วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/หมวดหมู่วงศาคณาญาติยิบย่อยเกินควร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อความเดิมลอกมาจาก "คุยกับผู้ใช้:Taweetham" เริ่มเมื่อ 25 สิงหาคม 2555 ใช้เป็นข้อมูลประกอบ

สวัสดีครับ ฝากใช้บอต ช่วยลบหมวดหมู่ตามด้านล่างด้วยครับ หมวดหมู่ขัดนโยบาย en:Wikipedia:Overcategorization --Sry85 (พูดคุย) 17:55, 25 สิงหาคม 2555 (ICT)

  1. รับทราบเนื้องานและยินดีดำเนินการให้ครับ ขอเวลานิดนึง --taweethaも (พูดคุย) 07:48, 26 สิงหาคม 2555 (ICT)
  2. เริ่มปฏิบัติการ ณ บัดนี้ --taweethaも (พูดคุย) 15:18, 27 สิงหาคม 2555 (ICT)
  3. ปฏิบัติงานสำเร็จด้วยมือและบอต ผสมกัน

 สำเร็จ --taweethaも (พูดคุย) 16:32, 27 สิงหาคม 2555 (ICT)

ข้อความเดิมย้ายมาจาก "คุยเรื่องหมวดหมู่:พระราชปทินัดดาในรัชกาลที่ 1" เริ่มเมื่อ 21 สิงหาคม 2555

หมวดหมู่นี้ [พระราชปทินัดดาในรัชกาลที่ 1] เริ่มนับพระญาติ ไกลออกไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด รวมถึงขอเสนอลบหมวดหมู่นี้ครับ รวมถึงหมวดหมู่ในทำนองนี้ด้วยครับ เสนอไว้ว่าคงเหลือไว้ หมวดหมู่พระบุตร ก่อน --Sry85 (พูดคุย) 16:05, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)

จาก en:Wikipedia:Overcategorization หมวดหมู่ทับซ้อนกัน จึงขอลบหมวดหมู่นี้และหมวดหมู่ในลักษณะเดียวกัน --Sry85 (พูดคุย) 13:08, 25 สิงหาคม 2555 (ICT)

ขณะนี้กำลังมีความเห็นต่างกันในเรื่องการลบ หรือการคงอยู่ของหมวดหมู่ เจ้านายในราชวงศ์ต่างๆ ทั้งในราชวงศ์จักรี และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อยุติ ไม่ต้องแก้กันไปแก้กันมา ผมคิดว่าหาข้อยุติที่นี่ดีกว่าครับ --Pongsak ksm (พูดคุย) 08:45, 29 สิงหาคม 2555 (ICT)

ขอนำข้อความเดิมมาอ้างใหม่และเพิ่มเติมนิดหน่อย ผมขออนุญาตเห็นต่างครับเพราะว่าถ้าการนับญาติตรงนี้มันไกลออกไปจริงๆก็ย่อมจะไม่มีราชาศัพท์คำว่าพระราชปทินัดดาอย่างแน่นอนซึ่งเป็นเหตุผลที่เห็นได้ชัดเจนอยู่และอีกอย่างนึงพระราชปทินัดดานี้ขอรับรองว่าจะไม่ไกลเกินกว่า พระราชปทินัดดาในรัชกาลที่ 1 รวมถึงผลดีของการมีหมวดหมู่อาจจะมีประโยชน์ในการสืบค้นที่่มาของราชบรรพชนในอนาคตในยามจำเป็นก็ได้ซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อความมั่นคงของสถาบัน ความจริงการอ้างอิงไปถึงชั้นพระราชปทินัดดาคิดว่ามันไม่น่าไกลเกินไปนะครับ เพราะว่ามันหยุดถึงชั้นนี้เท่านั้นไม่ได้มีต่อไปยืดยาวอะไรเลยซึ่งย่อมอยู่ระดับที่เราสามารถพอที่จะสืบค้นหาได้

มันก็มีข้อจำกัดของหมวดหมู่อยู่พอสมควร หมวดหมู่นี้ประโยชน์ที่เห็นชัดเจนคือทำให้วิกิพีเดียมีข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นและไม่กระจัดกระจาย --เสือดาวหิมะ (พูดคุย) 11:24, 29 สิงหาคม 2555 (ICT)

ผมว่ามันจะเป็นการขยายไกลเกินไปครับ ข้อพิจารณาที่ว่าเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลจริง ๆ ผมมองว่าวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ควรนำเสนอข้อมูลก็จริง แต่ก็ไม่เห็นความจำเป็นว่าจะต้องจับโยงด้วยรายละเอียดยิบย่อยเกินไปนัก เพราะไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถ tie in ด้วยอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นรายละเอียดมากเกินไป --∫G′(∞)dx 15:02, 29 สิงหาคม 2555 (ICT)
ว่าแต่ คำว่าปทินัดดา แปลว่าลูกของเหลนหรือครับ? พึ่งเคยได้ยินที่นี่เป็นครั้งแรกนี่แหละ ไปหาในกูเกิ้ลก็ไม่เจอ ส่วนเรื่องของหมวดหมู่นี้ ผมว่าถ้าจะนับกันเอาถึงหลานก็น่าจะพอแล้วมั้งครับ ถ้าใครสนใจกว่านั้นก็แค่คลิกไปในบทความรุ่นพ่อ รุ่นปู่ ไม่อย่างนั้นหมวดหมู่ในแต่ละบทความจะเยอะรุงรัง ดูวุ่นวายเกินไป-- Tona22 | พูดคุย
ผมก็เห็นด้วยนะครับว่ามันอาจจะยืดยาวจนเกินไป แต่ถ้าจะให้คงไว้เฉพาะบุตร ก็อาจจะแคบๆ ไป ผมขอเสนอว่าอาจจะจัดหมวดหมู่ถึงซัก (1) บุตร (2) หลาน ก็น่าจะเหมาะสม ด้วยเหตุผลที่ว่าบคคลในระดับบุตร หลาน ยังนับได้ว่ามีความใกล้ชิดกัน (สรุปง่ายๆ คือ ยังทันเห็นหน้ากัน) โดยเฉพาะบุตร หลานของพระเจ้าแผ่นดินในแต่ละราชวงศ์ น่าจะมีความสำคัญเพียงพอที่จะจัดหมวดหมู่ขึ้นมา --Pongsak ksm (พูดคุย) 21:53, 29 สิงหาคม 2555 (ICT)

  1. เข้าใจความหวังดีของท่านที่มีความเห็นทำนองว่า มีมากเกินไปดีกว่าไม่มี และข้อมูลจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้ เคารพในความคิดเห็นของท่าน (WP:AGF) แต่ขอเห็นต่างออกไป
  2. อย่างไรก็ดี พึงตระหนักว่า หมวดหมู่ เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งในการนำเสนอข้อมูล เหมาะแก่การบางประเภทเท่านั้น และมีเครื่องมืออื่นให้พิจารณาเลือกใช้ประกอบกันหรือทดแทนกันแล้วแต่กรณี ตัวอย่างที่เห็นได้สำคัญคือหน้ารายชื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เถียงกันไม่จบสิ้นว่าควรใช้อย่างไรดี
  3. ความเห็นโดยส่วนตัวมีดังนี้
    • ผู้มีสิทธิออกความเห็นชี้ขาดควรเป็นสมาชิกโครงการที่เกี่ยวข้อง (ปัจจุบันมีเพียงโครงการกว้างๆ คือ วิกิประเทศไทย) หรือผู้เขียนบทความที่เกี่ยวข้องประจำ โดยรับฟังเหตุผลอย่างรอบด้านจากชุมชน - สาเหตุที่คิดเช่นนี้เพราะว่าเป็นการสนับสนุนโครงการวิกิ และให้เครดิตแก่ผู้เขียนประจำ ในทางตรงข้ามถ้าคนอื่นไปตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่ปรึกษาผู้เขียนประจำ ก็อาจทำให้เสียกำลังใจและเลิกเขียนไปได้ - พึงเรียนเชิญท่านที่เกี่ยวข้องมาอภิปรายด้วย เช่น คุณ 2T คุณแอนเดอร์สัน คุณฉัตรา ฯลฯ
    • ผมคิดว่าหน้ารายชื่อมีขอบเขตกว้างขวางกว่าหมวดหมู่ และหากประสงค์จะจัดทำไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า จัดทำเป็นหน้ารายชื่อหรือหน้าพงศาวลีจะประหยัดพื้นที่ได้ดีกว่าหมวดหมู่ ผมคิดว่าหมวดหมู่นั้น หากจำเป็นต้องทำก็ทำเพียงผู้บุพการีและผู้สืบสันดานเพียงหนึ่งชั้นก็พอแล้ว หากจำเป็นอย่างยิ่งยวดก็ทำหมวดหมู่เกี่ยวกับตระกูลวงศ์อีกหมวดหมู่หนึ่ง หลักการนี้ผมคิดว่าใช้ได้แก่บุคคล แลสิ่งอื่นทั่วไปที่มีการสืบทอดเป็นรุ่นคล้ายกัน

--taweethaも (พูดคุย) 07:25, 30 สิงหาคม 2555 (ICT)


  1. ผมขอแสดงความเห็นสนับสนุนคุณ Taweetham ประเด็นเกี่ยวกับการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อภิปราย หากเราได้มีการคุยกันในชุมชนก่อน ก็จะเป็นการดีกว่า เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนบทความต่อๆ ไป มิเช่นนั้นคนลบ ก็มีความเห็นว่ามากเกินไป คนเขียนก็เห็นว่ามันจำเป็ฯ สุดท้ายก็ลบไป สร้างใหม่ขึ้นมา แล้วก็จะวนเวียนกันอยู่แบบนี้
  2. ข้อเสนอที่ว่าจัดเห็นหน้ารายชื่อขึ้นจะกว้างขวางครอบคลุมกว่านั้น ผมก็เห็นด้วย แต่ถ้าหากจะใช้วิธีจัดหมวดหมู่เป็นตระกูลก็เพียงพอนั้น ผมเห็นว่าอาจจะไม่ครอบคลุมครับ ผมยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนคือ ในราชวงศ์จักรี มีราชสกุลที่ขยายออกมานับร้อยๆ ราชสกุล แต่ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ มีเพียงไม่ถึง 10 สกุลเท่านั้น
  3. ขอนอกเรื่องไปถึงหมวดหมู่ตระกูลทั้งหลายด้วยครับ ผมเห็นว่าหมวดหมู่ตระกูลต่างๆ ก็มีมากเกินความจำเป็นเช่นกัน บางหมวดหมู่ก็มีแค่ 3-5 คน และไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเลย กลายเป็นว่าสกุลไหนมีบทความมากกว่า 2 คน ก็จะจัดเป็นหมวดหมู่แล้ว ยังไงช่วยพิจารณาร่วมกันหน่อยนะครับ

--Pongsak ksm (พูดคุย) 12:59, 30 สิงหาคม 2555 (ICT)

จริงๆ ผู้สร้างหมวดหมู่ในทำนองนี้ก็มีไม่กี่ท่านหรอกครับ ประเด็นหมวดหมู่เหล่านี้คุณ 2T เคยแย้งไว้ตั้งแต่ปี 2553 ในหน้าพูดคุยของหมวดหมู่แล้วครับ แต่ผู้สร้าง/เพิ่มหมวดหมู่ ก็ไม่ได้ตอบ ร่วมสนทนาตั้งแต่ครั้งนั้น ทำให้เกิดหมวดหมู่ประเภทนี้งอกเงย ลุกลาม มาเรื่อยๆ

การจัดหมวดหมู่นั้น คำว่าไม่ครอบคลุม คงไม่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นหนึ่งบทความ อาจจัดหมวดหมู่ได้เป็นร้อยเป็นพัน บางบนความ มีหมวดหมู่เดียวก็เพียงพอแล้ว การจัดหมวดหมู่ถึงหลาน ผมก็ยังไม่เห็นมีความจำเป็น ถือเป็นข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ไม่ควรมี หรือแม้จะสร้างบทความ รวบรวมรายชื่อหลาน ก็ไม่ควรด้วยซ้ำ ไม่ผ่าน Notability --Sry85 (พูดคุย) 14:11, 30 สิงหาคม 2555 (ICT)

  1. ผมได้แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบถึงการอภิปรายนี้ผ่านทางหน้าพูดคุยแล้วครับ (คุณ 2T คุณแอนเดอร์สัน คุณฉัตรา) หากขาดตกผู้ใดไปก็รบกวนแจ้งเพิ่มเติมกันได้เลย
  2. รบกวนคุณ Sry85 นำลิงก์การอภิปรายเก่าที่อ้างถึงของคุณ 2T มาใส่เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยครับ

--taweethaも (พูดคุย) 05:48, 31 สิงหาคม 2555 (ICT)

เมื่อได้อ่านคำทักท้วงของคุณ 2T ที่คุณ Sry85 นำลิงก์มาใส่ให้ (คุยเรื่องหมวดหมู่:พระราชปทินัดดาในรัชกาลที่ 4) ผมจึงค้นความหมายจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มาไว้ประกอบการพิจารณาดังนี้

  1. นัดดา น. หลานปู่, หลานตา. (ป. นตฺตุ). สังเกตว่า เขียนเพียง ปู่ กับ ตา ไม่เขียน ย่า และ ยาย
  2. ปนัดดา (แบบ) น. เหลน (คือ ลูกของหลานปู่). (ป.). สังเกตว่า เขียนว่าปู่เพียงคำเดียว
  3. ปทินัดดา ไม่ปรากฏในพจนานุกรมดังกล่าว
  4. หลาน น. ลูกของลูก; ลูกของพี่หรือของน้อง.
  5. เหลน [เหฺลน] น. ลูกของหลานที่เป็นลูกของลูกเป็นต้น.
  6. โหลน ไม่ปรากฏในพจนานุกรมดังกล่าว
  7. ลื่อ น. ลูกของเหลน
  8. ทวด น. พ่อหรือแม่ของ ปู่ ย่า ตา ยาย, ชวด ก็ว่า.
  9. ทวดน้อย น. เรียกคนชั้นน้องของทวดว่า ทวดน้อย.
  10. เทียด (ปาก) น. พ่อหรือแม่ของทวด, เชียด ก็ว่า.

--taweethaも (พูดคุย) 07:24, 1 กันยายน 2555 (ICT)

หามาเพิ่ม

  1. ลืบ น. ลูกของลื่อ, หลานของเหลน.
  2. ลืด น. ลูกของลืบ.

--浓宝努 13:31, 1 กันยายน 2555 (ICT)


โดยสรุป คือ คงไว้เฉพาะหมวดหมู่ โอรส/ธิดา ของพระมหากษัตริย์ หรือเจ้านครประเทศราช ถูกต้องไหมครับ --Pongsak ksm (พูดคุย) 19:15, 5 กันยายน 2555 (ICT)

  1. เห็นด้วย และทำเฉพาะในกรณีที่จำเป็น --taweethaも (พูดคุย) 06:27, 6 กันยายน 2555 (ICT)
  2. เห็นด้วย ตามนั้นครับ :D --แอนเดอร์สัน (พูดคุย) 17:53, 6 กันยายน 2555 (ICT)
  3. เห็นด้วย --ฉัตรา (พูดคุย) 16:50, 8 กันยายน 2555 (ICT)

สรุปเบื้องต้นในแนวทางนี้ หากมีกรณีต้องพิจารณาเป็นพิเศษอื่นๆ ก็ค่อยว่ากันใหม่ --taweethaも (พูดคุย) 17:34, 15 กันยายน 2555 (ICT)