สงครามที่ราบภาคกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามที่ราบภาคกลาง
ส่วนหนึ่งของ สมัยขุนศึก
Map showing the province of Henan and two definitions of the Central Plain (中原) or Zhōngyuán
แผนที่แสดงการนิยามถึงที่ราบภาคกลางหรือจง-ยฺเหวียน
วันที่มีนาคม ค.ศ. 1929 – พฤศจิกายน ค.ศ. 1930
  • การรบหลักครั้งที่ 1: มีนาคม – พฤศจิกายน ค.ศ. 1929[4]
  • สงครามฤดูใบไม้ร่วง: กันยายน ค.ศ. 1929 – ฤดูร้อน ค.ศ. 1930[2]
  • การรบหลักครั้งที่ 2: พฤษภาคม – พฤศจิกายน ค.ศ. 1930
สถานที่
ประเทศจีนตอนกลาง ตะวันออก และใต้
ผล

รัฐบาลชาตินิยมชนะ

คู่สงคราม
รัฐบาลจีนชาตินิยม
สนับสนุนโดย:
 เยอรมนี[1]
 เชโกสโลวาเกีย[1]
 ญี่ปุ่น[1]
แนวร่วมขุนศึกของหยาน ซีชาน, เฟิง ยฺวี่เสียง และหลี่ จงเหริน
ฝ่ายย่อย:
กองทัพของจาง ฟาขุย[2]
กองทัพถัง เชิงจี้[3]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เจียง ไคเชก
หาน ฟู่จู่
หลิว จี้
หู จงหนาน
เฉิน เฉิง
ทัง เอิ้นป๋อ
หม่า หงขุย
หม่า ปู้ฟาง
มัคส์ เบาเออร์[5]
จาง เสฺวเหลียง (ตั้งแต่กันยายน ค.ศ. 1930)
หยาน ซีชาน
เฟิง ยฺวี่เสียง
หลี่ จงเหริน
ไป้ ช่งฉี่
ฟู่ จั้วอี้
จาง ฟาขุย[2]
ถัง เชิงจี้[3]
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ

แนวร่วมขุนศึก

กำลัง
กองทัพเจียง:
240,000+ (ค.ศ. 1929)[7]
295,000 (ค.ศ. 1930)[8]
ขุนศึกพันธมิตร:
ป. 100,000[9]
กองทัพตะวันออกเฉียงเหนือ:
409,000 (ค.ศ. 1930)[9]
ป. 650,000 (ค.ศ. 1929)[7]
ป. 700,000 (ค.ศ. 1930)[8]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 30,000 นาย
บาดเจ็บ 60,000 นาย
(รัฐบาลชาตินิยมกล่าวอ้าง)[10]
150,000 นาย (การประมาณการสมัยใหม่)[10]
150,000 นาย (ฝ่ายชาตินิยมกล่าวอ้าง)[10]
เกิดความสูญเสียต่อพลเรือนเป็นจำนวนมาก[10]

สงครามที่ราบภาคกลาง (จีนตัวเต็ม: 中原大戰; จีนตัวย่อ: 中原大战; พินอิน: Zhōngyúan Dàzhàn) เป็นการทัพทางทหารที่เกิดขึ้นหลายครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1929 ถึง ค.ศ. 1930 ซึ่งก่อตัวเป็นสงครามกลางเมืองในประเทศจีนระหว่างฝ่ายรัฐบาลชาตินิยมกั๋วหมินตั่งในหนานจิงที่นำโดยเจียง ไคเชก กับผู้นำทหารตามภูมิภาคต่าง ๆ และขุนศึกที่เคยเป็นพันธมิตรกับเจียง ไคเชก

ภายหลังการกรีธาทัพขึ้นเหนือจบลงเมื่อ ค.ศ. 1928 หยาน ซีชาน, เฟิง ยฺวี่เสียง, หลี่ จงเหริน และจาง ฟาขุย ได้ยุติความสัมพันธ์กับเจียงลงหลังจากการประชุมปลดอาวุธใน ค.ศ. 1929 และร่วมกันก่อตั้งแนวร่วมต่อต้านเจียงเพื่อท้าทายความชอบธรรมของรัฐบาลหนานจิงอย่างเปิดเผย สงครามครั้งนับเป็นความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุดในสมัยขุนศึก โดยขอบเขตของสงครามกินพื้นที่มณฑลเหอหนาน มณฑลชานตง มณฑลอานฮุย และพื้นที่อื่น ๆ ของที่ราบภาคกลางของประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลหนานจิงมีกำลังพลประมาณ 300,000 นาย ส่วนแนวร่วมขุนศึกมีกำลังพลราว 700,000 นายด้วยกัน[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Jowett (2017), p. 43.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Jowett (2017), pp. 39–40.
  3. 3.0 3.1 Jowett (2017), p. 40.
  4. Jowett (2017), pp. 27–39.
  5. 5.0 5.1 Jowett (2017), p. 27.
  6. 6.0 6.1 6.2 Jowett (2017), p. 50.
  7. 7.0 7.1 Jowett (2017), p. 25.
  8. 8.0 8.1 Jowett (2017), p. 41.
  9. 9.0 9.1 Jowett (2017), p. 42.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Jowett (2017), p. 58.
  11. Worthing (2016), p. 132.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Eastman, Lloyd E. (1986). The Nationalist Era in China, 1927–1949. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0521385911.
  • Jowett, Philip S. (2017). The Bitter Peace. Conflict in China 1928–37. Stroud: Amberley Publishing. ISBN 978-1445651927.
  • Lipman, Jonathan N. (2011). Familiar Strangers: A History of Muslims in Northwest China. Seattle: University of Washington Press. ISBN 978-0295800554.
  • Taylor, Jay (2009). The Generalissimo. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0674033382.
  • Worthing, Peter (2016). General He Yingqin: The Rise and Fall of Nationalist China. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 9781107144637.
  • Worthing, Worthing (2018). "A Tale of Two Fronts: China's War of the Central Plains, 1930". War in History. 25 (4): 511–533. JSTOR 10.2307/26538750.