สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก
Tadj ol-Molouk.jpg
สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน
พระราชสวามีพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี
พระราชบุตรเจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี
ชาห์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี
เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวี
พระนามเต็ม
ตาจญ์ อัล-โมลูก อัยรุมลู
ราชวงศ์ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระบิดานายทัดเฟล โมลูก อัยรุมลู
ประสูติ17 มีนาคม ค.ศ. 1896
บากู จักรวรรดิรัสเซีย
สวรรคต10 มีนาคม ค.ศ. 1982 (85 ปี)
อากาปุลโก ประเทศเม็กซิโก

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก อัยรุมลู (เปอร์เซีย:تاج‌الملوک, พระราชสมภพ 17 มีนาคม ค.ศ. 1896บากู จักรวรรดิรัสเซีย - สวรรคต 10 มีนาคม ค.ศ. 1982อากาปุลโก ประเทศเม็กซิโก) พระองค์เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี และครองราชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1925-1941

พระราชประวัติ[แก้]

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก พระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1896กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน มีพระนามเดิมว่า นิมตาจ คานุม เป็นธิดาของนายทัดเฟล โมลูก อัยรุมลู โดยนามสกุลอัยรุมลูซึ่งเป็นนามสกุลเดิมของพระองค์สามารถสะกดเป็น Ayrumlu, Eyrumlu และ Ayromloo และตระกูลนี้เป็นตระกูลของชาวอิหร่านเชื้อสายอาเซอร์ไบจาน พระองค์จึงสืบเชื้อสายชาวอาเซอรีด้วย ภายหลังจากการเสกสมรสกับพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี พระภัสดา พระองค์จึงเปลี่ยนพระนามใหม่ซึ่งมีความหมายว่า มงกุฎของราชันย์ (Crown of the King)

พระราชกรณียกิจ[แก้]

พระองค์เป็นพระราชินีอิหร่านพระองค์แรกที่ออกมาปรากฏตัวแก่สายตาของเหล่าพสกนิกร รวมไปถึงการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่อประชาชนภายนอก และพระองค์ยังมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการยกเลิกการใช้ผ้าคลุมศีรษะของสตรีมุสลิม (ฮิญาบ) ในช่วงตลอดรัชกาลของพระภัสดาของพระองค์ ในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ. 1934 พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีทรงต้องการแสดงให้เห็นการแต่งกายของสมเด็จพระราชินี และพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ ในงานพระราชทานปริญญาบัตรวิทยาลัยครูเตหะราน โดยแต่งกายในฉลองพระองค์อย่างชาวยุโรปโดยปราศจากผ้าคลุมศีรษะ และถือเป็นครั้งแรกที่สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่านเปิดเผยพระองค์เองสู่สายตาประชาชน ภายหลังพระเจ้าชาห์ได้นำพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระราชินี และพระราชธิดาลงข่าวโดยปราศจากผ้าคลุมศีรษะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการใช้ผ้าคลุมศีรษะจึงได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ[1] และต่อมาภายหลังพระสวามีของพระองค์ พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ได้สละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1941 พระโอรสของพระองค์จึงได้ครองราชย์สมบัติต่อในนาม ชาห์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

พระราชโอรส-ธิดา[แก้]

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก และพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ทรงมีมีพระราชโอรส-ธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดาอีก 2 พระองค์ อันได้แก่

  1. เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี (ประสูติ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1917 - สิ้นพระชนม์ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996)
  2. ชาห์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (พระราชสมภพ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 – สวรรคต 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980)
  3. เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี (ประสูติ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 - สิ้นพระชนม์ 7 มกราคม ค.ศ. 2016)
  4. เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวี (ประสูติ 1 มีนาคม ค.ศ. 1922 - สิ้นพระชนม์ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1954)

สวรรคต[แก้]

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1982 เมืองอากาปุลโก ประเทศเม็กซิโก ด้วยพระอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โดยพระองค์เสด็จสวรรคตก่อนการครอบรอบวันเสด็จพระราชสมภพปีที่ 86 พรรษาของพระองค์เพียง 7 วัน สิริพระชนมายุได้ 85 พรรษา

อ้างอิง[แก้]

  1. Elain Sciolino. Persia Mirror; The Elusive Face of Iran. (New York : The Free Press, 1997) pp.133-134. ชาห์เรซามีพระราชกระแสให้สตรีอิหร่านทุกคนปฏิบัติตามอย่างเจ้าฟ้าหญิง และมีพระราชประสงค์ให้สตรีทุกคนโยนฮิญาบทิ้ง
  • Ashraf Pahlavi, Faces in a mirror
  • จักรพันธ์ กังวาฬ. เส้นทางประวัติศาสตร์อันยาวไกลจากเปอร์เซียสู่สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน. กรุ่นกลิ่นอารยธรรมเปอร์เซียในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. หน้า 18-22
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก ถัดไป
สมเด็จพระราชินีฟาเตเมห์ คานุม 2leftarrow.png Imperial Coat of Arms of Iran.svg
สมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน
(ค.ศ. 1925-1941)
2rightarrow.png สมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์