รายชื่อวันสำคัญของอาเซอร์ไบจาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันหยุดในหมู่บ้านอาเซอร์ไบจานช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ผลงานของ อาซิม อาซิมซาเด

มีวันหยุดราชการหลายวันในประเทศอาเซอร์ไบจาน วันหยุดราชการได้รับการกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 ปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำหนดในรัฐธรรมนูญอาเซอร์ไบจาน

วันหยุดราชการ[แก้]

วันหยุดหลัก[แก้]

วัน ชื่อในภาษาไทย ชื่อในภาษาอาเซอร์ไบจาน หมายเหตุ
1–2 มกราคม วันขึ้นปีใหม่ Yeni il 2 วัน
20 มกราคม วันมรณสักขี Qara Yanvar รำลึกถึงเหตุการณ์มกราทมิฬ (พ.ศ. 2533) เมื่อกองทัพโซเวียตเข้าสู่กรุงบากูและสังหารพลเรือนมากกว่า 130 ราย[1]
8 มีนาคม วันสตรี Qadınlar günü 1 วัน
20–24 มีนาคม เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ Novruz 5 วัน
9 พฤษภาคม วันชัยเหนือฟาสซิสต์ Faşizm üzərinə qələbə günü เพื่อเป็นเกียรติแก่ชัยของสหภาพโซเวียตเหนือนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
28 พฤษภาคม วันอิสรภาพ Müstəqillik Günü รำลึกถึงการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจาน (พ.ศ. 2461)
15 มิถุนายน วันพิทักษ์ชาติ Azərbaycan xalqının Milli Qurtuluş günü รัฐสภาเชิญเฮย์แดร์ แอลีเยฟไปที่กรุงบากูเพื่อเป็นผู้นำประเทศ (พ.ศ. 2536)
26 มิถุนายน วันกองทัพอาเซอร์ไบจาน Azərbaycan Respublikasının Silahlı Qüvvələri günü รำลึกถึงการก่อตั้งกองทัพแห่งชาติอาเซอร์ไบจานในวันนี้เมื่อ พ.ศ. 2461
8 พฤศจิกายน วันชัย Zəfər Günü รำลึกถึงชัยชนะของอาเซอร์ไบจานในสงครามนากอร์โน-คาราบัคใน พ.ศ. 2563 รวมถึงในยุทธการที่ชูชา
9 พฤศจิกายน วันธงรัฐ Dövlət Bayrağı günü รำลึกถึงการประกาศใช้ธงชาติอาเซอร์ไบจานเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461[2] ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เป็นวันธงรัฐ[3]
31 ธันวาคม วันสมานฉันท์สากลของชาวอาเซอร์ไบจาน Dünya Azərbaycanlılarının Həmrəyliyi günü ได้แรงบันดาลใจจากการทลายกำแพงเบอร์ลิน แนวร่วมประชาชนอาเซอร์ไบจานเรียกร้องและเป็นผู้นำในการถอนเขตแดนระหว่างอาเซอร์ไบจานโซเวียตและอิหร่านเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอาเซอร์ไบจานทั่วโลกก็เฉลิมฉลองวันดังกล่าวว่าเป็นวันสมานฉันท์สากลของชาวอาเซอร์ไบจาน[4]
เปลี่ยนแปลงเนื่องจากปฏิทินจันทรคติของศาสนาอิสลาม อีดิลฟิฏร์ Ramazan Bayramı 2 วัน
เปลี่ยนแปลงเนื่องจากปฏิทินจันทรคติของศาสนาอิสลาม อีดิลอัฎฮา Qurban Bayramı 2 วัน

วันที่สังเกตการณ์ของชาติ[แก้]

วันชาติในอาเซอร์ไบจานที่เป็นวันทำการมีดังต่อไปนี้:

  • 30 มกราคม – วันศุลกากรอาเซอร์ไบจาน
  • 2 กุมพาพันธ์ – วันเยาวชนในอาเซอร์ไบจาน[5]
  • 11 กุมพาพันธ์ – วันบริการสรรพากร
  • 26 กุมพาพันธ์ – วันรำลึกการสังหารหมู่โคจาลี
  • 5 มีนาคม – วันวัฒนธรรมทางกายภาพและการกีฬา
  • 23 มีนาคม – วันกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  • 28 มีนาคม – วันความมั่นคงแห่งชาติ
  • 10 เมษายน– วันผู้ก่อสร้าง
  • 10 พฤษภาคม – เทศกาลดอกไม้
  • 2 มิถุนายน – วันการบินพลเรือน
  • 5 มิถุนายน – วันแห่งการบุกเบิก
  • 18 มิถุนายน – วันสิทธิมนุษยชน
  • 20 มิถุนายน – วันภาคอุตสาหกรรมก๊าซ
  • 2 กรกฎาคม – วันตำรวจอาเซอร์ไบจาน
  • 9 กรกฎาคม – วันข้าราชการฝ่ายการทูต
  • 22 กรกฎาคม – วันสื่อมวลชนแห่งชาติในอาเซอร์ไบจาน
  • 1 สิงหาคม – วันภาษาและตัวอักษรอาเซอร์ไบจาน
  • 2 สิงหาคม – วันภาพยนตร์แห่งชาติ
  • 15 กันยายน – วันแห่งความรู้
  • 18 กันยายน – วันดนตรีแห่งชาติ
  • 20 กันยายน –วันน้ำมันอาเซอร์ไบจาน / วันแรงงานน้ำมัน[6]
  • 27 กันยายน – วันรำลึกถึงผู้พลีชีพเพื่อชาติ
  • 1 ตุลาคม – วันอัยการอาเซอร์ไบจาน[7]
  • 13 ตุลาคม – วันรถไฟอาเซอร์ไบจาน
  • 18 ตุลาคม – วันฟื้นฟูอิสรภาพ
  • 6 พฤศจิกายน – วันพนักงานรถไฟใต้ดินบากู
  • 12 พฤศจิกายน – วันรัฐธรรมนูญ
  • 17 พฤศจิกายน – วันฟื้นฟูแห่งชาติ
  • 22 พฤศจิกายน – วันกระทรวงยุติธรรม
  • 6 ธันวาคม – วันกระทรวงคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • 12 ธันวาคม – วันรำลึกถึงเฮย์แดร์ แอลีเยฟ
  • 16 ธันวาคม – วันกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉิน

วันสำคัญทางศาสนา[แก้]

เฉพาะวันหยุดของเดือนเราะมะฎอนและกุรบานเท่านั้นที่ยังคงเป็นวันสำคัญทางศาสนาในอาเซอร์ไบจานเนื่องจากประเทศนี้มีความเป็นฆราวาสและไม่มีศาสนามาก[8][9] ประชากรที่เคร่งศาสนาของประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในนาร์ดารัน และหมู่บ้านและภูมิภาคอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งเฉลิมฉลองวันอาชูรออ์ ซึ่งเป็นวันไว้ทุกข์ของชาวชีอะฮ์ในปฏิทินอิสลาม ศาสนาของชนกลุ่มน้อยในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และชาวยิว ต่างก็เฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนาอันเนื่องมาจากความศรัทธาของพวกเขาเช่นกัน[10] แม้ว่าวันหยุดโนว์รูซจะมีรากฐานมาจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ แต่ชาวอาเซอร์ไบจานเกือบทั้งหมดก็เฉลิมฉลองให้เป็นวันหยุดของฤดูใบไม้ผลิ

อ้างอิง[แก้]

  1. Esslemont, Tom (20 January 2010). "BBC News – Azerbaijan remembers Martyrs' Day". BBC Online. สืบค้นเมื่อ 20 January 2012.
  2. "Azerbaijan marks National Flag Day". Today.az. November 9, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2012. สืบค้นเมื่อ November 14, 2012.
  3. "Azerbaijan sets National Flag Day". Today.az. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
  4. Breaking Down The Azerbaijani-Iranian Border Radio Free Europe/Radio Liberty
  5. 2 February-Youth Day in Azerbaijan
  6. "Azerbaijan marks Oil Workers' Day". news.az. สืบค้นเมื่อ 2019-10-23.
  7. "Azərbaycan :: Baş səhifə". www.azerbaijans.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-23.
  8. "South Travels – Azerbaijan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-01. สืบค้นเมื่อ 2012-06-03.
  9. GALLUP WorldView – data accessed on 17 january 2009
  10. Azerbaijan's Udin ethnic minority celebrates Easter.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]