วัดทองนาปรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดทองนาปรัง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดทองนาปรัง, วัดทอง
ที่ตั้งเลขที่ 106 หมู่ที่ 5 ซอยบางไผ่ ซอย 7 ถนนบางไผ่พัฒนา ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดทองนาปรัง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 บ้านทองนาปรัง ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา[1]

วัดทองนาปรังเป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2335[2]

อาคาร เสนาสนะ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย หน้าบันมีรูปปั้นพระพิฆเนศและเทวดาขอพร มีช่อฟ้าใบระกา ประตูอุโบสถแกะสลักเป็นวิจิตรศิลป์ประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์ ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 พร้อมพระอัครสาวกซ้ายขวา[3] หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2483 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาปฏิบัติธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2547 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ วิหารซึ่งประดิษฐานรูปปั้นอดีตเจ้าอาวาส และมณฑปซึ่งประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง[4] ภายในวัดยังมีบ้านทรงไทยซึ่งประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระสุพรรณกัลยา และสมเด็จพระเอกาทศรถ ศาลเจ้าแม่กวนอิมซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีน บ้านแม่โพสพ–เรือนแม่คงคา ศาลเจ้าแม่ให้โชคลาภ ศาลท้าวมหาพรหม และเสาหลักเมือง

อ้างอิง[แก้]

  1. สมคิด ทองสิมา, บุญมา ศรีสุรเมธี (2526). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. p. 418.
  2. "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
  3. วิชญดา ทองแดง. ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง. วารสารเมืองโบราณ.
  4. "วัดทองนาปรัง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.[ลิงก์เสีย]