วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร | |
---|---|
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร | |
ชื่อสามัญ | วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร |
ที่ตั้ง | ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระศรีธีรวงศ์ (สมัย สจฺจวโร) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2527 ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์ไปตามถนนเพชรเกษมทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จุดเด่นของวัดคือ พระประโทณเจดีย์ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดี มีรูปแบบเดิมเป็นทรงโอคว่ำ มีการขุดพบวัตถุโบราณจำนวนมากที่วัดแห่งนี้ เช่น พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น พระดินเผา รวมทั้งโลหะสำริดรูปพญาครุฑเหยียบนาค ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงใช้เป็นเครื่องหมายราชการของพระองค์ นับเป็นอีกหนึ่ง[1]
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติสันนิษฐานว่าสร้างวัดขึ้นราว พ.ศ. 2324 วัดตั้งอยู่เหนือองค์พระประโทณเจดีย์ประมาณ 20 เมตร สันนิษฐานว่าย้ายมาจากที่เดิมเมื่อ 200 ปีเศษ เนื่องจากพบจารึกตัวหนังสือและตัวเลขด้วยปูนบอกว่าซ่อมเมื่อ พ.ศ. 2456 บริเวณกุฏิ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2327[2] จากตำนานพญากง พญาพาน พญาพานสร้างพระประโทนเจดีย์เพื่อไถ่บาปที่ได้ฆ่ายายหอมผู้เลี้ยงดูมา ทั้งพระปฐมเจดีย์และพระประโทนถูกทอดทิ้งไว้ในป่าหลายร้อยปี จนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ได้ธุดงค์ไปพบเข้า จึงกราบทูลรัชกาลที่ 3 แต่พระองค์ไม่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์อะไรหากจะปฏิสังขรณ์ขึ้นมา จนพระองค์ครองราชย์จึงได้บูรณะ[3]
ปัจจุบันมีสถานที่ราชการตั้งอยู่ในพื้นที่วัด คือ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 (เดิมคือสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม) โรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์ และสำนักงานตำบลเทศบาลธรรมศาลา
ระเบียงภาพ
[แก้]-
หลวงพ่อโตในพระวิหาร
-
พระอุโบสถ
-
พระประธานในพระอุโบสถ
-
ดินจากสังเวชนียสถาน
-
ทะนานทองที่โทณพราหมณ์ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุ
-
พระเขี้ยวแก้วจำลอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระประโทณเจดีย์". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
- ↑ "วัดพระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม". กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
- ↑ โรม บุนนาค (15 ธันวาคม 2560). "เรื่องที่ยังไม่มีใครรู้ ใครสร้างพระปฐมเจดีย์! กับตำนาน พญากง พญาพาน ยายหอม ยายพรม!!". ผู้จัดการออนไลน์.