สิทธิวินายกมนเทียร (มุมไบ)
ศรีสิทธิวินายกมนเทียร | |
---|---|
श्री सिद्धिविनायक मंदिर | |
ศรีสิทธิวินายกมนเทียร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | มุมไบ |
เทพ | พระพิฆเนศ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ประภาเทวี (Prabhadevi) |
รัฐ | รัฐมหาราษฏระ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 19°01′01″N 72°49′49″E / 19.016920°N 72.830409°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้สร้าง | ลักษมัน วิฐุ (Laxman Vithu) และ Deubai Patil |
เสร็จสมบูรณ์ | 19 พฤศจิกายน 1801 |
เว็บไซต์ | |
http://siddhivinayak.org |
ศรีสิทธิวินายกคณปติมนเทียร (อักษรโรมัน: Shree Siddhivinayak Ganapati Mandir) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่บูชาพระพิฆเนศ ตั้งอยู่ในประภาเทวี มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย[1] มนเทียรนี้สร้างโดยลักษมัณ วิฐู (Laxman Vithu) และ เทวบาอี ปฏีล (Deubai Patil) เมื่อ 19 พฤศภาคม 1801 ศรีสิทธิวินายกมนเทียรเป็นหนึ่งในมนเทียรที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศอินเดีย[2] ภายในมนเทียรมีมณฑปขนาดเล็กที่ซึ่งประดิษฐานพระสิทธิวินายก (Siddhi Vinayak) คือ "พระคเณศผู้ประทานความสำเร็จดังประสงค์" ("Ganesha who grants your wish") ประตูไม้เข้าไปภายในครรภคฤห์นั้นแกะสลักเป็นภาพของอัษฏวินายก หรือพระคเณศทั้งแปดองค์แห่งรัฐมหาราษฏระ ศิขรด้านในเคลือบด้วยทองคำ และตรงกลางประดิษฐานพระพิฆเนศ
มนเทียรนี้มีชื่อเสียงมาก เพราะทั้งนักการเมืองและดาราบอลลีวูดต่างหลั่งไหลเข้ามาขอพรที่มนเทียรนี้มากมาย นอกเหนือจากชาวอินเดียแล้ว เมื่อปี 2016 ระหว่างการเดินทางเยี่ยมประเทศอินเดียของซีอีโอบริษัทแอปเปิล ทิม คุก ยังได้เริ่มต้นการเดินทางด้วยการเข้าพิธีสวดบูชาพระพิฆเนศยามเช้าที่มนเทียรนี้[3]
ข้อพิพาท
[แก้]สิทธิวินายกมนเทียรได้รับเงินบริจาคปีละราว 100 - 150 ล้านรูปีอินเดีย ทำให้มนเทียรนี้เป็นศาสนสถานที่มีเงินในครอบครอง (trust) ร่ำรวยที่สุดในนครมุมไบ[4] ในปี 2004 สำนักงานทรัพย์สินสิทธิวินายกคณปติมนเทียร (Siddhivinayak Ganpati Temple Trust) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริหารมนเทียร ถูกกล่าวหาว่าได้ใช้เงินบริจาคไปในทางที่ไม่เหมาะสม ศาลสูงบอมเบย์ได้มอบหมายให้ผู้พิพากษาเกษียณ วี.พี. ติปนิส (V P Tipnis) เป็นผู้ตรวจสอบเงินบริจาคของมนเทียร[4] คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงาน่า "ส่วนที่น่าตกใจที่สุดคือไม่มีวิธีการหรือหลักการที่ใช้ในหน่วยงานเฉพาะ เกณฑ์เดียวที่ใช่ในการคัดเลือกนั้นมาจากการแนะนำของคนที่ไว้ใจหรือจากการเมือง ซึ่งมักมาจากพรรคการเมืองที่กุมอำนาจอยู่"[5]
ในปี 2006 ศาลสูงบอมเบย์ได้กำกับให้รัฐบาลรัฐมหาราษฏระมอบหมายให้สำนักทรัพย์สินและผู้ยื่นฟ้อง (เกวัล เสมลนี - Keval Semlani) เตรียม "แนวทางนำเสนอ" ("suggestive guidelines") สำหรับการบริหารทรัพย์สินของมนเทียร[6]
รายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Shree Siddhivinayak Mandir". Amazing Maharashtra.
- ↑ "The Birth of Shree Siddhivinayak Ganapati". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-27. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
- ↑ (online) (ภาษาอังกฤษ). Mumbai. NDTV. May 18, 2016 05:01 pm IST https://www.ndtv.com/mumbai-news/apple-ceo-tim-cook-pays-obeisance-at-mumbais-siddhivinayak-temple-1407502. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 4.0 4.1 Siddhivinayak grants may be screened เก็บถาวร 2012-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Times of India, 10 December 2004. Retrieved on 1 March 2007.
- ↑ Draft guidelines for using Trust funds of Siddhivinayak: HC UNI 9 March 2006. Retrieved on 1 March 2007.
- ↑ State to finalize guidelines for Siddhivinayak Trust funds: HC เก็บถาวร 2012-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน UNI 13 December 2006. Retrieved on 1 March 2007.