ดิอิมพอสซิเบิ้ล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดิ อิมพอสซิเบิลส์)
ดิอิมพอสซิเบิ้ล
ที่เกิดไทย จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
แนวเพลงคันทรี่ป็อป, แจ๊ซ-ร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2509 - 2520
ค่ายเพลงมุกดาพันธ์
กรุงไทย
เมโทร
นิธิทัศน์ โปรโมชั่น
สมาชิกวินัย พันธุรักษ์ (กีตาร์, ร้องนำ)
พิชัย ทองเนียม (เบส)
อดีตสมาชิกเรวัต พุทธินันทน์ (คีย์บอร์ด, ร้องนำ) - (เสียชีวิต)
สุเมธ แมนสรวง (ออร์แกน, (ร้องนำ)
สมชาย กฤษณเศรณี (เบส)
ไพฑูรย์ วาทยะกร (เบส)
สิทธิพร อมรพันธ์ (กีตาร์) - (เสียชีวิต)
ปราจีน ทรงเผ่า (ทรอมโบน) - (เสียชีวิต)
ยงยุทธ มีแสง (ทรัมเปต)- (เสียชีวิต)
ปรีดิ์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา (กลอง)
อนุสรณ์ พัฒนกุล (กลอง) - (เสียชีวิต)
เศรษฐา ศิระฉายา (กีตาร์, ร้องนำ)-(เสียชีวิต)

ดิอิมพอสซิเบิ้ล (อังกฤษ: The Impossible) หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ดิอิม เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆ ของไทย มีชื่อเสียงในยุค 60s - 70s ก่อนจะยุบวงในปี พ.ศ. 2520 แต่ผลงานเพลงของวงยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

ดิอิมพอสซิเบิ้ลตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 มีสมาชิกรุ่นแรกประกอบด้วย วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา ใช้ชื่อวงว่า Holiday J-3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น จอยท์ รีแอ็กชั่น เล่นดนตรีเพลงสากลที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงของคลิฟ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ บางเพลงนำทำนองเพลงต่างประเทศที่เป็นที่นิยม มาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับวงอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เช่น ซิลเวอร์แซนด์ รอยัล สไปรท์ส เล่นดนตรีตามไนท์คลับต่างๆ

วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เข้าร่วมการประกวดวงสตริงคอมโบ จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีติดต่อกัน [1] ในช่วงปี 2512 - 2515 วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เปลี่ยนชื่อเป็น ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ชื่อนี้ตั้งโดยเศรษฐา ตามชื่อภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์จากสหรัฐ[2]

ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2533 ทางวงได้กลับมาออกอัลบั้มอีกครั้งกับนิธิทัศน์ โปรโมชั่น โดยเป็นการนำเอาเพลงในอดีตของวงกลับมาบรรเลงใหม่และเพิ่มเพลงใหม่ลงไปในอัลบั้ม

ผลงาน[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

  • เป็นไปไม่ได้ (พ.ศ. 2512)
    1. เป็นไปไม่ได้
    2. ไหนว่าจะจำ
    3. ทะเลเปี่ยมรัก
    4. ชาวดง
    5. ชั่วนิจนิรันดร
    6. สกุณา
    7. คอยน้อง
    8. ขาดเธอขาดใจ
    9. นกขมิ้น
    10. เพลงรักทะเลใต้
    11. วนาสวรรค์
  • จันทร์เพ็ญ (พ.ศ. 2514)
    1. จันทร์เพ็ญ
    2. ข้าวแกงไทย
    3. โลกของคนน่าชัง
    4. ความหวัง
    5. ดีด สี ตี เป่า
    6. หาดสีทอง
    7. ผู้หญิงจอมยุ่ง
    8. หัวใจเป็นเอง
    9. จันทร์เพ็ญ
    10. เสน่หา-นารี
    11. สายใยชีวิต
  • โอ้...รัก (พ.ศ. 2515)
    1. โอ้...รัก
    2. หนาวเนื้อ
    3. หนึ่งในดวงใจ
    4. รักกันหนอ
    5. ชื่นรัก
    6. ระเริงชล
    7. ไปตามดวง
    8. ยอดเยาวมาลย์
    9. หัวใจเหิร
    10. จูบฟ้าลาดิน
    11. ผม ผม ผม
    12. เริงรถไฟ
    13. ปิดเทอม
    14. มิสเตอร์สโลว์ลี่
  • หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (พ.ศ. 2516)
    1. พี่เองก็เท่านี้
    2. หากรักเป็นเช่นทะเล
    3. ว้าเหว่
    4. บุหงา-ลาก่อน
    5. คำสุดท้าย
    6. ห้วงใจรัก
    7. หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม
    8. อย่ากวนใจทะเล
    9. สู่อ้อมอกดิน
    10. สิชล
    11. ระเริงโซล
    12. จูบจันทร์
  • Hot pepper (พ.ศ. 2518)
    1. Hot Pepper
    2. A Hurting Man
    3. Easy To Be Hard
    4. California
    5. Give It Up
    6. Love Will Keep Us Together
    7. Pretty Thing
    8. It Doesn't Always Take Much Time
    9. C'Mon Baby
    10. Love The Life You Live
  • ผมไม่วุ่น (พ.ศ. 2520)
    1. เห็นแล้วหิว
    2. แพ้ผิวขาว
    3. ไฟใหม้เชื้อ
    4. มาจู๋จี๋กันไหม
    5. คนผ่านโลก
    6. โลกแสนเซ็ง
    7. ผมไม่วุ่น
    8. คนใจแข็ง
    9. ไม่รังเกียจ
    10. ห่วงคู่หาย
    11. เมดเล่ย์ ดิอิมพอสสิเบิ้ล

อัลบั้มพิเศษ[แก้]

  • กลับมาแล้ว (พ.ศ. 2533)
    1. กลับมาแล้ว
    2. เป็นไปไม่ได้
    3. ชื่นรัก
    4. เริงทะเล
    5. เริงรถไฟ
    6. คำสุดท้าย
    7. ทะเลไม่เคยหลับ
    8. ไหนว่าจะจำ
    9. ลำนำรัก
    10. คอยน้อง
    11. โอ้รัก
    12. เจ้าพระยา

ผลงานการแสดงดนตรี[แก้]

(จากการบันทึกของสมาชิกวงพิชัย ทองเนียม และปราจีน ทรงเผ่า หนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles)[3]

ช่วงปี 2509 - 2512 (ยุคเริ่มต้น)[แก้]
  • Holiday Garden ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Holiday J-3)
  • Washington Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Joint Reaction)
  • Progress Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
  • Las Vegas Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
ช่วงปี 2512 - 2517 (หลังชนะการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานปีแรก)[แก้]
  • The Fire Cracker Club โรงแรม First ประตูน้ำ
  • The impossibles Cafe ศูนย์การค้าประตูน้ำ ปทุมวัน
  • ศาลาแดง ฮอลล์ ตรงข้างสวนลุมพินี (สลับกับวงวิชัย อึ้งอัมพร)
  • Hawaiian Hut Ala Moana Hotel Honolulu Hawai U.S.A. - การแสดงต่างประเทศครั้งแรก
  • The Den โรงแรมอินทรา ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
ช่วงปี พ.ศ. 2517 (ทัวร์ยุโรปครั้งแรก ค.ศ. 1974)[แก้]
  • Europa Hotel - Gothenberg Sweden
  • Norrköping - Sweden
  • Monday Club - Stockholm Sweden
  • Hesperia Hotel - Helsinki Finland
  • Rainbow Club - Oslo Norway
  • Noimalman - Stockholm Sweden
  • Borsen Club - Stockholm Sweden
  • Sundsvall - Sweden
  • Grand Central Hotel - Gävle Sweden
  • Hotel Jonkoping -Sweden
  • New Yaki Club - Gothenberg Sweden
  • แอน แอน คลับ - โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทยชั่วคราว)

ช่วงปี พ.ศ. 2518 - 2519 (ทัวร์ยุโรปครั้งที่สอง ค.ศ. 1975 - 1976)[แก้]

  • Tragarn Restaurant - Gothenberg Sweden
  • Hesperia Hotel - Helsinki Finland
  • Malibu Club Basle - Switzerland
  • New Yaki Club - Gothenberg Sweden
  • Grinderwald - Switzerland
  • Mascot Club Zurich - Switzerland
  • Babalu Club Bern - Switzerland
  • แอน แอน คลับ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทย 2519|1976)
  • ประกาศยุบวงในเดือนเมษายน 2519 ขณะเล่นที่ แอน แอน คลับ
  • หลังประกาศยุบวงยังได้กลับมารวมตัวไปแสดงที่ ไต้หวัน ช่วง 1 มิถุนายน - 4 กันยายน 2519 Majestic Club Majestic Hotel - Taipei Taiwan
  • ตุลาคม 2519 กลับเมืองไทย เล่นส่งท้าย (ประมาณ 14 วัน) คืนละ 3 แห่ง ที่ แมนฮัตตัน คลับ สุขุมวิท, ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ, เดอะ ฟอกซ์ ศูนย์การค้าเพลินจิต

เพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]

  • เริงรถไฟ-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2513)
  • ปิดเทอม-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2513)
  • ชื่นรัก-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2513)
  • รักกันหนอ-จากภาพยนตร์เรื่อง รักกันหนอ (2513) ทำนองเพลงญี่ปุ่น Good Night Baby - King Tones 1969
  • เจ้าพระยา-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • ลำนำรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • เริงสายชล-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • ล่องวารี-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
  • เริงทะเล-จากภาพยนตร์เรื่อง ชื่นชีวาฮาวาย (2514)
  • ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
  • ไปตามดวง-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
  • หนาวเนื้อ-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
  • ผม-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
  • โลกของเรา-จากภาพยนตร์เรื่อง สะใภ้หัวนอก (2514)
  • น้ำผึ้งพระจันทร์(ร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร)-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
  • ใจหนุ่มใจสาว-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
  • มันไหนล่ะ-จากภาพยนตร์เรื่อง สายชล (2514)
  • จันทร์เพ็ญ-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • ดีด สี ตี เป่า-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • ความหวัง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • หาดสีทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • สายใยชีวิต-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
  • ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
  • จูบฟ้า ลาดิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
  • มิสเตอร์สโลลี่-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
  • ข้าวเปลือก-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
  • ค่าของคน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2515)
  • ค่าของรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2515)
  • ค่าของเงิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2515)
  • รอรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2515)
  • หนึ่งในดวงใจ-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2515) ทำนองเพลงสากล One Toke Over The Line - Brewer and Shipley 1971
  • เดอะทีนเอจ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
  • ทะเลไม่เคยหลับ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
  • ครองจักรวาล-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
  • โลกมายา-จากภาพยนตร์เรื่อง สาวกอด (2515)
  • โอ้รัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โอ้รัก (2515) ทำนองเพลงสากล A Place to Hideaway - The Carpenters 1971
  • หัวใจเหิร-จากภาพยนตร์เรื่อง สองสิงห์สองแผ่นดิน (2515)
  • ยอดเยาวมาลย์-จากภาพยนตร์เรื่อง ภูกระดึง (2515)
  • ไม่มีคำตอบจากสวรรค์-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
  • ทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง (2516)
  • ข้าวนอกนา-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
  • ชีวิตคนดำ-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
  • เกลียดคนสวย-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
  • ตัดเหลี่ยมเพชร-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • แล้วเธอจะรู้-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • ราตรีที่แสนเหงา-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • The Great Friday(บรรเลง)-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • ดับสุริยา-จากภาพยนตร์เรื่อง ดับสุริยา (2519)
  • คมกุหลาบ-จากภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ (2519)
  • ในช่วงปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยมีรงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นผู้เขียนเรื่องและบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่สำคัญคือ เพลงเป็นไปไม่ได้ กังวลทะเล ผมเป็นโคบาลไทย และเพลงกุลา(ผลงานของสุรชัย จันทิมาธร) แต่งานสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

ต่อไปนี้เป็นผลงานภาพยนตร์ของดิอิมพอสซิเบิ้ล เฉพาะที่สมาชิกของวงทุกคนร่วมแสดง

  • โทน (2513)
  • รักกันหนอ (2514)
  • หนึ่งนุช (2514)
  • ดวง (2514)
  • ค่าของคน (2514)
  • สะใภ้หัวนอก (2514)
  • สวนสน (2515)
  • ระเริงชล (2515)
  • ลานสาวกอด (2515)
  • จันทร์เพ็ญ (2515)
  • สายชล (2516)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต ดิอิมพอสซิเบิ้ล 2008 (2551)
  • คอนเสิร์ต หนังไทยในเสียงเพลง (10 มกราคม 2556)
  • คอนเสิร์ต เศรษฐา ศิระฉายา & The Impossibles (25 พฤษภาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต 70 ยังแจ๋ว เศรษฐา ศิระฉายา (5 พฤศจิกายน 2557)
  • คอนเสิร์ต The Impossibles' 50th Anniversary Concert (10 - 11 พฤศจิกายน 2558)
  • คอนเสิร์ต การกุศล The Impossibles แด่คนที่เราไม่เคยลืม ปราจีน ทรงเผ่า (17 สิงหาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต เพลงย้อนวัยใจย้อนยุค (11 กันยายน 2560)
  • คอนเสิร์ต The End of The Im (10 กันยายน 2561)

เพลงที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • เป็นไปไม่ได้
  • เริงทะเล
  • ชื่นรัก
  • ทะเลไม่เคยหลับ
  • โอ้รัก
  • ไหนว่าจะจำ
  • คอยน้อง
  • หนาวเนื้อ
  • หนึ่งในดวงใจ
  • จูบฟ้า ลาดิน
  • ชั่วนิจนิรันดร
  • ขาดเธอ ขาดใจ
  • ทัศนาจร
  • ชาวดง
  • นกขมิ้น
  • ข้าวนอกนา
  • เกลียดคนสวย
  • ชีวิตคนดำ
  • ผมไม่วุ่น

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

  • วง ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ เก๋า..เก๋า โดยเป็นเนื้อเรื่องเมื่อวงพอสซิเบิ้ลได้เจออุปกรณ์วิเศษคล้ายไมโครโฟนจึงพาข้ามมาปรากฏตัวในปี พ.ศ. 2549 [4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รู้ไปโม้ด.. มติชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-08. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
  2. การ์ตูนรายการโทรทัศน์
  3. หนังสือรวมบทเพลง The Impossibles โดยปราจีน ทรงเผ่า,พ.ศ. 2544
  4. Thai Film News, เก๋า เก๋า The Possible, วิทยา ทองอยู่ยง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]