ข้ามไปเนื้อหา

ลาซาด้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาซาด้า กรุ๊ป
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต
อีคอมเมิร์ซ
ก่อตั้ง27 มีนาคม 2012; 12 ปีก่อน (2012-03-27)
ผู้ก่อตั้งมักซีมีเลียน บิตเนอร์[1]
Mads Faurholt-Jorgensen
Stefan Bruun
Raphael Strauch
ร็อกเก็ตอินเทอร์เน็ต[2]
สำนักงานใหญ่
พื้นที่ให้บริการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นประเทศลาว, พม่า, กัมพูชา, บรูไน และติมอร์ตะวันออก
บุคลากรหลักPeng Lei (ประธานกรรมการบริหาร)
Chun Li (ซีอีโอ)
Mary Zhou (สิงคโปร์; ซีอีโอ)[3][4]
บริการอีคอมเมิร์ซ
(การซื้อของออนไลน์)
เจ้าของกลุ่มอาลีบาบา
พนักงาน
มากกว่า 10,000 คน
บริษัทในเครือLazada Vietnam
Lazada Singapore Pte. Ltd
เว็บไซต์www.lazada.com
(บริษัท)
www.lazada.co.id
(อินโดนีเซีย)
www.lazada.com.my
(มาเลเซีย)
www.lazada.com.ph
(ฟิลิปปินส์)
www.lazada.sg
(สิงคโปร์)
www.lazada.co.th
(ไทย)
www.lazada.vn
(เวียดนาม)

ลาซาด้า กรุ๊ป (อังกฤษ: Lazada Group; ชื่อทางการค้า: Lazada) เป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลก ที่ก่อตั้งโดย มักซีมีเลียน บิตเนอร์ จากการการสนับสนุนของร็อกเก็ตอินเทอร์เน็ตในปี 2012[5][6] และมีกลุ่มอาลีบาบาเป็นเจ้าของในปี 2014 ลาซาด้า กรุ๊ป ดำเนินการในหลายประเทศและระดมทุนได้ประมาณ 647 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการลงทุนโดยกลุ่มนักลงทุนเช่น เทสโก้, เทมาเส็กโฮลดิงส์, ซัมมิตพาร์ทเนอส์, เจพีมอร์แกนเชส, อินเวสต์เมนต์เอบีคินเนวิก และร็อกเก็ตอินเทอร์เน็ต

เว็บไซต์เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2012 โดยมีรูปแบบธุรกิจขายสินค้าให้กับลูกค้าจากคลังสินค้าของตนเอง ต่อมาในปี 2013 ได้เพิ่มรูปแบบการตลาดที่อนุญาตให้ร้านค้าปลีกบุคคลที่สามขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ของลาซาด้า ซึ่งในตลาดคิดเป็น 65% ของยอดขายภายในสิ้นปี 2014

ในเดือนเมษายน 2016 กลุ่มอาลีบาบาเข้าซื้อการควบคุมสัดส่วนการถือหุ้นในลาซาด้าเพื่อรองรับแผนการขยายตัวในต่างประเทศของอาลีบาบา[7]

ในเดือนสิงหาคม 2018 ลาซาด้าเป็นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอ้างอิงจากการเข้าชมเว็บเฉลี่ยรายเดือน[8]

ในเดือนกันยายน 2019 ลาซาด้าอ้างว่าเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีผู้ซื้อมากกว่า 50 ล้านรายต่อปี[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ansuya Harjani (17 April 2014). "Meet the man behind the 'Amazon of Southeast Asia'". CNBC. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  2. Avantika Chilkoti (28 July 2015). "Rocket satellite Lazada gains altitude". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  3. "Alibaba's Lazada Appoints Chun Li As New CEO". Businessworld). 15 July 2020. สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
  4. "Leaders".
  5. Ansuya Harjani (17 April 2014). "Meet the man behind the 'Amazon of Southeast Asia'". CNBC. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  6. Avantika Chilkoti (28 July 2015). "Rocket satellite Lazada gains altitude". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  7. Saheli Roy Choudhury & Arjun Kharpal (12 April 2016). "Alibaba buys controlling stake in Southeast Asian retailer Lazada". cnbc.com.
  8. "Sea's loss widens on investment in Shopee e-commerce platform". Business Times Singapore. 23 August 2018.
  9. "Lazada says it is e-commerce leader in Southeast Asia with more than 50 million buyers". South China Morning Post. 11 September 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]