วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/บทความวงศ์สกุล/กรุ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  1. ความเดิมอยู่ที่ พูดคุย:วงศาโรจน์
  2. เรื่องเดิมที่ใกล้เคียงกัน

ผมขอความช่วยเหลือ และได้รับความกรุณาจากผู้ไม่ประสงค์ออกนามดังนี้

ปัญหาที่สำคัญของบทความวงศาโรจน์ (ที่ผมจะขยายเป็นรูป generalization)

คือบทความนั้นกำลังพยายามอ้างเว็บต่าง ๆ เพื่อใส่บุคคลที่มีนามสกุลว่าวงศาโรจน์เป็นสาย descendant ซึ่งการอ้างแบบนี้อ้างได้เฉพาะกรณีว่ามีนามสกุลเดียวกัน แต่ถ้ากามว่าจะอ้างว่าใครเป็น descendant ของใครบ้างคำถามนี้ก็ตอบลำบาก (ยังไม่นับเรื่องของ Notability, Autobiography, Verification)

เท่าที่ผมได้ลองดูบทความที่เกี่ยวกับ Family tree และบทความ Family ทั่ว ๆ ไป ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผมพบว่าจุดสำคัญคือ

1. วิธีการเขียนบทความประเภทนามสกุลต้องอาศัย Notability ของแต่ละคนในสกุลเป็นองค์รวม แล้วจับจุดให้ได้ว่าบุคคลในสกุลนั้น ๆ มี Joint notability คืออะไร เราจะแยกเขียนว่าแต่ละคนทำอย่างนู้นอย่างนี้ไปก็ไม่ได้ (หากบุคคลนั้นไม่มีความสำคัญเฉพาะตัวจริง ๆ ที่เป็น unique ต่างจากตระกูล) เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเป็นกรณีว่าเราใส่ชื่อบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่งไม่สำคัญได้ แต่การใส่ตำแหน่งนี้มันเหมือนเป็นจิตวิทยาที่แสดงให้เห็นความโดดเด่นกระนั้น (ดู en:Chaplin family, en:Bernoulli family, en:Jackson family)

2. ถ้าสมมุติว่า Joint notability ไม่สามารถนับได้แต่มีบุคคลมากกว่าสองคนขึ้นไปในตระกูลนั้นเกี่ยวเนื่องกันด้วยสกุล ENWP ทำเป็นหมวดหมู่แต่จะไม่เขียนหน้านามสกุลเพราะแต่ละคนแม้มาจากสกุลเดียวกันแต่ไม่มี Joint notability ร่วมกัน หรืออย่าง Soft ลงมาก็ยอมให้เขียนหน้านามสกุลและลำดับสายกับประวัติของบุคคลที่โดดเด่นในนั้น (กรณีที่ไม่สามารถแยกเป็นบทความใหม่ได้ เช่น en:Einstein family, en:Category:Chulalongkorn family (รัชกาลที่ 5) ใน ENWP

2/1. ข้อยกเว้นของกรณีใน 1) และ 2) อยู่ใน en:Mozart family ที่แต่ละคนแทบไม่มี Joint notability แต่แต่ละคนมี Notability ส่วนตัวและมีนามสกุลร่วมกัน นับขึ้นลงจากวูลฟ์กังได้ แต่การจะยอมให้เขียนแบบนี้ได้ก็ต้องมีอ้างอิงที่น่าเชื่อถือคือหนังสือหรือแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ชี้ไปที่ blog, การโพสต์หนังสือบนเว็บ หรือ Resume ว่าได้มีการอ้างถึงว่าบุคคลคนนี้เป็นสายของคนหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลในสาย หรือเป็นต้นสายแล้วแต่กรณี (ดูในส่วนของ other ของ en:Romney family ซึ่งมีข้อน่าสังเกตว่าแต่ละคนในส่วนนั้นโยงกับตระกูลนักการเมืองหลักของ Mitt ไม่ได้ แต่ต่างก็ประสบความสำเร็จทางหน้าที่การงานและได้รับการ acknowledge จากหน้าที่การงานนั้นเองก็ยอมให้เขียนได้ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่ยอมให้เขียนครับ)

3. จำนวนบทความ Individual ของสมาชิกในครอบครัวที่ทำให้ยอมมีบทความเกี่ยวกับ family tree ได้ ผมเห็นว่าแต่ละบทความมีจำนวนบทความของ Individual ไม่ต่ำกว่า 5 บทความ (ดู en:Koizumi family, en:Forbes family (publishers) แต่บทความหลังมีปัญหาอ้างอิงแต่ Individual article ก็เกินห้า) ซึ่งผมไม่ทราบตัวเลขตายตัว แต่การกำหนดที่ 5 บทความก็เหมาะสมแล้ว (อย่างไรก็ดีนี่จะส่งผลกระทบต่อบทความของนามสกุลพระราชทานอยู่เยอะทีเดียว ซึ่งเกณฑ์นี้อาจลดลงมาเหลือ 3 ได้แต่ก็ต้องเป็นไปตาม 2.1 ด้วยว่าต้องมี

citation ให้เด่นชัดจริง ๆ)

— Annonymous source

จึงขอสอบถามชุมชนว่า

  1. เห็นด้วยให้มีนโยบายความโดดเด่นเกี่ยวกับวงศ์ตระกูลหรือไม่ (อาจเป็นหน้าหลักแยกต่างหากหรือเป็นส่วนหนึ่งของ WP:PEOPLE)
  2. เห็นด้วยให้ใช้แนวทางตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ (ตามที่สรุปมาข้างบนหรือไม่)

ถ้าเห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นทั้งสองข้อนี้ ก็จะดำเนินการร่างเป็นนโยบาย และใส่ลงในหน้าที่เกี่ยวข้องต่อไปครับ --taweethaも (พูดคุย) 16:35, 2 ตุลาคม 2555 (ICT)


  1. เห็นด้วย ให้มีนโยบายใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทย เห็นด้วย ให้ใช้ตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ --taweethaも (พูดคุย) 16:35, 2 ตุลาคม 2555 (ICT)
  2. เห็นด้วยlux2545 [ห้องสนทนา] 17:19, 2 ตุลาคม 2555 (ICT)
  3. เห็นด้วย ให้มีนโยบายความโดดเด่นเกี่ยวกับวงศ์ตระกูล เห็นด้วย ให้ใช้แนวทางตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ -- Kunjeab (พูดคุย) 18:59, 2 ตุลาคม 2555 (ICT)
  4. เห็นด้วย ให้มีนโยบายความโดดเด่นเกี่ยวกับวงศ์ตระกูล และ เห็นด้วย ให้ใช้แนวทางตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ --Panyatham 22:27, 2 ตุลาคม 2555 (ICT)
  5. เห็นด้วย เห็นด้วยทั้งเรื่องการกำหนดนโยบาย และการใช้แนวทางของวิกิฯ ภาษาอังกฤษ --Pongsak ksm (พูดคุย) 00:00, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)
  6. เห็นด้วย ใช้หลักเกณฑ์ความโดดเด่นแยกจากบุคคลที่ใช้นามสกุลนั้น และ เห็นด้วย ให้ใช้หลักเกณฑ์จาก วพ.อังกฤษ เป็นต้นแบบโดยปรับปรุงให้เหมาะสมในแบบไทยๆ และร่างนโยบายที่ชัดเจน --Sasakubo1717 (พูดคุย) 00:25, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)
  7. เห็นด้วย ร่างเลยครับ จะลองช่วยร่างด้วย เท่าที่ดูบทความวงตระกูลในภาษาอังกฤษ แยกได้เป็น 2 แบบ คือ 1) วงศ์ตระกูลนั้นมีความโดดเด่น เช่นส่วนใหญ่มีอาชีพนั้นทั้งตระกูล และทุกคนที่อ้างถึงมีความโดดเด่นจริง ๆ คือสามารถเขียนแยกบทความได้เลย 2) บทความครอบครัวของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก ๆ อย่างเช่นไอน์สไตน์ ตัวพ่อแม่หรือญาติ ไม่ได้เป็นคนที่มีชื่อเสียงอะไร แต่เมื่อไอน์สไตน์เป็นคนที่มีชื่อเสียงมาก จึงมีอ้างอิงทุติยภูมิที่กล่าวถึงครอบครัวเขาอย่างละเอียด แต่หากจะแยกไปเป็นบทความพ่อไอน์สไตน์ ก็ไม่โดดเด่นพอ เพราะไม่มีผลงานอะไร จึงได้สร้างบทความเขียนเกี่ยวกับครอบครัวรวม โดยจะเปลี่ยนทางชื่อพ่อไอนสไตน์ มาที่บทความครอบครัวเขา --Sry85 (พูดคุย) 00:25, 4 ตุลาคม 2555 (ICT)

ขอแจกแจงประเด็นการอภิปรายเพิ่มเติมครับ --Sry85 (พูดคุย) 00:25, 4 ตุลาคม 2555 (ICT)

  • เท่าที่ดูรูปแบบบทความวงศ์ตระกูลไทยที่มีอยู่ รูปแบบการเขียนจะมีลักษณะ เขียนว่า ใครคือต้นตระกูล พระราชทานเมื่อไหร่ (นามสกุลพระราชทาน) เขียนอักษรโรมันอย่างไร หัวข้อรายชื่อบุคคลสำคัญในวงศ์ตระกูล หลายบทความมีรูปแบบอย่างนี้ อ้างอิงจากราชกิจจาฯ นามสกุลพระราชทานเรียงลำดับตามอักษร ไม่ใช่อ้างอิงที่แสดงความโดดเด่นที่เพียงพอ หากไม่มีอ้างอิงที่โดดเด่นพอ ก็ลบทิ้งได้เลย
  • มีหลายบทความ เขียนได้อย่างละเอียด แตส่วนใหญ่เนื้อหาจะหนักไปทางต้น ตระกูล ถ้าเป็นเช่นนี้ ให้รวมกับบุคคลต้นตระกูล อีกประเภทหนึ่ง อย่างเช่น คชหิรัญ ละเอียด แต่ขาดอ้างอิงเหมือนเป็นอัตชีวประวัติวงศ์ตระกูลมากกว่า ไม่น่าจะโดดเด่นพอ
  • ในหมวดหมู่ หมวดหมู่:นามสกุลไทย และ หมวดหมู่:นามสกุลพระราชทาน มีการสร้างหมวดหมู่จำนวนมาก บางหมวดหมู่ มีแค่ 1 บทความ ผมขอเสนอว่า ถ้าต่ำกว่า 5 ให้ลบทิ้ง
  • บทความเช่น ณ ลำปาง ณ ลำพูน ณ เชียงใหม่ เนื้อมีส่วนซ้ำกัน และเนื้อหาไม่มีอะไร ควรเขียนรวมกับบทความ นามสกุลพระราชทาน เลย

เห็นด้วยกับคุณ Sry85 ในหลักการครับ ขอเพิ่มเติมในรายละเอียดดังนี้ครับ

  1. หลักเกณฑ์ว่าด้วยจำนวน ผมเห็นว่าน่าจะผ่อนคลายเป็น "สามคนในสามชั่วอายุคน หรือ ห้าคนหากไม่ถึงสามชั่วอายุคน" (สาเหตุคือสามชั่วอายุคนมีระยะเวลายาวนานระดับหนึ่ง น่าจะผ่อนผันเหลือสามคนอย่างความเห็นของผู้ไม่ประสงค์ออกนามข้างต้น ส่วนถ้าเวลาไม่ยาวนานถึงสามชั่วอายุคน ก็ใช้เกณฑ์ทั่วไปอย่างที่คุณ Sry85 เสนอคือห้าคน เป็นการประนีประนอมสองทั้งสองแนวทางเข้าด้วยกัน)
  2. นามสกุลพระราชทานเรียนลำดับตามตัวอักษณไม่ใช่สิ่งที่แสดงความโดดเด่นเพียงพอ
    1. ควรย้ายไปวิกิซอร์ซ และหากมีผู้ใดร้องเรียนมา ก็เชิญเขาไปดูในวิกิซอร์ซ
    2. มีเว็บไซต์เอกชนที่มีไว้ให้เขียนพงศาวลีฟรี ส่วนมากเป็นเว็บภาษาอังกฤษ ผมอาจเพิ่มไว้ใน วิกิพีเดีย:บทความถูกลบควรทำอย่างไร?‎ และนโยบายที่จะร่างต่อไปนี้ควรจะลิงก์มาสักหน่อย
    • ถ้าเขียนอธิบายไว้ชัดเจนแล้ว ผู้ที่ผิด WP:BIO WP:COI ก็น่าจะรู้ที่ตนควรจะเขียนที่ไม่ใช่วิกิพีเดียต่อไป

มีความเห็นใดๆ ก็เพิ่มเติมหรือทักท้วงกันมาเรื่อยๆ นะครับ เมื่อนิ่งแล้วก็จะนำความเห็นทั้งหลายมายำรวมกันเขียนเป็นนโยบายต่อไป --taweethaも (พูดคุย) 07:16, 4 ตุลาคม 2555 (ICT)


ผมลองร่างมาแล้ว สามารถออกความเห็นและแก้ไขได้เลย ผู้ใช้:Sry85/วงศ์ตระกูล

ความโดดเด่นวงศ์ตระกูล

วงศ์ตระกูล ครอบครัวหรือนามสกุล มีความโดดเด่นสามารถสร้างเป็นบทความหรือหมวดหมู่ในวิกิพีเดียภาษาไทยได้ต่อเมื่อผ่านเกณฑ์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณดังนี้

  1. เชิงคุณภาพ ได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญ (significant coverage) ในแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่องนั้น ในที่นี้ "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention) แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นหัวข้อหลักของแหล่งข้อมูลนั้น แหล่งอ้างอิงจากหนังสือรวมรายชื่อนามสกุลพระราชทานและประกาศพระราชทานนามสกุลจากราชกิจจานุเบกษา ยังไม่ใช่แหล่งอ้างอิงที่กล่าวถึงอย่างสำคัญ (แต่นำมาอ้างอิงได้และอาจนำข้อมูลดังกล่าวไปเก็บไว้บนวิกิซอร์ซแล้วทำลิงก์โครงการพี่น้องจากวิกิพีเดียเชื่อมโยงไปหา)
  2. เชิงปริมาณ จำนวนบทความบุคคลที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุดคือ
    • ห้าคน ในกรณีปกติ
    • สามคน ในกรณียกเว้นคือ สามชั่วอายุคนไม่ว่าจะติดต่อกัน (เช่น ปู่ พ่อ ลูก) หรือเว้นช่วง (เช่น ทวด แม่ หลาน) ที่ยกเว้นให้ในกรณีนี้เพราะในสามชั่วอายุคนกินเวลายาวนานเพียงพอ ทำให้เป็นที่รับรู้เป็นวงกว้างในสังคม และเป็นปัจจัยให้เกิดความโดดเด่นได้

ทั้งนี้สำหรับบทความวงศ์ตระกูลหรือนามสกุลอาจพิจารณาจากจำนวนบทความบุคคลที่ผ่านเกณฑ์สร้างบทความได้ แต่สำหรับหมวดหมู่ให้พิจารณาจากบทความที่มีอยู่แล้วเท่านั้น

รูปแบบ

สำหรับตระกูลหรือนามสกุลที่โดดเด่น มีลักษณะการเขียนที่ต่างกันไปดังนี้

  1. บทความประเภทนามสกุล ต้องอาศัยความโดดเด่นของแต่ละคนในสกุลเป็นองค์รวม อธิบายเนื้อหาว่าโดยรวมบุคคลในสกุลนั้น ๆ มีความโดดเด่นร่วมกันอย่างไร เช่น ประกอบอาชีพนั้นแทบทุกคน บุคคลแต่ละคนในตระกูลมีความโดดเด่น มีบทความแยกย่อย (แต่ละบุคคลผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น) จำนวนบทความของบุคคลในตระกูลต้องผ่านเกณฑ์เชิงปริมาณข้างต้น (ดู en:Chaplin family, en:Bernoulli family, en:Jackson family)
  2. หากบุคคลนั้นเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก จนมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิมากมายที่กล่าวถึง ครอบครัวอย่างละเอียด สามารถเขียนแยกเป็นบทความเกี่ยวกับครอบครัวได้ ยกตัวอย่างเช่นบทความ en:Einstein family บิดา มารดา และญาติอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีชื่อเสียง แต่ไอน์สไตน์ซึ่งเป็นคนที่มีชื่อเสียงมาก จึงมีอ้างอิงทุติยภูมิที่กล่าวถึงครอบครัวเขาอย่างละเอียด แต่จะไม่แยกเขียนเป็นบทความบุคคลแยกออกไป เนื่องจากยังไม่โดดเด่น ไม่มีผลงานเพียงพอ จึงได้สร้างบทความเขียนเกี่ยวกับครอบครัวรวม แต่สามารถเปลี่ยนทางชื่อบุคคล มาที่บทความครอบครัวได้
  3. หมวดหมู่นามสกุล เป็นหมวดหมู่ที่อยู่ในทุกหน้าบทความของผู้ที่ใช้นามสกุลนั้นและมีความเกี่ยวพันธ์กันทางเครือญาติ
  4. หมวดหมู่บุตร สำหรับกรณีกษัตริย์ ผู้มีอำนาจหรือชื่อเสียง ที่มักมีบุตรจำนวนมาก ทั้งนี้ให้ทำหมวดหมู่เพียงชั่วอายุคนเดียว ไม่ควรทำหมวดหมู่ไปถึงชั้นหลานเพราะไม่จำเป็นและอาจซ้ำซ้อน
  5. บทความรายชื่อ คล้ายกับหมวดหมู่ ให้พิจารณาตาม en:Wikipedia:Manual of Style/Stand-alone lists และ en:Wikipedia:Notability_(people)#Lists_of_people ซึ่งจะได้เขียนเป็นภาษาไทยและรับรองโดยชุมชนในโอกาสต่อไป

อนึ่งการเขียนพงศาวลีหรือลำดับวงศาคณาญาตินั้น อาจรวมไว้ในบทความบุคคลที่เกี่ยวข้องหรืออาจอยู่ในบทความนามสกุลหรือบทความครอบครัวก็ได้ตามความเหมาะสม การมีพงศาวลีที่มีหลักฐานอ้างอิงครบถ้วนไม่ใช่เหตุอ้างว่านามสกุลหรือบุคคลมีความโดดเด่นแต่อย่างใด

ข้อควรระวัง

อนึ่งแม้บทความจะมีความโดดเด่นเพียงพอ เพื่อความเป็นกลางของบทความวิกิพีเดียภาษาไทยมีนโยบายอื่นที่ผู้เขียนบทความบุคคลหรือวงศ์ตระกูลพึงระวังดังนี้

  • อัตชีวประวัติ หากผู้เขียนเป็นญาติหรือบุคคลที่ใกล้ชิดในวงศ์ตระกูลนั้น เนื้อหามักจะไม่เป็นกลางและน้ำหนักการเขียนมักจะมีลักษณะการชื่นชม และในหลายครั้งเนื้อหาที่เขียนถึงวงศ์ตระกูล มักเยิ่นเย้อ ใส่รายละเอียดทุกอย่าง หลักการสังเกตอย่างง่าย เนื้อหามากมายเหล่านั้นมักไม่มีอ้างอิงทุติยภูมิ อ้างอิงจากคำบอกเล่าในตระกูล และหนังสือตีพิมพ์งานฌาปนกิจ ไม่ถือเป็นอ้างอิงทุติยภูมิ
  • การขัดกันแห่งผลประโยชน์ แม้ผู้เขียนมิได้เป็นญาติแต่มีส่วนได้เสียอย่างใดอย่างหนึ่งกับเรื่องที่เขียนจนทำให้เกิดอคติในการเขียน ก็พึงงดเว้นการเขียนหรือการแก้ไขบทความนั้นเสีย

เมื่อไม่ผ่านเงื่อนไข

ถ้าคุณเห็นว่าบทความบุคคลไหนไม่ผ่านเกณฑ์ คุณสามารถช่วยติดป้าย

  • {{ใคร}} ถ้าบุคคลนั้น อาจจะเป็นบุคคลสำคัญที่มีความโดดเด่นแต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าคนนั้นสำคัญอย่างไร เผื่อให้ผู้เขียนกลับมาแก้ไข
  • {{ลบ}} ถ้าบุคคลนั้นไม่ใช่บุคคลสำคัญที่มีความโดดเด่น โดยจะทำการแจ้งผู้ดูแลระบบให้ลบบทความออกจากระบบ
  • นอกจากนี้คุณเองสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ โดยนำแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมาเพิ่มเติม แสดงถึงความสำคัญของตัวบทความได้

เมื่อบทความถูกลบ

โดยสรุปแล้วในหน้านี้กล่าวถึงสาเหตุที่ส่วนใหญ่ที่บทความเกี่ยวกับบุคคลถูกลบสามประการคือ

  1. ขาดความโดดเด่น เช่น ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไม่ผ่านเกณฑ์เชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ
  2. เขียนไม่ถูกรูปแบบ เช่น ไม่มีความโดดเด่นร่วมกันในตระกูล
  3. ไม่เป็นกลาง เช่น เขียนโดยผู้มีส่วนได้เสีย

หากบทความของท่านถูกลบและต้องการส่งเข้ามาใหม่ในวิกิพีเดียหรือต้องการหาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์อื่น โปรดอ่าน


  1. แก้ไขในส่วนที่ทำได้แล้ว โดยรวมเรื่องหมวดหมู่ที่เคยอภิปรายไว้เข้าไปด้วยเลย --taweethaも (พูดคุย) 05:46, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)
  2. ส่วนที่อ่านแล้วยังงงอยู่คือ "แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลต้นฉบับในการคัดย่อความเนื้อหา" ไม่กล้าแก้ไข เกรงจะผิดความหมายที่คุณ Sry85 ต้องการจะสื่อ --taweethaも (พูดคุย) 05:46, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)
  3. ผมเห็นว่าควรย้าย ผู้ใช้:Sry85/วงศ์ตระกูล ไปเป็นหน้าย่อยของ WP:PEOPLE เพราะสองหัวข้อท้ายใช้ร่วมกันได้ และโดยเนื้อความก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว --taweethaも (พูดคุย) 05:46, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)
  4. ถ้าไม่มีข้อโต้แย้งแก้ไขเป็นอย่างอื่น น่าจะเริ่มใช้นโยบายนี้ได้ 24 ต.ค. พร้อมเริ่มสะสางบทความที่มีอยู่ตามนโยบายใหม่ทันที โดยอาจรวมรายชื่อบทความที่เข้าข่ายลบแสดงไว้ในหน้าอภิปรายนี้อีกเป็นเวลา 7 วันก่อนดำเนินการลบจริง --taweethaも (พูดคุย) 05:12, 12 ตุลาคม 2555 (ICT)
  5. นำไปใส่หน้านโยบายแล้ว หากไม่มีข้อโต้แย้งใด พรุ่งนี้จะเก็บการอภิปรายเข้ากรุ และเริ่มวาระสองคือสังคายนาบทความนามสกุลทั้งหมดด้วยนโยบายใหม่ --taweethaも (พูดคุย) 09:01, 23 ตุลาคม 2555 (ICT)