ข้ามไปเนื้อหา

วรวิทย์ บารู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรวิทย์ บารู
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 154 วัน)
ก่อนหน้าอันวาร์ สาและ
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2557
(6 ปี 0 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาชาติ (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสายใจ บารู

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวิทย์ บารู (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2495) รองหัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี

ประวัติ

[แก้]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวิทย์ บารู หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ บารู เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายเจะดือเระ กับนางแวตีเมาะ บารู สำเร็จการศึกษา การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์เชิงสังคม จาก University of Malaya ประเทศมาเลเซีย[1]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรวิทย์ สมรสกับนางสายใจ บารู มีบุตร-ธิดา 6 คน

การทำงาน

[แก้]

ผศ.ดร.วรวิทย์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ ในแผนกวิชาภาษามลายู/มลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งต่างๆ อาทิ กรรมการสภามหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา ประธานกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์อินนอฟฟานและประธานเครือข่ายสหกรณ์อิสลามภาคใต้ และ รองประธานสภาที่ปรึกษาส่งเสริมสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สสต.)

งานการเมือง

[แก้]

ผศ.ดร.วรวิทย์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปัตตานี ครั้งแรก ใน พ.ศ. 2551

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปัตตานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งในครั้งถัดมา (พ.ศ. 2566)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)

สมาชิกวุฒิสภา

[แก้]

ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2551 จังหวัดปัตตานี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติ ผศ. ดร. วรวิทย์ บารู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-23.
  2. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๔๔, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕