ข้ามไปเนื้อหา

มุณเฑศวรีมนเทียร

พิกัด: 24°59′00″N 83°33′53″E / 24.9833958°N 83.5646939°E / 24.9833958; 83.5646939
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุณเฑศวรีมนเทียร
มนเทียรทรงนคร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภอไกมูร์
เทพพระศิวะ, พระนางศากติ
เทศกาลรามนวมี, ศิวราตรี, นวรตรา.
ที่ตั้ง
ที่ตั้งหมู่บ้านรามครห์
รัฐรัฐพิหาร
ประเทศอินเดีย
มุณเฑศวรีมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
มุณเฑศวรีมนเทียร
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
มุณเฑศวรีมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐพิหาร
มุณเฑศวรีมนเทียร
มุณเฑศวรีมนเทียร (รัฐพิหาร)
พิกัดภูมิศาสตร์24°59′00″N 83°33′53″E / 24.9833958°N 83.5646939°E / 24.9833958; 83.5646939
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์1995[1] Hindu inscriptions dated 4th century AD were found in the temple m.[ต้องการอ้างอิง]
ลักษณะจำเพาะ
วัดหนึ่ง
ระดับความสูง608 m (1,995 ft)
เว็บไซต์
http://maamundeshwari.org

มุณเฑศวรีมนเทียรเป็นมนเทียรโบราณที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านรามครห์ (Ramgarh village) ในอำเภอไกมูร์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย บนเทือกเขามุณเฑศวรี มนเทียรนี้เป็นมนเทียรเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะและศักติ ถือกันว่าที่นี่เป็นมนเทียรที่เก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย[2][3][4] และถือกันว่าเป็นมนเทียรที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอินเดียที่ยังคงมีการดำเนินพิธีกรรมและมีการกราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน[5][6] ป้ายข้อมูลของกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (ASI) ระบุอายุของมนเทียรว่าสร้างขึ้นในปี 625 มนเทียรนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ ASI ตั้งแต่ปี 1915

สถาปัตยกรรม

[แก้]

มนเทียรสร้างขึ้นด้วยหิน และจัดวางด้วยรูปแบบแปดเหลี่ยมซ่งถือว่าไม่พบบ่อยในสถาปัตยกรรมฮินดู มนเทียรที่หลงเหลืออยู่เป็นตัวอย่างชิ้นเก่าแก่ที่สุดของสถาปัตยกรรมแบบนครที่พบในรัฐพิหาร ในผนังทั้งสี่มีปรากฏประตู หน้าต่าง และฐานที่ซึ่งเคยรองรับรูปปั้นประดับ[7] ส่วนยอดของอาคาร ศิขระ นั้นสูญหายหรือพังทลายไปแล้ว ในขณะที่ปัจจุบันได้มีการสร้างหลังคาราบขึ้นมาทดแทนศิขระที่สูญสลายไป ผนังด้านในของโบสถ์ปรากฏงานแกะสลักนูนต่ำและงานปั้นลอยในรูปของหม้อกลัศ แจกัน และงานออกแบบลวดลายดอกไม้และพรรณพืช ประตูทางเข้าออกนั้นประดับประดาด้วยทวารปาละ, พระแม่คงคา, พระแม่ยมุนา และมูรติอื่น ๆ เทพเจ้าองค์ประธานที่ประดิษฐานภายในครรภคฤห์คือพระแม่มุณเฑศวรี และจตุรมุขศิวลึงค์ (ศิวลึงค์สี่หน้า)[8] เทวรูปของเทวีมุณเฑศวรีนั้นมีสิบกร ประทับบนควาย ซึ่งสื่อถึงมหิศาสูรมรรทินี[9] นอกจากนี้ภายในมนเทียรยังพบมูรติของเทพเจ้าองค์อื่น ๆ เช่า พระคเณศ พระสูรยะ และพระวิษณุ โครงสร้างหินจำนวนหนึ่งของมนเทียรนั้นได้รับความเสียหาย และสามารถพบซากโครงสร้างหินกระจัดกระจายทั่วบริเวณ อย่างไรก็ตาม มนเทียรนี้เป็นพื้นที่สำหรับการศึกษาโบราณคดีโดย ASI เป็นเวลาสักพักหนึ่งแล้ว[3][4][10][11]

การบูชา

[แก้]

เทศกาลสำคัญของมนเทียรนี้ได้แก่รามนวมีและศิวราตรี[4] เทศกาลใหญ่ประจำปีของมนเทียร (เมลา) จะมีจัดอยู่ใกล้เคียงในระหว่างช่วงนวราตรี[12] คติการบูชาศักติในรูปของเทวีมุณเฑศวรีนั้นเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมการบูชาแบบตันตระ ซึ่งมีปฏิบัติทั่วไปในแถบอินเดียตะวันออก เช่นรัฐพิหาร[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The information plaque erected by the Archaeological Survey of India (ASI) at the site indicates the dating of the temple to 1995 CE BUT The BSRTB fixed its date in 108 AD.
  2. "Alphabetical List of Monuments – Bihar". Serial number 62. Archaeological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-03. สืบค้นเมื่อ 2011-06-03.
  3. 3.0 3.1 "BSBRT to renovate Mundeshwari temple". Times of India. 1 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Ma Mundeshwari Temple in Kaimur ,Bihar". Hindu Temples. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  5. "Film on 'oldest' surviving temple of Gupta Age". The Times Of India. 12 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-05. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
  6. "Bihar to develop 'oldest' temple". The Times Of India. 18 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-06.
  7. "Mundesvari". Hindu Books.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ 5 June 2011.
  8. "Mundeshwari temple". Plaque by Archaeological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
  9. "Mundesvari". Hindu Books.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ 5 June 2011.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Google
  11. "Facelift to the Mundeshwari temple". Hindustan Times. 3 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-25. สืบค้นเมื่อ 5 June 2011.
  12. "Temples and Legends of Bihar, Mundeshwari". Hindubooks.org. p. 11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2016. สืบค้นเมื่อ 5 June 2011.