วัดอิสาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดอิสาน
พระศรีรัตนปราติการส
พระประธานในพระอุโบสถวัดอิสาน
แผนที่
ที่ตั้งถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดอิสาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2220 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนั้นยังมีสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 22

ประวัติ[แก้]

ปี พ.ศ. 2220 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดอิสานถูกสร้างขึ้นเมื่อโดยเป็นวัดที่สร้างพร้อม ๆ กับการสร้างเมืองนครราชสีมา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้โดยพระยายมราช หรือ สังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จ จึงโปรดฯ ให้ประชาชน และคฤหบดีและขุนนาง ในครั้งได้ได้สร้างวัด 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดบึง และวัดสระแก้ว[1]

วัดอิสาน เป็นวัดที่คหบดีและประชาชนร่วมกันสร้าง ความปราณีตในการก่อสร้างจึงน้อยกว่าวัดที่สร้างโดยขุนนาง (วัดกลางนคร วัดบึง และวัดสระแก้ว)

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2240 วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

ปี พ.ศ. 2446 บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งแรก ปูพื้นใหม่ และเปลี่ยนจากกระเบื้องหลังคาดินเผาเป็นกระเบื้องซิเมนต์[2]

สิ่งก่อสร้าง[แก้]

อุโบสถ

อุโบสถวัดอิสาน ขนาดกว้าง 11.28 เมตร ยาว 22.60 เมตร สูง 14 เมตร มีเสา 12 ต้น เป็นเสาแปดเหลี่ยม มีหัวบนหัวเสา หรือเรียกว่า เสามรรค 8 ฐานแอ่นโค้งทรงสำเภา หน้าบันและหลังคาได้ซ่อมใหม่ มีลวดลายแกะสลัก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ฐานเสมาคู่ และเสาหัวเม็ดที่กำแพง ตามแบบกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในปัจจุบันวัดที่ยังคงโครงสร้างเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา ในจังหวัดนครราชสีมา เหลือเพียง 3 วัด อันได้แก่ วัดบึง วัดอิสาน และวัดหมื่นไวย (วัดหมื่นไวยตั้งอยู่นอกเมืองนครราชสีมา)

ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2222 ชื่อว่า พระศรีรัตนปราติการส แปลว่า "พระแก้วมงคลผู้ให้ความปรารถนาสำเร็จยิ่งกว่าปรารถนา" [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดอิสาน". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "วัดอีสาน".
  3. "แหล่งท่องเที่ยวในตำบลในเมือง". ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครราชสีมา.[ลิงก์เสีย]