ยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด (CVN-78)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ขณะเดินเรือในมหาสมุทรแอตแลนติก วันที่ 9 ตุลาคม 2022
ประวัติ
สหรัฐอเมริกา
ชื่อ
  • ไทย : ยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด
  • อังกฤษ : USS Gerald R. Ford
ตั้งชื่อตามเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด
รางวัล10 กันยายน 2008
อู่เรือนิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง
มูลค่าสร้างUS$ 12,800 ล้าน + 4,700 ล้าน (สำหรับการวิจัยและพัฒนา) (ประมาณการ)[7]
ปล่อยเรือ13 พฤศจิกายน 2009[4]
เดินเรือแรก11 ตุลาคม 2013[1]
สนับสนุนโดยซูซาน ฟอร์ด เบลส์[5]
Christened9 พฤศจิกายน 2013[6]
ส่งมอบเสร็จ31 พฤษภาคม 2017[2]
เข้าประจำการ22 กรกฎาคม 2017[3]
ท่าจอดนอร์ฟอล์ก
รหัสระบุCVN-78
คำขวัญความซื่อสัตย์เป็นรากฐานแห่งการนำทาง
สถานะในประจำการ
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด
ขนาด (ระวางขับน้ำ): ประมาณ 100,000 ตัน (บรรทุกเต็มพิกัด)
ความยาว: 1,092 ฟุต (333 เมตร)[8] – 1,106 ฟุต (337 เมตร)[9]
ความกว้าง:
  • 134 ฟุต (41 เมตร) (เส้นน้ำลึก)
  • 256 ฟุต (78 เมตร) (ดาดฟ้าบิน)
ความสูง: 250 ฟุต (76 เมตร)
ดาดฟ้า: 25
ระบบพลังงาน: 2 × เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Bechtel A1B PWR (ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง (HEU) 93.5%)
ระบบขับเคลื่อน: 4 × ใบจักร
ความเร็ว: เกิน 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 35 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง: ประมาณ 25 ปี ก่อนการเติมเชื้อเพลิงกลางรอบ [10][11]
อัตราเต็มที่: 4,539 (รวมฝูงบิน)[12]
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
ยุทโธปกรณ์:
  • อาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศ:
  • 2 × แท่นปล่อย อาร์ไอเอ็ม-162 อีเอสเอสเอ็ม
  • 2 × แท่นปล่อย อาร์ไอเอ็ม-116 โรลลิงแอร์เฟรม
  • ปืน:
  • 3 × Phalanx CIWS
  • 4 × ระบบปืนกล 25 มม. Mark 38
  • 4 × ปืนกล .50 คาลิเบอร์ (12.7 มม.) M2 Browning
  • อากาศยาน: 75+[13]
    อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ดาดฟ้าบินขนาด 1,092 × 256 ฟุต (333 × 78 เมตร)

    ยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด (CVN-78) (อังกฤษ: USS Gerald R. Ford) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ลำใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐ ได้รับการตั้งชื่อตามประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 38 เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ซึ่งเคยรับราชการกองทัพเรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองบนเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก ยูเอสเอส มอนเทอเรย์ (CVL-26) ในเขตสงครามแปซิฟิก[14] เรือลำนี้ถือเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา

    ยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด เป็นเรือลำแรกในชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ซึ่งพัฒนามาจากเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ มีระวางขับน้ำประมาณ 100,000 ตัน บรรทุกเครื่องบินรบได้ประมาณ 90 ลำ[15] และติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยลดการสะท้อนของเรดาร์ มีพิธีวางกระดูกงูเรือตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 2009[4] มีกำหนดแล้วเสร็จและเข้าประจำการในปี ค.ศ. 2016 แทนที่เรือยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (CVN-65) ที่จะปลดประจำการในปีนั้น[16]

    เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด มีแผนการสร้างทั้งสิ้น จำนวน 10 ลำ[17] โดยลำถัดจากยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด (CVN-78) คือ ยูเอสเอส จอห์น เอฟ. เคนเนดี (CVN-79) มีกำหนดเข้าประจำการในปี ค.ศ. 2020[18] และต่อมาคือ ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ (CVN-80)[19]

    อ้างอิง[แก้]

    1. "Newport News Shipbuilding to Flood Dry Dock and Float Gerald R. Ford (CVN 78)" (Press release). Huntingdon Ingalls Industries. 9 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2015. สืบค้นเมื่อ 9 October 2013.
    2. "Huntington Ingalls Industries Delivers Gerald R. Ford (CVN 78) To U.S. Navy" (Press release). Huntingdon Ingalls Industries. 1 June 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
    3. "President Trump Commissions USS Gerald R. Ford (CVN 78)" (Press release). United States Navy. 22 July 2017. NNS170722-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2017. สืบค้นเมื่อ 22 July 2017.
    4. 4.0 4.1 "Ford Keel Laid for Future Carrier, Class". Navy Times. 16 November 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2017. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "navytimes" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
    5. Murray, Dave (13 November 2009). "Gerald R. Ford ship ceremony brings Susan Ford Bales, Family to Newport News, Virginia". The Grand Rapids Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2009.
    6. "PCU Gerald R. Ford (CVN 78) Christening Ceremony". Navy Live. 8 November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
    7. O'Rourke, Ronald (22 October 2013). "Navy Ford (CVN-78) Class Aircraft Carrier Program: Background and Issues for Congress" (PDF). Congressional Research Service. p. 4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2013. สืบค้นเมื่อ 8 February 2014. FY14 cost of CVN-79 (procured in FY13) in then-year dollars; the same budget puts the cost of CVN-78 (procured in FY08) at $12,829.3 million but that includes ~$3.3bn of development costs. CVN-80 is estimated at $13,874.2m, making the total cost of the first three Fords $38,041.9m, or $12.68bn each.
    8. "Aircraft Carriers - CVN". Fact Files. U.S. Navy Office of Information. 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
    9. "Command History & Facts". Commander, Naval Air Force Atlantic. US Navy. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
    10. "Engineering Destruction: The Terrifying and Awesome Power of The USS Gerald R. Ford". engineering.com. 7 August 2017. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
    11. "Video: Nuclear Vs Diesel Aircraft Carriers – How do they Compare?". themaritimepost.com. 8 June 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
    12. "Gerald R. Ford Class Aircraft Carrier". Military.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
    13. "Aircraft Carriers – CVN". U.S. Navy – Fact file. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2017. สืบค้นเมื่อ 25 April 2017.
    14. Navy Names New Aircraft Carrier USS Gerald R. Ford - Official Announcement from Secretary of the Navy.
    15. CVN 78 Gerald R Ford Class – US Navy CVN 21 Future Carrier Programme, USA
    16. Navy CVN-21 Aircraft Carrier Program: Background and Issues for Congress เก็บถาวร 2006-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 8 December 2006.
    17. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
    18. Library of Congress - H. CON. RES. 83[ลิงก์เสีย]
    19. "Signatures for A Petition to name the next United States Navy nuclear powered aircraft carrier the USS ENTERPRISE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.