เรียลลิตีโชว์
เรียลลิตีโชว์ หรือที่ถูกว่า รีแอลลิทีโชว์ เป็นรายการโทรทัศน์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะดำเนินไปโดยใช้สถานการณ์จริง และไม่มีการเขียนบท คัดเลือกผู้ร่วมรายการจากผู้ชมทางบ้าน ซึ่งจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทางทีมงานได้จัดเตรียมเอาไว้ ผู้เข้าร่วมรายการจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ รายการโทรทัศน์เช่นนี้ เริ่มมาช้านานแล้ว แต่เพิ่งจะนิยมอย่างแพร่หลายเมื่อราว พ.ศ. 2543 (โดยเฉพาะจากรายการ Expedition Robinson)
นักวิจารณ์บางท่านเห็นว่า การใช้คำว่าเรียลลิตีโชว์นี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะรายการโทรทัศน์แบบนี้จำนวนมากให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่แปลกแตกต่างไปจากการใช้ชีวิตจริง จึงไม่น่าจะถือว่าเป็นชีวิตจริงของพวกเขา จากการวิจัยของ Nielsen Media Research พบว่ารายการเช่นนี้มีสัดส่วนถึงร้อยละ 56 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ของอเมริกา (ทั้งรายการทางเคเบิลทีวี และรายการจากสถานีโทรทัศน์ปกติ) และยังมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 69 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ทั่วโลก (ทั้งรายการทางเคเบิลทีวี และรายการจากสถานีวิทยุ)
ประวัติรายการเรียลลิตีโชว์
[แก้]เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1973 ชื่อรายการ An American Family เป็นรายการเก็บภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว William C. Loud มีผู้ชมถึง 10 ล้านคน จนเมื่อปี ค.ศ. 1994 เรียลลิตีโชว์ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ของเอ็มทีวี ที่ชื่อ “The Real World” นำคน 7 คนที่มีบุคลิกต่างกันมาอยู่ร่วมกัน ที่รายการซีซั่นที่ 3 ของรายการนี้ประสบความสำเร็จเพราะเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่าง Pedro Zamora เกย์ผู้ติดเชื้อ HIV กับ Puck อาชีพ Messenger และ Pedro ได้เสียชีวิตในที่สุด และนี่คือจุดเริ่มต้นของเรียลลิตีโชว์ในยุคต่อมา
ประเภทของเรียลลิตีโชว์
[แก้]- เรียลลิตีโชว์ประเภทกึ่งสารคดี
- จะมีลักษณะนำเสนอชีวิตส่วนต่าง ๆ ไม่มีบทพูด ไม่ใช่ลักษณะของเกม ตัวอย่างรายการดังเช่น MTV's Laguna Beach: The Real Housewives of Orange County
- เรียลลิตีโชว์ประเภทอยู่ในสภาพแวดล้อมพิเศษ
- จะมีลักษณะการสร้างสภาพแวดล้อมพิเศษให้คนมาอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นด้วยกัน เช่น Temptation Island, The Real World และ Solitary
- เรียลลิตีโชว์ของดารา คนดัง
- จะเผยชีวิตของดาราดัง ชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่น The Osbournes (ครอบครัวออสบอร์น), Newlyweds (เจสสิก้า ซิมพ์สัน และ นิค ลาเช่), Keeping Up With The Kardashian (ครอบครัวคาร์เดเชียน) ในที่นี่รวมถึงลักษณะรายการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเฉพาะ เช่น ไฮโซบ้านนอก,ด้ายใจ(เป็นรายการ Reality Variety ซึ่งมีครอบครัวหนึ่งมาขอเล่น Reality โดยการพาคุณแม่ของบ้านไปพักร้อน แล้วคุณพ่อและคุณลูกต้องอยู่กันเอง) เป็นต้น
- เรียลลิตีโชว์ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- จะเผยลักษณะการทำงานต่าง ๆ ของผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น COPS และ The Restaurant เป็นต้น
- เรียลลิตีเกมโชว์
- เป็นการแข่งขันเพื่อชิงรางวัล โดยมีโจทย์ต่าง ๆ ตามคอนเซ็บต์ของรายการ เช่น บิ๊ก บราเธอร์, ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย, เซอร์ไวเวอร์, ดิ อะเมซิ่ง เรซ, อัจฉริยะยกบ้าน, So You Think You Can Dance และ อเมริกันไอดอล,อัจฉริยะข้ามคืน เป็นต้น
- เรียลลิตีโชว์ประเภทหางาน
- มีรางวัลเป็นงานที่ต้องการ เช่น The Apprentice, เดอะเฟซไทยแลนด์, อเมริกาส์ เน็กซ์ ท็อป โมเดล และ Hell's Kitchen เป็นต้น
- เรียลลิตีโชว์ประเภทกีฬา
- นำส่วนประกอบกีฬามาเป็นคอนเซ็บต์หลัก เช่น The Contender (รายการนี้ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบคนนึงฆ่าตัวตายหลังถูกคัดออก)
- เรียลลิตีโชว์ประเภทปรับปรุงตัวเอง /แปลงโฉม
- มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงตัวเอง เช่นการผ่าตัด การลดน้ำหนัก ให้ตัวเองดีขึ้น เช่น Extreme Makeover, Queer Eye For The Straight Guy, The Swan, The Biggest Loser และ Celebrity Fit Club เป็นต้น
- เรียลลิตีโชว์ประเภทนัดบอด
- จะนำผู้เข้าแข่งขันที่ไม่รู้จักกัน มานัดบอด ตามเงื่อนไขต่าง ๆ รายการประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่องเอ็มทีวี เช่น Dis-missed Wanna Comein และ พรหมลิขิต บทที่ 1 (รายการนี้ก่อนตอนจบจะออกอากาศได้ถูกทางช่องแบนเพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมแก่เด็กและเยาวชน)[รายการนี้ตอนออกอากาศยังไม่มีการจัดประเภทรายการจากกรมประชาสัมพันธ์]
- เรียลลิตีโชว์ประเภททอล์คโชว์
- อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของรายการ โดยนำผู้ร่วมรายการมาสัมภาษณ์ เช่น The Jerry Springer Show
- เรียลลิตีโชว์ประเภทซ่อนกล้อง (Hidden Camera)
- จะซ่อนกล้องไม่ให้ผู้ร่วมรายการรู้ตัว โดยอาจสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น Candid Camera หรือ อาจจะรวมถึง MTV Punk'd
- เรียลลิตีโชว์ประเภทคนหาตัวจริง
- จะมีผู้เข้าแข่งขัน 1 คน และที่เหลือจะมีนักแสดงที่คัดเลือกมา ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้ชีวิตกับคนเหล่านั้นและหาตัวจริงตามลักษณะคอนเซ็บต์รายการ ตัวอย่างเช่น Boy Meets Boy และ Joe Millionaire เป็นต้น
รายการเรียลลิตีโชว์ในไทย
[แก้]โดยมาก รายการเรียลลิตีโชว์ มักจะออกอากาศในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ซึ่งเป็นเวลาทองของสถานีต่าง ๆ ทำให้มีความนิยมมาก โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในวัยเรียนจนถึงวัยทำงานที่นอนดึก ให้ได้ติดตามกัน แต่ก็มีบางรายการที่ออกอากาศในช่วงกลางวันเช่นกัน
- เกมชีวิต ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยการผลิตของ กันตนา เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 (วันอาทิตย์ เวลา 17.00 น.) ซึ่งตอนนั้นได้ใช้รูปแบบรายการของเซอร์ไวเวอร์ (Survivor) แต่รูปแบบของของการเล่นเกมส์จะเปลี่ยนทุกซีซั่น ในซีซั่นที่ 3 จึงได้เสียงตอบรับที่ไม่ดีในด้านการดำเนินเกมส์ที่ใช้วิธีของทางทหาร สร้างความกดดันทั้งผู้เล่นเกมส์และคนดู จนคนดูไม่สามารถรับได้ จึงได้ยุติลงในที่สุด
- Survivor ในประเทศไทย ได้ออกอากาศทางฟรีทีวีและทางเคเบิลทีวี โดยลิขสิทธิ์ทางฟรีทีวี เป็นลิขสิทธิ์ของกันตนา (ฉายฤดูกาลที่ 1-3 ทางช่อง 5 เวลา 19.30 น.- 20.00 น. และฤดูกาลที่ 4-5 ทางช่อง 9 เวลา 22.00 น.-23.00 น. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546) ส่วนลิขสิทธิ์ทางเคเบิลทีวี คือ ทรูวิชั่นส์ โดยฉายฤดูกาลที่ 1-3 ตามหลังอเมริกาประมาณ 3 เดือนทางช่อง AXN และฉายฤดุกาลที่ 5-ฤดูกาลล่าสุด ตามหลังอเมริกาประมาณ 7 ชั่วโมง ทางช่อง True Series พร้อมทั้งยังมีการออกอากาศซ้ำหลายรอบ (ฤดูกาลที่ 4 เป็นฤดูกาลเดียวที่ไม่ได้ฉายทาง ทรูวิชั่นส์)
- เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ออกอากาศทางสถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา
- รักแท้บทที่ 1 ออกอากาศทางสถานีกองทัพบกช่อง5 ในปี พ.ศ. 2548 (วันศุกร์ เวลา 20.30 น.) ผลิตรายการโดย แกรมมี่ เทเลวิชั่น เป็นเรียลลิตีประเภทนัดบอด แต่เนื่องด้วยจากกระแสวิจารณ์ทางสังคม ที่ตีความเนื้อหาของรายการผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงถูกยุติบทบาทลงไปในไม่กี่เดือน
- ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ออกอากาศทางเคเบิลทีวี ทาง ทรูวิชั่นส์ ซึ่งทรูได้ซื้อลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ออกอากาศทางฟรีทีวีตั้งแต่ ซีซั่น 2 โดย ซีซั่น 2 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2548 และเมื่อขึ้นซีซั่นที่ 3 ได้ออกกาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปี พ.ศ. 2549 โดยโมเดิร์นไนน์ทีวีได้ออกอากาศซีซั่นที่ 3 ถึงซีซั่นที่ 10 (พ.ศ. 2549 - 2556) และเปลี่ยนไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลทรูโฟร์ยูในซีซั่นที่ 11 และ 12 (พ.ศ. 2557-2558) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทยและเป็นรายการเรียลลิตีโชว์รายการแรกของไทยที่ถ่ายทอดสดการใช้ชีวิตของผู้เข้าแข่งขันในบ้านตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่ต้นจนจบซีซั่น
- UBC Human Resource เป็นรายการประเภทหางาน จัดโดยทรูวิชั่นเองทั้งหมด รูปแบบรายการไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ไม่ตื่นเต้น ไม่สนุกสนาน ไม่สามารถดึงดูดผู้ชมไม่ว่าจะทางด้านใด ๆ ได้เลย อีกทั้งยังออกอากาศเฉพาะในทรูเท่านั้น ทำให้รายการไม่เป็นที่รู้จักแต่อย่างใด
- บิ๊ก บราเธอร์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรก วันที่ 2 เมษายน 2548 ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และทางเคเบิล ทางUBC ช่อง 16 (ตลอด 24 ชม.) จนรายการจบ
- เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมากถึงเรื่องที่ทางรายการกล้าอนุญาตให้ ประธานแฟนคลับรายการจัดกิจกรรมพาสมาชิกชมรมบิ๊กบราเธอร์ แฟนคลับถึง 50 คน นำเข้าไปชมภารกิจของผู้แข่งขัน ได้ถึงในบ้าน ในการแข่งขันทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งแม้รายการบิ้กบราเธอร์ ที่ได้ลิขสิทธิ์ในประเทศต่าง ๆ ก็ไม่เคยเปิดบ้านให้แฟนคลับได้เข้าไป เพราะตลอดเวลาในบ้านบิ้กบราเธอร์ เป็นการออกอากาศแบบเรียลไทม์ (ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมาก หากมีแฟนคลับหัวรุนแรงแสดงออกอะไรที่ไม่เหมาะสม)
- ไฮโซบ้านนอก ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของ คชาภา ตันเจริญ (มดดำ) ซึ่งเป็นคนเปิดเผยและค่อนข้างตรง ทำให้บางครั้งเรื่องราวเกิดขึ้นเพียงคน ๆ เดียว เช่น เกือบเผาบ้าน หรือแม้แต่วีนใส่ทีมงาน และอีกอย่าง เนื่องด้วยไฮโซบ้านนอก เป็น เรียลลิตีโชว์แบบเฟค (ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริง แต่ทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน ต่างรู้เรื่องราวกันเป็นอย่างดีโดยที่ผู้ชมทางบ้านไม่รู้ว่า นี่คือ การสมรู้ร่วมคิดกันของทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน) ทำให้ถูกวิจารณ์และทำให้ความหมายของคำว่า เรียลลิตีโชว์ ในไทย แปลความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม
- รายการตัวจริง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 ค้นหาพิธีกรโทรทัศน์
- The Arsenal Dream ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2549 (วันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.โดยประมาณ) เนื่องจากได้เวลาในช่วงบ่าย ประกอบกับการขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น
- Thailand Next Top Model ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ก็คือ ซอนญ่า คูลลิ่ง มีการกล่าวถึงเรื่องการดำเนินเกมส์ที่ขาดสีสัน ด้านอารมณ์ ทำให้ผู้เข้าแข่งขันมีลักษณะไปในทางเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีความริษยาหรือโกรธแค้นกลั่นแกล้งกัน ทำให้ความนิยมของรายการไม่กระเตื้องขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานได้ว่าพวกเธอมีผลงานในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง
- M Thailand ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 ถึง ต้นปี พ.ศ. 2549 (วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 22.00 น. โดยประมาณ) มีการกล่าวถึงกันมาก เนื่องจากว่ากันว่ารูปแบบรายการได้ลอกเนื้อหามาจาก Thailand's Perfect Man โดยทาง BEC Tero ได้ชิงตัดหน้าขโมยความคิด นำมาทำเป็นรูปแบบเกมส์เรียลลิตีโชว์ก่อน และอีกสาเหตุหนึ่งมาจาก การวิจารณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก จนไปสร้างความกดดันให้คนดูและผู้เข้าแข่งขัน รวมไปถึง การใช้ไอเดียของรายการ Manhunt ในการซ่อนทีมงานไปปะปนในหมู่ผู้เข้าแข่งขัน ทำให้ถูกพูดถึงในแง่การวิจารณ์เป็นอย่างมากและด้วยการดำเนินรายการของ BEC Tero ที่ไม่มีการโต้แย้งของผู้เข้าแข่งขัน ทำให้เรตติ้งรายการค่อนข้างทรงตัวจนจบการแข่งขัน ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ เนื่องด้วยทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้กับผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ นอกจากผู้ชนะเลิศของรายการ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานของผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ได้ว่าใครไปมีอาชีพในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง
- Thailand's Perfect Man ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 (ต้นเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมิถุนายน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) และทาง Chic Channel ของ UBC หลังจากที่ M Thailand ได้ชิงตัดหน้าออกอากาศไปก่อน ทำให้ Thailand's Perfect Man (TPM) ที่ดำเนินบริหารงานโดย เมทินี กิ่งพโยม ได้นำรายการไปเสนอทางไอทีวี และได้ปรับเนื้อหาของเกมส์ จนมีความลงตัวในหลายด้าน ๆ และไม่มีการสร้างความกดดันให้กับคนดูมากเกินไป แต่ถึงกระนั้นเรตติ้งของรายการก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งได้นำการเดินแบบในชุดว่ายน้ำมานำเสนอ จนทำให้เรตติ้งของรายการเพิ่มขึ้นประกอบกับความขัดแย้งของผู้เข้าแข่งขันในช่วงการแข่งขัน ทำให้เนื้อหามีความน่าติดตามมากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ติดต่อจากสปอนเซอร์หลัก (ธนาคารไทยพาณิชย์, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, กันตนา ฯลฯ) ทำให้มีงานป้อนเข้ามาเป็นระยะ ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ เมทินี กิ่งพโยม
- อัจฉริยะข้ามคืน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศในปี พ.ศ. 2549 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2551
- Eco Challenge คนเก่ง เกมนักขับ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 ดำเนินการผลิตโดย กันตนา (ออกอากาศต่อจาก Thailand's Perfect Man ประมาณ 1 เดือน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) รูปแบบของรายการได้ใช้รูปแบบของรายการเซอร์ไวเวอร์ ผสมกับเทคนิคการขับรถยนต์ในสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่เนื่องจากรูปแบบรายการที่ไม่ชัดเจนและใช้รูปแบบของเซอร์ไวเวอร์ มากถึง 70% ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น ซึ่งผู้ชนะได้รับรถยนต์มิตซูบิชิ และเงินรางวัล 1 ล้านบาท (รายการเป็นรูปแบบเดียวกับทางฝั่งอเมริกาที่เป็นคนเดียวกันกับที่ทำรายการ Survivor และ Eco Challenge)
- ซีซ่า ทางสายฝันสู่ดวงดาว ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 โดยมี มณีนุช เสมรสุต (ครูอ้วน) เป็นผู้บริหารรายการ รายการเป็นรูปแบบแข่งขันร้องเพลงสำหรับเด็ก
- ทำดีให้พ่อดู เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ ตามติดชีวิตนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 1 ถึง 3 ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสังคม 12 โครงการ โดยแบ่งผู้ปฏิบัติภารกิจตามสายรหัส V1-V12 ของแต่ละซีซั่น พร้อมทั้งอาสาสมัครบุคคลทั่วไปที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ความดี เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ออกอากาศซีซี่นที่ 1 พ.ศ. 2550 ในตอน 12 V 12 ความดีเพื่อพ่อ และออกอากาศซีซั่นที่ 2 พ.ศ. 2552 ในชื่อตอน เรียนรู้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ในซีซั่นที่ 4 ถึง 6 โดยแบ่งนักล่าฝันเป็นรุ่น 3 รุ่น เพื่อเดินทางไปเรียนรู้งานในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 4 วัน 3 คืน ณ สถานที่ ๆ ทีมงานกำหนด
- The Singer ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรายการรูปแบบแข่งขันร้องเพลง โดยมี พุทธธิดา ศิระฉายา เป็นผู้บริหารรายการ
- อัจฉริยะยกบ้าน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2551
- ซูเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว เป็นรายการเรียลลิตีฟอร์มยักษ์ เป็นการแข่งขันของเหล่าดารา เปิดเผยเบื้องหลังที่มาของการแสดงทุกรูปแบบ ดาราที่เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ทีม เพื่อแข่งขันใน 10 หัวข้อการแสดง โดยการฝึกสอนจากเทรนเนอร์ที่เป็นที่สุดของทุกแขนง ออกอากาศซีซั่นแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
- The Master ออกอากาศ 24 ชั่วโมงทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 18 และมีรายการไฮไลท์ประจำวัน และคอนเสิร์ตทุกวันเสาร์ที่ช่อง 19 ทรูอินไซด์ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 1 เดือน รูปแบบรายการเป็นการแข่งขันร้องเพลงและแสดงโชว์ แข่งขันเป็นทีม ทีมละ 5 คน โดยผู้เข้าแข่งขันมาจากตำแหน่งผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับหนึ่งของรายการ ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1-5 และได้มีการโหวตคัดเลือกผู้แข่งขันนักล่าฝันคนอื่น ๆ เพิ่มเติมผ่านระบบ SMS รายการนี้จะเน้นการทำงานเบื้องหลังของศิลปิน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงาน คิดและวางแผนโชว์ที่จะเกิดขึ้นในทุกคืนวันเสาร์ด้วยตนเอง ร่วมกับสมาชิกในทีม และทีมเบื้องหลัง และผู้ชนะรายการเพียงหนึ่งเดียวจากผล Popular Vote จะได้ตำแหน่ง สุดยอดเดอะมาสเตอร์
- สุภาพบุรุษบอยแบนด์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
- The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที รายการเรียลลิตีโชว์สำหรับเด็ก ออกอากาศทาง ช่อง 9 เดือนพฤษภาคม ปี 2552
- ล้านฝันสนั่นโลก ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
- The Voyager เกมเดินทางในต่างแดนออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
- Teen Superstar เกิดมาเป็นดาว คือรายการ ซุปเปอร์สตาร์ ที่สุดแห่งดาว แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่ ค้นหาเยาวชน ผู้ชนะ ชาย 2 หญิง2 จะมาจากการโหวดของประชาชน ซึ่งก็คือ ชายและหญิง 2 คนแรก จะได้มีโอกาสไปเป็นศิลปินในประเทศเกาหลี และอีกสองคนจะได้เป็นศิลปินในประเทศไทย ออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ประมาณเดือนธันวาคม ปี 2553
- ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 และช่องเวิร์คพอยท์ ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 - 2561
- เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 9 กันยายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
- เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหา "เอนเตอร์เทนเนอร์" เป็นตัวแทนถ่ายทอดศาสตร์ตลกและศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ออกอากาศ ช่อง ทรูวิชั่นส์ (ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง) ถ่ายทอดสดการประกวด ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
- เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 1 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 – 21 เมษายน พ.ศ. 2556
- เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 2 26 มกราคม พ.ศ. 2557 – 13 เมษายน พ.ศ. 2557
- เดอะวอยซ์ คิดส์ ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 และ pptv 27 เมษายน พ.ศ. 2556 - 2563
- เดอะวินเนอร์อีส ไทยแลนด์ ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 พ.ศ. 2557 - 2558
- เดอะเฟซไทยแลนด์ (4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 2564) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนางแบบ โดยจะมีการแบ่งนางแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง เนลท์ให้โอกาสประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- เดอะเฟซเมนไทยแลนด์ (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 2562) เรียลลิตี้โชว์รายการเรียลลิตีเพื่อค้นหาสุดยอดนายแบบ โดยจะมีการแบ่งนายแบบออกเป็น 3 ทีมตามทีมของเมนเทอร์ของตนเอง ซึ่งเป็นการต่อยอดจากรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ ผลิตรายการโดย บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- The Mask Singer หน้ากากนักร้อง (6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 3 กันยายน พ.ศ. 2563 และ 15 มีนาคม - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาบุคคลในวงการบันเทิงที่มีความสามารถในการร้องเพลงมาเข้าร่วมประกวด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องใส่ชุดหน้ากากเพื่อปิดบังตัวตนของตัวเองไว้ ซึ่งเป็นรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจาก ประเทศเกาหลีใต้ ผลิตรายการโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
- ซูเปอร์เท็น (7 มกราคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) เป็นรายการประกวดในรูปแบบที่จะค้นหาอัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว ผลิตรายการโดย บริษัท ซูเปอร์จิ๋ว จำกัด
- มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 2566) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เพื่อค้นหาผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเชฟ แต่มีใจรักที่จะทำอาหารและมีความสามารถที่จะไปเป็นเชฟได้ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องผ่านโจทย์การทำอาหารทั้งแบบเดี่ยวและแบบทีมในแต่ละสัปดาห์ ผลิตรายการโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด
- ท็อปเชฟไทยแลนด์ (25 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 2566) เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์แข่งขันทำอาหารของเชฟมืออาชีพ โดย 3 ฤดูกาลแรก ผลิตรายการโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ก่อนเปลี่ยนผู้ผลิตเป็น บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 4 เป็นต้นมา
- ฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 2566) เวทีการแข่งขันวงดนตรีระดับมัธยมศึกษา ที่มีระยะเวลาการแข่งขันยาวนานที่สุด เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 เพื่อให้เป็นเวทีของการแสดงออกทางดนตรี ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2556 คลื่นฮอตเวฟได้ปิดตัวพร้อมกับฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ แต่การประกวดดนตรีดังกล่าวได้กลับมาจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2560 โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นการประกวดกึ่งเรียลลิตี้โชว์ ออกอากาศทางช่องจีเอ็มเอ็ม 25
- ลาซ ไอคอน ไอคอนป๊อบ ตัวท็อปเดบิวต์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 9 มกราคม พ.ศ. 2565) เป็นรายการค้นหากลุ่มศิลปินชายของไทย ผ่านการนำเด็กฝึกหัดชาย 35 คนจากเอเจนซี่ต่าง ๆ ในประเทศไทยมารวมตัวกันเป็นบอยกรุ๊ป 5 คน โดยให้ผู้เข้าแข่งขันพัฒนาตนเองผ่านการทำภารกิจ การฝึกอบรมและการประเมินผลอยู่ภายใต้การแนะนำของโค้ชผู้มีชื่อเสียง ในตอนสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับเลือก 5 คน จะได้เดบิวต์เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของลาซาด้า ประเทศไทย และเป็นศิลปินกลุ่มภายใต้สังกัดวัน มิวสิก