สะพานอิรวดี

พิกัด: 21°52′39″N 95°59′42″E / 21.87750°N 95.99500°E / 21.87750; 95.99500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานอิรวดี (ยะดะนาโบน)
ဧရာဝတီတံတား (ရတနာပုံ)
สะพานอิรวดี
พิกัด21°52′39″N 95°59′42″E / 21.87750°N 95.99500°E / 21.87750; 95.99500
เส้นทางมอเตอร์เวย์ 4 เลน, เลนคนเดิน 2 เลน
ข้ามแม่น้ำอิรวดี
ที่ตั้งภาคมัณฑะเลย์, ประเทศพม่า
ชื่อทางการสะพานอิรวดี (ยะดะนาโบน)
ชื่ออื่นสะพานยะดะนาโบน
ผู้ดูแลกรมโยธาธิการ
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานโครงเหล็กโค้ง
ความยาว5,614 ฟุต (1,711 เมตร)
ความกว้าง49 ฟุต (15 เมตร), เลนคนเดิน 2 เลน เลนละ 6 ฟุต (2 เมตร)
ช่วงยาวที่สุด735 ฟุต (224 เมตร) (x3)
ประวัติ
วันเปิด11 เมษายน พ.ศ. 2551
สถิติ
การจราจรโดยเฉลี่ย2,700
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานอิรวดี (ยะดะนาโบน) (พม่า: ဧရာဝတီတံတား (ရတနာပုံ)) (หรือ สะพานเอยาวะดี, สะพานยะดะนาโบน หรือ สะพานอังวะใหม่) เป็นสะพานในภาคมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า สะพานนี้ข้ามแม่น้ำอิรวดีทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองมัณฑะเลย์และอมรปุระ ทางเหนือของสะพานอังวะเก่า และยังเป็นที่รู้จักในชื่อสะพานอังวะใหม่ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551

ที่ตั้ง[แก้]

สะพานนี้ทอดข้ามแม่น้ำอิรวดีในย่านชานเมืองมัณฑะเลย์เชื่อมต่อกับเมืองซะไกง์ อยู่ห่างจากสะพานอังวะ 2,000 ฟุต (610 เมตร)[1] ซึ่งอยู่ที่จุดบรรจบของแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำมยิแงใกล้กับทุ่งนาเจาะแซ[2] สะพานอิรวดี[3] เป็นประตูสู่ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และภูมิภาคภายในอื่น ๆ[4] ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำมีเจดีย์สองแห่งจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 คือ ชเว-จัต-ยัต และ ชเว-จัต-จา[5]

ประวัติ[แก้]

สะพานอังวะเก่าข้ามแม่น้ำอิรวดีมีระยะทาง 3,948 ฟุต (1,203 เมตร) สร้างขึ้นโดยชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2477 จนถึงช่วง พ.ศ. 2533[2] เป็นสะพานเดียวที่ทอดข้ามแม่น้ำสายนี้ เมื่อสะพานอังวะมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการรับน้ำหนักถูกจำกัดไว้ที่รถบรรทุกไม่เกิน 15 ตันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ยานพาหนะที่บรรทุกหนักมากต้องข้ามแม่น้ำด้วยเรือข้ามฟาก ส่งผลให้การขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพน้อยลง[4]

เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัดและช่วยปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของพม่า รัฐบาลจึงวางแผนสร้างสะพานแห่งใหม่ จึงมีการเปิดประมูลราคาระหว่างประเทศเพื่อการก่อสร้างต้นปี พ.ศ. 2545 การประมูลสะพานทางหลวงซึ่งรวมถึงการวางแผน ออกแบบ และก่อสร้าง การประมูลใช้เวลาแปดเดือน และบริษัทที่ได้รับมอบงานนี้คือ China CAMC Engineering Cc., Ltd. ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 สัญญาดังกล่าวได้ลงนามในเมืองย่างกุ้ง ด้วยราคาเสนอซื้อ 10.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545[1] (ภายในปี พ.ศ. 2547 สะพาน 35 แห่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างในพม่าพร้อมกับสะพานอิรวดี[6]) สะพานใหม่นี้เปิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551[4][7]

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

สะพานอิรวดีสร้างโดยกรมโยธาธิการ มีช่วงยาวทั้งหมด 5,614 ฟุต (1,711 เมตร) และมีถนนมอเตอร์เวย์สี่เลนกว้าง 49 ฟุต (15 เมตร) รอบข้างมีเลนคนเดินกว้าง 6 ฟุต (1.8 เมตร) ถูกออกแบบให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ 60 ตัน[4] สะพานเป็นโครงสร้างคานแบบยืดหยุ่น โดยมีส่วนคานโค้งแข็ง 3 ส่วน ส่วนละ 224 เมตร[1] สะพานหลักมีความยาว 3,694 ฟุต (1,126 เมตร) ทางเข้าฝั่งมัณฑะเลย์ยาว 1,140 ฟุต (350 เมตร) และฝั่งซะไกง์ยาว 7,780 ฟุต (2,370 เมตร)[8]

สะพานลอย ตีริมีนกะลา ข้ามเหนือทางรถไฟ (ซึ่งเคยรองรับการจราจร) เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความยาว 485 ฟุต (148 เมตร) พร้อมมอเตอร์เวย์ 2 เลน ที่สามารถรองรับน้ำหนักได้ 60 ตัน ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีช่องว่าง 52 ฟุต (16 เมตร) และกว้าง 17 ฟุต (5.2 เมตร) เพื่อให้รถไฟผ่าน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Contract for Burma ยะดะนาโบน Project Signed". China Camc Engineering Co., Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
  2. 2.0 2.1 Seekins 2006, p. 102.
  3. "Sagaing". Burmas.net. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Aung, Yan Gyi (October 12, 2009). "Ayeyawady Bridge (ยะดะนาโบน) facilitates transportation and commodity flow" (PDF). New Light of Burma. Burma Library. p. 8. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
  5. Cummings 2000, p. 267.
  6. Gupta, Chaturvedi & Joshi 2004, p. 477.
  7. "Ayeyarwady Bridge (ยะดะนาโบน)". Hsdejong. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
  8. "Ayeyawady Bridge-Yadanar Pone Bridge". Wikimapia.org. สืบค้นเมื่อ 21 September 2013.
บรรณานุกรม