วัดวิหารทอง (จังหวัดพิษณุโลก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดวิหารทอง
พระอัฏฐารสองค์จำลอง
แผนที่
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ประเภทโบราณสถานร้าง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดวิหารทอง เป็นโบราณสถานร้างตั้งอยู่ภายในเขตโบราณสถานพระราชวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เยื้องกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารเล็กน้อย

วัดวิหารทองเป็นวัดโบราณ เพราะเดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนหล่อด้วยทองสำริด สูง 5 วา 1 ศอก และเมื่อ พ.ศ. 2368 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งทรงสร้างวิหารประดิษฐานในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเฉลิมพระนามว่า พระอัฎฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการสร้างพระอัฏฐารสองค์จำลองที่วัดวิหารทอง[1]

วัดวิหารทองมีเสาซึ่งอาจเป็นเสาอุโบสถหรือเสาวิหาร 2 แห่ง แห่งแรกติดกับสำนักงานที่ดินจังหวัดพิษณุโลก อีกแห่งหนึ่งอยู่เหนือขึ้นไปเล็กน้อย และใกล้กับซากอุโบสถวิหาร ยังมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่มากอีกหนึ่งต้น ถัดไปทางทิศตะวันตกกับถนนเทพารักษ์ มีเนินดินขนาดใหญ่อีกหนึ่งเนิน เข้าใจว่าคงเป็นฐานของเจดีย์ และคนละฟากถนนของฐานเจดีย์นี้มีคูน้ำ แต่บางส่วนของคูน้ำนี้ได้ถูกถมเพื่อสร้างเป็นสำนักงานสหกรณ์ครูออมทรัพย์ของจังหวัดพิษณุโลก เข้าใจว่าคูน้ำนี้คงจะมีรอบวัดวิหารทอง

จากซากโบราณวัตถุสถานที่เหลืออยู่ สันนิษฐานได้ว่าคงเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย และคงเป็นวัดใหญ่สำคัญคู่กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร รออยู่เยื้องกันเล็กน้อยและไม่ห่างกันมาก[2]

เมื่อ พ.ศ. 2559 ระหว่างการขุดดินหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และปรับแต่งภูมิทัศน์บริเวณหน้าวัดวิหารทอง ได้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ 2 โครง โครงแรกนั้นมีอายุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เริ่มติดตั้งพระอัฏฐารสวัดวิหารทอง".
  2. "วัดวิหารทอง วัดศรีสุคต วัดหลังศาล" (PDF).
  3. "เจอเพิ่มอีก 1 โครงกระดูกมนุษย์ใต้วัดวิหารทอง พระราชวังจันทน์". ผู้จัดการออนไลน์.