 นาที 38'
เล็กเกโท Yellow card 8' Yellow-red card '
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 35,343 คน
ผู้ตัดสิน: ยูบ็อช มิเค็ลย์ (สโลวาเกีย)

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

รอบแพ้คัดออก[แก้]

รอบ 16 ทีมสุดท้าย[แก้]

อาร์เซนอลถูกจับคู่พบเซลตา เด บิโกในรอบ 16 ทีมสุดท้าย และผลัดแรกจัดที่บาลาอิโดส[204] แม้เสียสองประตูจากลูกตั้งเตะ แต่อาร์เซนอลทำประตูคืนได้สามประตูทำให้ชนะนัดนั้น ทำให้ทีมอยู่ในสถานะได้เปรียบตามกฎประตูทีมเยือน[205] นัดถัดมาในวันที่ 10 มีนาคม 2004 อาร์เซนอลผ่านเข้ารอบโดยชนะ 2–0 ที่อ็องรีเป็นผู้ทำประตูทั้งสองลูก[206]

24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-24) เลกแรกเซลตา บิโก สเปน2–3อังกฤษ อาร์เซนอลบิโก สเปน
20:45 CET เอดู Goal 27'
ซิลวิญญู โดนใบเหลือง ใน 45 นาที 45'
โฆเซ อิกนาซิโอ Goal 64'
รายงาน เอดู Goal 18'58', โดนใบเหลือง ใน 87 นาที 87'
ปีแร็ส Goal 80'
อ็องรี โดนใบเหลือง ใน 88 นาที 88'
สนามกีฬา: บาลาอิโดส
ผู้ชมในสนาม: 21,000 คน
ผู้ตัดสิน: อันเดิร์ส ฟริสก์ (สวีเดน)
10 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-10) เลกที่สองอาร์เซนอล อังกฤษ2–0
(5–2 ผลประตูรวม)
สเปน เซลตา บิโกลอนดอน อังกฤษ
19:45 BST อ็องรี Goal 14'34' รายงาน กาเซเรส Yellow card 36' Yellow-red card ' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 35,402 คน
ผู้ตัดสิน: ปีแยร์ลูอีจี คอลลีนา (อิตาลี)

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

รอบก่อนรองชนะเลิศ[แก้]

ในรอบก่อนรองชนะเลิศ อาร์เซนอลพบสโมสรอังกฤษร่วมชาติเชลซี ผลจับสลากทำให้รองประธานดีนผิดหวัง เขาว่า "ความยินดีของการเล่นในยุโรปอย่างหนึ่งคือการเล่นกับทีมจากต่างประเทศ และการได้เล่นกับเชลซีสามครั้ง เป็นการชะลอความตื่นเต้นไปบ้าง"[207] ผลัดแรกแข่งที่สแตมฟอร์ดบริดจ์ยุติด้วยการเสมอเมื่อกวึดยอนแซนและปีแร็สทำประตูให้สโมสรของตน อาร์เซนอลไม่สามารถใช้ข้อได้เปรียบจากการไล่มาร์แซล เดอซายี ออกในครึ่งหลัง แต่แวงแกร์รู้สึกว่าทีมเขาอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะผ่านเข้ารอบ "เป้าหมายหลักของเราจะเป็นการชนะเกมที่ไฮบรี และเรารู้ว่าเราทำได้"[208]

อ็องรีซึ่งพักสำหรับนัดรองชนะเลิศเอฟเอคัพ ลงเป็นตัวจริงคู่กับเรเยสในผลัดสอง เรเยสทำประตูให้อาร์เซนอลขึ้นนำในช่วงทดเวลาบาดเจ็บครึ่งแรก แต่แฟรงก์ แลมพาร์ด ทำประตูตีเสมอให้เชลซีในนาทีที่ 51 และสามนาทีก่อนหมดเวลา กองหลัง เวย์น บริดจ์ ทำประตูได้ทำให้อาร์เซนอลตกรอบ[209]

24 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-24) เลกแรกเชลซี อังกฤษ1–1อังกฤษ อาร์เซนอลลอนดอน อังกฤษ
19:45 BST กวึดยอนแซน Goal 53'
มาเกเลเล โดนใบเหลือง ใน 65 นาที 65'
เดอซายี Yellow card 80' Yellow-red card 83'
รายงาน ปีแร็ส Goal 59' สนามกีฬา: สแตมฟอร์ดบริดจ์
ผู้ชมในสนาม: 40,778 คน
ผู้ตัดสิน: มานูเอล เมฆูโต กอนซาเลซ (สเปน)
6 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-06) เลกที่สองอาร์เซนอล อังกฤษ1–2
(2–3 ผลประตูรวม)
อังกฤษ เชลซีลอนดอน อังกฤษ
19:45 BST โลแรน โดนใบเหลือง ใน 36 นาที 36'
เรเยส Goal 45+1'
รายงาน กาลัส โดนใบเหลือง ใน 9 นาที 9'
ฮัสเซิลบังก์ โดนใบเหลือง ใน 15 นาที 15'
แลมพาร์ด Goal 51'
โคล โดนใบเหลือง ใน 84 นาที 84'
บริดจ์ Goal 87'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 35,486 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์คุส แมร์ค (เยอรมนี)

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

สถิติผู้เล่น[แก้]

อาร์เซนอลใช้ผู้เล่นทั้งหมด 34 คนระหว่างฤดูกาล 2003–04 และมีผู้ทำประตูได้ 15 ประตู นอกจากนี้ยังมีสมาชิกทีมสามคนที่ไม่ได้ลงเป็นตัวจริงเลยตลอดฤดูกาล ทีมเล่นในรูปขบวน 4–4–2 ตลอดฤดูกาล โดยมีกองกลางกว้าง 2 คน ตูเรลงเล่น 55 นัด มากกว่าผู้เล่นอาร์เซนอลคนอื่นทุกคนในฤดูกาลและเลมันลงเป็นตัวจริงทั้ง 38 นัดในลีก

ทีมทำประตูได้รวม 114 ประตูในทุกการแข่งขัน อ็องรีทำประตูได้มากสุด 39 ประตู รองลงมาคือ ปีแร็สทำได้ 19 ประตู ประตูของอาร์เซนอลสามประตูในฤดูกาล 2003–04 (ของอ็องรีต่อแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล, ของวีเยราต่อท็อตนัมฮอตสเปอร์) อยู่ในรายการประตูแห่งฤดูกาลที่จัดโดยผู้ชม เดอะพรีเมียร์ชิป ของไอทีวี[210] มีผู้เล่นอาร์เซนอลถูกไล่ออกจากสนามห้าคนในฤดูกาลนี้ ได้แก่ เจฟเฟอส์, วีเยรา, แคมป์เบลล์, โคล และคีโอน

สัญลักษณ์

ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงการลงเล่นเป็นตัวสำรอง ผู้เล่นที่มีเครื่องหมายขีดและ † หมายถึง ผู้เล่นที่ออกจากสโมสรระหว่างฤดูกาล

หมาย
เลข
ตำแหน่ง สัญชาติ ชื่อ-สกุล พรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ คอมมิวนิตีชีลด์ แชมเปียนส์ลีก ทั้งหมด การลงโทษ
ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู A yellow rectangular card A red rectangular card
1 GK  เยอรมนี เย็นส์ เลมัน 38 0 5 0 0 0 1 0 10 0 54 0 3 0
3 DF  อังกฤษ แอชลีย์ โคล 32 0 4 0 1 0 1 0 9 1 47 1 6 1
4 MF  ฝรั่งเศส ปาทริก วีเยรา 29 3 5 0 2 0 1 0 6 (1) 0 43 (1) 3 13 1
5 DF  อังกฤษ มาร์ติน คีโอน 3 (7) 0 1 0 3 0 0 0 1 0 8 (7) 0 1 1
7 MF  ฝรั่งเศส รอแบร์ ปีแร็ส 33 (3) 14 3 (1) 1 0 0 (1) 0 10 4 46 (5) 19 1 0
8 MF  สวีเดน เฟรดริก ยุงแบร์ย 27 (3) 4 4 4 0 0 1 0 8 (1) 2 40 (4) 10 2 0
9 FW  อังกฤษ ฟรานซิส เจฟเฟอส์ 0 0 0 0 0 0 (1) 0 0 0 (1) 0 0 1
9 FW  สเปน โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส 7 (6) 2 2 (1) 2 1 0 0 0 2 (2) 1 12 (9) 5 0 0
10 FW  เนเธอร์แลนด์ แด็นนิส แบร์คกัมป์ 21 (7) 4 3 1 0 0 1 0 4 (2) 0 29 (9) 5 2 0
11 FW  ฝรั่งเศส ซีลแว็ง วีลตอร์ 8 (4) 3 0 0 3 1 (1) 0 3 (1) 0 14 (6) 4 0 0
12 DF  แคเมอรูน โลแรน 30 (2) 0 5 0 1 0 1 0 8 0 45 (2) 0 7 0
14 FW  ฝรั่งเศส ตีแยรี อ็องรี 37 30 2 (1) 3 0 0 1 1 10 5 50 (1) 39 4 0
15 MF  อังกฤษ เรย์ พาร์เลอร์ 12 (10) 0 2 (1) 0 3 0 1 0 4 (1) 0 26 (12) 0 8 0
16 MF  เนเธอร์แลนด์ โจฟันนี ฟัน โบรงก์ฮอสต์ 0 0 0 0 0 0 (1) 0 0 0 (1) 0 0 0
17 MF  บราซิล เอดู 12 (17) 2 4 (1) 1 4 1 (1) 0 7 (1) 3 28 (20) 7 5 0
18 DF  ฝรั่งเศส ปัสกาล ซีก็อง 10 (8) 0 0 0 3 0 0 0 2 (1) 0 15 (9) 0 2 0
19 MF  บราซิล ชิลเบร์ตู ซิลวา 29 (3) 4 3 0 1 0 1 0 5 (3) 0 40 (6) 4 5 0
22 DF  ฝรั่งเศส กาแอล กลีชี 7 (5) 0 1 (3) 0 5 0 0 0 1 0 14 (8) 0 1 0
23 DF  อังกฤษ โซล แคมป์เบลล์ 35 1 5 0 0 0 1 0 9 0 50 1 3 1
25 FW  ไนจีเรีย นวังโคว คานู 3 (7) 1 1 (2) 0 4 2 0 0 1 (6) 0 9 (15) 3 0 0
27 DF  กรีซ สตาซิส ตัฟลารีดิส 0 0 0 0 3 0 0 0 0 0 3 0 1 0
28 DF  โกตดิวัวร์ โกโล ตูเร 36 (1) 1 4 (1) 2 2 0 1 0 10 0 53 (2) 3 6 0
30 FW  ฝรั่งเศส เฌเรมี อาลียาเดียร์ 3 (7) 0 1 0 3 0 0 4 (1) 0 7 (8) 4 2 0
32 FW  เช็กเกีย /  กรีซ มิคัล ปาปาโดปูโลส 0 0 0 0 (1) 0 0 0 0 0 (1) 0 0 0
33 GK  ไอร์แลนด์ เกรอัม สแต็ก 0 0 0 0 5 0 0 0 0 0 5 0 0 0
39 MF  อังกฤษ เดวิด เบนต์ลีย์ 1 0 (2) 1 4 0 0 0 (1) 0 5 (3) 1 1 0
45 DF  อังกฤษ จัสติน ฮอยต์ (1) 0 0 0 2 0 0 0 0 0 2 (1) 0 0 0
51 DF  สหรัฐ แฟรงก์ ซิเม็ก 0 0 0 0 1 0 0 0 0 0 1 0 1 0
52 FW  อังกฤษ จอห์น สไปเซอร์ 0 0 0 0 (1) 0 0 0 0 0 (1) 0 0 0
53 MF  อังกฤษ เจอโรม ทอมัส 0 0 0 0 1 (2) 0 0 0 0 0 1 (2) 0 0 0
54 FW  กานา /  เนเธอร์แลนด์ ควินซี โอวูซู-อาเบยี 0 0 0 0 1 (2) 0 0 0 0 0 1 (2) 0 0 0
55 MF  ไอซ์แลนด์ โอว์ลาวืร์ อิญจี สกูลาซอน 0 0 0 0 (1) 0 0 0 0 0 (1) 0 0 0
56 FW  อังกฤษ ไรอัน สมิท 0 0 0 0 (3) 0 0 0 0 0 (3) 0 0 0
57 MF  สเปน เซสก์ ฟาเบรกัส 0 0 0 0 2 (1) 1 0 0 0 0 2 (1) 1 0 0

แหล่งข้อมูล: [211]

รางวัล[แก้]

ในการยอมรับความสำเร็จของทีม แวงแกร์ได้รับรางวัลผู้จัดการแห่งปีของบาร์คลีย์การ์ด โฆษกของคณะกรรมการรางวัลกล่าวถึงการตัดสินว่า "อาร์แซน แวงแกร์เป็นผู้รับรางวัลนี้ที่คู่ควรอย่างยิ่ง และส่งทีมเขาสู่หนังสือประวัติศาสตร์ อาร์เซนอลเล่นฟุตบอลเชิงรุกที่น่าตื่นเต้นตลอดฤดูกาลและการจบฤดูกาลโดยไร้พ่ายเป็นปรากฏการณ์ที่อาจไม่ได้เห็นไปอีก 100 ปี"[212] อ็องรีได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอจากเพื่อนร่วมอาชีพ และนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอลเป็นฤดูกาลที่สองติดต่อกัน เขาเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นทั้งผู้เล่นแห่งปีของโลกฟีฟ่า 2003 และบาลงดอร์ 2003[213]

ผู้เล่นอาร์เซนอลสามคนได้รับรางวัลผู้เล่นพรีเมียร์ลีกประจำเดือน อ็องรีได้ในเดือนมกราคมและเมษายน 2004 และแบร์คกัมป์และเอดูได้รางวัลร่วมกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2004 หลังผู้ตัดสิน "รู้สึกว่าเหมาะสมที่เราจะให้รางวัลร่วม"[214] แวงแกร์เป็นผู้จัดการพรีเมียร์ลีกประจำเดือนสิงหาคม 2003 และกุมภาพันธ์ 2004[215]

ผลพวงและมรดก[แก้]

A photograph of Arsenal supporters celebrating the club's achievement with a parade which took place at Islington
ผู้เล่นและแฟนของอาร์เซนอลเฉลิมฉลองแชมป์พรีเมียร์ลีกในแห่รถโดยสารประจำทางเปิดประทุน

หนึ่งวันหลังนัดที่พบกับเลสเตอร์ซิตี อาร์เซนอลจัดการแห่ถ้วยรางวัลพรีเมียร์ลีกบนรถโดยสารประจำทางเปิดประทุนต่อหน้าแฟนกว่า 250,000 คน[216] แห่ฉลองชัยเริ่มต้นจากไฮบรีไปสิ้นสุดที่ศาลากลางเมืองอิสลิงตัน ในเฉลียงของศาลากลาง วีเยรากล่าวต่อฝูงชนว่า "มันเป็นฤดูกาลวิเศษ เราทำสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือสำเร็จ แต่เราไม่สามารถทำได้หากปราศจากแฟน"[217] ในการสัมภาษณ์กับบีบีซี ดีนเสริมว่า "เราเห็นประวัติศาสตร์ถูกสร้าง และผมจะแปลกใจหากมันเกิดขึ้นอีกครั้ง มันเป็นเอกสิทธิ์จริง ๆ ที่ได้ชมอาร์เซนอลฤดูกาลนี้"[217]

พรีเมียร์ลีกสั่งทำถ้วยรางวัลทองเดียวเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของอาร์เซนอล

ความสำเร็จไร้พ่ายของอาร์เซนอลตลอดฤดูกาลลีกได้รับการยกย่องจากผู้เกี่ยวข้องในวงการฟุตบอล เดริก ชอว์ (Derek Shaw) ประธานสโมสรเพรสตันกล่าวแสดงความยินดีเมื่ออาร์เซนอลทำสถิติไร้พ่ายตลอดฤดูกาลเช่นเดียวกับสโมสรของเขาทำไว้เมื่อ 115 ปีก่อน[218] ชาวบราซิล โรแบร์ตู การ์ลุส เปรียบเทียบลีลาการเล่นของอาร์เซนอลกับ "ฟุตบอลแซมบา" ส่วนมีแชล ปลาตีนีปรบมือให้กับ "ความสามารถและสปิริตยิ่งใหญ่" ของทีม อดีตผู้จัดการทีมอาร์เซนอล จอร์จ เกรอัม ยกความสำเร็จให้การการปรับปรุงเกมรับ เนื่องจากความผิดพลาดในฤดูกาลที่แล้วมีราคาแพงและอดีตกองหน้า อลัน สมิท รู้สึกว่าทีมชุดนี้ "ดีที่สุดเท่าที่ไฮบรีเคยเห็นแน่นอน"

"ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการไม่แพ้ตลอดฤดูกาลเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุดของผม หากคุณชนะแชมป์คุณรู้สึกว่าบางคนสามารถเข้ามาแทนและทำได้ดีกว่าคุณ เป็นฝันของผมที่ไม่แพ้ตลอดฤดูกาลตลอดมาเพราะคนอื่นล้มมันได้ไม่มาก"

อาร์แซน แวงแกร์, กันยายน 2009[219]

สื่อบริติชยกย่องความสำเร็จของอาร์เซนอลเป็นเอกฉันท์เมื่อใกล้จบฤดูกาล นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ เขียนว่าทีมนี้เป็น "อมตชน" ส่วน เดอะซันเดย์ไทมส์ ขึ้นพาดหัว "อาร์เซนอลไร้พ่ายทีมใหม่"[220] ในการสะท้อนทางบวกของฤดูกาลอาร์เซนอล เกล็น มัวร์ เขียนใน ดิอินดิเพนเดนต์ ว่า "ฉะนั้นอาจมีความจริงบ้างในประกาศของอาร์แซน แวงแกร์ว่าความสำเร็จของอาร์เซนอลเป็นชัยยิ่งใหญ่กว่าชนะแชมเปียนส์ลีก การเฉลิมฉลองยาวนานของอาร์เซนอลสะท้อนขนาดของหลักหมุดนี้ กระนั้นเมื่อพวกเขาสะท้อนในช่วงพักฤดูร้อน ผู้เล่นกี่คนจะเห็นด้วยกับแวงแกร์"[221]

หลังจากนั้นพรีเมียร์ลีกสั่งทำถ้วยรางวัลถอดแบบสีทองครั้งเดียว มีการมอบให้อาร์เซนอลก่อนเกมเหย้าเกมแรกในฤดูกาลถัดมา[222][223] ทีมยังทำลายสถิติไม่แพ้ในลีก 42 นัด (ของน็อตติงแฮมฟอร์เรสต์) ต่อแบล็กเบิร์นโรเวอส์ และเล่นอีกเจ็ดนัดก่อนแพ้ ในนัดเยือนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนตุลาคม 2004[224] แม้อาร์เซนอลได้แชมป์เอฟเอคัพจากแข่งยิงจุดโทษกับยูไนเต็ด แต่พวกเขาได้ที่สองตามหลังเชลซีในลีก[225] การย้ายไปเอมิเรตส์สเตเดียมในปี 2006 ตรงกับระยะเปลี่ยนผ่านของสโมสร ตัวจริงมากประสบการณ์หลายคนถูกเปลี่ยนตัวเป็นเยาวชนและลีลาการเล่นเปลี่ยนไปเน้นครองบอลมากขึ้น[226] นับแต่นั้นอาร์เซนอลไม่เคยคว้าแชมป์ลีกอีก กระนั้นยังมีตำแหน่งในแชมเปียนส์ลีกทุกปีภายใต้การคุมทีมของแวงแกร์[227]

การคว้าแชมป์ที่ไวต์ฮาร์ตเลนอยู่อันดับสามในรายการ 50 ขณะยิ่งใหญ่ที่สุดของอาร์เซนอล และผลงานที่ซานซีโรอยู่ในอันดับที่ 10;[228] ในปี 2012 ทีมอาร์เซนอลฤดูกาล 2003–04 ชนะหมวด "ทีมยอดเยี่ยม" ในรางวัล 20 ฤดูกาลพรีเมียร์ลีก[229]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ก่อนเริ่มฤดูกาลลีก แวงแกร์บอกผู้สื่อข่าวว่า "ไม่มีใครจะจบอันดับเหนือกว่าเราในลีก มันจะไม่ทำให้ผมประหลาดใจถ้าพวกเราไม่แพ้ตลอดฤดูกาล"[5]
  2. ในปี 2005 ตระกูลเกลเซอร์ได้ซื้อแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยมูลค่า 800 ล้านปอนด์[11]
  3. ตำแหน่งที่ทำนายเฉลี่ยของผู้เขียนริชาร์ด วิลเลียมส์, เควิน แม็กคาร์รา, ไมเคิล วอล์กเกอร์, แดเนียล เทย์เลอร์, ดอมินิก ฟิฟีลด์, จอน บรอดกิน, และรอน แอตคินสัน
  4. เกิดความลำบากในการระดมเงินสด อาร์เซนอลจึงริเริ่มแผนพันธบัตรในฤดูร้อนปี 2003 ซึ่งให้ผู้สนับสนุนมีสิทธิซื้อตั๋วรายปี (season ticket) ที่ไฮบรีและที่สนามกีฬาใหม่ เช่นเดียวกับการมีสิทธิได้รับเงินปันผลไม่เกิน 100 ปอนด์ต่อฤดูกาลขึ้นอยู่กับความสำเร็จของอาร์เซนอลในอีกห้าปีข้างหน้า มีการออกพันธบัตร 3,000 พันธบัตรราคาตั้งแต่ 3,500 ถึง 5,000 ปอนด์ อาร์เซนอลเคยมีแผนคล้ายกันในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เพื่อเพิ่มรายได้สำหรับเทอร์เรสนอร์ทแบงก์ปรับปรุงใหม่ที่ไฮบรี ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าคิดราคาแพงจนผู้ไม่ร่ำรวยดูเกมไม่ได้ แผนครั้งแรกประสบความสำเร็จพอสมควรโดยสามารถขายพันธบัตรได้หนึ่งในสามของทั้งหมด อาร์เซนอลระดมเงินได้หลายล้านปอนด์ผ่านแผนครั้งที่สอง แม้ไม่เปิดเผยจำนวนผู้ซื้อ[23] นอกจากนี้ยังไม่เคยเจาะจงว่าใช้เงินนี้กับทีมหรือจัดหาเงินทุนแก่สนามกีฬา[24]
  5. เฟอร์ดินานด์ถูกพบว่ามีความผิดฐานประพฤติมิชอบหลังไม่ผ่านการทดสอบสารเสพติด ในเดือนธันวาคม 2003 เขาถูกห้ามลงแข่งฟุตบอลทุกประเภทแปดเดือน[131] การอุทธรณ์คำสั่งห้ามของยูไนเต็ดในอีกหลายเดือนต่อมาไม่สำเร็จ ต่อมาเฟอร์กูสันอ้างว่าการขาดเฟอร์ดินานด์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทีมไม่ได้แชมป์พรีเมียร์ลีก[132]
  6. สองสโมสรดังกล่าวสร้างสถิติไม่แพ้ทีมใดในฤดูกาลลีก 42 และ 40 นัดตามลำดับ[143][144][145] แม้เพรสตันนอร์ทเอนด์เป็นฝั่งอังกฤษทีมแรกที่จบฤดูกาลโดยไม่แพ้ แต่ฤดูกาลนั้นเล่นเพียง 22 นัด[146]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Arsenal first team line up (2003–04)". The Arsenal History. สืบค้นเมื่อ 19 March 2013. Note: Information is in the section 2003–04. Attendances of friendlies not taken into account in average.
  2. 2.0 2.1 2.2 McCarra, Kevin (26 April 2004). "Unbeaten champions earn a place in history". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  3. 3.0 3.1 Fletcher, Paul (4 May 2003). "Ten weeks that turned the title". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 11 February 2012.
  4. Wilson, Paul (18 May 2003). "Pires aim is true for muted Gunners". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 23 June 2012.
  5. Clavan, Anthony (18 August 2002). "We won't lose a game". Sunday Mirror. London. p. 80.
  6. "Arsenal can go unbeaten all season, says Wenger". CNNSI.com. Associated Press. 20 September 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 18 July 2010.
  7. Fifield, Dominic (21 October 2002). "Youngest goalscorer gets into the habit of wrecking records". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.
  8. Burt, Jason (4 May 2003). "United the champions as Arsenal collapse". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 8 July 2016.
  9. Arsenal boss Arsène Wenger (Radio). London: BBC. 4 May 2003.
  10. "Russian businessman buys Chelsea". BBC News. 2 July 2003. สืบค้นเมื่อ 18 July 2010.
  11. Burt, Jason (2 March 2013). "Arsenal poised to be subjected to £1.5bn takeover bid from Middle East consortium within the next few weeks". The Sunday Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  12. King, Daniel (19 July 2003). "Can football ever be the same now Chelsea have this Russian's fortune to spend?". Daily Mail. London. pp. 114–115.
  13. Fifield, Dominic (2 February 2011). "Arsène Wenger blasts Chelsea for hypocrisy over £75m transfer spree". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  14. Hart, Michael; Dyer, Ken (19 July 2003). "Hands off Henry". Evening Standard. London. pp. 63–64.
  15. "Guardian writers predict the season's winners and losers". The Guardian. London. 16 August 2003. สืบค้นเมื่อ 14 August 2013.
  16. Ingle, Sean; Murray, Scott; Harper, Nick; Rookwood, Dan (15 August 2003). "The amazing (and probably inaccurate) Guardian Unlimited Premiership predictor". theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2013.
  17. 17.0 17.1 Moore, Glenn (16 August 2003). "Liverpool have the team to lift the crown". The Independent. London. p. S1.
  18. Hayes, Alex (10 August 2003). "Bolt from the Blues: Chelsea enrich the Premiership picture". The Independent on Sunday. London. p. S7.
  19. "Special review: Predictions". The Observer. London. 10 August 2003. p. S7.
  20. "Arsenal". The Sunday Times. 10 August 2003. p. S12.
  21. "Preview". Sunday Tribune. Dublin. 10 August 2003. p. S6–7.
  22. Cass, Simon (29 July 2003). "I won't be bringing in anyone else, says Wenger". Daily Mail. London. p. 68.
  23. Conn (2005), p. 69.
  24. Simons, Raoul (7 May 2003). "Arsenal fans give bond plan cold reception". Evening Standard. London. p. 70.
  25. Kempson, Russell (13 August 2003). "Vieira and Pires put end to speculation". The Times. สืบค้นเมื่อ 20 August 2009. (ต้องรับบริการ)
  26. Melling, Joe (19 July 2003). "Of course, it can as Fergie knows". Mail on Sunday. London. p. 111.
  27. "Team-by-team guide to the Premiership". The Independent. London. 16 August 2003. pp. 13–15.
  28. 28.0 28.1 "Jeffers joins Everton". BBC Sport. 1 September 2003. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  29. Hodges, Andy (27 August 2003). "Wenger goes Dutch in forward planning". The Independent. London. p. 26.
  30. "Fussball". Tages-Anzeiger. Zurich. 19 July 2003. p. 37.
  31. Edgar, Bill (29 April 2004). "Wenger goes Dutch in forward planning". The Times. p. 51.
  32. Booth, Martin (24 August 2003). "Wenger: Title is top priority". Sunday Mirror. London. p. 93.
  33. Hart, Michael (8 August 2003). "I've no reason to be pessimistic". Evening Standard. London. pp. 74–75.
  34. "Title rivals have their say". BBC Sport. 11 August 2003. สืบค้นเมื่อ 18 July 2010.
  35. Paskin, Tony (28 July 2003). "Europe is out of our league says Campbell". Daily Express. London. p. 61.
  36. "Arsenal home kits". Arsenal F.C. 22 กุมภาพันธ์ 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2016.
  37. "Shades of 1971 for Arsenal". Evening Standard. London. 14 July 2003. p. 68.
  38. "Arsenal away kits". Arsenal F.C. 10 กรกฎาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2016.
  39. "Arsenal sign Swiss defender". BBC Sport. 20 December 2002. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  40. Martin, Neil (26 July 2003). "Lehmann ends Arsenal's goalkeeper search". The Guardian. London. p. S6.
  41. "Djourou reveals his desire to get nasty and cement a first-team place". The Guardian. London. 31 December 2008. สืบค้นเมื่อ 13 August 2010.
  42. "Arsenal sign Clichy". BBC Sport. 4 August 2003. สืบค้นเมื่อ 3 August 2010.
  43. "Football: Young Gunner". Daily Mirror. London. 20 August 2003. p. 51.
  44. "Reyes passes Arsenal medical". BBC Sport. 28 January 2004. สืบค้นเมื่อ 13 August 2010.
  45. "Arsenal sign Van Persie". BBC Sport. 28 April 2004. สืบค้นเมื่อ 13 August 2010.
  46. Madill, Rob (30 May 2003). "Football: Bright move Graham". Coventry Evening Telegraph. p. 80.
  47. "Seaman to join Man City". BBC Sport. 4 June 2003. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  48. Halford, Brian (22 July 2003). "Luzhny can't wait to start". Birmingham Evening Mail. p. 45.
  49. "In brief: Warmuz leaves Arsenal for Dortmund". The Independent. London. 28 July 2003. p. 24.
  50. "Window shopping". Daily Mail. London. 17 January 2004. p. 93.
  51. "Cercle Bruges set to become feeder club for Blackburn". The Independent. London. 27 February 2004. p. 61.
  52. "Window of opportunity – The Premiership's arrivals and departures this summer". The Independent. London. 2 September 2003. p. 24.
  53. "Juan, details and stats". Soccerbase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-01. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
  54. 54.0 54.1 "Sebastian Svärd, details and stats". Soccerbase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-07. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
  55. "Fulham's volz deal". Daily Mirror. London. 8 August 2003. p. 69.
  56. "Phillips takes pay cut to join Saints". Daily Mail. London. 15 August 2003. p. 91.
  57. "Pennant completes Leeds switch". BBC Sport. 20 August 2003. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
    "Pennant extends Leeds stay". BBC Sport. 19 April 2004. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  58. "Van Bronckhorst moves". The Irish Times. Dublin. 27 August 2003. p. 25.
  59. "Transfers – January 2004". BBC Sport. 18 January 2004. สืบค้นเมื่อ 13 August 2013.
    "Target Srnicek". Daily Mirror. London. 17 February 2004. p. 55.
  60. Carrick, Charles (12 July 2003). "Scare for Arsenal". The Daily Telegraph. London. p. S5.
  61. "Barnet 0–0 Arsenal". BBC Sport. 19 July 2003. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  62. Hayward, Paul (16 August 2011). "Manchester City midfielder Yaya Toure the one who got away for Arsenal manager Arsene Wenger". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  63. Stiles, Adrian (6 July 2003). "Arsenal in rapid return". Daily Star. London. p. 73.
  64. 64.0 64.1 Stammers, Steve (23 July 2003). "Wenger takes sick leave as Gunners scrape a draw". Evening Standard. London. p. 60.
  65. "Football: Dennis is a Happy Kamper". Daily Mirror. London. 26 July 2003. p. 68.
  66. Stammers, Steve (29 July 2003). "Vieira poised to play after topping the foreign legion". Evening Standard. London. p. 56.
  67. Sheehan, Pat (30 July 2003). "Wenger: My underdogs". The Sun. London. p. 61.
  68. 68.0 68.1 Driscoll, Matt (3 August 2003). "Pat's magic". News of the World. London. p. S6.
  69. 69.0 69.1 Irvine, Neil (3 August 2003). "Vieira returns to fray". The Sunday Telegraph. London. p. S6.
  70. Reynolds, Lee (6 August 2003). "Vieira all the range". Daily Mirror. London. p. 45.
  71. "0:2 gegen die Gunners". FK Austria Wien (ภาษาเยอรมัน). 25 July 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2003. สืบค้นเมื่อ 19 February 2012.
  72. Bradley, Nick (11 August 2003). "Howard's way is spot on as Reds lift Shield". Irish News. Dublin. p. 19.
  73. 73.0 73.1 73.2 "Man Utd win Community Shield". BBC Sport. 10 August 2003. สืบค้นเมื่อ 13 August 2013.
  74. 74.0 74.1 Grant, Alistair (11 August 2003). "Less appetite for Shield – Wenger". Coventry Evening Telegraph. p. 47.
  75. "Frequently asked questions about the F.A. Premier League". Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2003. สืบค้นเมื่อ 27 July 2013.
  76. "TV Games". The Sun. London. 26 July 2003. p. 40.
  77. "Campbell off in Arsenal win". BBC Sport. 16 August 2003. สืบค้นเมื่อ 2 July 2013.
  78. McCarra, Kevin (25 August 2003). "Arsenal get back to full power". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2 July 2013.
  79. McCarra, Kevin (28 August 2003). "Arsenal clamber back to the summit". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2 July 2013.
  80. 80.0 80.1 Dickinson, Matt (1 September 2003). "Wenger's blast lifts Arsenal". The Times. p. S13.
  81. "English Premier League table, 31-08-2003". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2013. สืบค้นเมื่อ 2 July 2013.
  82. 82.0 82.1 82.2 Malam, Colin (14 September 2003). "Portsmouth pass quality test". The Sunday Telegraph. London. p. S2.
  83. "Pires: I am not a cheat". BBC Sport. 15 September 2003. สืบค้นเมื่อ 2 July 2013.
  84. 84.0 84.1 84.2 84.3 "Deadlock at Old Trafford". BBC Sport. 21 September 2003. สืบค้นเมื่อ 4 July 2013.
  85. "Eight charged after bust-up". BBC Sport. 24 September 2003. สืบค้นเมื่อ 2 July 2013.
  86. "Arsenal players banned". BBC Sport. 30 October 2003. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
  87. "Arsenal down battling Newcastle". BBC Sport. 26 September 2003. สืบค้นเมื่อ 4 July 2013.
  88. Ley, John (2 December 2003). "Vieira back for Arsenal after injury 'nightmare'". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 4 July 2013.
  89. Lynam, Des (presenter) (5 October 2003). The Premiership [Liverpool 1–2 Arsenal] (Television production). ITV Sport. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 09:27:07 am to 09:37:46 am.
  90. 90.0 90.1 "Owen injured in Arsenal win". BBC Sport. 4 October 2003. สืบค้นเมื่อ 26 July 2013.
  91. 91.0 91.1 91.2 91.3 Kay, Oliver (6 October 2003). "Arsenal up for a fight". The Times. p. S11.
  92. "English Premier League table, 05-10-2003". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013.
  93. Dickinson, Matt (20 October 2003). "Cudicini slip keeps Arsenal in control". The Times. p. S10.
  94. "English Premier League table, 20-10-2003". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013.
  95. Winter, Henry (20 October 2003). "Mixed-up Chelsea crumble in the face of Arsenal unity". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 26 July 2013.
  96. Edgar, Bill (27 October 2003). "Henry to the rescue again for Arsenal". The Times. p. S12.
  97. "English Premier League table, 26-10-2003". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013.
  98. Thomson, Paul (31 October 2003). "Pennant: I will not go easy on Cole". Evening Standard. London. p. 83.
  99. Broadbent, Rick (3 November 2003). "Beauty tames Reid's beast". The Times. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013. (ต้องรับบริการ)
  100. Samuel, Martin (2 November 2003). "So poor for Reid". News of the World. London. p. 53.
  101. Cross, John (8 November 2003). "Sol: Spurs is just another game..I've moved on". Daily Mirror. London. p. 77.
  102. 102.0 102.1 Wilson, Paul (9 November 2003). "Freddie flatters Gunners". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  103. "Match Report – Arsenal v Tottenham Hotspur". Arsenal F.C. 21 พฤษภาคม 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2016.
  104. "Chelsea thump sorry Magpies". BBC Sport. 9 November 2003. สืบค้นเมื่อ 14 August 2013.
    "English Premier League table, 09-11-2003". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013.
  105. "Arsenal stay top". BBC Sport. 22 November 2003. สืบค้นเมื่อ 14 August 2013.
  106. 106.0 106.1 Szczepanik, Nick (24 November 2003). "Arsenal kept flying at altitude by Bergkamp". The Times. p. S8.
  107. Szczepanik, Nick (1 December 2003). "Van Der Sar ensures Highbury hangover". The Times. p. S8.
  108. Lacey, David (1 December 2003). "Van der Sar puts brake on Arsenal juggernaut". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  109. Dickinson, Matt (1 December 2003). "Money men at Chelsea make a quick profit". The Times. p. S12.
  110. Townsend, Nick (7 December 2003). "Hignett makes the Gunners pay for self-inflicted wound". The Independent on Sunday. London. p. S2.
  111. 111.0 111.1 "Cole apologises for dismissal". BBC Sport. 6 December 2003. สืบค้นเมื่อ 29 July 2013.
  112. Moore, Glenn (15 December 2003). "Tired Arsenal are indebted to Bergkamp". The Independent. London. p. 32.
  113. 113.0 113.1 Caulkin, George (22 December 2003). "Allardyce lifting the spirit". The Times. p. S10.
  114. "Arsenal 3–0 Wolves". BBC Sport. 26 December 2003. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  115. 115.0 115.1 Broadbent, Rick (30 December 2003). "Arsenal's French connection keep the pressure on United". The Times. p. 36.
  116. "English Premier League table, 29-12-2003". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013.
  117. "Everton 1–1 Arsenal". Arsenal F.C. 4 January 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2004. สืบค้นเมื่อ 14 April 2014.
  118. Fifield, Dominic (8 January 2004). "Radzinski checks Arsenal's stride". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  119. "Bolton 1–2 Man Utd". BBC Sport. 6 January 2004. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  120. 120.0 120.1 Lawrence, Amy (11 January 2004). "Henry enjoys toying with satanic Mills". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  121. Samuel, Martin (11 January 2004). "Trouble at mills". News of the World. London. p. S2.
  122. 122.0 122.1 McCarra, Kevin (19 January 2004). "Henry's speed of thought catches Villa cold". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  123. "English Premier League table, 19-01-2004". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013.
  124. Broadbent, Rick (9 February 2004). "Artistic Arsenal leave Wolves on the canvas". The Times. p. S8.
  125. McCarra, Kevin (2 February 2004). "Anelka spoils the portrait of Arsenal's three ages". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  126. 126.0 126.1 Thomas, Russell (9 February 2004). "They break records, they win games. But is it enough for Arsenal?". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  127. Winter, Henry (11 February 2004). "Henry puts Arsenal in clear". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  128. "English Premier League table, 10-02-2004". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013.
  129. Clarke, Richard (21 February 2004). "Chelsea 1–2 Arsenal". Arsenal F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2004. สืบค้นเมื่อ 29 July 2016.
  130. 130.0 130.1 130.2 McCarra, Kevin (23 February 2004). "Gunners turn ugly and hit new heights". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  131. "Ferdinand banned for eight months". BBC Sport. 19 December 2003. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  132. Wallace, Sam (18 September 2004). "Ferguson still sore at loss of Ferdinand". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  133. Dickinson, Matt (23 February 2004). "Ranieri heads for exit". The Times. p. S10.
  134. Mitchell, Kevin (29 February 2004). "Henry stars for leading lights". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 30 July 2013.
  135. "English Premier League table, 29-02-2004". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013.
  136. Wilson, Paul (14 March 2004). "Henry graft pushes Gunners on". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  137. Harris, Chris (20 March 2004). "Arsenal 2–1 Bolton Wanderers". Arsenal F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2004. สืบค้นเมื่อ 29 July 2016.
  138. 138.0 138.1 Dickinson, Matt (22 March 2004). "Arsenal get the jitters". The Times. p. S8.
  139. Lawton, James (27 March 2004). "Old Trafford was Arsenal's turning point". The Independent. London. p. 77.
  140. "Arsenal 1–1 Manchester United". Arsenal F.C. 28 March 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2004. สืบค้นเมื่อ 21 August 2016.
  141. 141.0 141.1 141.2 Winter, Henry (29 March 2004). "Arsenal let United off the hook". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  142. Keys, Richard (presenter); Tomlinson, Clare (interviewer) (28 March 2004). Ford Super Sunday: Arsenal vs. Manchester United [Post match thoughts of Manchester United manager, Sir Alex Ferguson] (Television production). Sky Sports.
  143. "Arsenal's unbeaten run". Evening Standard. London. 9 May 2004. สืบค้นเมื่อ 21 August 2016.
  144. "Season 1973–74". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation (RSSSF). สืบค้นเมื่อ 21 August 2016.
  145. "Season 1987–88". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation (RSSSF). สืบค้นเมื่อ 21 August 2016.
  146. "First unbeaten football Premier League season". Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ 21 August 2016.
  147. McCarra, Kevin (29 March 2004). "Saha accepts a rare gift as United steal Arsenal's thunder". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  148. "English Premier League table, 28-03-2004". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2013.
  149. 149.0 149.1 149.2 Winter, Henry (10 April 2004). "Henry reignites Arsenal". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
  150. "Arsenal 4–2 Liverpool". BBC Sport. 9 April 2004. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  151. "Newcastle 0–0 Arsenal". BBC Sport. 11 April 2004. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  152. Brodkin, Jon (17 April 2004). "Henry's awesome foursome caps a broadside from the Gunners". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
  153. Thompson, Georgie (narrator) (15 May 2004). The Premiership Years (Television production). Sky Sports. 89:52 นาที.
  154. 154.0 154.1 Clarke, Richard (20 พฤษภาคม 2004). "Tottenham 2–2 Arsenal". Arsenal F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2016.
  155. Winter, Henry (26 April 2004). "Champions revel in title success". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  156. "Wenger hails Arsenal unity". BBC Sport. 25 April 2004. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
  157. Brodkin, Jon (3 May 2004). "Arsenal coasting to the line and their place in history". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 14 August 2013.
  158. "Portsmouth 1–1 Arsenal". BBC Sport. 4 May 2004. สืบค้นเมื่อ 14 August 2013.
  159. "English Premier League table, 04-05-2004". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2013.
  160. Burnton, Simon (10 May 2004). "Reyes puts Arsenal within one step of heaven". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 14 August 2013.
  161. Lawrence, Amy (16 May 2004). "Vintage Bergkamp uncorks Wenger's premier crew". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 20 August 2009.
  162. "Arsenal – 2003–04". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2011.
  163. "Arsenal – 2003–04". Statto Organisation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2011.
  164. "On This Day: 'FA Challenge Cup' born on 20 July 1871". The FA. 20 July 2014. สืบค้นเมื่อ 13 September 2016.
  165. "The Cup's magic returns". BBC Sport. 25 October 2000. สืบค้นเมื่อ 13 September 2016.
  166. "Rules of The FA Cup Challenge Cup". The FA. สืบค้นเมื่อ 13 September 2016.
  167. "Gunners make it four-midable". The Sun. London. 3 January 2004. p. 74.
  168. "FA Cup Fifth Round on BBC One". BBC Press Office. 5 February 2004. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  169. "FA Cup Quarter-finals live on BBC One". BBC Press Office. 17 February 2004. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  170. Nancarrow, Keith (3 April 2004). "Giggs fits the bill to put one over Gunners". The Sun. London. p. 68.
  171. 171.0 171.1 Davies, Christopher (1 January 2004). "Arsenal finish first half with a zero from hero". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 12 August 2013.
  172. McCarra, Kevin (3 January 2004). "Hat-trick stimulus raises the stakes for Wenger's men". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 12 August 2013.
  173. "FA Cup third round draw". BBC Sport. 17 December 2003. สืบค้นเมื่อ 1 May 2012.
  174. 174.0 174.1 174.2 "Leeds 1–4 Arsenal". BBC Sport. 4 January 2004. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
  175. 175.0 175.1 175.2 175.3 "Arsenal 4–1 Middlesbrough". BBC Sport. 24 January 2004. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
  176. 176.0 176.1 176.2 "Arsenal 2–1 Chelsea". BBC Sport. 15 February 2004. สืบค้นเมื่อ 4 May 2012.
  177. 177.0 177.1 McCarra, Kevin (8 March 2004). "Arsenal conjure up images of Ajax". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
  178. Neville, Gary (3 April 2004). "Now for the match United dare not lose". The Times. สืบค้นเมื่อ 4 September 2013. (ต้องรับบริการ)
  179. McCarra, Kevin (5 April 2004). "Scholes shows United's fight and Arsenal's fallibility". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
  180. Parkes, Ian (15 October 1997). "Graham sees no benefit in fielding below-par teams". The Independent. London. p. 32.
  181. "United kids needed cup says Albiston". The Independent. London. 16 October 1997. สืบค้นเมื่อ 15 August 2013.
  182. Irwin, Mark (14 October 1997). "The Joker-Cola Cup; Wenger and Fergie leave out 19 stars to spark league fury". The Mirror. London. pp. 4, 37.
  183. Soleim, Markus (15 February 2016). "England 2003–04". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation (RSSSF). สืบค้นเมื่อ 8 July 2016.
  184. "Rules". English Football League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2016.
  185. "Carling Cup draw". BBC Sport. 27 September 2003. สืบค้นเมื่อ 29 July 2016.
  186. "Appearances/Attendances". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 30 January 2012.
  187. 187.0 187.1 "Arsenal 1–1 Rotherham". BBC Sport. 28 October 2003. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  188. Haylett, Trevor (3 December 2003). "Arsenal's reserves of strength". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  189. 189.0 189.1 Winter, Henry (17 December 2003). "Referee helps the Arsenal second string finish first". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  190. Brodkin, Jon (21 January 2004). "Juninho gives Middlesbrough a leg up". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  191. 191.0 191.1 Walker, Michael (4 February 2004). "Boro have history within their grasp". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  192. 192.0 192.1 "Football's top club competition". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 19 August 2016.
  193. "Wenger predicts even bigger Champions' League". Hürriyet Daily News. Istanbul. 22 October 1997. สืบค้นเมื่อ 19 August 2016.
  194. 194.0 194.1 McCarra, Kevin (17 September 2003). "Home has to be sweet for Arsenal". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 August 2016.
  195. "Man Utd face Rangers". BBC Sport. 28 August 2003. สืบค้นเมื่อ 3 November 2013.
  196. Rodgers, Martin (30 August 2003). "Man to Mann". Daily Mirror. London. สืบค้นเมื่อ 3 November 2013.
  197. "Inter stun Gunners". BBC Sport. 17 September 2003. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.
  198. "Wenger defiant in defeat". BBC Sport. 18 September 2003. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.
  199. Brodkin, Jon (1 October 2003). "Cole header keeps Arsenal afloat". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.
  200. Scott, Matt (22 October 2003). "Arsenal back on the right track". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.
  201. McCarra, Kevin (6 November 2003). "Cole header keeps Arsenal afloat". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.
  202. Winter, Henry (26 November 2003). "Goal blitz re-ignites Arsenal's campaign". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.
  203. McCarra, Kevin (11 December 2003). "Stylish Arsenal cruise through". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.
  204. Lawrence, Amy (22 February 2004). "History on the side of Antic". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 8 July 2016.
  205. Brodkin, Jon (25 February 2004). "Spanish hoodoo banished by Pires". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  206. "Arsenal 2–0 Celta Vigo". BBC Sport. 10 March 2004. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  207. "English clubs to meet". BBC Sport. 12 March 2004. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  208. "Wenger targets victory". BBC Sport. 24 March 2004. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  209. McCarra, Kevin (7 April 2004). "Chelsea tear heart out of Gunners". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 1 December 2013.
  210. Lynam, Des (presenter) (15 May 2004). The Premiership [Goal of the Season competition] (Television production). ITV Sport. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 00:08.25 am to 00:13:00 am.
  211. "Arsenal squad statistics – 2003/04". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 10 April 2004.
  212. Pearson, James (17 May 2004). "Gunners duo land more awards". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 14 January 2012.
  213. "Nedved: Henry deserved to win". Evening Standard. London. 23 December 2003. สืบค้นเมื่อ 5 October 2013.
  214. "Arsenal treble". Evening Times. Glasgow. 13 March 2004. p. 40.
  215. "Manager profile, Arsene Wenger". Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-18. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
  216. Brodkin, Jon (17 May 2004). "'I would love to win title and Champions League together'". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  217. 217.0 217.1 "Arsenal savour title glory". BBC Sport. 16 May 2004. สืบค้นเมื่อ 25 August 2010.
  218. "Preston applaud Arsenal". BBC Sport. 17 May 2004. สืบค้นเมื่อ 25 August 2010.
  219. "Wenger has 'no plans to retire'". BBC Sport. 24 September 2009. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  220. "Media praise for "Invincibles"". BBC Sport. 17 May 2004. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  221. Moore, Glenn (17 May 2004). "Wenger's invincibles need European success". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
  222. "Arsenal given 'special trophy'". Daily Mail. London. 18 May 2004. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  223. Hytner, David (24 August 2004). "Gunners spirit is untouchable". Daily Express. London. p. 61.
  224. McCarra, Kevin (26 August 2004). "Henry launches Arsenal to record mark". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
  225. Hughes, Rob (22 พฤษภาคม 2005). "Time for Wenger to ring changes". The Sunday Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2013. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013. (ต้องรับบริการ)
  226. Williams, Richard (28 May 2009). "Barcelona's triumph holds hope for Arsène Wenger's brand of football". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  227. Fifield, Dominic (29 April 2016). "Arsène Wenger reveals he rejected Real, Barcelona and Manchester City". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
  228. "Greatest 50 Moments". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
  229. "Arsenal's 'Invincibles' voted greatest Premier League team". BBC Sport. 15 May 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]