คำสั่งผู้บังคับบัญชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำเลยในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก

คำสั่งผู้บังคับบัญชา (อังกฤษ: Superior orders) หรือเรียก ข้อต่อสู้เนือร์นแบร์ก (อังกฤษ: Nuremberg defense) หรือ แค่ทำตามสั่ง (อังกฤษ: just following orders) เป็นคำให้การแก้ฟ้องในศาลว่าบุคคล ไม่ว่าเป็นสมาชิกกองทัพ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หรือพลเรือนก็ตาม ไม่ควรถือว่ามีความผิดจากการลงมือปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา[1][2]

คำสั่งผู้บังคับบัญชามักถือเป็นส่วนประกอบของหลักความรับผิดทางอาญาของผู้บังคับบัญชา (command responsibility)[3]

การใช้คำให้การแก้ฟ้องดังกล่าวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดครั้งหนึ่ง ได้แก่ คำให้การแก้ฟ้องของผู้ถูกกล่าวหาในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ค.ศ. 1945–1946 ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ข้อต่อสู้เนือร์นแบร์ก" คดีนี้เป็นคดีที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองดำเนินคดีต่อผู้นำการเมือง ทหารและเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนี การพิจารณาคดีเหล่านี้ภายใต้กฎบัตรกรุงลอนดอนว่าด้วยคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศที่จัดการพิจารณาคดีขึ้น ตัดสินว่าข้อต่อสู้เรื่องคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่เพียงพอทำให้หลบเลี่ยงการลงโทษได้ เพียงแต่อาจบรรเทาบทลงโทษได้เท่านั้น[4]

อย่างไรก็ดี คำให้การแก้ฟ้องเรื่องคำสั่งผู้บังคับบัญชานี้มีใช้กันมาตั้งแต่ก่อนการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก และศาลก็วินิจฉัยไว้ไม่ตรงกัน คือมีทั้งที่ถูกตัดสินว่าผิดและไม่ผิด

อ้างอิง[แก้]

  1. See L.C. Green, Superior Orders in National and International Law, (A. W. Sijthoff International Publishing Co., Netherlands, 1976)
  2. Mark J. Osiel, Obeying Orders: Atrocity, Military Discipline, and the Law of War, (Transactions Publishers, New Brunswick, N.J., 1999).
  3. See James B. Insco, Defense of Superior Orders Before Military Commissions, Duke Journal of Comparative and International Law, 13 DUKEJCIL 389 (Spring, 2003). Asserting in the author's view that a respondeat superior approach to superior orders is an "underinclusive extreme".
  4. H. T. King Jr., The Legacy of Nuremberg, Case Western Journal of International Law, Vol. 34. (Fall 2002) at p. 335.e