สาธารณรัฐอิสลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงประเทศสาธารณรัฐอิสลามที่ใช้ตำแหน่งนี้

สาธารณรัฐอิสลาม (อังกฤษ: Islamic republic) เป็นรัฐเอกราชที่ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามและอยู่ตรงข้ามกับราชาธิปไตยอิสลาม ปัจจุบันมีเพียง 3 ประเทศที่ใช้ชื่อนี้คืออิหร่าน, มอริเตเนีย และปากีสถาน ปากีสถานเป็นประเทศแรกที่ใช้ตำแหน่งนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1956 มอริเตเนียใช้ตำแหน่งนี้ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 และอิหร่านประกาศใช้หลังการปฏิวัติอิหร่านใน ค.ศ. 1979 ที่โค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวี

ถึงแม้ว่าทั้งสามประเทศมีตำแหน่ง "สาธารณรัฐอิสลาม" เหมือนกัน แต่มีรัฐบาลและกฎหมายต่างกัน และมีแค่อิหร่านเท่านั้นที่เป็นรัฐเทวาธิปไตยเชิงศาสนา คำนี้มีความหมายหลายแบบ บางส่วนขัดแย้งกับอีกอัน ตามความเห็นผู้นำศาสนาของมุสลิมบางส่วนในภูมิภาคที่ยอมรับระบบนี้ สาธารณรัฐอิสลามเป็นรัฐที่อยู่ภายใต้รูปรัฐบาลอิสลาม พวกเขาเห็นมันเป็นการประนีประนอมระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์อิสลามบริสุทธิ์กับสาธารณรัฐชาตินิยมแบบโลกิยนิยม ในแนวคิดสาธารณรัฐอิสลามของพวกเขา จะต้องมีการใช้ประมวลกฎหมายอาญาที่ตรงกับกฎหมายชะรีอะฮ์บางส่วนหรือทั้งหมด และรัฐนั้นอาจไม่มีกษัตริย์เหมือนที่หลายประเทศในตะวันออกกลางมีในปัจจุบัน ถึงกระนั้น ยังมีสาธารณรัฐที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติและปกครองด้วยกฎหมายอิสลาม (อย่างน้อยบางส่วน) แต่ไม่ใช้ตำแหน่ง "สาธารณรัฐอิสลาม" - เช่น อิรัก, เยเมน, แอลจีเรีย และมัลดีฟส์

รายชื่อสาธารณรัฐอิสลามในปัจจุบัน[แก้]

รัฐ วันที่ใช้งาน ประเภทรัฐบาล
 สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน 1 เมษายน ค.ศ. 1979[1] รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดีโคมัยนี (ผสมสาธารณรัฐ-เทวาธิปไตยกับผู้นำสูงสุด โดยพฤตินัย)
 สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย[2][3][4] 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐที่มีระบบกึ่งประธานาธิบดี
 สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน 23 มีนาคม ค.ศ. 1956 รัฐสหพันธ์ สาธารณรัฐที่มีระบบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ

รายชื่อสาธารณรัฐอิสลามในอดีต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Iran Islamic Republic". Encyclopædia Britannica. Retrieved 28 December 2019.
  2. Encyclopedia of the Peoples of Africa and the Middle East. Facts On File, Inc. 2009. p. 448. ISBN 978-1438126760. The Islamic Republic of Mauritania, situated in western North Africa [...].
  3. Seddon, David (2004). A Political and Economic Dictionary of the Middle East. We have, by contrast, chosen to include the predominantly Arabic-speaking countries of western North Africa (the Maghreb), including Mauritania (which is a member of the Arab Maghreb Union) [...].
  4. Branine, Mohamed (2011). Managing Across Cultures: Concepts, Policies and Practices. p. 437. The Magrebian countries or the Arab countries of western North Africa (Algeria, Libya, Mauritania, Morocco and Tunisia) [...].
  • Ankerl, Guy (2000). Global communication without universal civilization. INU societal research. Vol. Vol.1: Coexisting contemporary civilizations : Arabo-Muslim, Bharati, Chinese, and Western. Geneva: INU Press. ISBN 2-88155-004-5. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]