วัดปันเสา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดปันเสา
เจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดปันเสา, วัดปั่นเส่า
ที่ตั้งตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
พระพัฒนนพบุรีศรีล้านนาประชานาถ หรือ พระเจ้าแสงคำเมือง พระประธานในวิหาร เป็นปางประทานพร
วิหารจันทรสถิตมหาทานบารมีศรีชัยมงคล

วัดปันเสา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดปันเสา แต่เดิมหรือคำเมืองเรียกกันว่า วัดปั่นเส่า (เส่าในภาษาล้านนา หมายถึงเตาสำหรับหลอมโลหะ คำว่า ปัน เป็นการนับจำนวนของชาวล้านนา หมายถึง จำนวน 1,000) ตามประวัติกล่าวว่าสร้างในสมัยที่ราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงใหม่ ระหว่างรัชกาลของพญาผายูถึงพญากือนา มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าวัดนี้ หมื่นดังนคร ปู่ดัง ขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยพระยาติโลกราชเป็นผู้อุปถัมน์วัดนี้ และเป็นผู้หล่อพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งประดิษฐานในวัดสวนดอก (ปัจจุบัน)[1]

วัดปันเสาถูกทิ้งรกร้างมานาน จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2550 ทางศูนย์มาลาเรีย เขต 2 เชียงใหม่ ได้บอกคืนพื้นที่ของวัดให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ได้สร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับศรัทธาประชาชนโดยทั่วไปและสร้างเป็นสถานที่สำหรับรองรับพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด[2] ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561[3]

เจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เห็นได้ว่าน่าจะประกอบด้วยฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม 3 ชั้น รองรับด้วยฐานบัวย่อเก็จลูกแก้วถีดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานกลวงประมาณ 3 ชั้น รองรับมาลัยเถาที่เป็นแบบบัวคว่ำหน้ากระดาน 3 ชั้น แบบสุโขทัย องค์ระฆังใหญ่ บัลลังค์เป็นสี่เหลี่ยม ยอดปล้องในแบบสุโขทัย

ภายในวิหารจันทรสถิตมหาทานบารมีศรีชัยมงคลเป็นที่ประดิษฐาน พระพัฒนนพบุรีศรีล้านนาประชานาถ หรือ พระเจ้าแสงคำเมือง

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร. "เจดีย์ทรงกลมวัดปันเสา(ร้าง) " ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2566. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
  2. ""วัดปันเสา" วัดโบราณ ปาฏิหาริย์พระธาตุเสด็จ". ผู้จัดการออนไลน์.
  3. "วัดปันเสา". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.