ข้ามไปเนื้อหา

พรรคอามอาทมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Aam Aadmi Party)
พรรคอามอาทมี
ชื่อย่อAAP
ผู้ก่อตั้งอรวินท์ เกชริวัล, ฯลฯ
หัวหน้าอรวินท์ เกชริวัล
(ซีเอ็มเดลี)
โฆษกเสาวราภ ภรรทวัช, ฯลฯ[1]
ผู้นำในราชยสภาสัญชัย สิงห์
ก่อตั้ง26 พฤศจิกายน 2012 (11 ปีก่อน) (2012-11-26)
ที่ทำการ206 ถนนเราส์ ดีนดายาลอุปาธยายมรรค ไอทีโอ นิวเดลี ประเทศอินเดีย 110002[2]
ฝ่ายนักเรียนนักศึกษาฉัตรยุวสังฆรรษสมิตี (CYSS)[3]
ฝ่ายเยาวชนเอเอพียูธวิง (AYW)[4]
ฝ่ายสตรีเอเอพีมหีลศากติ (AMS)[5]
ปีกแรงงานศรมีกวิกาสสังฆฐาน (SVS)[6]
สมาชิกภาพ10.05 ล้าน (2014)[7][ต้องการการอัปเดต]
อุดมการณ์ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ[8]
ฆราวาสนิยม[9]
ชาตินิยม[10]

ลัทธิรักชาติ[11]
มนุษยธรรมนิยม[11]
จุดยืน กลาง[12] to ซ้ายกลาง[13]
สี  น้ำเงิน
สถานะโดย ECIพรรคระดับรัฐ (เดลี, ปัญจาบ, กัว)
ที่นั่งในโลกสภา
0 / 543
ที่นั่งในราชยสภา
8 / 245
ที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐ
156 / 4,036
จำนวนรัฐและดินแดนสหภาพที่เป็นรัฐบาล
2 / 31
เว็บไซต์
aamaadmiparty.org
สัญลักษณ์การเลือกตั้ง
AAP Symbol.png
การเมืองอินเดีย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคอามอาทมี (อังกฤษ: Aam Aadmi Party; แปลว่า พรรคสามัญชน; ชื่อย่อ AAP) เป็นพรรคการเมืองในประเทศอินเดีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดยอรวินท์ เกชริวัลและคณะ พรรค AAP ถือกำเนิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวต่อต้านคอร์รัปชั่นในปี 2011 ปัจจุบัน AAP เป็นพรรคเสียงข้างมากในสองรัฐบาล ได้แก่สภานิติบัญญัติของเดลีและรัฐปัญจาบ โดยพรรควางตัวในฐานะทางเลือกแทนพรรคใหญ่สองพรรค (ภารตียชนตา (BJP) กับ คองเกรสแห่งชาติอินเดีย (INC))

พรรคตั้งขึ้นหลังเกชริวัลแตกหักกับนักเคลื่อนไหว อันนา ฮาซาเร ในประเด็นเรื่องการรวมการเมืองเลือกตั้งเข้าในการเคลื่อนไหวต้านคอร์รัปชั่นปี 2011 ซึ่งเรียกร้องรัฐบัญญัติชนโลกปาล มาตั้งแต่ปี 2011 ฮาซาเร ต้องการการเคลื่อนไหวที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ในขณะที่เกชริวัลต้องการตัวแทนในระดับรัฐบาล

พรรคชนะการเลือกตั้งแรกในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเดลี ปี 2013 และกลายมาเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดรองจาก BJP และเนื่องจากทั้งสองพรรคไม่ได้มีเสียงข้างมากโดยสัมบูรณ์ AAP จึงตั้งรัฐบาลร่วมกับสมาชิกจาก INC เกชริวัลกลายมาเป็ยซีเอ็มประจำเดลี แต่รัฐบาลของเขาก็ลาออกหลัง 49 วัน เนื่องจากเขาไม่สามารถผ่านรัฐบัญญัติชนโลกปาลในสภาได้ เนื่องจากขาดการสนับสนุนของ INC นับจากนั้น ตำแหน่งซีเอ็มของเดลีจึงกลายเป็นของประธานาธิบดี จนถึงการเลือกตั้งปี 2015 ที่ซึ่ง AAP ชนะ 67 จาก 70 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติเดลี สามที่นั่งที่เหลือเป็นของ BJP และ INC ไม่มีที่นั่งในสภา เกชริวัลสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นซีเอ็มเดลีอีกครั้ง[14] AAP แพ้ทั้งเจ็ดเขตเลือกตั้งในโลกสภาให้กับ BJP ในการเลือกตั้งระดับชาติปี 2019 แต่ AAP ยังคงเอาชนะ BJP ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเดลีในปี 2020 ด้วยจำนวน 62 ที่นั่ง[15]

AAP มีความนิยมที่แข็งแกร่งอยู่นอกเดลี นับตั้งแต่กลายมาเป็นพรรคใหญ่ที่สุดอันดับสองหละงการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติรัฐปัญจาบ ปี 2017 ด้วยจำนวน 20 ที่นั่ง และในการเลือกตั้งปี 2022 สามารถชนะที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐไปถึง 92 ที่นั่ง โดยมีภควันต์ มานน์ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งซีเอ็มรัฐปัญจาบ นอกจากนี้พรรคยังขยายอิทธิพลไปยังดินแดนสหภาพจัณฑีครห์ และ กัว เช่นกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Official Spokespersons – Aam Aadmi Party". 7 July 2017.
  2. "Party's Address on Website".
  3. "CYSS". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2014.
  4. Our Bureau. "AAP to launch youth wing on Sept 27". Business Line.
  5. "Richa Pandey Mishra, President, AAP Mahila Shakti". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-05. สืบค้นเมื่อ 2022-05-31.
  6. "Aam Aadmi Party has a crore members and counting". India Today. 27 January 2014. สืบค้นเมื่อ 26 August 2019.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ London School of Economics
  8. "AAP's vision of secularism: Big on intention, weak on substance - Politics News , Firstpost". 21 March 2014.
  9. 11.0 11.1 "Extreme-Patriotism, Honesty and Humanism-three pillars of AAP ,claims Kejriwal". The Economic Times. 29 March 2022.
  10. Lakshmi, Rama (3 February 2020). "No soft Hindutva, no Left Revolution, Kejriwal establishing a new centre in Indian politics". The Print. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  11. "EC cracks whip as Delhi goes to polls". The Hindu. 13 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2015. สืบค้นเมื่อ 13 January 2015.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Delhi 2020 Hindu