วัดหนองบัว (อำเภอเมืองสระบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหนองบัว
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหนองบัว
ที่ตั้งเลขที่ 1 บ้านหนองบัว ถนนอดิเรกสาร ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย เถรวาท
เจ้าอาวาสพระอธิการสมพงษ์ ธีรปญฺโญ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหนองบัว ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านหนองบัว ถนนอดิเรกสาร หมู่ที่ 7 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 49.60 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 421759, น.ส. 3 เลขที่ 4226, น.ส. 3 ก. เลขที่ 21846. [1]

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดแม่น้ำแควป่าสัก
  • ทิศใต้ ติดกับทางสาธารณะ
  • ทิศตะวันออก ติดกับที่ดินของนางน้อย-นายบุญ
  • ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินเอกชน หลายเจ้าของ[2]

ประวัติ[แก้]

วัดหนองบัว ตั้งเมื่อ พ.ศ 2205 เดิมวัดหนองบัวตั้งอยู่บนภูเขา เรียกกันว่าเขาหนองบัว เหตุที่เรียกเช่นนั้นเพราะในพื้นที่นั้นมีสระบัวอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกกันว่าหนองบัว และต่อมาได้ย้ายเสนาสนะ มาสร้างอยู่บนพื้นที่ราบริมแม่น้ำป่าสัก ที่เป็นพื้นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน สาเหตุที่ย้ายที่ตั้งวัดก็คือ การเดินทางไปทำบุญของชาวบ้านเดินทางไปทำบุญลำบาก และประกอบกับที่ตั้งวัดในปัจจุบันนั้นอยู่ใกล้ชุมชนทำให้ชาวบ้านมาทำบุญได้สะดวกยิ่งขึ้น วัดหนองบัว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร [3]

ศาสนวัตถุ[แก้]

  • พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร ขนาดพระเพลากว้าง 48 นิ้ว สูง - นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531

เสนาสนะ[แก้]

  1. อุโบสถหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2210 กว้าง 6 เมตร ยาว 12.50 เมตร. เป็นโบสถ์แบบมหาอุด คือมีประตูหน้าประตูเดียว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในราวปี พ.ศ. 2215
  2. อุโบสถ ขนาดกว้าง - เมตร ยาว - เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร
  3. ศาลาการเปรียญ กว้าง 12.50 เมตร ยาว 19.50 เมตรสร้างเมื่อ พ.ศ. 2483 ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย 2 ชั้น
  4. หอสวดมนต์ กว้าง 8.50 เมตร ยาว 12.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2490 เป็นคารไม้
  5. กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารไม้ 2 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง
  6. วิหาร กว้าง 6 เมตร ยาว 12.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  7. ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 18.50 เมตร ยาว 12.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2548
  8. ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง สร้างด้วยไม้
  9. โรงเรียนปริยัติธรรมแผกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ 2470

นอกจากนี้ ยังมี ฌาปนสถาน 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง โรงครัว 1 หลัง เรือนเก็บพัสดุ 1 หลัง และ เรือนรับรอง 1 หลัง [4]

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับเจ้าอาวาส
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระอธิการสมบัติ ปิยธมฺโม พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2509
2 พระจำปี วรธมฺโม พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2510
3 พระอธิการทองดี อคฺคธมฺโม พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2519
4 พระวิสิทธิ์ อินฺทสโร พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2521
5 พระสมาน จันฺทาโภ พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2523
6 พระวิสิทธิ์ อินฺทสโร พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2524
7 เจ้าอธิการประหยัด จนฺทเสโณ พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2525
8 พระสมาน จันฺทาโภ พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2533
9
พระอธิการสมพงษ์ ธีรปญฺโญ
พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ พ.ศ. ๒๕๕๒ หน้าที่ ๕๕๘,ประวัติวัดในจังหวัดสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ พ.ศ. ๒๕๕๒ หน้าที่ ๕๕๘,ประวัติวัดในจังหวัดสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  3. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 พ.ศ. 2552 หน้าที่ 559, ประวัติวัดในจังหวัดสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  4. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ พ.ศ. ๒๕๕๒ หน้าที่ ๕๕๘ -๕๕๙,ประวัติวัดในจังหวัดสระบุรี : กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.