วิกิพีเดีย:บทความถูกลบควรทำอย่างไร?

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทำความเข้าใจกับการลบและการกู้คืน

  1. อ่านสาเหตุการลบจากบันทึกการลบ
  2. ทำความเข้าใจกับสาเหตุการลบ เหตุที่ลบบ่อย ๆ ได้แก่
    • เห็นชัดเจนว่าลบได้ทันที WP:CSD
    • เรื่องที่เขียนขาดความโดดเด่น WP:NOTE
    • ละเมิดลิขสิทธิ์โดยการคัดลอกมาจากแหล่งอื่น WP:C
    • วิธีการเขียนไม่เป็นสารานุกรม WP:MOS
    • โฆษณา ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่เป็นกลาง ชักนำยั่วยุ ว่าร้ายหรือเยินยอ WP:COI WP:AUTOBIO WP:NPOV
    • ก่อกวน ขัดกับนโยบาย ไม่มีความจำเป็น ซ้ำซ้อน สร้างความสับสน ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ฯลฯ ตามดุลพินิจของผู้ดูแล WP:DELETE

หากไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าว ให้แจ้งผู้ดูแลที่ลบบทความเพื่อให้ชี้แจง และ/หรือ กู้คืนบทความ

ต้องการส่งบทความเข้ามาใหม่ ?

ทุกบทความกู้คืนได้โดยแจ้งผู้ดูแล อย่าส่งบทความเดิมเข้ามาซ้ำโดยไม่แก้ไข

หากท่านต้องการแก้ไขบทความ ให้พิจาณาหลักการสำคัญสองข้อดังนี้

  1. เรื่องที่เขียนมีความโดดเด่นเพียงพอสำหรับสารานุกรมหรือไม่ พิจารณาง่าย ๆ ว่ามีบทความที่คล้ายกันในวิกิพีเดียภาษาไทยหรือวิกิพีเดียภาษาอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มี เรื่องที่คุณต้องการเขียนอาจไม่มีความโดดเด่นเพียงพอ
  2. วิธีการเขียนเหมาะสมหรือไม่ (เนื้อหาเป็นกลาง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ จัดรูปแบบเหมาะสม มีเอกสารอ้างอิง ฯลฯ) ท่านสามารถดูตัวอย่างได้จากบทความในหัวข้อที่ใกล้เคียงกันที่มีการจัดอันดับคุณภาพระดับปานกลางขึ้นไป

บทความที่ท่านส่งเข้ามาใหม่ต้องผ่านทั้งสองข้อข้างต้นเท่านั้นจึงจะส่งเข้ามาใหม่ได้

แนวทางแก้ไขปัญหา

  1. หากไม่ผ่านข้อแรกหรือทั้งสองข้อ เช่น กรณีส่งรายงาน ส่งการบ้าน โฆษณา/ประชาสัมพันธ์ วิกิพีเดียไม่อาจรับบทความของท่านได้ กรุณาพิจารณาใช้เว็บไซต์อื่นแทน เช่น
  2. หากผ่านข้อแรก แต่ไม่ผ่านข้อสอง
    • ในกรณี WP:COI WP:AUTOBIO หรือ WP:NPOV (กรณีรุนแรง) ท่านไม่ควรเขียนบทความเอง แต่สามารถร้องขอให้ผู้อื่นเขียนบทความแทน โดยเพิ่มชื่อบทความนั้นลงใน วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ พร้อมให้ลิงก์หรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่จำเป็น (ถ้ามี)
    • ในกรณีการจัดรูปแบบไม่เป็นสารานุกรม ให้ทำสำเนาบทความที่ใกล้เคียงกันมาเป็นต้นแบบเพื่อประหยัดเวลาในการศึกษาการเขียนโค้ด
    • ในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ระบุในต้นฉบับว่า ไม่สงวนลิขสิทธิ์ อนุญาตให้ทำซ้ำเพื่อทุกจุดประสงค์ได้โดยเสรี หรือ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA 3.0 จะสามารถแก้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่อาจยังมีปัญหาเรื่องรูปแบบการเขียนอยู่


ดูเพิ่ม[แก้]