วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์
ฟินปอกาโตว์ตีร์ใน พ.ศ. 2528
ประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2523 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2536
นายกรัฐมนตรีกูนน์นา โทดอสเซน
สเต็งรึมัวร์ เฮอร์แมนซัน
ฟอสสเตน ปาลัสซัน
เดวิตัว์ อ็อตซัน
ก่อนหน้ากริสติยาน เอลท์จาน
ถัดไปโอลาฟัวร์ แร็กนา กริมินสัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2473 (94 ปี)
เรคยาวิก, ราชอาณาจักรไอซ์แลนด์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปารีส
มหาวิทยาลัยอักษรศาสตร์เกรโนเบิล
มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์

วิกติส ฟินปอกาโตว์ตีร์ (ไอซ์แลนด์: Vigdís Finnbogadóttir; 15 เมษายน พ.ศ. 2473 –) เป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศไอซ์แลนด์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึง พ.ศ. 2539 เธอเป็นสตรีคนแรกของโลกที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตย[1][2] และเธอเป็นสตรีที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของประเทศยาวนานที่สุดในโลกด้วยระยะเวลาถึง 16 ปี ปัจจุบันเธอเป็นตัวแทนของประเทศไอซ์แลนด์ในฐานะทูตสันถวไมตรีของยูเนสโกและเป็นสมาชิกของคลับออฟมาดริต[3] เธอเป็นประธานาธิบดีหญิงเพียงคนเดียวของประเทศไอซ์แลนด์นับแต่ได้รับเอกราชจากประเทศเดนมาร์ก

ประวัติ[แก้]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

เธอเกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2473 ที่เรคยาวิก เป็นธิดาของฟินโบกิ รูตเตอร์ โฟวาลซัน วิศวกรและอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ และซิกิตัว เอดิสด็อตเตอร์ พยาบาลและผู้บริหารของสมาคมพยาบาลของประเทศไอซ์แลนด์ นอกจากนี้เธอยังมีน้องชายอีกหนึ่งคน[4] เธอเข้าศึกษาด้านวรรณกรรมฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยอักษรศาสตร์เกรโนเบิลและมหาวิทยาลัยปารีส ในประเทศฝรั่งเศสระหว่าง พ.ศ. 2492 จนถึง พ.ศ. 2496 จากนั้นเธอศึกษาต่อในด้านประวัติศาสตร์วงการละครเวที มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน จนจบปริญญาตรี และยังได้รับปริญญามหาบัณฑิตจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ ต่อมาเธอสมรสกับแพทย์คนหนึ่งใน พ.ศ. 2497 แต่ได้หย่าร้างในเวลาต่อมา จนกระทั่งเธอรับหญิงคนหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรม เธอจึงเป็นหญิงชาวไอซ์แลนด์คนแรกที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกหมายของประเทศ[5]

เธอคือหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมของการประท้วงต่อต้านและขอให้กองทัพสหรัฐถอนฐานทัพออกจากประเทศไอซ์แลนด์เมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 และกลุ่มผู้ประท้วงนี้มักจะตะโกนด้วยคำว่า อิสลันด์เออร์เนโทเออร์รินบัด (ไอซ์แลนด์ไม่ใช่เนโท กองทัพสหรัฐจงออกไป)

ชีวิตในวงการวิชาการ[แก้]

หลังสำเร็จการศึกษา เธอได้เป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสและละครเวทีฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยในประเทศและทำงานร่วมกับโรงละครขนาดเล็กหลายครั้ง เธอยังทำงานร่วมกับโรงละครเรคยาวิกตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึง พ.ศ. 2500 และกลับมาทำงานให้อีกครั้งใน พ.ศ. 2504 จนถึง พ.ศ. 2507 ในช่วงฤดูร้อน เธอยังทำงานเป็นมัคคุเทศก์อีกด้วย นอกจากนี้ เธอยังเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสอยู่ที่วิทยาลัยเมนตัตโซคินอีเรคยาวิกและวิทยาลัยเมนตัตโซคินอีฮัมมันฮิอัวร์ นอกจากนี้เธอยังเป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์และเป็นผู้ออกแบบหลักสูตรการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของประเทศอีกด้วย[5]

นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้อำนวยการของโรงละครแห่งเรคยาวิกตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2523 ควบคู่ไปกับเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้วนวัฒนธรรมในแถบนอร์ดิก

ในฐานะประธานาธิบดี[แก้]

เธอเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศใน พ.ศ. 2523 ด้วยคะแนนเสียงถึงร้อยละ 33.79 แม้ว่าตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศไอซ์แลนด์เป็นแค่ในพิธีการอันเนื่องมาจากปกครองด้วยระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภา[5] แต่เธอมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อประเทศไอซ์แลนด์ในฐานะนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและผลกดันวัฒนธรรมและภาษาไอซ์แลนด์ให้เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก[5] เธอยังเป็นทูตทางวัฒนธรรมของประเทศ และเธอยังเน้นย้ำบทบาทของประเทศในเวทีโลก ซึ่งนำไปสู่การเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดระหว่างโรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐ และมิฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2529 เธอมีคติประจำตัวเสมอว่า "อย่าทำให้ผู้หญิงด้วยกันต้องผิดหวัง ผู้หญิงก็สามารถมีบทบาทในเวทีโลกได้ทัดเทียมกับผู้ชาย" และเธอยังส่งเสริมสิทธิการศึกษษให้แก่เด็กหญิงภายในประเทศ เธอจึงเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและความเป็นผู้นำของสตรี[6]

เธอหมดวาระใน พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งถึง 16 ปี และโอลาฟัวร์ แร็กนา กริมินสัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไอซ์แลนด์ต่อจากเธอ[7]

เครื่องอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ไอซ์แลนด์[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""Ég missti þann förunaut sem hefði fylgt mér alla ævi"". RÚV (ภาษาไอซ์แลนด์). 2020-04-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  2. "Club of Madrid: Vigdís Finnbogadóttir". Club of Madrid. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 July 2010.
  3. "Club of Madrid: Full Members". Club of Madrid. 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  4. ""Ég missti þann förunaut sem hefði fylgt mér alla ævi"". RÚV (ภาษาไอซ์แลนด์). 2020-04-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-17.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "First female head of state, Vigdís Finnbogadóttir, elected 35 years ago today". Iceland Magazine. 2015-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-02. สืบค้นเมื่อ 2016-06-26.
  6. Torild Skard (2014) 'Vigdís Finnbogadóttir' 'Women of power – half a century of female presidents and prime ministers worldwide. Bristol: Policy Press ISBN 978-1-44731-578-0
  7. Kristinsson, Gunnar Helgi (1996). "The presidential election in Iceland 1996". Electoral Studies. 15 (4): 533–537. doi:10.1016/s0261-3794(96)80470-7. ISSN 0261-3794.
  8. "Icelandic Presidency Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  9. Official List of Knights of the Order of the Elephant เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษาเดนมาร์ก)
  10. State visit, 1994, Photo เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Beatrix, Claus and Icelandese President
  11. Boletín Oficial del Estado
  12. "Queen Iceland". สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.