สำเนาว์ ขจรศิลป์
สำเนาว์ ขจรศิลป์ | |
---|---|
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | อาจารย์ |
มีชื่อเสียงจาก | นักวิชาการ |
คู่สมรส | บุญเรียง ขจรศิลป์ |
ศาสตราจารย์ ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ นักการศึกษาชาวไทย เป็นศาสตราจารย์ สาขาบริหารการศึกษา อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผลงานทางวิชาการด้านกิจการนักศึกษาเป็นที่ยอมรับ ผลงานที่สำคัญ คือ หนังสือมิติใหม่ของกิจการนักศึกษา ศาตราจารย์ ดร.สำเนาว์ เป็นบุคคลสำคัญแห่งวงการกิจการนักศึกษาของไทย[1]
ศาสตราจารย์ ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ สมรสกับรองศาสตราจารย์ ดร.บุญเรียง ขจรศิลป์
การศึกษา
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กส.บ. สาขาพืชไร่ และระดับปริญญาโท ศศ.ม. สาขาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในระดับปริญญาเอก Ph.D (Student Personnal and Guidance) จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต สหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]สำเนาว์ ขจรศิลป์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเคยดำรงตำแหน่งหน้าที่ในฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย คือ หัวหน้ากองกิจการนิสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2526 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ในปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2533 และเป็นที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2534
ในด้านวิชาการดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานกิจกรรมนิสิตนักศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นที่ปรึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น และประธานหลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
ผลงานตำรา-หนังสือ
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร.สำเนาว์ ขจรศิลป์ มีผลงานเขียนตำราทางวิชาการที่โดดเด่น อาทิ
- หนังสือหลักกิจการนักศึกษา
- หนังสือการแนะแนวอาชีพในสถาบันอุดมศึกษา
- หนังสือมิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 1 : พื้นฐานและบริการนักศึกษา
- หนังสือมิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 2 : การพัฒนานักศึกษา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการทางานจิตอาสาของอาสาสมัคร สวพ. ๙๑ เก็บถาวร 2011-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๓, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เกิด
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- นักการศึกษาชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์
- อาจารย์คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- บุคคลจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์