วัดศีรษะทอง (จังหวัดนครปฐม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดศีรษะทอง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดศีรษะทอง, วัดหัวทอง
ที่ตั้งตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
ความพิเศษพระราหู
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดศีรษะทอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

วัดศีรษะทองสร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ. 2358 แต่เดิมบริเวณวัดเป็นป่ารกร้างไร้ผู้คนอาศัยเพราะอยู่ห่างจากแหล่งน้ำ จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีชาวลาวจากเวียงจันทน์อพยพมาตั้งถิ่นฐาน มีการถางป่าสร้างชุมชนขึ้น แล้วจึงสร้างวัดและได้ขุดพบเศียรพระพุทธรูปทองจมดินอยู่ จึงตั้งชื่อว่า วัดหัวทอง มีเจ้าอาวาสรูปแรกคือ หลวงปู่ไต เป็นชาวลาวที่มาจากเวียงจันทน์ จากวัดเล็ก ๆ กลายมาเป็นวัดใหญ่ สืบทอดเจ้าอาวาสมาอีก 6 รุ่นจนมาถึง สมัยหลวงปู่น้อย นาวารัตน์ ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ต่อมาทางการได้ขุดคลองเจดีย์บูชา แยกจากแม่น้ำนครชัยศรี ไปยังองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อสะดวกในการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ คลองนี้ผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของวัดหัวทองและหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงอพยพมาอยู่ใกล้คลองเจดีย์​บูชาเพราะสะดวกในการคมนาคม วัดนี้จึงย้ายจากที่เดิมมาอยู่ใกล้คลองเจดีย์บูชาและเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดศีรษะทอง"[1] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2503

วัดนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และสมุนไพรมาตั้งแต่อดีต[2] และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่โด่งดัง คือ พระราหู ซึ่งทางเจ้าอาวาส หลวงปู่น้อย นาวารัตน์ ท่านเป็นพระที่ฟื้นฟูเรื่องพระราหูขึ้นมา โดยวัดศีรษะทองได้จัดสร้างพระราหูขนาดใหญ่ไว้ให้ประชาชนได้มาสักการบูชาตามความเชื่อ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดศีรษะทอง". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
  2. "วัดศีรษะทอง (Wat Siesathong)". องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม.
  3. "พิธีบูชาพระราหู วัดศีรษะทอง". สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.