ยูเอสเอส ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (CVN-69)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสเอส ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ขณะเดินเรือในมหาสมุทรแอตแลนติก
ประวัติ
สหรัฐอเมริกา
ชื่อ
  • ไทย : ยูเอสเอส ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
  • อังกฤษ : USS Dwight D. Eisenhower
ตั้งชื่อตามจอมพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
อู่เรือนิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง
มูลค่าสร้างUS$679 ล้าน (US$5,100 ล้านในปี 2022)
ปล่อยเรือ15 สิงหาคม 1970
เดินเรือแรก11 ตุลาคม 1975
สนับสนุนโดยมามี ไอเซนฮาวร์[1]
เข้าประจำการ18 ตุลาคม 1977 (46 ปี)
เปลี่ยนชื่อใหม่จาก ไอเซนฮาวร์
เปลี่ยนระดับCVN-69, 30 มิถุนายน 1975
ท่าจอดฐานทัพเรือนอร์ฟอล์ก
รหัสระบุ
คำขวัญ
  • Greater Each Day
  • (ยิงใหญ่ขึ้นทุกวัน)
ชื่อเล่น
  • ไมตีไอก์
  • ไอก์
สถานะอยู่ในประจำการ
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: นิมิตซ์
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 101,600 ลองตัน (113,800 ชอร์ตตัน)[2][3]
ความยาว:
  • ตลอดลำ: 1,092 ฟุต (332.8 เมตร)
  • แนวน้ำ: 1,040 ฟุต (317.0 เมตร)
ความกว้าง:
  • กว้างสุด: 252 ฟุต (76.8 เมตร)
  • ตลอดลำ: 134 ฟุต (40.8 เมตร)
  • ความสูง: 244 ฟุต (74 เมตร)
    กินน้ำลึก:
    • สูงสุดสำหรับเดินเรือ: 37 ฟุต (11.3 เมตร)
    • ขีดจำกัด: 41 ฟุต (12.5 เมตร)
    ระบบขับเคลื่อน:
  • 2 × เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Westinghouse A4W (ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะสูง 93.5%)
  • 4 × กังหันไอน้ำ
  • 4 × ใบจักร
  • กำลัง 260,000 แรงม้า (194 เมกะวัตต์)
  • ความเร็ว: มากกว่า 30 นอต (56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 35 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    พิสัยเชื้อเพลิง: ไม่จำกัดระยะทาง 20–25 ปี
    อัตราเต็มที่:
    • กำลังพลประจำเรือ: 3,532 นาย
    • ฝูงบิน: 2,480 นาย
    ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:
  • เรดาร์ค้นหาทางอากาศ 3 มิติ AN/SPS-48E
  • เรดาร์ค้นหาทางอากาศ 2 มิติ AN/SPS-49(V)5
  • เรดาร์จับเป้าหมาย AN/SPQ-9B
  • เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ AN/SPN-46
  • เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ AN/SPN-43C
  • เรดาร์ช่วยลงจอด AN/SPN-41
  • 4 × ระบบนำวิถีขีปนาวุธ Mark 91 NSSM
  • 4 × เรดาร์นำวิถีขีปนาวุธ Mark 95
  • สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง:
  • ระบบต่อต้านการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ AN/SLQ-32A(V)4
  • ระบบต่อต้านตอร์ปิโด SLQ-25A Nixie
  • ยุทโธปกรณ์:
  • 2 × แท่นปล่อยสำหรับอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศ อาร์ไอเอ็ม-7 ซีสแปโรว์
  • 2 × แท่นปล่อยสำหรับอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่อากาศ อาร์ไอเอ็ม-116 Rolling Airframe Missile
  • 3 หรือ 4 × ปืนใหญ่ 20 มม. Phalanx CIWS
  • เกราะ: เป็นความลับ
    อากาศยาน: อากาศยานปีกนิ่งและเฮลิคอปเตอร์ 90 ลำ

    ยูเอสเอส ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (CVN-69) (อังกฤษ: USS Dwight D. Eisenhower) เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ลำดับที่ 2 จากทั้งหมด 10 ลำในกลุ่มเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ของกองทัพเรือสหรัฐ ได้รับการตั้งชื่อตามจอมพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 34 เดิมทีเรือลำนี้มีชื่อเพียงแค่ "ไอเซนฮาวร์" เช่นเดียวกับเรือนำของชั้น นิมิตซ์ แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 1970[4] เรือลำนี้และลำอื่น ๆ ในชั้นทั้งหมดถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทนิวพอร์ตนิวส์ชิปบิลดิง (Newport News Shipbuilding Company) ในรัฐเวอร์จิเนีย โดยใช้แบบเดียวกับเรือนำของชั้น แม้ว่าจะมีการปรับปรุงใหญ่ถึงสองครั้งเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันกับเรือที่สร้างขึ้นในภายหลัง

    นับตั้งแต่เข้าประจำการ ยูเอสเอส ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้เข้าร่วมปฏิบัติการต่าง ๆ มากมาย รวมถึงสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในช่วงทศวรรษที่ 1990 และปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในอิรัก อัฟกานิสถาน และเยเมน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ปัจจุบันเรือลำนี้ทำหน้าที่เป็นเรือธงของกองเรือจู่โจมที่ 2 (Carrier Strike Group 2)[5][6]

    อ้างอิง[แก้]

    1. "USS Dwight D. Eisenhower (CVN 69)". navysite.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
    2. Polmar, Norman (2004). The Naval Institute guide to the ships and aircraft of the U.S. fleet. Naval Institute Press. p. 112. ISBN 978-1-59114-685-8. สืบค้นเมื่อ 26 September 2016. nimitz class displacement.
    3. "CVN-68: NIMITZ CLASS" (PDF).
    4. Evans, Mark L. (27 September 2006). "USS Dwight D. Eisenhower (CVN-69)". Dictionary of American Naval Fighting Ships. Washington, DC: Department of the Navy, Navy Historical Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 16 January 2016.
    5. "Useful Links". US Navy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
    6. "USS Dwight D. Eisenhower Deploys Upon Completion of Historic COMPTUEX". United States Navy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.