ข้ามไปเนื้อหา

วัดบูรพ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดบูรพ์
แผนที่
ที่ตั้งถนนจอมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูวรปัญญาคม (ทองพูล จกฺกวโร)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดบูรพ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2224 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ถนนจอมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ

[แก้]

ปี พ.ศ. 2224 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดบูรพ์สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดฯ ให้โดยพระยายมราช (สังข์) เป็นผู้สร้าง โดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง

เมื่อสร้างเมืองแล้วเสร็จ ประชาชน คฤหบดีและขุนนาง ได้สร้างวัดในกำแพงเมืองขึ้น 6 วัด โดยขุนนาง เป็นผู้สร้างวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง) วัดบึง และวัดสระแก้ว โดยคหบดีและชาวบ้าน เป็นผู้สร้างวัดบูรพ์ วัดอิสาน และวัดพายัพ เนื่องจากวัดที่สร้างโดยขุนนางจะดูดูสวยงามพิถีพิถันตามแบบขุนนางจากกรุงศรีอยุธยา

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 วัดบูรพ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา[1]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

วัดบูรพ์ ชื่อมาจากคำว่า ทิศบูรพา เนื่องจากตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกภายในเขตกำแพงเมืองเก่านครราชสีมา

เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม

[แก้]
ลำดับที่ เจ้าอาวาส[1] ปี
1 พระอรรถจารีสีมาจารย์ พ.ศ.2472-2482
2 พระณรงค์ ญาณวโร พ.ศ.2482-2494
3 พระครูรัตนาภิธาร พ.ศ.2495-2496
4 พระมหาแสง สุกฺกโร พ.ศ.2596-2499
5 พระครูอรรถโกวิท พ.ศ.2499-2530
6 พระครูปริยัติบูรพากร พ.ศ.2531
7 พระครูวรปัญญาคม (ทองพูล จกฺกวโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งก่อสร้าง

[แก้]

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ หอฉัน ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปณสถาน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "วัดบูรพ์". สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.