มนุสสีหะ
มนุสสีหะ (พม่า: မနုဿီဟ, ไทใหญ่: မၼုၵ်ႉသီႇႁႃႉ, บาลี: manussīha, แปลตรงตัว 'มนุษย์สิงโต') ตรงกับไทยเรียกว่า นรสิงห์[1] เป็นสัตว์ในตำนานที่มีลักษณะครึ่งคนครึ่งสิงโตตามความเชื่อของชาวพม่า พระภิกษุผู้เผยแผ่ศาสนาพุทธในประเทศพม่าได้ทำการออกแบบสัตว์ชนิดนี้ไว้เพื่อปกป้องพระราชกุมารจากผีเสื้อสมุทร สามารถพบเห็นมนุสสีหะได้บริเวณมุมของฐานพระเจดีย์[2] โดยจะมีส่วนหัวและลำตัวเป็นมนุษย์ หากแต่ส่วนล่างลงไปจะเป็นสิงโต จนได้รับสมญาว่าเป็น สฟิงซ์พม่า[3][4] ทั้งนี้มนุสสีหะเป็นสัญลักษณ์ของเจดีย์ชเวดากอง[5] และยังเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมาธิการผู้ดูแลเจดีย์ชเวดากอง[6]
มนุสสีหะเป็นคำบาลี ประกอบด้วยคำว่า มนุสส (မနုဿ) แปลว่า มนุษย์ กับคำว่า สีห (သီဟ) แปลว่า สิงโต เมื่อรวมกันจะมีความหมายว่า มนุษย์สิงโต ขณะที่พจนานุกรมอังกฤษ-พม่า ซึ่งตีพิมพ์โดยคณะกรรมการภาษาพม่า ให้ความหมายของคำว่ามนุสสีหะไว้ว่า "สัตว์มหัศจรรย์ที่มีลำตัวเป็นมนุษย์และขาหลังเป็นสิงโต ปรากฏในท่าหมอบค้อมหลัง"[7]
ในประเทศไทยก็มีสิ่งมีชีวิตในตำนานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุสสีหะของพม่า เรียกว่า นรสิงห์ คือเป็นคนครึ่งสิงห์ แต่ต่างจากของพม่าคือมีเท้าเป็นเล็บหรือเป็นกีบก็ได้ระคนกันไป หากเป็นสัตว์หิมพานต์ เป็นบุรุษเพศจะเรียกว่า เทพนรสิงห์ หากเป็นอิตถีเพศจะเรียกว่า อัปสรสีหะ ซึ่งอย่างหลังนี้จะมีเท้าเป็นกีบ[1]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
มนุสสีหะที่เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง
-
มนุสสีหะที่เจดีย์กั๊กกู รัฐฉาน
-
มนุสสีหะที่เจดีย์สัมพุทเธ เมืองโมนยวา
-
มนุสสีหะที่เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง
-
อัปสรสีหะของไทยที่งานพระเมรุ เมื่อ พ.ศ. 2551
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 วีรธรรม เหลืองมณีจรัส (13 พฤศจิกายน 2544). "เทพนรสิงห์". ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Manussiha, the Man-lion - Myanmar Religion and Beliefs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2010-06-19.
- ↑ Hunter, A.J (2016). Claw of the Sphinx: Book 2. London, England: Hachette UK. p. 28. ISBN 9780349124339.
- ↑ Dr., Uta Gärtnar (1994). Tradition and Modernity in Myanmar: Volume 1. Berlin, Germany: LIT Verlag Münster. p. 437. ISBN 9783825821869.
- ↑ "The Board of Trustees of Shwedagon Pagoda". shwedagonpagoda.com.
- ↑ "SECURITY OFFICER CARRIES ANTI-DRONE GUN DURING". shutterstock.com.
- ↑ Myanmar-English Official Dictionary. Department of the Myanmar Language Commission.