ข้ามไปเนื้อหา

สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 321

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 321
9V-SWM เครื่องบินที่ประสบเหตุ ถ่ายในปี ค.ศ. 2021
สรุปอุบัติเหตุ
วันที่21 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 (2024-05-21)
สรุปความปั่นป่วนขณะบิน, กำลังสอบสวน
จุดเกิดเหตุเหนือ เขตเมียงมยา ภาคอิรวดี ประเทศพม่า
16°29′06″N 95°11′24″E / 16.48500°N 95.19000°E / 16.48500; 95.19000
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานโบอิง 777-300อีอาร์
ดําเนินการโดยสิงคโปร์แอร์ไลน์
หมายเลขเที่ยวบิน IATASQ321
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOSIA321
รหัสเรียกSINGAPORE 321
ทะเบียน9V-SWM
ต้นทางท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร
ปลายทางท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
จำนวนคน229
ผู้โดยสาร211
ลูกเรือ18
เสียชีวิต1
บาดเจ็บ104
รอดชีวิต228
แผนที่เส้นทางการบิน

สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 321 เป็นเที่ยวบินประจำจากท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ไปยังท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ โดยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 โบอิง 777-300 อีอาร์ เผชิญกับความปั่นป่วนอย่างหนักเหนือน่านฟ้าประเทศพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คนและบาดเจ็บ 104 คน[1][2] ทำให้เครื่องบินต้องลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในจังหวัดสมุทรปราการ[3][4][5][6] มีรายงานว่าเครื่องบินลำนี้บรรทุกผู้โดยสาร 211 คนและลูกเรือ 18 คน[6] เหตุนี้นับเป็นอุบัติเหตุทางการบินครั้งแรกของสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่มีผู้เสียชีวิต นับตั้งแต่เที่ยวบินที่ 006 เมื่อปี ค.ศ. 2000[2]

อากาศยาน

[แก้]

เครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุคือ โบอิง 777-300 อีอาร์ ที่มีอายุใช้งาน 16 ปี ระบุทะเบียนเป็น 9V-SWM[7] หมายเลขเครื่องที่ 34578 และหมายเลขสายการผลิตที่ 701[8] มีการส่งเครื่องบินลำนี้ให้สิงคโปร์แอร์ไลน์ใน ค.ศ. 2008[8]

อุบัติเหตุ

[แก้]

อากาศยาน โบอิง 777-300 อีอาร์ ประสบเหตุกระแสลมแปรปรวนเหนือลุ่มน้ำอิรวดีในประเทศพม่า ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 360 ไมล์ทะเล (667 กิโลเมตร; 414 ไมล์)[5][6] เครื่องบินร่วงลงในแนวดิ่งอย่างรุนแรงระหว่างพนักงานกำลังบริการอาหารเช้า[9] ผู้โดยสารพร้อมสัมภาระถูกกระชากและลอยระหว่างเกิดเหตุดังกล่าว[5][6] ที่ระดับความสูง 37,000 ฟุต (11,278 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเล[10] สิงคโปร์แอร์ไลน์ระบุว่าเครื่องบินลดระดับลง 6,000 ฟุต (1,829 เมตร) ในระยะเวลาสามนาที[3]

จากเหตุดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 71 ราย[3] ในจำนวนนี้มีผู้เข้ารับการบริบาลเป็นพิเศษจำนวน 20 ราย[11] ผู้เสียชีวิตคือ Geoff Kitchen ชายชาวอังกฤษวัย 73 ปี ที่มีอาการหัวใจวาย[5][6] มีการเผยแพร่ภาพความเสียหายภายในเครื่องบิน และหน้ากากออกซิเจนที่ถูกดีดออกมาจากช่องเหนือศีรษะผู้โดยสาร[12][13]

เที่ยวบินนี้ลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเวลา 15.45 น.[14][15][16]

หลังจากนั้นสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ส่งอากาศยาน แอร์บัส เอ350 เพื่อรับผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ ในเที่ยวบิน SQ9071 ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของเที่ยวบินดังกล่าวตามกำหนดการเดิม[10] เครื่องบินดังกล่าวนำผู้โดยสาร 131 คน และลูกเรือ 12 คน ถึงท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ในเช้าวันต่อมา[17] ในเวลา 04.57 น.ตามเวลาในประเทศสิงคโปร์

การสืบสวน

[แก้]

ผู้สืบสวนจากสำนักงานสืบสวนความปลอดภัยด้านการขนส่ง (Transport Safety Investigation Bureau: TSIB) ซึ่งเป็นคณะกรรมการตามกฎหมายของกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์ เดินทางมาถึงประเทศไทยในคืนวันเกิดเหตุ[18] โดยมีรายงานว่าพวกเขาจะสอบสวนร่วมกับฝ่ายสืบสวนของไทย[19]

กิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าวว่าเครื่องบินลำดังกล่าวทะเบียน 9V-SWM สามารถบินกลับไปยังท่าอากาศยานชางงีได้ อย่างไรก็ตามทางสิงคโปร์แอร์ไลน์ตัดสินใจไม่นำเครื่องบินลำดังกล่าวขึ้นบินและสอบสวนเบื้องต้นที่ประเทศไทย ก่อนบินกลับท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2567

รายละเอียดจากการสืบสวนเบื้องต้นที่เผยแพร่โดย TSIB เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เปิดเผยว่าเมื่อพบกับความปั่นป่วนครั้งแรก เครื่องบินประสบกับความโน้มถ่วงที่ผันผวนระหว่าง 0.44 จี ถึง 1.57 จี เป็นเวลาประมาณ 19 วินาที โดยทำให้ความสูงของเครื่องบินโดยไม่มีการบังคับเพิ่มเป็น 37,362 ฟุต (11,388 เมตร) ความปั่นป่วนทำให้เครื่องบินสั่นสะเทือน ระบบการบังคับอากาศยานอัตโนมัติได้ลดระดับเครื่องบินลงเพื่อกลับสู่ระดับความสูง 37,000 ฟุต (11,000 เมตร) นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มความเร็วของเครื่องบินโดยไม่ได้มีการรับคำสั่ง ซึ่งนักบินได้ขยายความเร็วเบรกเพื่อตอบโต้ สิบเอ็ดวินาทีหลังจากการสั่นครั้งแรก ปรากฏว่าสัญญาณรัดเข็มขัดนิรภัยเปิดอยู่ หลังจากนั้นเครื่องบินประสบกับความปั่นป่วนอีกด้วยความโน้มถ่วงที่ผันผวนระหว่าง -1.5 และ 1.5 จี หลายครั้ง ก่อนที่อากาศยานจะเสถียรในที่สุดภายใต้โหมดควบคุมด้วยตนเองของนักบิน ซึ่งได้ปิดการใช้งานระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นเวลา 21 วินาที[20]

การเพิ่มความเร็วและระดับความสูงของเครื่องบินโดยไม่มีการบังคับนั้น น่าจะเกิดจากการยกตัวของอากาศยาน[20] สิบเจ็ดนาทีหลังจากเหตุการณ์ นักบินได้เริ่มควบคุมการลงสู่ระดับ 31,000 ฟุต (9,400 เมตร) ตามปกติ โดยไม่พบความปั่นป่วนอีกจนถึงการลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[20]

ปฏิกิริยา

[แก้]

หลังจากเหตุดังกล่าว สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ปรับการให้บริการของลูกเรือ ซึ่งรวมถึงการงดเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มร้อนเมื่อมีสัญญาณแจ้งรัดเข็มขัดนิรภัยปรากฏขึ้น[21]

ตรรมัน จัณมุกรัตตินัม ประธานาธิบดีสิงคโปร์ และลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และให้กำลังใจผู้ได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งกล่าวว่ารัฐบาลสิงคโปร์พร้อมให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยอย่างเต็มที่[19] ด้านโบอิงก็พร้อมให้ความช่วยเหลือสิงคโปร์แอร์ไลน์เช่นกัน[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. โฆษกสธ. เผยยอดเจ็บ สิงคโปร์แอร์ไลน์ 104 คน รักษาต่อรพ. 57 ราย ‘สมศักดิ์’ สั่งช่วยเต็มที่
  2. 2.0 2.1 Tan, Yvette (23 May 2024). "Singapore Airlines apologises for deadly 'traumatic' flight". BBC.
  3. 3.0 3.1 3.2 Napat, Kongsawad (22 May 2024). "Most of passengers from battered Singapore Airlines jetliner arrive in Singapore from Bangkok". Associated Press.
  4. Guinto, Joel; Fraser, Simon (21 May 2024). "Singapore Airlines: One dead, several hurt in severe turbulence". BBC News.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Gecsoyler, Sammy; Lowe, Yohannes (21 May 2024). "Singapore Airlines flight: British man dead and 30 injured after severe turbulence – as it happened". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 May 2024.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Amos, Owen; Moloney, Marita; Cursino, Malu (21 May 2024). "British man, 73, dies during severe turbulence on London-Singapore flight". BBC. สืบค้นเมื่อ 21 May 2024.
  7. Jolly, Bradley (2024-05-21). "Multiple injured and one dead after severe turbulence on flight from UK". The Mirror (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
  8. 8.0 8.1 "Accident Boeing 777-312ER 9V-SWM".
  9. Rakshika, Vihanya; Hamzah, Aqil; Yufeng, Kok (2024-05-21). "One dead, dozens injured after Singapore Airlines flight from London hit by severe turbulence". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
  10. 10.0 10.1 "British man dies and several passengers are injured when turbulence hits a Singapore Airlines flight". Associated Press. May 21, 2024. สืบค้นเมื่อ May 21, 2024.
  11. "Aviation experts to begin probe of Singapore Airlines turbulence incident that left British man dead". Associated Press. 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  12. "Head injuries and bleeding ears: Passengers recount chaos on turbulent Singapore Airlines flight". CNA. May 21, 2024. สืบค้นเมื่อ May 22, 2024.
  13. "Elderly British man dies after severe turbulence hits Singapore Airlines flight". CNA. May 22, 2024. สืบค้นเมื่อ May 22, 2024.
  14. Hradecky, Simon (May 21, 2024). "Accident: Singapore B773 near Bangkok on May 21st 2024, severe turbulence kills one and injures 30". The Aviation Herald. สืบค้นเมื่อ May 21, 2024.
  15. Sinclair, Harriet (May 21, 2024). "Singapore Airlines latest: Passenger killed and 30 injured in turbulence on London flight". Yahoo! News. สืบค้นเมื่อ May 21, 2024.
  16. "One dead and others injured after turbulence hits London to Singapore flight". FINANCIAL TIMES. May 21, 2024. สืบค้นเมื่อ May 21, 2024.
  17. "Singapore Airlines relief flight arrives at Changi Airport after passengers, crew shaken by severe turbulence". CNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
  18. "SIA relief flight with passengers and crew members of SQ321 arrives in Singapore". The Straits Times. 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  19. 19.0 19.1 "One dead, 30 injured after Singapore Airlines flight from London hit by severe turbulence". The Straits Times. 21 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  20. 20.0 20.1 20.2 "SQ321 turbulence: 'Rapid' G-force changes, altitude drop likely caused injuries to unbelted passengers, crew". CNA. สืบค้นเมื่อ 2024-05-29.
  21. "No meal service when seat belt sign on: Singapore Airlines adjusts turbulence measures in wake of SQ321". CNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-23.