โลมามหาสมุทร
โลมามหาสมุทร ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนยุคสุดท้าย-ปัจจุบัน | |
---|---|
![]() | |
โลมาปากขวด (Tursiops truncatus) เป็นโลมาชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นสมาชิกในวงศ์นี้[1] | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
อันดับฐาน: | Cetacea |
อนุอันดับ: | Odontoceti |
วงศ์ใหญ่: | Delphinoidea |
วงศ์: | Delphinidae Gray, 1821 |
สกุล | |
| |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
โลมามหาสมุทร หรือ โลมาทะเล (อังกฤษ: oceanic dolphin, marine dolphin[2]) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ในอันดับฐานวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Delphinidae
โลมามหาสมุทร จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) เป็นโลมาวงศ์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีที่สุด[1] มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับโลมาทั่วไป คือ มีขนาดลำตัวใหญ่แต่เพรียวยาวคล้ายตอร์ปิโดหรือทรงกระสวย มีครีบและหางใช้สำหรับว่ายน้ำ ครีบหางเป็นแผ่นแบนในแนวนอน ใช้สำหรับว่ายในแนวขึ้นลง
ลักษณะเด่นของโลมามหาสมุทร คือ ครีบหลังมีลักษณะยาวและโค้งไปทางด้านหลังเหมือนคลื่น ส่วนจมูกโดยมากจะแหลมยาวเหมือนปากขวด แต่ก็มีบางสกุล บางชนิดที่กลมมนเหมือนบาตรพระหรือแตงโม ทุกชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อที่ไล่ล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ๆ เช่น ปลาซาร์ดีน, ปลากะตัก หรือปลาแฮร์ริ่ง แต่ก็มีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ สามารถล่าสัตว์อย่างอื่น เช่น นกเพนกวิน, นกทะเล, แมวน้ำ, สิงโตทะเล เป็นอาหารได้ มีฟันแหลมคมเรียงตามยาวในปาก ระหว่าง 100-200 ซี่
มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง บางฝูงอาจอยู่รวมกันได้หลายร้อยตัวและอาจถึงพันตัว กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเปิด, มหาสมุทรต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ก็มีบางชนิดเช่นกันที่ปรับตัวให้อาศัยในน้ำกร่อยและน้ำจืดสนิทได้ เช่น ปากแม่น้ำ, ป่าชายเลน หรือแม้แต่ในทะเลสาบน้ำจืด หรือแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสัตว์ที่ชาญฉลาด มีอุปนิสัยขี้เล่น ร่าเริง ชอบเล่นสนุก ด้วยการว่ายน้ำแข่งกัน กระโดดขึ้นเหนือน้ำ หรือว่ายแข่งกับไปเรือของมนุษย์ มีการติดต่อสื่อสารกันด้วยส่งคลื่นเสียงใต้น้ำด้วยระบบเอคโคโลเคชั่นหรือโซนาร์ ในความถี่ระหว่าง 80-200 เฮิรตซ์
โลมามหาสมุทร ขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาฮาวี่ไซด์ มีความยาวเพียง 1.2 เมตร น้ำหนักเพียง 40 กิโลกรัม และขนาดที่ใหญ่ที่สุด คือ วาฬเพชฌฆาต ที่มีความยาวเกือบ 10 เมตร น้ำหนักกว่า 10 ตัน[3] [4] [5]
การจำแนก[แก้]
โลมามหาสมุทร แบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 17 สกุล[2] ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 39 ชนิด นับเป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของอันดับวาฬและโลมานี้ โดยชนิดใหม่ล่าสุดที่ได้รับการอนุกรมวิธาน คือ โลมาบูร์รูนาน พบกระจายพันธุ์ในออสเตรเลีย เพิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นชนิดใหม่ในปี ค.ศ. 2011[6]
- ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 วาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 จาก itis.gov
- ↑ Evans, Peter G.H. (1984). Macdonald, D.. ed. The Encyclopedia of Mammals. New York: Facts on File. pp. 180–185. ISBN 0-87196-871-1.
- ↑ LeDuc, R.G., Perrin, W.F., Dizon, A.E. (1999). Phylogenetic relationships among the delphinid cetaceans based on full cytochrome b sequences. Marine Mammal Science 15, 619–648.
- ↑ Differences: Dolphins to Porpoise
- ↑ "พบโลมาชนิดใหม่ว่ายวนใต้จมูกออสเตรเลีย". ไทยรัฐ. 19 September 2011. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โลมามหาสมุทร |