วิฆเนศวรมนเทียร (โอฌร)
วิฆเนศวรมนเทียร (พิฆเนศวรมนเทียร) | |
---|---|
![]() ทางเข้าของวิฆเนศวรมนเทียร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอปูเน |
เทพ | พระพิฆเนศ "วิฆเนศวร (พิฆเนศวร)/วิฆนหร" (Vigneshwara/Vignahar) |
เทศกาล | คเณศจตุรถี, คเณศชยันตี |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | โอฌร (Ozar) |
รัฐ | รัฐมหาราษฏระ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 19°11′17.07″N 73°57′34.70″E / 19.1880750°N 73.9596389°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 19°11′17.07″N 73°57′34.70″E / 19.1880750°N 73.9596389°E |
วิฆเนศวรมนเทียร หรือ พิฆเนศวรมนเทียร (มราฐี: विघ्नहर मंदिर; อังกฤษ: Vigneshwara Temple) หรือ วิฆนหรคณปติมนเทียร (มราฐี: विघ्नहर महागणपती मंदिर; อังกฤษ: Vighnahar Ganapati Temple)[1] แห่งโอฌร (Ozar/Ojhar/Ojzar; ओझर) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่บูชาพระพิฆเนศ เป็นหนึ่งในแปดมนเทียรของอัษฏวินายก หรือมนเทียรพระคเณศที่ได้รับการเคารพสูงรอบรัฐมหาราษฏระ ของประเทศอินเดีย พระคเณศที่ประดิษฐาน ณ มนเทียรนี้มีพระนามว่า วิฆเนศวร (หรือ พิฆเนศวร; มราฐี: विघ्नहर; Vighaneshwara) แปลว่าจ้าวแห่งอุปสรรค (Lord of obstacles) หรือ วิฆนหร (มราฐี: विघ्नहर; Vignahara) แปลว่าผู้ขจัดอุปสรรค (Remover of obstacles) และมีความเกี่ยวข้องกับตำนานที่ว่าพระคเณศทรงเอาชนะวิฆนาสูร (Vignasura) ปิศาจแห่งอุปสรรรค
โอฌร (Ozar) นั้นตั้งอยู่ห่างจากเมืองปูเนไป 85 กิโลเมตร[2] ไปตามทางหลวงปูเน-นาษิก (Pune-Nashik highway)[3] เช่นเดียวกันกับมนเทียรที่เลณยาทรี ทั้งที่นี่และเลณยาทรีเป็นเพียงสองแห่งในอัษฏวินายกที่ตั้งอยู่ในตำบล (ตลุกะ - taluka) ชุนนรตลุกะ (Junnar taluka) ของอำเภอปูเน[4] โอฌรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกุกที (Kukadi River) ใกล้กับเขื่อนเยทาคาว (Yedagaon dam)[2]
ประวัติศาสตร์[แก้]
Chimaji Appa พี่/น้องชายและผู้บังคับบัญชาของพระเจ้าบาจี เรา ที่หนึ่ง แห่งเปศว (Peshwa) ได้บูรณะมนเทียรนี้ขึ้น พร้อมทั้งหุ้มศิขรของมนเทียรด้วยทองคำ หลังสามารถยึดป้อม Vasai Fort คืนจากชาวโปรตุเกสได้[5] มนเทียรได้รับการบูรณะอีกครั้งในปี 1967 โดย Appa Shastri Joshi ผู้ศรัทธาในพระพิฆเนศอย่างแรงกล้า[6]
ความสำคัญทางศาสนา[แก้]
ถึงแม้โอฌรจะอยู่ลำดับที่ 7 ใน 8 อัษฏวินายก แต่ผู้จาริกแสวงบุญก็นิยมมาที่มนเทียรนี้เป็นลำดับที่ 5 เพราะสะดวกกว่าในการเดินทาง[4]
ในมุทคลปุราณะ (Mudgala Purana), สกันทปุราณะ (Skanda Purana) และในวินายกปุราณะฉบับทมิฬ (Tamil Vinayaka Purana) บันทึกไว้ว่า พระเจ้าอภินันทนา (King Abhinandana) ได้ประกอบพิธีบูชายัญแต่ไม่ได้ถวายสิ่งใดให้แก่พระอินทร์ ซึ่งทำให้พระอินทร์ทรงกริ้ว และดำริให้กาละ (Kāla - เวลา/ความตาย) ทำลายพิธีบูชายัญทิ้ง กาละได้แปลงกายเป็นวิฆนาสูร (Vignasura) อันแปลว่าอสูรแห่งอุปสรรค หรือวิฆน (อุปสรรค) ซึ่งได้ขัดขวางให้พิธีบูชายัญไม่สำเร็จในที่สุด มากไปกว่านั้น กาละยังได้สร้างความวุ่นวายยุ่งเหยิงขึ้นในจักรวาลโดยการสร้างอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้นในการทำเรื่องดี ๆ (good deeds), การบูชายัญของฤๅษีและสิ่งมีชีวิตอื่น เหล่าบรรดาฤๅษีจึงพากันร้องขอพระพรหมกับพระศิวะให้ช่วยเหลือ ทั้งสององค์ได้แนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากพระคเณศ จากนั้นฤๅษีจึงได้พากันสวดภาวนาให้พระคเณศช่วยเหลือ ที่ซึ่งพระองค์ได้เสด็จไปปราบอสูร วิฆนาสูรในภายหลังได้ทราบว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะชนะพระคเณศได้จึงยอมแพ้และตกลงจะไม่รังสิ่งมีชีวิตบนโลกอีก และตกลงกันว่าวิฆน (อุปสรรค) จะคงอยู่ได้แค่ที่ซึ่งไม่มีการบูชาพระคเณศเท่านั้น ในบางฉบับเล่าว่าในตอนท้ายอสูรได้สำนึกผิดและยอมเป็นผู้ติดตามของพระคเณศ และจะคอยสร้างปัญหาแก่ผู้ที่ไม่ได้บูชาพระคเณศ จ้าวของตน วิฆนาสูรยังร้องขอให้พระคเณศรับพระนามใหม่ว่า "วิฆเนศวร" (Vigneshwara) (ซึ่งต่อในภาษาไทยเป็นคำว่า "พิฆเนศวร" อันเป็นพระนามที่เป็นที่นิยมในการเรียกพระคเณศในประเทศไทย) อันแปลว่าจ้าวแห่งวิฆน (อุปสรรค) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์นั้น เหล่าฤๅษีหลังฟื้นตัวขึ้นจึงพากันสร้างเทวรูปพระคเณศขึ้นถวายแลพประดิษฐานไว้ที่โอฌรเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์นี้[7][8][9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Deshkar, Somnath (May 29, 2009). "Ozar temple sets up lodging facilities". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-24. สืบค้นเมื่อ 30 August 2011.
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGunaji
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อsatguru
- ↑ 4.0 4.1 Anne Feldhaus. "Connected places: region, pilgrimage, and geographical imagination in India". Palgrave Macmillan. pp. 142, 145–6. ISBN 978-1-4039-6324-6.
- ↑ Kapoor, Subodh, บ.ก. (January 2002). "Ashta Vinayak". The Indian encyclopaedia. Vol. 2. Cosmo Publications. p. 427. ISBN 81-7755-259-7.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อashtavinayakOnline
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อkapoor
- ↑ Krishan, Yuvraj (1999). Gaņeśa: Unravelling An Enigma. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers. pp. 138, 146. ISBN 81-208-1413-4.
- ↑ Grimes, John A. (1995). Ganapati: Song of the Self. SUNY Series in Religious Studies. Albany: State University of New York Press. p. 116. ISBN 0-7914-2440-5.