ภูเขาไฟเมานาโลอา
ภูเขาไฟเมานาโลอา | |
---|---|
Mauna Loa | |
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงภาพเกาะฮาวาย เมานาโลอาคือภูเขาไฟสีเข้มที่ล้อมรอบด้วยเมฆที่ด้านล่างของภาพ | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 13,679 ฟุต (4,169 เมตร) [1] |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 7,079 ฟุต (2,158 เมตร) [1] |
รายชื่อ |
|
พิกัด | 19°28′46″N 155°36′10″W / 19.47944°N 155.60278°W |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | รัฐฮาวาย สหรัฐ |
เทือกเขา | หมู่เกาะฮาวาย |
แผนที่ภูมิประเทศ | USGS Mauna Loa |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | 700,000–1 ล้านปี[2] |
ประเภทภูเขา | ภูเขาไฟรูปโล่ |
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟ | สายภูเขาใต้ทะเลฮาวาย-เอ็มเพเรอร์ |
การปะทุครั้งล่าสุด | มีนาคม–เมษายน ค.ศ. 1984[2] |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | ยุคโบราณ |
เส้นทางง่ายสุด | ไอนาโปเทรล (Ainapo Trail) |
ภูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในฮาวาย สหรัฐอเมริกา จัดเป็นภูเขาไฟมีพลัง เกิดการระเบิดทุกๆ 3 ปีครึ่ง การระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2527 [3]
เมานาโลอาเป็นภาษาฮาวาย แปลว่า Long Mountain เป็นภูเขาไฟที่มีปริมาตรประมาณ 18,000 คิวบิกไมล์ (75,000 km³) [4] เมื่อประกอบกับภูเขาไฟอีก 4 ลูกคือคีเลาเวอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไลรวมเป็นเกาะฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอามีเนื่อที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอาจะระเบิดทุก ๆ 3 ปีครึ่ง
ยอดเขาเมานาโลอามีความสูงวัดจากระดับน้ำทะเล 4,170 เมตร เป็นอันดับสองของเกาะฮาวายรองจากยอดเขาเมานาเคอาซึ่งสูงกว่าประมาณ 120 ฟุต (37 เมตร) แต่เมื่อวัดความสูงจากฐานส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในโลกคือจะสูงกว่า 9 กิโลมตรและสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์
ภูมิอากาศ
[แก้]เมานาโลอามีภูมิอากาศแบบเขตร้อน ตลอดทั้งปีที่ระดับความสูงน้อยจะมีอากาศอบอุ่น แต่ที่ระดับความสูงมากขึ้นจะมีอากาศเย็นจนถึงหนาว ตารางด้านล่างแสดงอุณหภูมิที่วัดที่หอสังเกตการณ์ที่ลาดเขา ที่อยู่ที่ระดับความสูง 3,000 เมตรในเขตแอลป์ อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 85 °F (29 °C) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 และต่ำสุดคือ 18 °F (−8 °C) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505[5]
ข้อมูลภูมิอากาศของหอสังเกตการณ์ลาดเขาเมานาโลอา (2504-2533) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °F (°C) | 67 (19.4) |
85 (29.4) |
65 (18.3) |
67 (19.4) |
68 (20) |
71 (21.7) |
70 (21.1) |
68 (20) |
67 (19.4) |
66 (18.9) |
65 (18.3) |
67 (19.4) |
85 (29.4) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °F (°C) | 49.8 (9.89) |
49.6 (9.78) |
50.2 (10.11) |
51.8 (11) |
53.9 (12.17) |
57.2 (14) |
56.4 (13.56) |
56.3 (13.5) |
55.8 (13.22) |
54.7 (12.61) |
52.6 (11.44) |
50.6 (10.33) |
53.24 (11.801) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °F (°C) | 33.3 (0.72) |
32.9 (0.5) |
33.2 (0.67) |
34.6 (1.44) |
36.6 (2.56) |
39.4 (4.11) |
38.8 (3.78) |
38.9 (3.83) |
38.5 (3.61) |
37.8 (3.22) |
36.2 (2.33) |
34.3 (1.28) |
36.21 (2.338) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °F (°C) | 19 (-7.2) |
18 (-7.8) |
20 (-6.7) |
24 (-4.4) |
27 (-2.8) |
28 (-2.2) |
26 (-3.3) |
28 (-2.2) |
29 (-1.7) |
27 (-2.8) |
25 (-3.9) |
22 (-5.6) |
18 (−7.8) |
หยาดน้ำฟ้า นิ้ว (มม) | 2.3 (58) |
1.5 (38) |
1.7 (43) |
1.3 (33) |
1.0 (25) |
0.5 (13) |
1.1 (28) |
1.5 (38) |
1.3 (33) |
1.1 (28) |
1.7 (43) |
2.0 (51) |
17 (432) |
ปริมาณหิมะ นิ้ว (ซม) | 0.0 (0) |
1.0 (2.5) |
0.3 (0.8) |
1.3 (3.3) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
1.0 (2.5) |
3.6 (9.1) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 4 | 5 | 6 | 5 | 4 | 3 | 4 | 5 | 5 | 5 | 5 | 4 | 55 |
แหล่งที่มา: NOAA[6] |
หอสังเกตการณ์
[แก้]เมานาโลอาเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการเฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศโดยโครงการเฝ้าติดตามบรรยากาศโลกและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์แห่งเมานาโลอา (MLSO) ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,400 เมตรบนลาดเขาทางทิศเหนือ มีบทบาทสำคัญในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ ขณะที่หอสังเกตการณ์เมานาโลอา โดยองค์กรการบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NOAA) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน และอยู่ห่างไกลจากกิจกรรมของมนุษย์ในท้องถิ่น ทำหน้าที่เฝ้าสังเกตชั้นบรรยากาศของโลก รวมถึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการตรวจวัดถูกปรับเปลี่ยนเพื่ออธิบายการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภูเขาไฟ[7] และยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น Array for Microwave Background Anisotropy (AMIBA) ที่เริ่มสำรวจหาต้นกำเนิดจักรวาลมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 หรือหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟแห่งฮาวายที่ตรวจวัดแผ่นดินไหวและถ่ายภาพกิจกรรมบนปล่อง Mokuʻāweoweo[8]
สมุดภาพ
[แก้]-
แผนที่ภูมิลักษณ์ของภูเขาไฟเมานาโลอา
-
ภูเขาไฟเมานาโลอา
-
แผนที่ของเกาะฮาวาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Mauna Loa, Hawaii". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ 12 December 2012.
- ↑ 2.0 2.1 "Mauna Loa: Earth's Largest Volcano". Hawaiian Volcano Observatory – United States Geological Service. 2 February 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 December 2012.
- ↑ Rubin, Ken (2004). "Mauna Loa eruption history". Hawaii Center for Volcanology. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Kaye, G.D. (2002). "Using GIS to estimate the total volume of Mauna Loa Volcano, Hawaii". 98th Annual Meeting. Geological Society of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-27.
- ↑ "Period of Record General Climate Summary - Temperature". MAUNA LOA SLOPE OBS, HAWAII. NOAA. สืบค้นเมื่อ 2012-06-05.
- ↑ "Period of Record Monthly Climate Summary". MAUNA LOA SLOPE OBS, HAWAII. NOAA. สืบค้นเมื่อ 2012-06-05.
- ↑ Rhodes, J.M. and Lockwood, J. P. (editors), (1995) Mauna Loa Revealed: Structure, Composition, History, and Hazards, Washington D.C., American Geophysical Union Monograph 92, page 95
- ↑ "Live panorama of Mokuaweoweo". United States Geological Survey, Hawaii Volcanoes Observatory web site. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- United States Geological Survey information page เก็บถาวร 2014-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- VolcanoWorld information เก็บถาวร 2007-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Hawaii Center for Volcanology pages
- Global Volcanism Program entry เก็บถาวร 2013-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mauna Loa Observatory (MLO) - NOAA
- Mauna Loa Solar Observatory (MLSO) เก็บถาวร 2004-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- 1934 USGS color video (silent) of Mauna Loa